เรียกได้ว่าช่วงหลังๆ มานี้ คำว่า Startup (สตาร์ทอัพ) กลายมาเป็นคำที่แพร่หลายในแวดวงการทำธุรกิจมากยิ่งขึ้น ซึ่งภาพลักษณ์ของธุรกิจ Startup มักสะท้อนถึงความใหม่ เต็มไปด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ ซึ่งวันนี้ KTC จะพาทุกคนไปทำความรู้กับธุรกิจ Startup กันให้มากขึ้น รวมไปถึงตัวอย่าง Startup ที่น่าสนใจในประเทศไทย สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องราวเหล่านี้ ตามมาดูพร้อมๆ กันเลย
ธุรกิจ Startup คืออะไร
มีหลายคนให้ความหมายของคำว่าธุรกิจ Startup ไว้มากมาย โดยสรุปรวมให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ธุรกิจ Startup 2025 คือธุรกิจที่มีรูปแบบการสร้างสินค้าหรือบริการ ซึ่งเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ให้เติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในรูปแบบใหม่ๆ โดยเฉพาะการหยิบเอาเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาธุรกิจให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมากยิ่งขึ้น
ธุรกิจ Startup มีความสําคัญอย่างไร
สำหรับธุรกิจ Startup ถือได้ว่ากลายมาเป็นธุรกิจสำคัญในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน และถึงแม้จะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดกลาง แต่ก็ความสำคัญหลากหลายด้านเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น
- เกิดสินค้าและบริการที่ทำให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ด้วยจุดประสงค์ของธุรกิจ Startup ที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาสินค้า และบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ดังนั้นแต่ละบริษัทจึงพยายามพัฒนาสินค้า และบริการของตน เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าย่อมทำให้ชีวิตเรานั้นมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น จากสินค้าและบริการเหล่านั้นนั่นเอง
- เกิดเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่
ด้วยการแข่งขันของแต่ละ ธุรกิจ Startup 2025 ที่ต่างต้องการตอบสนองความต้องการผู้บริโภคให้ดี และตรงจุดมากยิ่งขึ้น จึงต่างพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อมาตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ทำให้เกิดเป็นสินค้า และบริการใหม่ๆ ในตลาดมากยิ่งขึ้น
- สร้างความหลากหลายทางธุรกิจ
เมื่อทุกธุรกิจ Startup ต่างก็พกของดี ของเด็ดเพื่อมาต่อสู้กันในธุรกิจ จึงทำให้ธุรกิจมีความหลากหลาย ผู้บริโภคมีทางเลือกในการใช้มากยิ่งขึ้น และสามารถเลือกสิ่งที่ตรงกับความต้องการของตนเองมากที่สุด ถือเป็นการช่วยสร้างความหลากหลายทางธุรกิจให้ดีกว่าเดิม
ธุรกิจ Startup กำลังกลายมาเป็นธุรกิจสำคัญในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน
ประเภทของธุรกิจ Startup
ธุรกิจ Startup ถือได้ว่าเป็นรูปแบบของธุรกิจอย่างหนึ่งที่ครอบคลุมการให้บริการทั้งสินค้า และบริการ โดยสามารถแยกออกเป็นประเภทหลักๆ ได้ดังนี้
- Financial Technology
เรียกสั้นๆ FinTech เป็น Startup ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการเงิน การลงทุนต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถบริหารจัดการเงิน การลงทุน และทรัพย์สินได้ง่ายยิ่งขึ้น ผ่านเทคโนโลยีอย่างแอปพลิเคชัน และการทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ
- Education Technology
หรือ EdTech คือ Startup ด้านการศึกษา ซึ่งจะเน้นการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ในการเข้ามาพัฒนารูปแบบการศึกษา สื่อการสอน ให้มีคุณภาพ และการเข้าถึงการศึกษาให้กว้างขวางขึ้น รวมไปถึงระบบในบริการจัดการสถาบันการศึกษา ก็ถือเป็น EdTech เช่นกัน
- Advertising Technology
ใครๆ ก็ทราบกันดีว่าตอนนี้วงการสื่อโฆษณา และการตลาด ต่างหันมาใช้เทคโนโลยีในการช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเรียก Startup รูปแบบนี้ว่า AdTech ซึ่งจะนำเอาระบบทั้งซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ เข้ามาช่วยในการวางแผนการตลาด วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการ และสามารถขายสินค้า และบริการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
- Health Technology
อีกหนึ่งรูปแบบ Startup ที่มาแรงสุดๆ ในยุคนี้ หรือเรียกสั้นๆ ว่า HealthTech เป็นรูปแบบ Startup ที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาระบบด้านสาธารณสุข การแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงการรักษาสุขภาพ การดูแลสุขภาพ รวมไปถึงระบบการเก็บข้อมูล และหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ก็จัดอยู่ใน Startup ประเภทนี้เช่นกัน
- Lifestyle & Entertainment Technology
งานอดิเรก และความชอบ ก็กลายมาเป็นหนึ่งในรูปแบบของธุรกิจ Startup ในประเภทนี้ โดยเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในด้านไลฟ์สไตล์ ความชอบส่วนตัว อย่างแอปพลิเคชันหาคู่ หรือแอปพลิเคชันสตรีมมิ่ง ที่ต่างพัฒนาออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในส่วนนี้
- Food Technology
FoodTech ถือเป็นอีกรูปแบบธุรกิจ Startup ที่กำลังเติบโตในยุคปัจจุบัน ซึ่งเข้ามาช่วยพัฒนาวงการอาหาร ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป รวมไปถึงระบบการขนส่ง การจัดการดูแลต่างๆ ทั้งในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงร้านอาหารต่างๆ
- Travel Technology
เป็นธุรกิจ Startup ที่เข้ามาช่วยพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวให้ง่ายทั้งผู้ให้บริการ และผู้บริโภค รวมไปถึงความสะดวกสบายในการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการจองห้องพัก จองตั๋วเครื่องบิน แพ็กเกจทัวร์ รวมไปถึงตั๋วเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
- Government Technology
ในส่วนของภาครัฐ ก็มี GovTech เช่นกัน ซึ่งจะนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาระบบ และการทำงานต่างๆ ของภาครัฐ ในการดูแล ช่วยเหลือประชาชน ให้สามารถติดต่อ และเข้าถึงหน่วยงานภาครัฐได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
แม้จะมีความคล้ายกันแต่ธุรกิจ Startup และ SME นั้นมีความแตกต่างกันในหลายด้าน
ธุรกิจ Startup แตกต่างจาก SME อย่างไร
หลายคนยังคงมีความสับสนระหว่างธุรกิจ Startup และ SME ซึ่งอาจจะมีบางส่วนที่มีความคล้ายคลึงกันมาก แต่แน่นอนว่าทั้ง 2 รูปแบบธุรกิจนั้น มีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็น
- ขนาดของธุรกิจ
Startup : ธรรมชาติของ Startup จะเริ่มต้นที่ขนาดเล็ก และเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดเป็นธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นในเวลาอันสั้น ซึ่งทั่วไปแล้วธุรกิจ Startup จะไม่มีจุดอิ่มตัวเพราะเชื่อว่าสามารถพัฒนา และต่อยอดธุรกิจเพื่อปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคได้เสมอ
SME : มีหลากหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง โดยมีการเติบโตแบบคงที่ หรือค่อยเป็นค่อยไป และต้องใช้ระยะยาวเวลายาวนานกว่าจะประสบความสำเร็จ กลายเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรมากยิ่งขึ้น
- นวัตกรรมและเทคโนโลยี
Startup : จะมีการหยิบเอาเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้เสมอ ทำให้เกิดเป็นสินค้า และบริการที่ไม่เหมือนใคร มีการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ตรงกับความต้องการมากยิ่งขึ้น
SME : ส่วนใหญ่เป็นสินค้า หรือบริการที่มีอยู่ในตลาดอยู่แล้ว อาจจะมีสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้กับสินค้าเดิม แต่ยังคงรูปแบบการใช้ และตอบสนองต่อผู้บริโภคแบบเดิม
- แหล่งเงินทุน
Startup : จะได้รับเงินทุนจากผ่านระดมเงินจากผู้ลงทุนที่สนใจธุรกิจ Startup นั้นๆ โดยนักลงทุนจะลงทุนให้ก่อนในช่วงแรก เมื่อธุรกิจมีกำไรมากยิ่งขึ้น ผู้ลงทุนเหล่านี้ก็จะได้รับเงินปันผลจากการลงทุน
SME : เงินลงทุนมาจากเจ้าของกิจการ หรือการกู้ยืมเงินจากธนาคาร โดยเจ้าของธุรกิจ จะเป็นผู้บริการจัดการเงินด้วยตนเองทั้งหมด
ตัวอย่างธุรกิจ Startup ที่น่าสนใจในปี 2025
- ปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์
หรือที่เรียกติดปากกันว่า AI (Artificial Intelligence) ซึ่งในปี 2025 ธุรกิจ Startup ในกลุ่มนี้ เรียกได้มีจำนวนเยอะขึ้นมาก เนื่องจากสามารถช่วยตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มธุรกิจที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Solution และการบริหารธุรกิจ
การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการค้นหาทางออก และเส้นทางในการบริหารธุรกิจ กลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากโลกในยุคปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับข้อมูล หรือที่หลายคนเรียกยุคนี้ว่า Big Data ธุรกิจ Startup ในกลุ่มนี้ จึงสามารถนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์การบริหาร การตลาด ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และเกิดการซื้อขายได้เร็ว และง่ายยิ่งขึ้น
- เทคโนโลยีการเกษตร
แม้โลกจะเข้าสู่ยุคแห่งเทคโนโลยี แต่กลุ่มธุรกิจการเกษตร ก็ยังเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยเพราะเป็นพื้นฐานแหล่งอาหารของผู้คน ซึ่งในปัจจุบันจะเน้นที่การทำการเกษตรอย่างยั่งยืน และได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ ธุรกิจ Startup ในกลุ่มนี้ ที่เน้นการเอาเทคโนโลยี มาช่วยจัดการข้อมูล และวิเคราะห์การทำเกษตรในขั้นตอนต่างๆ เพื่อช่วยในการสร้างสินค้า และผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และยังช่วยสร้างความยั่งยืนในการทำเกษตรอีกด้วย
การทำธุรกิจ Startup นั้น แม้ปัจจุบันจะเกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ต้องอาศัยทั้งความสามารถ และเงินทุน ซึ่งในช่วงเริ่มต้น อาจจะมีการติดขัดได้บ้าง จึงมีความจำเป็นอาจต้องการใช้เงินด่วน ขอแนะนำบัตรเครดิต KTC ที่สามารถเบิกถอนเงินสดได้ 100% จากวงเงิน ผ่านตู้ ATM ให้คุณใช้จ่ายได้อย่างคล่องตัว ไม่มีสะดุด พร้อมฟรีค่าธรรมเนียมตลอดอายุการใช้ และสะสมคะแนน KTC FOREVER ได้อย่างไม่มีจำกัด เพื่อแลกรับส่วนลด หรือเครดิตเงินคืนจากร้านค้าชื่อดังมากมาย สมัครง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ เลือกบัตรฯ ที่ตอบโจทย์ตรงกับไลฟ์สไตล์ ให้ทุกการใช้จ่ายเป็นเรื่องง่าย สมัครบัตรเครดิต KTC ออนไลน์
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC