• บัตรเครดิต
    • ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต
    • คะแนน
    • ผ่อนชำระ
    • บริจาค
    • บริการหักค่าใช้จ่ายอัตโนมัติ
    • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
    • KTC Device Pay
  • สินเชื่อบุคคล
    • ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ
    • บัตรกดเงินสด KTC PROUD
    • สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH
    • สินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน
    • ผ่อนชำระ
    • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
  • โปรโมชั่น
  • ธุรกิจร้านค้า
    • บริการธุรกิจร้านค้า
    • บริการเครื่องรูดบัตร EDC 
    • บริการ QR Code Payment
    • บริการรับชำระเงินออนไลน์
    • บริการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติ
    • บริการรับชำระเงินผ่านลิงก์
    • บริการรับชำระด้วย ALIPAY & ALIPAY+
  • บริการท่องเที่ยว
  • ช้อปสินค้าออนไลน์
  • บริการลูกค้า
    • ติดต่อ KTC
    • แอป KTC Mobile
    • ช่องทางการชำระเงิน
    • บริการ KTC E-Book
    • ดาวน์โหลดแบบฟอร์มและคู่มือ
    • คำถามที่พบบ่อย
บัตรเครดิต
บัตรเครดิต
  • ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต
  • คะแนน
  • ผ่อนชำระ
  • บริจาค
  • บริการหักค่าใช้จ่ายอัตโนมัติ
  • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
  • KTC Device Pay
สินเชื่อบุคคล
สินเชื่อบุคคล
  • ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ
  • บัตรกดเงินสด KTC PROUD
  • สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH
  • สินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน
  • ผ่อนชำระ
  • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
โปรโมชั่น โปรโมชั่น
ธุรกิจร้านค้า
ธุรกิจร้านค้า
  • บริการธุรกิจร้านค้า
  • บริการเครื่องรูดบัตร EDC
  • บริการ QR Code Payment
  • บริการรับชำระเงินออนไลน์
  • บริการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติ
  • บริการรับชำระเงินผ่านลิงก์
  • บริการรับชำระด้วย ALIPAY & ALIPAY+
บริการท่องเที่ยวบริการท่องเที่ยว ช้อปสินค้าออนไลน์ช้อปสินค้าออนไลน์
บริการลูกค้า
บริการลูกค้า
  • ติดต่อ KTC
  • แอป KTC Mobile
  • ช่องทางการชำระเงิน
  • บริการ KTC E-Book
  • ดาวน์โหลดแบบฟอร์มและคู่มือ
  • คำถามที่พบบ่อย
เปลี่ยนภาษา

EN

TH

KTC Search Icon KTC Search Icon
สมัครบัตร
KTC Login Icon KTC Login Icon เข้าสู่ระบบ KTC Mobile Login
KTC Profile

บัญชีของฉัน

  • KTC Online

    บัตร KTC ของฉัน

  • KTC Promotions

    โปรโมชั่นของฉัน

  • KTC Logout

    ออกจากระบบ

KTC Online Profile
 

การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน

การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน

การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน

มิติเศรษฐกิจ
  • • เทคโนโลยีดิจิทัล
  • • การได้รับความไว้วางใจจากประสบการณ์ที่ดี
  • • การบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
  • • ผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ
  • • การกำกับดูแลกิจการ
  • • ผลิตภัณฑ์และบริการที่คำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
  • • การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
มิติสังคม
  • • การเข้าถึงบริการทางการเงินและการส่งเสริมความรู้ทางการเงิน
  • • การต่อต้านการคอร์รัปชันและการติดสินบน
  • • การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคล
  • • การดูแลสุขภาวะและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน
  • • การร่วมมือกับพันธมิตรด้านความยั่งยืน
มิติสิ่งแวดล้อม
  • • การบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยง
Accreditations
  • • ISO/IEC 27001:2013
  • • ISO/IEC 27701:2019
  • • PCI DSS
 

การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยง

สรุปความเห็นคณะกรรมการเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายในของบริษัท

คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารของบริษัท ให้ความสำคัญและตระหนักว่า ระบบการควบคุมภายในเป็นกลไกสำคัญที่จะสร้างความมั่นใจต่อฝ่ายบริหารในการช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจ ช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม และบรรลุเป้าหมายตามที่ได้ตั้งไว้

คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบ กำกับดูแลกิจการ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (คณะกรรมการตรวจสอบฯ) ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลให้ระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงการดูแลให้บริษัทมีการปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การดูแลมิให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การทำรายการเกี่ยวโยงกัน ตลอดจนการติดตามควบคุมดูแลการดำเนินงานของบริษัท การนำทรัพย์สินของบริษัทไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบหรือไม่มีอำนาจในการใช้ทรัพย์สินนั้น รวมทั้งช่วยปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินไม่ให้รั่วไหล สูญหาย หรือจากการทุจริตประพฤติ มิชอบ บริษัทได้จัดให้มีกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุล รวมถึง มีการติดตาม การควบคุม หรือตรวจประเมินภายในเพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีการปฎิบัติที่สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการ การต่อต้านการคอร์รัปชันและจรรยาบรรณธุรกิจ โดยมีสายงานตรวจสอบภายในซึ่งมีความเป็นอิสระทำหน้าที่ในการตรวจสอบและประเมินประสิทธิภาพ และความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหารจัดการความเสี่ยง และระบบการกำกับดูแลกิจการ ในการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานของบริษัท โดยนำกรอบแนวทางของระบบการควบคุมภายในตามมาตรฐานสากลของ COSO (The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission) และกรอบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Risk Management) นอกจากนี้บริษัทได้ให้ความสำคัญในการปกป้องข้อมูลสารสนเทศ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยมีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 รวมถึง ได้มีการนำแนวปฏิบัติตามมาตรฐานระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO/IEC 27001:2013 และมาตรฐานการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ISO/IEC 27701:2019 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล และข้อมูลส่วนบุคคลทั่วทั้งองค์กรมาประยุกต์ใช้ให้การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของบริษัทมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด รวมทั้งยังจัดให้มีสายงานกำกับกฎระเบียบและข้อบังคับ เพื่อทำหน้าที่ติดตามศึกษากฎหมาย ประกาศ และคำสั่งที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ เผยแพร่ให้พนักงานทำความเข้าใจ ตลอดจนกำกับดูแลให้บริษัทมีการประกอบธุรกิจและการปฏิบัติงานโดยถูกต้อง

นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบฯ ได้มีการประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน และมีการรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำทุกปีโดยอ้างอิง “แบบประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน” ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และได้มีการเปิดเผยผลการประเมินฯ ไว้ในหัวข้อ “รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ กำกับดูแลกิจการ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม" ในแบบ 56-1 One Report ประจำปี 2566

ในปี 2566 บริษัทไม่พบข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อระบบการควบคุมภายในของบริษัท ดังนี้

  • สภาพแวดล้อมการควบคุม บริษัทได้กำหนดให้มีสภาพแวดล้อมของการควบคุมภายในที่ดี โดยจัดโครงสร้างองค์กรและสายงานการบังคับบัญชาที่ชัดเจนเหมาะสม รวมทั้งกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจและดัชนีชี้วัดผลสำเร็จ (Key Performance Indicators: KPI) เพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร กำหนดให้มีคู่มือการใช้อำนาจและคู่มือการปฏิบัติงานของทุกระบบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ บริษัทยังปลูกฝังให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคนของบริษัท ตระหนักถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยกำหนดให้มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี จริยธรรมทางธุรกิจ และจรรยาบรรณของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท รวมทั้งจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งเสริมให้ความรู้แก่พนักงานเป็นประจำทุกปี เพื่อให้พนักงานมีความตระหนัก (Awareness) ในการปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส เป็นธรรม และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
  • การประเมินความเสี่ยง นอกจากการประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในโดยอ้างอิง “แบบประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน” ตามแนว COSO (The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission) Framework ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้ว บริษัทยังได้จัดทำการประเมินความเสี่ยงตนเองประจำปีตามหลักเกณฑ์การกำกับความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ครอบคลุมความเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ โดยทำการประเมินระดับความเสี่ยง คุณภาพการจัดการความเสี่ยง แนวโน้มความเสี่ยง พร้อมระบุแนวทางการจัดการหรือควบคุมความเสี่ยง ซึ่งผลการประเมินความเสี่ยงตนเองดังกล่าว บริษัทต้องนำส่งต่อ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการกำกับความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินด้วย
  • การควบคุมการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร บริษัทได้มีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่งงานอย่างชัดเจน มีการทบทวนคู่มืออำนาจดำเนินการและคู่มือ/ ขั้นตอนการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับโครงสร้างองค์กรและการปฏิบัติงานในปัจจุบัน รวมทั้งมีการสอบทานผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ คู่มืออำนาจดำเนินการและคู่มือการปฏิบัติงานต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานมีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอเหมาะสม และการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ในส่วนของการทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการบริษัทได้มีมติอนุมัติหลักการในการทำข้อตกลงทางการค้าที่มีลักษณะเป็นธุรกรรมระหว่างบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อให้สอดคล้องกับที่กฎหมายบัญญัติดังที่ได้กล่าวถึงข้างต้น โดยให้ฝ่ายจัดการสามารถทำธุรกรรม หรือรายการ หรือข้อตกลงทางการค้าที่มีลักษณะเป็นรายการระหว่างบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกันตามความหมายที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ธุรกรรม หรือรายการ หรือข้อตกลงดังกล่าว ให้เป็นไปในลักษณะเดียวกับที่วิญญูชนจะพึงกระทำกับคู่สัญญาทั่วไปในสถานการณ์เดียวกัน ด้วยอำนาจต่อรองทางการค้าที่ปราศจากอิทธิพลในการที่ตนมีสถานะเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง (รายการที่มีข้อตกลงทางการค้าทั่วไป) รวมทั้งรายการที่มีการดำเนินมาแล้วอย่างต่อเนื่อง และที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยให้ฝ่ายจัดการสามารถกำหนดกรอบระเบียบเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน และจัดทำรายงานสรุปการทำรายการดังกล่าวให้ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบฯ และคณะกรรมการบริษัททราบภายในเวลาอันสมควร หากบริษัทมีการทำรายการระหว่างกันกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในอนาคต บริษัทจะจัดให้คณะกรรมการตรวจสอบฯ เป็นผู้พิจารณาเกี่ยวกับความเหมาะสมของรายการดังกล่าว หากคณะกรรมการตรวจสอบฯ ไม่มีความชำนาญในการพิจารณารายการระหว่างกันที่เกิดขึ้น บริษัทจะจัดให้มีบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญพิเศษ เช่น ผู้สอบบัญชี หรือผู้ประเมินราคาทรัพย์สิน หรือสำนักงานกฎหมาย เป็นต้น ที่เป็นอิสระจากบริษัทและบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกันดังกล่าว
  • ระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูล บริษัทได้ให้ความสำคัญต่อระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูล ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ข้อมูลต่าง ๆ มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน โดยได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความปลอดภัยของข้อมูล ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูล จัดเก็บ และติดตามผลข้อมูล เพื่อให้การปฏิบัติงานและการนำข้อมูลที่สำคัญไปใช้ในการบริหารจัดการของผู้บริหาร หรือผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ มีความครบถ้วนถูกต้องอย่างเพียงพอ ภายในเวลาที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ รวมทั้งมีการกำหนดนโยบายความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการใช้ข้อมูล และจัดให้มีระบบ KTC UNITE เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารภายในองค์กร ในการเผยแพร่นโยบาย กฎระเบียบคำสั่งและคู่มือการปฏิบัติงาน รวมทั้งข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึงทั้งองค์กร

    นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้เลขานุการคณะกรรมการบริษัทดูแลรับผิดชอบในการจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารประกอบการประชุมล่วงหน้าก่อนการประชุม รวมทั้งบันทึกสรุปความคิดเห็น และมติของที่ประชุมไว้อย่างชัดเจนในรายงานการประชุมของคณะกรรมการบริษัททุกครั้ง สำหรับบุคคลภายนอก บริษัทได้จัดให้มีช่องทางการสื่อสารให้บุคคลภายนอกสามารถแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการร้องเรียน หรือแจ้งเบาะแสการทุจริตผ่านช่องทางที่บริษัทกำหนด
  • ระบบการติดตามและประเมินผล คณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ครอบคลุมทุกด้าน เช่น ด้านบัญชีและการเงิน การปฏิบัติงาน การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และการดูแลทรัพย์สิน บริษัทได้มีการติดตามผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีการประชุมคณะกรรมการบริษัทและมีระบบการติดตามการปฏิบัติงานเป็นลำดับชั้น ตั้งแต่คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร เพื่อติดตามเป้าหมายและกำกับการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ แผนงาน และโครงการที่ดำเนินงานอยู่ในแผนธุรกิจประจำปีที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำ โดยมีการเปรียบเทียบเป้าหมายการดำเนินธุรกิจกับผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ มีการทำรายงานให้คณะกรรมการได้ทราบ

    นอกจากนี้ บริษัทยังได้จัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอโดยผู้รับผิดชอบในสายงานรับผิดชอบในการดูแลการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายใน และมีสายงานตรวจสอบภายในทำการตรวจสอบการปฏิบัติงาน และรายงานผลอย่างเป็นอิสระต่อคณะกรรมการตรวจสอบฯ โดยในปี 2566 คณะกรรมการตรวจสอบฯ มีการประชุมรวม 12 ครั้งตามลำดับ

    ในการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบฯ ครั้งที่ 12/2566 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 คณะกรรมการตรวจสอบฯ ได้ประเมินระบบการควบคุมภายในจากรายงานผลการประเมิน แล้วสรุปได้ว่า จากการประเมินระบบการควบคุมภายในด้านต่าง ๆ 5 องค์ประกอบ คือ การควบคุมภายในองค์กร การประเมินความเสี่ยง การควบคุมการปฏิบัติงาน ระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูล และระบบการติดตาม คณะกรรมการตรวจสอบฯ เห็นว่า บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท มีการบริหารความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้ ระบบบัญชีและรายงานทางการเงินมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ รวมทั้งปฏิบัติตามกฏหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท

ผู้บริหารสูงสุดสายงานตรวจสอบภายในและผู้บริหารสูงสุดสายงานกำกับกฎระเบียบและข้อบังคับ

ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดสายงานตรวจสอบภายใน (Head of Internal Audit) ของบริษัท ได้แก่ นายพรชัย วิจิตรบูรพัฒน์ และผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดสายงานกำกับกฎระเบียบและข้อบังคับ (Head of Compliance) ของบริษัท ได้แก่ นางสาวโชติกา ธนวลีกุล

(โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อประวัติผู้บริหารสูงสุดสายงานตรวจสอบภายในและผู้บริหารสูงสุดสายงานกำกับกฎระเบียบและข้อบังคับ)

ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบฯ มีความเห็นว่า คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดสายงานตรวจสอบภายในและผู้บริหารสูงสุดสายงานกำกับกฎระเบียบและข้อบังคับ มีความเหมาะสมและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ในการพิจารณาแต่งตั้ง ประเมินผล ถอดถอน โยกย้าย เลิกจ้าง ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดสายงานตรวจสอบภายในของบริษัทต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบฯ

ผู้บริหารสูงสุดสายงานตรวจสอบภายใน (Head of Internal Audit) ของบริษัท มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  1. ประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของกระบวนการปฏิบัติงานและระบบสารสนเทศ การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงภายใต้ภารกิจและขอบเขตการปฏิบัติงานตรวจสอบ
  2. รายงานประเด็นสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการควบคุมในกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท และแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการในกิจกรรมนั้น ๆ
  3. ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหาร เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  4. เสนอข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าและผลการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจสอบประจำปี และความเพียงพอของทรัพยากรที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
  5. ประสานงาน กำกับดูแลการติดตาม และการควบคุมอื่น เช่น การบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ความปลอดภัย หลักจรรยาบรรณ สภาพแวดล้อม และการสอบบัญชี
  6. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายในตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตรวจสอบฯ

ผู้บริหารสูงสุดสายงานกำกับกฎระเบียบและข้อบังคับ (Head of Compliance) ของบริษัท มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

  1. กำกับดูแล สอบทานเพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทได้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ¬¬ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์หรือกฎระเบียบของหน่วยงานราชการอย่างถูกต้อง
  2. ให้ความเห็นทางกฎหมายแก่คณะกรรมการบริษัทและฝ่ายจัดการเพื่อให้การประกอบธุรกิจ¬ของบริษัทปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมาย¬ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกฎระเบียบของหน่วยงานราชการ ตลอดจนติดตามฝ่ายจัดการให้ระงับการทำรายการหรือการกระทำใด ๆ ที่อาจฝ่าฝืนกฎหมายข้อกำหนด หรือกฎระเบียบดังกล่าว
  3. สอบทานหลักฐาน กรณีมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำใด ๆ ที่อาจฝ่าฝืนกฎหมาย หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกฎระเบียบของหน่วยงานราชการ ซึ่งมีหรืออาจมีผลกระทบต่อฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ
  4. ประสานงานกับผู้บริหารสูงสุดสายงานตรวจสอบภายในและคณะกรรมการตรวจสอบฯ เพื่อสอบทานหรือร่วมกันหาแนวทางปฏิบัติให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
  5. การเข้าร่วมในการพิจารณากำหนดและให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเหมาะสม ในขั้นตอนการปฏิบัติงานของบริษัทเพื่อให้มั่นใจได้ว่าปฏิบัติตามนโยบาย แนวทาง กฎเกณฑ์ หรือข้อพึงปฏิบัติที่กำหนดโดยกฎหมายอย่างถูกต้อง
  6. เป็นศูนย์รวมและเผยแพร่ข้อมูล ตลอดจนให้ความรู้และคำปรึกษาแก่หน่วยงานต่าง ๆ ภายในบริษัทเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่พึงต้องปฏิบัติต่าง ๆ

เรื่องถัดไป

การรับรองมาตรฐานระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย
สําหรับสารสนเทศ (ISO/IEC 27001:2013)

สมัครออนไลน์ด้วยตนเอง

ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต
และบัตรกดเงินสด KTC PROUD

QR Code สมัครออนไลน์ด้วยตนเอง
สแกนเพื่อสมัครบัตร
ศึกษาเพิ่มเติม

สมัครออนไลน์
ด้วยตนเอง

ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต
และบัตรกดเงินสด
KTC PROUD

เริ่มสมัครเลย ศึกษาเพิ่มเติม

ลงชื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ

ให้คำปรึกษา และอำนวยความสะดวก
ในการสมัครผลิตภัณฑ์ของ KTC

บัตรเครดิต KTC บัตรเครดิต KTC สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์
บัตรกดเงินสด KTC PROUD บัตรกดเงินสด KTC PROUD สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน รถยนต์ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์
บัตรเครดิต KTC บัตรเครดิต KTC บัตรกดเงินสด KTC PROUD บัตรกดเงินสด KTC PROUD สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน รถยนต์ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์

เกี่ยวกับเรา

  • วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
  • ข้อมูลทั่วไป
  • โครงสร้างการถือหุ้นกลุ่มบริษัท
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • คณะผู้บริหาร
  • เลขานุการบริษัท
  • หัวหน้างานกำกับดูแล และหัวหน้างานตรวจสอบภายใน
  • ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี
  • นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • บทความ
  • สมัครงาน / ฝึกงาน

บริการลูกค้า

  • บริการออนไลน์
  • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
  • คำนวณดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม
  • ช่องทางการชำระเงิน
  • บริการหักค่าใช้จ่ายรายเดือนอัตโนมัติ
  • ดาวน์โหลด
  • ประกาศบริษัท
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แผนผังเว็บไซต์

การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน

  • มิติเศรษฐกิจ
  • มิติสังคม
  • มิติสิ่งแวดล้อม
  • การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยง
  • การรับรองมาตรฐานระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสําหรับสารสนเทศ (ISO/IEC 27001:2013)

นักลงทุนสัมพันธ์

  • ข้อมูลสำคัญทางการเงิน
  • ข้อมูลนำเสนอ
  • ข้อมูลสำหรับผู้ถือหุ้น
  • ข้อมูลและกิจกรรมหุ้นกู้
  • นโยบาย
  • ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์

KTC PHONE

02 123 5000
CAC Certified

ดาวน์โหลดแอป

KTC Mobile
KTC Mobile KTC Mobile KTC Mobile
KTC Facebook KTC Twitter KTC Instagram KTC LINE
© 2563 บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ติดตามข่าวสารได้ที่
KTC LINE KTC LINE KTC Facebook KTC Facebook KTC instagram KTC instagram KTC Youtube KTC Youtube KTC TikTok KTC TikTok KTC twitter KTC twitter

EN

TH

KTC LIVE CHAT

Live Chat

KTC LIVE CHAT
สมัครบัตรเครดิต KTC
สมัครกดเงินสด KTC PROUD
ทั้งหมด
โปรโมชั่น
ผลิตภัณฑ์
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
0 ผลลัพธ์
คุณกำลังหมายถึง?
    ดูเพิ่มเติม

    ไม่พบผลลัพธ์ที่ค้นหา

    ตรวจสอบคำค้นหาของคุณแล้วลองอีกครั้ง
    ลองค้นหาด้วยคำหลักที่น้อยลง
    ประวัตการค้นหา
    ไม่มีประวัตการค้นหา
    ลบทั้งหมด
    KTC
    ตัวกรองโปรโมชั่น
    หมวดหมู่โปรโมชั่น
    • เลือกทั้งหมด
    • ล้างทั้งหมด
    ประเภทบัตรทั้งหมด
    • เลือกทั้งหมด
    • ล้างทั้งหมด
    เลือกผลิตภัณฑ์

    บัตรเครดิต KTC

    บัตรกดเงินสด KTC PROUD

    สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH

    สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ <span>KTC พี่เบิ้ม</span>

    สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม

    Filter

    ตัวกรอง

    Search
    www.ktc.co.th ไม่รองรับเบราว์เซอร์ Internet Explorer
    หากดำเนินการต่อ การใช้งานในบางเมนู/รายการอาจไม่สมบูรณ์

    สงวนสิทธิ์ © 2563 บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

    EN

    TH

    Live Chat

    ประกาศปิดปรับปรุงระบบแอป KTC Mobile ชั่วคราว
    KTC จะทำการปิดปรับปรุงระบบแอป KTC Mobile ในวันพุธที่ 14 พฤษภาคม 2568 เวลา 00:00 - 04:00 น. ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถใช้งานแอป KTC Mobile ได้ในช่วงเวลาดังกล่าว

    หากสมาชิกบัตรต้องการความช่วยเหลือ หรือต้องการอายัดบัตรฯ ชั่วคราว สามารถติดต่อ KTC PHONE 02 123 5000 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

    ขออภัยในความไม่สะดวก



    KTC Mobile App Maintenance Announcement
    KTC will be performing maintenance on the KTC Mobile App on Wednesday, May 14, 2025, from 12:00 AM to 4:00 AM. During this period, the KTC Mobile App will be temporarily unavailable.

    If KTC cardmembers require assistance or need to temporarily block their card, please contact KTC PHONE at 02 123 5000

    We apologize for any inconvenience caused.