วัคซีนโควิดจ่ายด้วยบัตรเครดิตได้ไหม
ในยุคปัจจุบันหลากหลายประเทศทั่วโลกยังคงประสบปัญหากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ซึ่งหลายประเทศยังคงพบจำนวนยอดผู้ติดเชื้อและยอดผู้เสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับสถานการณ์โควิดล่าสุดในประเทศไทย
ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมา ประเทศไทย รวมถึงนานาประเทศได้สั่งซื้อวัคซีนโควิด เพื่อแก้ปัญหาการระบาดไปจนถึงการกระจายเชื้อ และวัคซีนโควิดล็อตแรกจะเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2564 นี้
ประเทศไทยนำเข้าวัคซีนโควิดจากที่ไหนบ้าง?
ช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการลงนามเพื่อจัดหาวัคซีนโควิด-19 โดยเป็นการจองล่วงหน้าระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กับบริษัทแอสตราเซเนก้า (AstraZeneca) บริษัทผลิตวัคซีนสัญชาติอังกฤษ-สวีเดน ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัย Oxford และบริษัท Astrazeneca ในการใช้เทคโนโลยี Viral Vector ที่มีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 90% โดยต้องฉีดทั้งหมด 2 ครั้ง ซึ่งข้อดีของการใช้วัคซีนตัวนี้ คือ เป็นวัคซีนที่ใช้กับโรคอีโบล่า จึงทำให้มั่นใจได้ว่า มีความปลอดภัยอยู่พอสมควร และสามารถเก็บได้ในอุณหภูมิตู้เย็นปกติ
และวัคซีนอีกหนึ่งตัว คือ วัคซีน CoronaVac จากบริษัท Sinovac Biotech บริษัทชีวเภสัชภัณฑ์รายใหญ่ของจีน โดยต้องฉีดทั้งหมด 2 ครั้ง ซึ่งมีประสิทธิภาพอยู่ที่ประมาณ 50.38% ข้อดีของวัคซีนจาก Sinovac คือ มีการใช้เทคโนโลยีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ด้วยเทคโนโลยีการผลิตชนิดเดียวกับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี วัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นต้น จึงไว้วางใจในเรื่องของความปลอดภัยได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังง่ายต่อการเก็บรักษาคือสามารถเก็บรักษาได้ในอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส
*โดยทางองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดมาตรฐานการรับรองวัคซีนป้องกันโควิด-19 ว่า ต้องมีประสิทธิผลไม่ต่ำกว่า 70%
วัคซีนโควิด-19 ประเทศไทย สามารถผลิตเองได้หรือไม่?
ทางด้านนายกรัฐมนตรีได้มีการกล่าวในการลงนามในสัญญาการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ได้มีการเปิดเผยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระราชดำริให้ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในพระปรมาภิไธย รับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนโควิด-19 จากแอสตร้าเซเนก้า เพื่อเป็นการเตรียมการภายในประเทศ โดยเมื่อรับวัคซีนเข้ามาแล้ว บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด จะมีการบรรจุ แจกจ่าย ในประเทศ พร้อมความร่วมมือกับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนให้กับบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ของไทย ทำให้ในอนาคตประเทศไทย สามารถผลิตวัคซีนชนิด viral vector เองได้
เมื่อได้วัคซีนเข้ามาในประเทศแล้วใครสามารถฉีดได้บ้าง มีลำดับก่อนหลังอย่างไร?
สำหรับวัคซีนโควิดที่ส่งเข้ามายังประเทศไทยนั้น คนไทยทุกคนที่ต้องการฉีด จะได้รับการฉีดวัคซีนโควิดฟรี ! ไม่มีค่าใช้จ่าย ยกเว้นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และสตรีมีครรภ์ โดยในระยะแรกทางรัฐบาล ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ทั้งสิ้น 19 ล้านคน ดังนี้
- กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ประมาณ 1.7 ล้านคน
- กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวที่มีความสุ่มเสี่ยงสูง เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ที่มีอยู่กว่า 6.1 ล้านคน
- กลุ่มที่สาม คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป กว่า 11 ล้านคน
- กลุ่มที่สี่ คือ กลุ่มเจ้าหน้าที่ควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด และ มีโอกาสสัมผัสกับผู้ป่วย 15,000 คน ในพื้นที่เสี่ยงโควิดล่าสุด
สำหรับวัคซีนล็อตแรกที่เข้ามายังประเทศไทยของแอสตร้าเซนเนก้า ที่จะจัดส่งล็อตสำเร็จรูปที่ผลิตในอิตาลีให้ประเทศไทยก่อนรอบแรกจำนวน 50,000 โดส สำหรับวัคซีนจากซิโนแวคต้องรอการขึ้นทะเบียนจากองค์การอาหารและยา (อย.) คาดว่า จะเสร็จสิ้นภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ และจะทำการฉีดให้กับบุคลากรสาธารณสุข ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงก่อนเป็นลำดับแรก
มีการคาดการณ์เพิ่มเติมว่า ทางด้านบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด จะสามารถผลิตวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าล็อตแรกได้ จำนวน 26 ล้านโดส โดยล็อตแรกหลังจากการทดสอบเสร็จสิ้นคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม อีกทั้งทางด้านรัฐบาลไทยยังสั่งซื้อวัคซีนเพิ่มเติมทั้งจากแอสตร้าเซเนก้า และที่มีการผลิตเองจากคณะแพทย์ศาสตร์ คณะเภสัชศาสต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพิ่มอีกจำนวน 35 ล้านโดส ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมนี้
รัฐฉีดวัคซีนโควิดฟรี แล้วแบบไหนต้องเสียค่าใช้จ่าย?
คาดว่า ในอนาคตอาจมีบริษัทเอกชน หรือโรงพยาบาลเอกชน ในพื้นที่เสี่ยงโควิด แจ้งความประสงค์ขอนำเข้าวัคซีนโควิด-19 เอง เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรในพื้นที่ โดยมีเงื่อนไขสำคัญ นั่นคือ วัคซีนที่นำเข้าต้องผ่านการขึ้นทะเบียนกับทาง อย. เพื่อให้มั่นใจว่า วัคซีนโควิดดังกล่าวมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย และมีคุณภาพ
แน่นอนว่า วัคซีนโควิด-19 ซึ่งบริษัทเอกชน หรือหน่วยงานเอกชนเป็นผู้นำเข้ามานั้น ประชาชนที่ต้องการฉีดวัคซีนโควิด ต้องเป็นผู้จ่ายค่าวัคซีนเอง โดยอาจเลือกชำระค่าวัคซีนเป็นเงินสด หรือชำระผ่านบัตรเครดิต ซึ่งปัจจุบันผู้ถือบัตรเครดิตหลาย ๆ คนเลือกจ่ายค่ารักษาพยาบาลผ่านบัตรเครดิต เนื่องจากมีโปรโมชั่นผ่อน 0% ที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของผู้ถือบัตรเครดิต หรือหากใครที่ยังไม่มีบัตรเครดิตก็สามารถเลือกสมัครบัตรเครดิต ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ง่าย ๆ พร้อมทั้งสะดวกสบายในการสมัครและรับสิทธิประโยชน์จากบัตรเครดิต KTC ได้อย่างหลากหลาย
อย่างไรก็ตาม ก่อนจ่ายค่าวัคซีนโควิด ควรศึกษารายละเอียดของวัคซีนที่นำเข้าว่า มีความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการต้านเชื้อไวรัสโควิดจริงหรือไม่ ? เพื่อให้คุณมีสุขภาพที่ดีห่างไกลโควิด
อ้างอิง: สำนักสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
สมัครบัตรเครดิต ...ที่นี่
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี