ทำอย่างไรดี หากเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหว
เมื่อตกอยู่ในสภาวะเงินช็อต ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและภาระหนี้ในระบบมากเกินไป สวนทางกับรายได้ทำให้สภาพคล่องทางการเงินลดลง แต่อย่าเพิ่งถอดใจ หากเริ่มรู้ตัวแล้วว่าหาเงินมาจ่ายหนี้ไม่ไหว สิ่งแรกที่ควรทำคือเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อทำข้อตกลงในการชำระหนี้กันใหม่หรือที่เรียกกันว่า ประนอมหนี้ วิธีแก้ปัญหาหนี้สินแบบแฮปปี้เอ็นดิ้งที่ไม่ควรมองข้าม และเพื่อให้ทุกคนเข้าใจการประนอมหนี้มากขึ้น บทความนี้ขอพาทุกคนไปทำความเข้าใจว่าการประนอมหนี้ คืออะไร มีกี่รูปแบบ เพื่อให้ลูกหนี้หาทางออกได้
การประนอมหนี้ คืออะไร
เป็นการเจรจาข้อตกลงเรื่องหนี้สินกับเจ้าหนี้ เพื่อหาเงื่อนไขใหม่ที่ทำให้ลูกหนี้สามารถผ่อนชำระได้โดยไม่เป็นปัญหาจนเกินไป เช่น ขอผ่อนผัน ลดหย่อน ขอยืดเวลา หรือปรับเปลี่ยนข้อตกลงใหม่ ซึ่งการประนอมหนี้ส่งผลให้เจ้าหนี้ชะลอหรือหยุดการดำเนินการที่เกี่ยวกับลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้ เช่น การฟ้องร้อง หรือบังคับ ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ อีกทั้งยังช่วยลดภาระการชำระหนี้ในช่วงเวลาที่ลูกหนี้ตกอยู่ในสถานการณ์ขาดสภาพคล่องทางการเงินได้
มีหนี้จะต้องแก้ปัญหาอย่างไร
การประนอมหนี้ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้ลูกหนี้ ที่กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องไม่สามารถคืนเงินที่ค้างชำระได้ตามกำหนด แนะนำให้แก้ปัญหาด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
(1) ให้รีบติดต่อกับธนาคารหรือสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้โดยเร็ว เพื่อขอประนอมหนี้ พร้อมเสนอแนวทางในการชำระเงินคืนที่มั่นใจว่าสอดคล้องกับสภาพทางการเงินของตนต่อธนาคารหรือสถาบันการเงิน เช่น ขอผ่อนผัน ลดหย่อนเงินต้นหรืออัตราดอกเบี้ย ยืดเวลาชำระเงินคืน ไปจนถึงขอปรับเปลี่ยนเงื่อนไขของสัญญาบางประการ แต่ทั้งนี้แนวทางแก้ปัญหาที่เสนอต้องสอดคล้องกับนโยบายประนอมหนี้ของธนาคารหรือสถาบันการเงินด้วย
(2) พยายามชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง หากธนาคารหรือสถาบันการเงินยินยอมให้ประนอมหนี้ได้ ลูกหนี้ต้องทำการชำระหนี้ตามจำนวนและระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด หลีกเลี้ยการผิดนัดชำระหนี้โดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจส่งผลกระทบในกรณีที่มีเจรจาประนอมหนี้รอบถัดไป และอาจนำไปสู่กระบวนการทางกฎหมายได้อีกด้วย
(3) เมื่อชำระหนี้ที่ค้างหมดแล้ว ข้อมูลในรายงานของเครดิตบูโรจะไม่ได้รับการปรับสถานะบัญชีและยอดหนี้ในทันที แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเครดิตในเดือนถัดไป เพราะข้อมูลของเครดิตบูโรเป็นการรายงานข้อมูลแบบรายเดือน ถึงอย่างนั้นข้อมูลการค้างชำระเดิมจะไม่ได้ถูกลบออกไป โดยจะยังปรากฏข้อมูลการค้างชำระไว้เป็นระยะเวลา 3 ปี (36 เดือน) หรือตามที่กฎหมายกำหนด
หากไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ตามข้อตกลงเดิมได้ให้รีบเจรจาขอประนอมหนี้
ทำอย่างไร เมื่อได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชําระหนี้
เมื่อเจ้าหนี้ส่งหนังสือทวงถามหนี้ไปเตือนลูกหนี้เพื่อให้ชำระเงินที่ค้างชำระให้เรียบร้อย แนะนำให้ลูกหนี้ติดต่อไปหาเจ้าหนี้โดยทันทีเ พื่อขอไกล่เกลี่ยหนี้ โดยอาจขอผ่อนผัน ลดหย่อน หรือขอยืดเวลา ตามแต่เงื่อนไขหรือรูปแบบประนอมหนี้ที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินเป็นผู้กำหนด หากสามารถประนอมหนี้ได้จะเป็นผลดีต่อทั้ง 2 ฝ่าย เพราะเจ้าหนี้มีโอกาสได้รับชำระเงินคืน ขณะที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับภาระทางการเงินมากเกินไปและสามารถชำระเงินคงค้างคืนได้หมด
เป็นหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด เข้าโครงการประนอมหนี้ที่ไหนดี
การประนอมหนี้ช่วยให้ผ่อนชำระเงินคืนง่ายขึ้น
สำหรับสมาชิกบัตร KTC ที่เป็นหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สามารถเข้าร่วม โครงการประนอมหนี้ KTC ซึ่งเปิดโอกาสให้สมาชิกบัตร KTC เข้ามาเจรจาเพื่อเคลียร์หนี้จำนวนดังกล่าว โดยปัจจุบัน เคทีซีมีหลักการในการเจรจาผ่อนปรนหนี้ 2 แบบ ได้แก่
(1) การเจรจาประนอมหนี้ ภายใต้การทำงานตามขั้นตอนปกติ ซึ่งลูกหนี้สามารถเลือกวิธีเคลียร์หนี้คงค้างกับ KTC ดังนี้
- เลือกชำระเงินคืนในครั้งเดียวเป็นอันเสร็จสิ้น
- เลือกผ่อนชำระเงินคืนเป็นรายงวด แต่อยู่ภายใต้จำนวนเงินและระยะเวลาที่ได้มีการตกลงร่วมกัน
(2) การเจรจาประนอมหนี้ ภายใต้การร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ มีการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกสถานที่ โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง เคทีซีกับหน่วยงานงานภาครัฐ เช่น กรมบังคับคดี ศาล และธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อตกลงหาทางออกร่วมกัน โดยมีเงื่อนไขการผ่อนปรนเป็นกรณีพิเศษ ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน
การประนอมหนี้ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
กรณีไปไกล่เกลี่ยด้วยตนเอง
- บัตรประชาชนของลูกหนี้/ผู้ยื่นคำร้อง
กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นไกล่เกลี่ยแทน
- สำเนาบัตรประชาชนลูกหนี้/ผู้มอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจให้ไกล่เกลี่ยแทนลูกหนี้
- หนังสือมอบอำนาจ
สำหรับสมาชิกบัตร KTC ที่ประเมินแล้วว่าไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามกำหนด สามารถขอคำปรึกษาเพื่อประนอมหนี้บัตรเครดิตได้ที่ KTC PHONE โทร. 02 123 5000 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อผ่านคู่สายกลาง งานประนอมหนี้ 02-631-3399, 02-631-3600, 02-631-3666, 02-631-3700, 02-631-3555 เวลา 08.00 น.-17.00 น.