การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
(Business Sustainability Development)
นโยบายและเป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืน
ด้วยวิสัยทัศน์ “เคทีซีเป็นองค์กรสำหรับสมาชิกที่มุ่งพัฒนาธุรกิจการชำระเงินและสินเชื่อรายย่อย โดยเน้นความเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือและการเติบโตอย่างยั่งยืนเป็นสำคัญ” รวมถึงปณิธานด้านความยั่งยืนที่ “มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตคนไทย” เคทีซีได้นำแนวคิดด้านความยั่งยืน หรือ การดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล (Environmental Social and Governance: ESG) เข้ามาบูรณาการกับการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ พร้อมทั้งพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสีย และเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างธุรกิจภาคการเงินให้เข้มแข็ง นำไปสู่การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Goals: SDGs) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
โครงสร้างการบริหารงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
ในปี 2564 บริษัทพิจารณาจัดทำประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนระดับอุตสาหกรรม ระดับประเทศ และระดับสากล (Issue Universe) ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 10 กลุ่ม จำนวน 111 ราย ผ่านการสำรวจความคิดเห็น เพื่อนำมาจัดลำดับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Materiality Matrix) และแผนกลยุทธ์ความยั่งยืนระยะยาว 5 ปี (2565 – 2569) และได้ทบทวนเป็นประจำทุกปี เพื่อกำหนดขอบเขตการรายงาน ทั้งนี้ ในปี 2566 บริษัทได้ทบทวนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Materiality Topic) ทั้ง 16 ประเด็น ร่วมกับวิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบในระดับ Outside-in และ Inside-out รวมถึงเปิดเผยข้อมูลโอกาสและความเสี่ยงของแต่ละประเด็นสำคัญเบื้องต้นไว้ในแต่ละหัวข้อตามหลักการของ Double Materiality ซึ่งจากการทบทวนพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญนอกจากนี้ บริษัทพิจารณาขยายแผนกลยุทธ์ความยั่งยืนระยะยาว 5 ปีจากเดิมเคยสิ้นสุดปี 2569 เป็นสิ้นสุดปี 2571 ตามกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainable Development Framwork)
ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
กรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน
เป้าหมายและผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน
หมายเหตุ:
(1) อัตราการขาดงานจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บจากการทำงาน รวมอื่นๆที่ไม่ใช่การลาที่ได้รับอนุญาต
(2) การลดการใช้พลังงานไฟฟ้า การใช้น้ำ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกพิจารณาเทียบจากปีฐาน 2565
(3) ขยะที่นำไปรีไซเคิลนับเฉพาะขยะบัตรพลาสติกที่เกิดความผิดพลาดจากกระบวนการผลิตบัตรเครดิต และบัตรเครดิตที่หมดอายุ
(4) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1-3
การจัดการด้านความยั่งยืน
มิติเศรษฐกิจ
กลยุทธ์มิติเศรษฐกิจ: Better product and service
Flagship ที่สำคัญ: Digital transition for customers and employees
เคทีซีดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส เป็นธรรมตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เคารพสิทธิมนุษยชน รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงและต้นทุนที่เหมาะสม โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล รวมถึงโอกาสในการผสานความยั่งยืนเข้ามาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว พร้อมนำเสนอสิทธิประโยชน์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างความพึงพอใจและประสบการณ์ที่ดีให้กับสมาชิก นอกจากนี้ เคทีซีได้ช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการการช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของการให้บริการสินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) และยังคงรักษาคุณภาพพอร์ตสินเชื่อให้อยู่ในระดับที่ดีได้อย่างสมดุล
มิติสังคม
กลยุทธ์มิติสังคม: Better quality of life
Flagship ที่สำคัญ: Financial access and education for all Thais
เคทีซีพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลาย อีกทั้งสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินให้คนในสังคมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เป็นทางเลือกให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทได้เหมาะสม ตรงกับความต้องการ เช่น สินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน สินเชื่อเพื่อการศึกษา และมีช่องทางการเข้าถึงทั้งในรูปแบบทางกายภาพ (Onsite) และรูปแบบออนไลน์ (Online) นอกจากนี้เคทีซีได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมความรู้เพื่อสนับสนุนการสร้างวินัยทางการเงิน รวมถึงการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีความรู้และทักษะที่สำคัญพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีคุณภาพ สื่อสารข้อมูลที่ชัดเจน ครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้เหมาะสม และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย
มิติสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์มิติสิ่งแวดล้อม: Better Climate
เคทีซีดำเนินธุรกิจควบคู่กับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม ตอบสนองต่อแนวคิด Environmentally friendly ผ่านการยกระดับผลิตภัณฑ์ บริการ และการดำเนินงานด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างจิตสำนึกที่ดีผ่านการให้ความรู้และโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น การรณรงค์ให้พนักงานร่วมกันประหยัดพลังงานไฟฟ้า รวมถึงการเข้าร่วมโครงการ Care the bear: Change the Climate Change by Eco Event กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนด้วยการลดก๊าซเรือนกระจก
รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ
- ได้รับคัดเลือกอยู่ในทำเนียบ The Sustainability Yearbook 2024 จัดทำโดย S&P Global
- ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนระดับโลก FTSE4Good Index Series ตั้งแต่ปี 2564
- ได้รับการประเมิน MSCI ESG Ratings ในระดับ BBB
- ได้รับรางวัล Champion Security Award 2023, Best in Class in Risk Management จากวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล
- ได้รับรางวัลนวัตกรรมเทคโนโลยียอดเยี่ยม (Technical Solution Joint Innovation Awards) จากงาน Huawei Connect 2023
- ได้รับการจัดอันดับ SET ESG Ratings ระดับสูงสุด AAA และได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนี SETESG เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2563 - 2566
- ได้รับรางวัลประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีเด่น (Outstanding CEO Awards) และบริษัทจดทะเบียนที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น (Outstanding Company Performance Awards) ประจำปี 2566 ในกลุ่มรางวัลธุรกิจยอดเยี่ยม (Business Excellence) ที่มีมูลค่าทางการตลาด (Market Capitalization) มากกว่า 1 แสนล้านบาทขึ้นไป
- ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO/IEC 27001:2013 และระบบบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ISO/IEC 27701:2019
- ได้รับรางวัลมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด (Thailand’s Top Corporate Brand Value 2023) ในหมวดธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ ประจำปี 2566
- ได้รับรางวัล ดีเลิศ จากโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 ตั้งแต่ปี 2559
- ได้รับเลือกอยู่ใน ESG 100 จากสถาบันไทยพัฒน์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 ตั้งแต่ปี 2559
- สมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย ตั้งแต่ปี 2559
- ผลการประเมินคุณภาพการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น (AGM)ประจำปี 2566 ในระดับร้อยละ “100”
ทั้งนี้ โปรดพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน และรายละเอียดการดำเนินการด้านความยั่งยืนได้จาก รายงานความยั่งยืนประจำปี 2566 ซึ่งเป็นเอกสารที่แยกออกมาอีกหนึ่งฉบับบนเว็บไซต์ของบริษัท
ขอบเขตการรายงานด้านความยั่งยืน
ขอบเขตการรายงานครอบคลุมผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของเคทีซีและบริษัทย่อยที่เคทีซีมีการควบคุมในระดับปฏิบัติการ โดยขอบเขตการรายงานเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้จึงอยู่ที่ประมาณ 98.7%
(โปรดอ้างอิงรายงานและงบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ที่ https://www.ktc.co.th/pub/media/sites/cs/assets/ir/financialinformation/document/01-KTC-TH-YE2566-Audited.pdf)
การรับรองความถูกต้องของข้อมูลรายงานความยั่งยืน
ข้อมูลประกอบการรายงานความยั่งยืนในมิติสังคมและสิ่งแวดล้อมในปี 2566 ของบริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (บริษัท) อยู่ภายใต้การรับรองความเชื่อมั่นอย่างเป็นอิสระตามมาตรฐานการรับรอง AA1000AS v3 (2018) ของบริษัทธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร
(โปรดพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ รายงานความยั่งยืนประจำปี 2566 ของบริษัทธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หัวข้อ ผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน และ หัวข้อ การรายงานการรับรองความถูกต้องของข้อมูล บนเว็บไซต์ https://krungthai.com/th/about-ktb/sustainability/sustainability-reports)