เคลียร์ชัด ก่อนฉีดวัคซีน Sinovac
นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19) ไปทั่วโลก เมื่อช่วงปลายปี 2562 มาจนถึงปัจจุบัน แม้หลายประเทศสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างอีกครั้ง ในระหว่างที่รอการฉีดวัคซีนโควิด
"วัคซีนโควิด" ถือเป็นหนึ่งในความหวังของการเอาชนะไวรัส COVID-19 ซึ่งในตอนนี้นักวิจัยจากนานาประเทศทั่วโลก ต่างเร่งเดินหน้าพัฒนาวัคซีนพิชิตไวรัสดังกล่าว มีรายงานว่ามีการพัฒนาวัคซีนมากกว่า 150 ประเภท โดยวัคซีนโควิด-19 ทั้งหมดที่กำลังคิดค้นพัฒนานี้ ล้วนมีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายให้สามารถต่อสู้และเอาชนะเชื้อไวรัสได้ ทำให้ฤทธิ์ของวัคซีนมีความรุนแรงกว่าการติดเชื้อไวรัสโดยธรรมชาติ และอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายตามมา ดังนั้น การผลิตวัคซีนโควิดจึงต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน เพื่อทดสอบให้แน่ใจว่า จะไม่เกิดผลกระทบทางลบต่อร่างกายของมนุษย์
ประเทศไทย สั่งจองวัคซีนโควิด-19 อะไรบ้าง ?
สำหรับประเทศไทย ได้ทำสัญญาจองวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ล่วงหน้า ไว้ทั้งหมด 2 ตัว คือ
วัคซีน Sinovac
วัคซีน Sinovac หรือวัคซีน CoronaVac เป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากบริษัท Sinovac Biotech บริษัทชีวเภสัชภัณฑ์รายใหญ่ของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยวัคซีนจาก Sinovac เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated Vaccine) เป็นการนำไวรัส COVID-19 มาทำให้อ่อนแรง และไม่ทำให้เกิดอันตราย จึงฉีดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นร่างกายให้เกิดภูมิคุ้มกัน จะต้องฉีดวัคซีน Sinovac ทั้งหมด 2 ครั้ง
วัคซีน AstraZeneca
เป็นการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัย Oxford และบริษัท Astrazeneca บริษัทผู้ผลิตวัคซีนสัญชาติอังกฤษ-สวีเดน โดยวัคซีนของ Astrazeneca ใช้เทคโนโลยี Viral Vector เป็นการใช้เชื้อไวรัสที่ถูกทำให้เชื้ออ่อนลงและไม่ก่อให้เกิดโรค มาตัดต่อใส่รหัสพันธุกรรมของ COVID-19 โดยเฉพาะพันธุกรรมที่สร้างโปรตีนส่วนหนาม (Spike Protein) ที่อยู่ล้อมรอบตัวไวรัส COVID-19 และทำให้ไวรัสเกาะติดกับร่างกายได้ง่าย เมื่อฉีดวัคซีนนี้เข้าไปในร่างกาย ร่างกายของเราจะประเมินว่า ไวรัสตัวนี้คือสิ่งแปลกปลอม และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับไวรัสตัวนี้ โดยจะต้องฉีดวัคซีน AstraZeneca ทั้งหมด 2 ครั้ง
และถือเป็นข่าวดี เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 มีรายงานว่า วัคซีนโควิด-19 หรือวัคซีนซีโนแวค (Sinovac) จากบริษัท Sinovac Biotech จำนวน 200,000 โดสแรก ได้มาถึงประเทศไทยแล้ว โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะดำเนินการตรวจคุณภาพวัคซีนซีโนแวค ก่อนกระจายวัคซีน COVID-19 ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ตามมติของที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
วัคซีนโควิด-19 มีประโยชน์ยังไงบ้าง ?
สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 นั้น จะมีทั้งหมด 2 เข็ม โดยเข็มแรกฉีดเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน 60-70% หลังจาก 3-4 สัปดาห์จึงฉีดเข็มที่ 2 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากรอบแรกให้สูงเกือบ 90% หรืออธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ การฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ยากขึ้น แต่ทั้งนี้ ประสิทธิภาพวัคซีนโควิดขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน และร่างกายของแต่ละคนด้วย
ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ควรเตรียมตัวอย่างไร
การฉีดวัคซีนโควิด-19 ก็เหมือนกับการฉีดวัคซีนทั่ว ๆ ไป หากร่างกายเราปกติแข็งแรงดี และพักผ่อนเพียงพอ ก็ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ ดังนั้น ก่อนมาฉีดวัคซีนโควิดก็ควรเช็คความพร้อมว่าเราไม่ได้เป็นไข้ ไม่ได้เจ็บป่วย หรือไม่มีอาการไข้หวัดใด ๆ ก็สามารถฉีดได้เลย
แต่กรณีมีโรคประจำตัวและรับประทานยามา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับวัคซีน นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ อัมพฤต อัมพาต ไม่ควรหยุดยา ยกเว้นกรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้วัคซีนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
ฉีดวัคซีนโควิด-19 จะมีผลข้างเคียงอะไรหรือไม่ ?
ตามที่เข้าใจกันว่า วัคซีน เป็นส่วนหนึ่งของเชื้อโรคที่เข้าไปทำให้ร่างกายกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคได้ ดังนั้น เป็นเรื่องปกติที่ฉีดวัคซีนเข้าไปแล้ว จะเกิดผลข้างเคียงตามมา
ซึ่งผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโควิด จะมีอาการคล้าย ๆ กับการฉีดวัคซีนอื่น ๆ เช่น มีไข้ มีอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดบริเวณที่ฉีด รวมถึงมีอาการอ่อนเพลีย เป็นต้น สำหรับคนที่แพ้วัคซีนโควิดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีประวัติแพ้ยาและแพ้อาหาร ซึ่งโอกาสเกิดประมาณ 10-20 คน ในล้านคน เรียกได้ว่าไม่สูงมาก แตกต่างจากวัคซีนทั่วไปเล็กน้อย
และนี่เป็นสิ่งที่หลายคนกังวล เพราะถึงอาการแพ้วัคซีนจะมีความใกล้เคียงกับอาการไข้หวัดธรรมดา แต่โอกาสที่จะเกิดอาการแพ้วัคซีนโควิดอย่างรุนแรงถึงขั้นมีผื่นขึ้นตามร่างกาย อาเจียน ใบหน้าบวม หรือหายใจติดขัด ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้เอง บริษัทประกันหลายแห่งได้ยื่นเรื่องเข้ามายังคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อขอจัดทำประกันคุ้มครองอาการแพ้วัคซีนโควิดหรือประกันวัคซีนโควิด เพื่อมอบความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันกรณีที่แพ้วัคซีนโควิด แล้วไม่ได้เสียชีวิต ซึ่งความคุ้มครองในส่วนนี้ไม่มีอยู่ในประกันโควิด-19
ทำความรู้จัก ประกันวัคซีนโควิด
เป็นแผนประกันภัยที่ออกมา เพื่อดูแลผู้เอาประกันที่ได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 และเกิดผลกระทบจากการแพ้วัคซีนดังกล่าว จนต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยในของโรงพยาบาล โดยบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ รวมทั้งจ่ายชดเชยเงินปลอบขวัญให้แก่ผู้เอาประกันตามจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ แต่ทั้งนี้ ลักษณะความคุ้มครองและผลประโยชน์ของประกันวัคซีนโควิด ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกันภัย
ประกันวัคซีนโควิด มีที่ไหนบ้าง
ปัจจุบัน มี 3 บริษัทประกันภัย ที่ให้ความสนใจออกผลิตภัณฑ์ "ประกันวัคซีนโควิด" นั่นคือ
(1) กรุงเทพประกันภัย (เปิดเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว)
มอบความคุ้มครองการแพ้วัคซีนโควิด-19 เมื่อเจอ แพ้ แล้วจ่ายค่ารักษาพยาบาล พร้อมรับเงินปลอบขวัญเมื่อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และหากอยู่ในภาวะโคม่า จ่ายสูงสุด 1 ล้านบาท
(2) ทิพยประกันภัย (ยื่น คปภ. แล้ว รออนุมัติ)
เป็นกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับผู้แพ้วัคซีนโควิด-19 โดยมีเงื่อนไขความคุ้มครองกรณีฉีดวัคซีนโควิดแล้วทำให้เกิดอาการแพ้ จะได้รับค่าชดเชยรายวัน (ต้องเป็นผู้ป่วยในเท่านั้น) และหากเกิดการเจ็บป่วยระยะสุดท้าย (โคม่า) จะได้รับเงินสูงสุด 1 ล้านบาท
(3) เมืองไทยประกันภัย (ยื่น คปภ. แล้ว รออนุมัติ)
เป็นบริษัทประกันภัยอีกแห่ง ที่เตรียมออกประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด-19 โดยอยู่ระหว่างขออนุมัติจาก คปภ. และออกแบบแผนความคุ้มครอง
พอเห็นข้อมูลวัคซีนโควิด และประกันวัคซีนโควิดแบบนี้แล้ว หลายคนอาจสนใจทำประกันเพิ่มอีกสักหนึ่งกรมธรรม์ เพื่อให้อุ่นใจยามประสบเหตุไม่คาดฝัน แต่หากยังลังเล เพราะกลัวไม่มีเงินก้อนไปจ่ายเบี้ยประกัน บอกเลยว่า การจ่ายเบี้ยประกัน ไม่ว่าจะเป็นประกันโควิด-19 ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ หรือประกันภัยรถยนต์ เดี๋ยวนี้เป็นเรื่องสบาย ๆ เพียงเลือกจ่ายเบี้ยประกันผ่านบัตรเครดิต นอกจากมีโปรโมชั่นผ่อน 0% ยังได้คะแนนบัตรเครดิตและเครดิตเงินคืนอีกด้วย
สมัครบัตรเครดิตออนไลน์...ที่นี่
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี
สมัครบัตรกดเงินสดออนไลน์
เบิกถอนเงินสด แบ่งผ่อนชำระได้ทุกที่ทุกเวลา