เรื่องต้องรู้! บัตรกดเงินสดจ่ายขั้นต่ำเท่าไหร่ จ่ายเต็มจำนวนดีกว่ายังไง รู้ไว้ ใช้เป็น
บัตรกดเงินสด ตัวช่วยบริหารสภาพคล่องทางการเงินที่ใครหลายคนเลือกใช้ เพราะบัตรกดเงินสดในปัจจุบันทำได้มากกว่าแค่กดเงินสดจากตู้ แต่ยังสามารถใช้เป็นบัตรผ่อนสินค้าได้คล้ายกับบัตรเครดิตอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหนี้ค้างจ่ายมากเกินความจำเป็นเพราะใช้บัตรกดเงินสดแบบไม่ที่ไม่รู้ข้อดี-ข้อเสีย ไม่รู้อัตราดอกเบี้ย ไม่รู้เรื่องค่าธรรมเนียม ไม่รู้ว่าบัตรกดเงินสด จ่ายขั้นต่ำเท่าไหร่ และจ่ายขั้นต่ำดีไหม เพื่อให้คุณบริหารเงินได้อย่างถูกวิธี เรามาดูเทคนิคการบริหารเงินด้วยบัตรกดเงินสดไปพร้อม ๆ กัน
ตัวช่วยสร้างสภาพคล่องทางการเงิน บัตรกดเงินสด KTC PROUD ครบ จบ ในบัตรเดียว
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การจ่ายหนี้บัตรกดเงินสดขั้นต่ำ คืออะไร
การจ่ายหนี้บัตรกดเงินสดผ่านการชำระขั้นต่ำ คือการชำระหนี้บัตรกดเงินสดตามยอดขั้นต่ำที่สถาบันทางการเงินกำหนดเอาไว้ โดยส่วนใหญ่ยอดจะเริ่มต้นที่ 5%-10% ทั้งนี้ การเปิดโอกาสให้สามารถจ่ายหนี้ขั้นต่ำได้ก็เพื่อแบ่งเบาภาระในยามฉุกเฉินที่ผู้ใช้บัตรกดเงินสดไม่สามารถหาเงินก้อนมาปิดยอดได้เต็มจำนวนนั่นเอง
บัตรกดเงินสด จ่ายขั้นต่ำเท่าไหร่?
อย่างที่ได้กล่าวไป การจ่ายบัตรกดเงินสดขั้นต่ำนั้นจะขึ้นอยู่ยอดที่สถาบันทางการเงินกำหนด โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 5%-10% โดยอัตราการชำระขั้นต่ำอาจต่ำกว่าหรือสูงกว่านี้ได้ เช่น บัตรกดเงินสด KTC PROUD ตัวช่วยบริหารเงินของคนรุ่นใหม่ ที่เปิดโอกาสให้ชำระหนี้บัตรกดเงินสดขั้นต่ำเพียง 3%
บัตรกดเงินสด จ่ายขั้นต่ำกับจ่ายเต็มจำนวนแบบไหนดีกว่ากัน?
การจ่ายหนี้บัตรกดเงินสดขั้นต่ำนั้นควรเป็นเพียงทางเลือกในยามฉุกเฉินเมื่อผู้ใช้บัตรกดเงินสดไม่สามารถหาเงินก้อนมาปลดหนี้ได้ทันเวลา โดยการชำระหนี้บัตรกดเงินสด จ่ายขั้นต่ำเท่าไหร่นั้นจะ 5% หรือ 10% ล้วนแล้วก็ดีกว่าการไม่จ่ายเลย เพราะหากไม่จ่ายหนี้ตามกำหนด นอกจากอัตราดอกเบี้ยจะสะสมไปเรื่อย ๆ แล้ว ยังทำให้เครดิตในการกู้สินเชื่อเสียหายอีกด้วย
นอกจากนี้ หากคุณเลือกจ่ายบัตรกดเงินมากกว่ายอดขั้นต่ำที่สถาบันทางการเงินกำหนด เช่น ยอดชำระบัตรกดเงินสดขั้นต่ำในรอบบิลนั้น ๆ ของคุณคือ 2,000 บาท แต่คุณเลือกชำระในยอด 2,500 บาทก็เป็นสิ่งที่ทำได้เช่นกัน และเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการชำระขั้นต่ำเพราะยอดที่ชำระเกินไป จะไปตัดยอดสินเชื่อคงค้างที่เหลือและทำให้ในงวดต่อไปคุณจะเสียดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดน้อยลงกว่าเดิมนั่นเอง
เทคนิคบริหารการใช้บัตรกดเงินสด
1. ใช้บัตรกดเงินสดในยามฉุกเฉิน และจ่ายหนี้เต็มจำนวน
บัตรกดเงินสดคือผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานหลัก ๆ ก็เพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาในการบริหารสภาพคล่องทางการเงินได้มีตัวช่วยในบริหารเงินในแต่ละเดือน อีกทั้งยังมีไว้เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของสินเชื่อถูกกฎหมาย ลดความจำเป็นที่ทำให้ผู้คนทั่วไปต้องหันไปพึ่งสินเชื่อผิดกฎหมายที่มีดอกเบี้ยแพง ๆ และไม่ได้อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายเพราะหมุนเงินไม่ทัน ที่สำคัญเมื่อถึงวันครบกำหนดชำระควรจ่ายหนี้บัตรกดเงินสดให้ตรงเวลาทุกครั้ง เพื่อสร้างเครดิตที่ดีในการใช้บัตรกดเงินสดที่อาจส่งผลต่อการทำธุรกรรม หรือการเพิ่มวงเงินในอนาคต
2. จ่ายขั้นต่ำให้เกินยอดเท่าที่จะจ่ายไหว
หากจำเป็นต้องเลือกวิธีการจ่ายขั้นต่ำเพราะเงินไม่พอใช้จริง ๆ ในเดือนนั้น ๆ ขอแนะนำให้คุณจ่ายขั้นต่ำและบวกเงินเพิ่มไปอีกจำนวนหนึ่งเท่าที่ไหว เพราะอย่างน้อย ๆ ในเดือนถัดไปดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดของคุณก็จะลดน้อยลง และลดความเสี่ยงที่หนี้จะพอกพูนจากการเลือกชำระเท่าจำนวนขั้นต่ำเป๊ะ ๆ อีกด้วย
3. กดเงินสดมาใช้เท่าที่จำเป็น
เพื่อป้องกันความเสี่ยงและลดพฤติกรรมในการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย คุณควรกดเงินจากบัตรกดเงินสดมาใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ควรกดเผื่อเยอะจนเกินไปเพราะหากเงินเหลือใช้ อาจเผลอใจใช้จ่ายกับเรื่องที่ไม่จำเป็นและทำให้เกิดหนี้ที่ไม่ได้ตั้งใจก่อโดยไม่รู้ตัว
4. มีเงินสำรองอย่างน้อย 50% ของสินค้าที่ต้องซื้อ
เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะมีเงินปิดยอดบัตรกดเงินสดทันรอบบิล หากคุณต้องการซื้อของชิ้นใหญ่ที่ราคาค่อนข้างแพง คุณควรเตรียมเงินครึ่งหนึ่ง หรือสัก 50% ของราคาสินค้าเอาไว้ หลังจากครบรอบบิลคุณจะได้มั่นใจว่าคุณจะหาเงินมาเติมอีกครึ่งหนึ่งเพื่อจ่ายบิลทันแบบเต็มจำนวนนั่นเอง
บัตรกดเงินสด ใช้ให้เป็น ปิดหนี้ง่ายไม่เดือดร้อน
สรุปแล้ว การจ่ายหนี้บัตรกดเงินสดขั้นต่ำควรเป็นทางเลือกสุดท้ายหากคุณหาเงินก้อนมาปิดรอบบิลเต็มจำนวนไม่ทัน และจะให้ได้ดีควรจ่ายยอดบัตรกดเงินสดเต็มจำนวนเท่านั้นเพื่อสร้างเครดิตทางการเงินที่ดี ที่จะช่วยให้การทำธุรกิจในอนาคตของคุณเป็นเรื่องง่าย ไร้ซึ่งประวัติเสียหายนั่นเอง
วางแผนเกษียณอายุอย่างมั่นคงด้วยบัตรกดเงินสด KTC
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี