เหล่า first jobber ที่สนุกสนานกับชีวิตการทำงานมาสักพัก ตอนนี้คงเริ่มมองหาบัตรเครดิตใบแรกที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวคุณเองอยู่ใช่ไหม แบบว่าบางคนชอบช้อปปิ้งออนไลน์ หรือไม่ก็หลงใหลในการขับรถออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน เช่น เที่ยวต่างจังหวัด ปาร์ตี้กับผองเพื่อน และตามหาร้านอาหารอร่อยๆ เพื่อถ่ายรูปและลิ้มรสอาหารสุดพิเศษ ร่วมกับเพื่อนๆ ครอบครัว รวมถึงคนรักที่อยู่ข้างๆ คุณเสมอ
วันนี้เราจะพาคุณไปดูว่าปัจจัยในการเลือกบัตรเครดิตที่ใช่สำหรับการใช้ชีวิตในรูปแบบต่างๆ ที่กล่าวมาของคนที่เพิ่งเริ่มทำงานว่ามีอะไรบ้าง รวมถึงทำความเข้าใจบรรดาบัตรเครดิต KTC แต่ละแบบ ว่ามีใบไหนที่เหมาะกับคนเงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาทบ้างผ่านบทความนี้
ตอบข้อสงสัยว่าบัตรเครดิต KTC มีกี่ประเภท พร้อมรายละเอียดต่างๆ ที่ควรรู้ก่อนสมัครบัตรเครดิตใบแรก
เชื่อว่าบรรดาคนที่เพิ่งทำงานมาได้ไม่นานและคิดอยากจะทำบัตรเครดิตใบแรกเพื่อใช้จ่ายในวัตถุประสงค์ต่างๆ คงเริ่มศึกษาหาข้อมูลก่อนจะสมัครบัตรเครดิต KTC แน่ๆ เนื่องจากมีบัตรเครดิตหลากหลายประเภท เขียนว่าเหมาะกับสายช้องปิ้ง ท่องเที่ยว คืนเงิน หรือไม่ก็เติมน้ำมัน นอกจากนี้ยังมีคำว่า VISA, Mastercard, JCB, และ UnionPayอยู่บนบัตรเครดิตอีกต่างหาก ถ้ายังงงอยู่ไม่เป็นไร เดี๋ยวเราจะพาไปดูว่าสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมานี้มันคืออะไรกันบ้าง
บัตรเครดิต KTC ทั้ง 4 ประเภทที่มีให้เลือกใช้ในปัจจุบัน
ประเภทของบัตรเครดิตนั้นหลักๆ แล้วมีอยู่ประมาณ 4 ประเภท โดยแต่ละประเภทออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันตามไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้แต่ละคน โดยจะมีอะไรบ้างนั้นเรามาดูไปพร้อมกัน
- บัตรเครดิตทั่วไป
บัตรเครดิตชนิดนี้อาจเรียกอีกชื่อว่าบัตรเครดิตสะสมคะแนนก็ได้ เพราะถือเป็นบัตรประเภทแรกๆ ที่มีการนำมาใช้งานแพร่หลายมาเป็นเวลานาน โดยทุกครั้งที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตรครบทุก 25 บาท ก็จะมีการมอบคะแนนให้ไว้เพื่อสะสมในการแลกเป็นของรางวัล แลกซื้อสินค้าด้วยคะแนนที่มี หรือใช้คะแนนเหล่านั้นแลกรับเครดิตเงินคืนก็ได้ นอกจากนี้ จะมีบัตรเครดิตทั่วไปบางประเภทที่มอบคะแนนสะสมให้มากกว่าปกติเมื่อใช้จ่ายตรงตามเงื่อนไขของบัตรนั้นๆ เช่น บัตรเครดิต KTC JCB PLATINUM ที่จะได้รับคะแนนสะสม X2 เมื่อใช้จ่ายที่ประเทศญี่ปุ่น หรือบัตรเครดิต KTC UnionPay PLATINUM ที่ได้รับคะแนนสะสม X2 เมื่อใช้จ่ายที่ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน เรียกว่าเป็นบัตรเครดิตที่เข้าใจและสามารถใช้งานง่ายไม่มีเงื่อนไขซับซ้อน เหมาะสำหรับเป็นบัตรเครดิตใบแรกสำหรับ first jobber เลยทีเดียว
- บัตรเครดิตคืนเงิน
นี่คือบัตรเครดิตของคนที่ไม่ชอบสะสมคะแนนเพื่อนำมาแลกของ แต่ต้องการเงินคืน (cashback) ทุกครั้งเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ โดยบัตรเครดิตแบบคืนเงินจะให้ cashback เป็นเปอร์เซ็นต์ของเงินที่คุณได้ใช้จ่ายไปกับบัตรใบนั้น เช่น เงินคืน 0.8% จากทุกยอดใช้จ่ายภายในวันพุธ หรือคืนเงิน 1% เมื่อใช้บัตรเครดิตใบนั้นจ่ายค่าน้ำมันรถ เป็นต้น โดยบัตรเครดิตคืนเงินที่น่ามีไว้ใช้สักใบได้แก่ บัตรเครดิต KTC CASH BACK VISA PLATINUM ที่ให้เครดิตเงินคืนสูงสุด 0.8% ทุกการใช้จ่าย หรือบัตรเครดิต KTC SENIOR PLATINUM MASTERCARD สำหรับคนมีอายุมากกว่า 40 ปี ที่มาพร้อมเครดิตเงินคืนสูงสุด 1% เมื่อใช้จ่ายในวันพุธ เป็นต้น
- บัตรเครดิต co-brand
บัตรเครดิตประเภทนี้เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันระหว่างธนาคารกับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ ที่ต้องการโฟกัสลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ด้วยโปรโมชั่นสุดพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ฐานลูกค้าของธุรกิจนั้นๆ โดยเฉพาะ เช่น การท่องเที่ยว สายการบิน ยานยนต์ สถานีบริการน้ำมัน โรงพยาบาล โรงเรียน และอื่นๆ อีกหลายธุรกิจ โดยบัตรเครดิต KTC ที่น่าสนใจในประเภทนี้ได้แก่ บัตรเครดิต KTC AGODA PLATINUM MASTERCARD ที่อัปเกรดสถานะสมาชิกเป็น AgodaVIP Platinum ทันที พร้อมด้วยสิทธิประโยชนสำหรับสายท่องเที่ยวอีกมายหรือ หรือบัตรเครดิต KTC BANGCHAK VISA PLATINUM สำหรับคนที่ขับรถยนต์เป็นประจำและอยากได้รับเครดิตเงินคืน 1% ที่ปั้มบางจาก เป็นต้น
- บัตรเครดิตสำหรับองค์กร
บัตรเครดิตสำหรับองค์กรคือบัตรเครดิตเฉพาะทางที่ออกให้กับธุรกิจหรือองค์กรเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการค่าใช้จ่ายและอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยบัตรประเภทนี้แตกต่างจากบัตรเครดิตส่วนบุคคล เช่น บัตรเครดิตสะสมคะแนน หรือบัตรเครดิต co-brand ตรงที่ได้รับการปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการของธุรกิจ เพื่อช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินเป็นไปอย่างคล่องตัวและสามารถควบคุมการใช้จ่ายให้อยู่ในวงที่กำหนดไว้ได้
สัญลักษณ์ VISA, Mastercard, JCB, และ UnionPay บนบัตรเครดิตหมายถึงอะไร?
สัญลักษณ์บนบัตรเครดิตที่คุณพบเห็นได้บ่อยๆ เมื่อหยิบบัตรขึ้นมาใช้ เช่น VISA, Mastercard JCB และ UnionPay แสดงถึงเครือข่ายการรับชำระเงินที่บัตรเครดิตใบนั้นใช้อยู่ ซึ่งปกติแล้วธนาคารผู้ออกบัตรจะใช้บริการของเครือข่ายการชำระเงินเหล่านี้ ในการทำธุรกรรมระหว่างธนาคารและร้านค้าที่มีการเรียกชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการที่ผู้ถือบัตรได้ใช้จ่าย พร้อมกับเก็บค่าธรรมเนียมการใช้งานจากธนาคาร หลังจากนั้นธนาคารจะไปเรียกเก็บค่าธรรมเนียมกับร้านค้าต่างๆ ที่ใช้บริการเครื่องรับชำระเงิน (EDC) อีกที
เพื่อให้คุณเข้าใจในเรื่องบัตรเครดิตมากขึ้น เราจะพาไปดูว่าบรรดาเครือข่ายการรับชำระเงินเหล่านี้เป็นใครและมีจุดเด่นอะไรบ้าง
ภาพจาก VISA Merchant Signage
VISA
VISA เป็นหนึ่งในเครือข่ายการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตที่ใหญ่ที่สุดและได้รับการยอมรับมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1958 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและมีอายุ 66 ในปัจจุบัน นั่นทำให้บรรดาธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม ตลอดจนร้านค้าและร้านอาหารต่างๆ นับล้านแห่งทั่วโลก ได้ใช้บัตรเครดิต VISA ในการทำธุรกรรมชำระเงินเป็นจำนวนมาก
ภาพจาก Mastercard
MASTERCARD
MASTERCARD เป็นอีกหนึ่งเครือข่ายบัตรการรับชำระเงินผ่านเครดิตรายใหญ่ของโลก ที่ได้รับการยอมรับจากบรรดาธนาคาร ห้างร้าน และธุรกิจต่างๆ ในหลายประเทศ โดยปัจจุบัน MASTERCARD มีอายุถึง 58 ปี นับจากก่อตั้งที่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1966
ภาพจาก JCB Global
JCB
JCB เป็นบริษัทบัตรเครดิตก่อตั้งขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1961 โดยบัตรเครดิตของ JCB นั้นได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในญี่ปุ่น นอกจากนี้ ก็ยังได้รับการยอมรับจากร้านค้าหลายแห่งทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชีย เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง รวมถึงประเทศไทยด้วย
ภาพจาก UnionPay International
UNIONPAY
UNIONPAY เป็นบริษัทที่ให้บริการทางการเงินและเครือข่ายการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตของจีน โดยบัตรเครดิต UNIONPAY มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในจีน รวมถึงได้รับการยอมรับในประเทศต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียและภูมิภาคอื่นๆ เช่น ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ รวมถึงในประเทศไทย
ก่อนเลือกบัตรเครดิต KTC ต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้างให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง?
ใครที่กำลังศึกษาเรื่องการเลือกบัตรเครดิตใบแรกหลังจากเพิ่งทำงานใหม่ได้สักพัก ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นการสร้างเครดิตทางการเงินที่สำคัญ โดยการมองหาบัตรที่เหมาะกับเป้าหมายทางการเงิน ไลฟ์สไตล์การใช้จ่าย และมีคุณสมบัติต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตประจำวันนั้นสำคัญมาก ต่อจากนี้คือคำแนะนำในการเลือกบัตรเครดิตสำหรับ first jobber หรือคนที่กำลังคิดอยากจะสมัครบัตรเครดิต KTC ใบแรกเป็นของตัวเอง
ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
ปกติแล้วบัตรเครดิตจะมีค่าธรรมเนียมรายปี แต่ถ้าเลือกใช้บัตรเครดิต KTC ที่ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี จะช่วยประหยัดเรื่องภาระค่าใช้จ่ายและมอบความคุ้มค่าสูงสุด เหมาะอย่างมากสำหรับเด็กจบใหม่
คะแนนสะสมไม่มีวันหมดอายุ
หากคุณมีบัตรเครดิต KTC อยู่ในมือแล้วกำลังห่วงว่า คะแนนบัตรเครดิตจะหมดอายุแบบไม่รู้ตัวตั้งแต่ต้นปี เอาเป็นว่าไม่ต้องกังวลไป เพราะคะแนนบัตรเครดิต KTC ไม่มีวันหมดอายุ สามารถแลกคะแนนบัตรเครดิต KTC เมื่อไรก็ได้ หรือจะสะสมคะแนนเพื่อเอาไว้ใช้แลกสินค้า แลกบริการฟรี หรือแลกซื้อสินค้าและบริการในราคาพิเศษ ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ระบุไว้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมีโปรโมชั่นให้ลูกค้าสามารถแลกคะแนนสะสมได้ทันที ณ จุดขาย เพื่อความสะดวกสบาย แต่ถ้าต้องการสะสมคะแนนเพื่อแลกรับสินค้าหรือบริการในภายหลังก็ทำได้เช่นกัน
4 บัตรเครดิต KTC ที่เหมาะสำหรับการเป็นบัตรเครดิตใบแรกของทุกคน
สำหรับ first jobber หรือคนที่ยังไม่เคยใช้บัตรเครดิตมาก่อน วันนี้เราจะพาคุณไปดูว่าบัตรเครดิต KTC แบบไหนบ้าง ที่เหมาะสมกับการเป็นบัตรเครดิตใบแรกประจำตัวของคุณ
KTC DIGITAL PLATINUM VISA
1. บัตรเครดิต KTC DIGITAL PLATINUM VISA ช้อปออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย เพื่อไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัลโดยเฉพาะ
- บัตรเครดิตแบบ numberless card ใบแรกของไทย ที่ปลอดภัยด้วยระบบ Dynamic CVV ซึ่งเลขรหัสจะเปลี่ยนทุกที่ขอและใช้ได้ภายใน 24 ชั่วโมง ผ่านทางแอป KTC Mobile
- ใช้จ่ายที่ร้านค้าทั่วไปได้มั่นใจ หมดปัญหาถูกแฮ็กใช้บัตร เพราะบนบัตรไม่มีตัวเลขใดอยู่เลย
- รับสิทธิพิเศษเมื่อใช้จ่ายผ่านร้านค้าและการช้อปปิ้งออนไลน์อีกมากมาย
- สมัครได้เลยเพียงคุณมีรายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน
KTC DIGITAL PLATINUM MASTERCARD
2. บัตรเครดิต KTC DIGITAL PLATINUM MASTERCARD เหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่
- ช้อปปิ้งได้เพลิดเพลินยิ่งขึ้น ด้วยการเปลี่ยนยอดชำระเต็มเป็นยอดผ่อนชำระได้ พร้อมดอกเบี้ยพิเศษ 0.74% สูงสุด 10 เดือน ผ่านทางแอป KTC Mobile
- แตะจ่ายง่าย ปลอดภัย รวดเร็ว ด้วย Visa Contactless ยอดชำระต่ำกว่า 1,500 บาท ไม่ต้องเซ็นอะไรให้วุ่นวาย
- รับประกันเดินทางที่มอบความคุ้มครองสูงสุด 8 ล้านบาท
- สมัครได้เลยเพียงคุณมีรายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน
KTC JCB PLATINUM
3. บัตรเครดิต KTC JCB PLATINUM เติมเต็มความสุขในแบบไลฟ์สไตล์ญี่ปุ่น
- คะแนน X2 ทุกยอดการใช้จ่ายที่ญี่ปุ่น แบบไม่จำกัดยอดรับคะแนนสูงสุด (ยกเว้นยอดการใช้จ่ายที่เป็นสกุลเงินไทย)
- มีบริการห้องรับรองที่สนามบินในญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์ และอื่นๆ
- รับสิทธิพิเศษมากมายสำหรับการท่องเที่ยวและช้อปปิ้งที่ญี่ปุ่น รวมถึงในประเทศไทย
- แตะจ่ายง่าย ปลอดภัย รวดเร็ว ด้วย JCB Contactless ยอดชำระต่ำกว่า 1,500 บาท ไม่ต้องเซ็นอะไรให้วุ่นวาย
- รับประกันเดินทางที่มอบความคุ้มครองสูงสุด 8 ล้านบาท
- สมัครได้เลยเพียงคุณมีรายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน
KTC UNIONPAY PLATINUM
4. บัตรเครดิต KTC UNIONPAY PLATINUM เติมเต็มความสุขในแบบไลฟ์สไตล์ญี่ปุ่น
- รับคะแนน X2 เมื่อช้อปปิ้งที่ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน ด้วยสกุลเงินท้องถิ่น
- ไม่จำกัดยอดรับคะแนนสูงสุด ช้อปปิ้งสุดคุ้มได้เต็มที่
- มั่นใจได้คะแนนสะสมไม่มีวันหมดอายุ
- มี U Collection และ U Plan ที่จัดเต็มเรื่องส่วนลดและสิทธิพิเศษจากร้านอาหาร ร้านค้า สถานที่ท่องเที่ยว รวมถึงโรงแรมทั้งในและต่างประเทศ
- แตะจ่ายง่าย ปลอดภัย รวดเร็ว ด้วย QuickPass ยอดชำระต่ำกว่า 1,500 บาท ไม่ต้องเซ็นอะไรให้วุ่นวาย
- รับประกันเดินทางที่มอบความคุ้มครองสูงสุด 8 ล้านบาท
- สมัครได้เลยเพียงคุณมีรายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน