ทุกๆ ต้นปี หลายคนคงเริ่มเตรียมตัวยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันแล้ว สำหรับใครที่ต้องยื่นภาษีเป็นครั้งแรก สิ่งที่สงสัยคงไม่พ้นคำถามที่ว่า เงินเดือนเท่าไหร่เสียภาษี? และควรวางแผนจัดการเรื่องลดหย่อนภาษีอย่างไรดี ก่อนที่จะตอบคำถามเหล่านี้ เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าฐานภาษีคืออะไร เพื่อช่วยให้เข้าใจเรื่องภาษีมากขึ้นกัน
ฐานภาษี คืออะไร?
ฐานภาษี หมายถึง เงินได้สุทธิต่อปีที่ใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยรายได้ของแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกันออกไป บางคนอาจมีรายได้จากเงินเดือนอย่างเดียว บางคนอาจมีรายได้จากหลากหลายช่องทาง ซึ่งจำนวนเงินได้สุทธิจะได้มาหลังจากหักค่าใช้จ่ายของรายได้ และค่าลดหย่อนภาษีต่างๆ เรียบร้อยแล้ว
รายได้ 150,000 บาทต่อปีขึ้นไป จะต้องเสียภาษี
เงินเดือนเท่าไหร่เสียภาษี 2568
หลังจากที่ทราบฐานภาษี หรือเงินได้สุทธิของตัวเองแล้ว ก็จะสามารถคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปีได้ หากคุณมีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,000 บาทต่อปีขึ้นไป ก็จำเป็นจะต้องเสียภาษีตามที่กำหนด และเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เราขอยกตัวอย่างการคำนวณภาษีจากสมมติฐาน
ตัวอย่าง
- หากมีรายได้ต่ำกว่า 26,000 บาทต่อเดือน จะได้รับการยกเว้นภาษี เนื่องจากมีเงินได้สุทธิต่ำกว่า 150,000 บาทต่อปี
- หากมีรายได้ 26,000 - 35,000 บาทต่อเดือน จะมีเงินได้สุทธิมากกว่า 150,000 บาท แต่ไม่ถึง 300,000 บาทต่อปี จะต้องเสียภาษีในอัตรา 5% เป็นเงินโดยประมาณ 100 - 5,500 บาท
รายได้ต่อเดือน (บาท) |
รายได้รวมทั้งปี (บาท) |
เงินได้สุทธิ (บาท) |
อัตราภาษี |
เสียภาษีสูงสุด (บาท) |
15,000 |
180,000 |
30,000 |
ยกเว้น |
0 |
20,000 |
240,000 |
80,000 |
ยกเว้น |
0 |
26,000 |
312,000 |
152,000 |
5% |
100 |
30,000 |
360,000 |
200,000 |
5% |
2,500 |
40,000 |
480,000 |
320,000 |
10% |
9,500 |
50,000 |
600,000 |
440,000 |
10% |
21,500 |
80,000 |
960,000 |
800,000 |
20% |
75,000 |
100,000 |
1,200,000 |
1,040,000 |
25% |
125,000 |
500,000 |
6,000,000 |
5,840,000 |
35% |
1,559,000 |
คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วางแผนลดหย่อนภาษีอย่างไรดี?
การลดหย่อนภาษี มีบทบาทสำคัญในการวางแผนการเงินให้รัดกุม มีความเป็นระบบมากยิ่งขึ้น หากมีการวางแผนภาษีที่เร็ว ก็จะทำให้เราได้ภาษีเงินคืนและประหยัดเงินในกระเป๋าไปได้มากเลยทีเดียว โดยคุณสามารถพิจารณาตัวเลือกเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้
ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
- สามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 60,000 บาท โดยต้องเป็นการลดหย่อนภาษีที่เกิดจากตนเองและครอบครัว เช่น ค่าลดหย่อนบุตร ค่าฝากครรภ์และทำคลอด
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันและการลงทุน
- ประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์ สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยจะต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- ประกันสุขภาพ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- SSF (Super Saving Funds) สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
- RMF (Retirement Mutual Fund) สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
- เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
- ภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาทุกปี เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้จ่าย
ดังนั้น หากถามว่าเงินเดือนเท่าไหร่เสียภาษี ? คงได้รับคำตอบอย่างชัดเจนแล้ว แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การวางแผนการลดหย่อนภาษีอย่างชาญฉลาด ซึ่งจะสามารถช่วยให้คุณประหยัดเงินภาษีและก้าวสู่เป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้ได้
การมีบัตรเครดิตที่ใช่ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้ง่ายยิ่งขึ้นเช่นกัน สนใจสมัครบัตรเครดิต KTC และ สมัครบัตรกดเงินสด KTC PROUD นอกจากจะมอบสิทธิประโยชน์มากมายในการใช้จ่ายแล้ว ยังมีโปรโมชั่นและแคมเปญที่ช่วยให้คุณประหยัดภาษีได้มากขึ้นด้วย ดังนั้นหากใครยังไม่มีบัตรเครดิต KTC สามารถสมัครออนไลน์ ได้เลยตอนนี้
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC