อิงกระแสรถไฟฟ้ามาแรง หาที่ชาร์จแบบสะดวก ใช้งานที่บ้าน
รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถพลังงานไฟฟ้า (EV Car) เป็นกระแสรักษ์โลกที่ได้รับการผลักดันมาระยะหนึ่ง เพราะรถพลังงานไฟฟ้าเข้ามาช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน หลายประเทศได้ออกกฎหมายและการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อรถไฟฟ้ามาใช้งาน คาดว่าในอนาคตรถไฟฟ้าจะกลายมาเป็นยานพาหนะหลักที่ผู้คนเกือบทุกประเทศเลือกใช้งาน
การชาร์จรถไฟฟ้าที่ได้รับความนิยม
รถไฟฟ้าเป็นรถที่ใช้งานด้วยกระแสไฟฟ้า ทำให้ต้องมีการชาร์จไฟอยู่เสมอ โดยการชาร์จไฟนี้สามารถทำได้หลายวิธี
- การชาร์จแบบ Normal
วิธีการชาร์จแบบทั่วไป หรือ Normal คือการเสียบสายไฟเข้ากับเต้ารับโดยตรงแล้วนำมาชาร์จกับรถยนต์ไฟฟ้า ถือว่าเป็นวิธีชาร์จโดยใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน แต่ต้องมีเต้ารับสำหรับชาร์จเครื่องยนต์ EV โดยตรง เพราะในการชาร์จต้องใช้กระแสไฟฟ้าที่มากกว่าการใช้ในครัวเรือนอย่างเดียว ใช้เวลาในการชาร์จประมาณ 12-16 ชั่วโมง
- การชาร์จแบบ Double Speed
เป็นการชาร์จที่มีความรวดเร็วขึ้นมาจากแบบ Normal โดยใช้เวลาในการชาร์จประมาณ 6-8 ชั่วโมง สามารถชาร์จแบบนี้ได้ที่ตู้ให้บริการชาร์จรถยนต์ EV เป็นเครื่องที่ใช้การชาร์จแบบกระแสสลับเพื่อช่วยให้การชาร์จเครื่องยนต์เป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น
- การชาร์จแบบ Quick Speed
ถือเป็นวิธีการชาร์จรถไฟฟ้าที่รวดเร็วที่สุด เพราะเป็นการชาร์จภายในสถานีชาร์จ EV โดยเฉพาะ ทำให้พลังงานไฟฟ้ากระแสตรงเข้าสู่แบตเตอรี่รถอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาเพียง 40-60 นาทีเท่านั้น แต่มีข้อเสียคือแบตอาจจะเสื่อมสภาพเร็ว ฉะนั้นควรตรวจสภาพแบตเตอรี่รถเป็นประจำ
ปัจจุบันการชาร์จรถยนต์ EV มีทั้งการชาร์จที่บ้าน การชาร์จผ่านเครื่อง และชาร์จในสถานี แต่การให้บริการยังคงไม่ครอบคลุม คาดว่าในอนาคตจะมีการผลักดันการใช้รถ EV มากขึ้น คาดผู้มีให้บริการเปิดจุดชาร์จรถไฟฟ้าในสถานีบริการน้ำมันเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้งานรถไฟฟ้าสามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวอย่างทั่วถึง
การติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าในบ้าน
รถยนต์ EV ใช้การชาร์จด้วยกระแสไฟฟ้า
โดยปกติการชาร์จรถไฟฟ้ามักจะชาร์จที่สถานีชาร์จและเครื่องชาร์จ EV Charger เป็นหลัก แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านจำนวนสถานีชาร์จในประเทศไทยที่ยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ประกอบกับระยะเวลาในการชาร์จค่อนข้างนาน ดังนั้นการพิจารณาติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านเพื่อใช้งานส่วนตัวจึงเป็นทางเลือกที่หลายคนให้ความสนใจ และมีเรื่องที่ควรคำนึงถึงก่อนติดตั้งหัวชาร์จ ดังนี้
ไฟบ้านที่ใช้
การชาร์จรถ EV หรือรถไฟฟ้าจะใช้ไฟบ้านเป็นพลังงานหลัก หากต้องการติดตั้งที่ชาร์จเองที่บ้านต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น แต่ถ้าเปรียบเทียบกับน้ำมันรถก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ยังน้อยกว่า เพราะการชาร์จแบตรถยนต์หนึ่งครั้งสามารถวิ่งได้ใกล้เคียงกับการเติมน้ำมันเต็มถัง แต่ค่าไฟในการชาร์จถูกกว่าค่าน้ำมัน
พื้นที่ในการติดตั้ง
การเลือกพื้นที่สำหรับติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าภายในบ้านมีความสำคัญมาก เพราะช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานและเพิ่มความสะดวกสบายสำหรับการชาร์จแบตรถยนต์ โดยพื้นที่ในการติดตั้งที่ควรมีลักษณะดังนี้
- อยู่ใกล้ที่จอดรถ
สายชาร์จรถไฟฟ้ามีความยาวประมาณ 5-7 เมตร ดังนั้นพื้นที่ที่ใช้วางเครื่องชาร์จจึงไม่ควรห่างจากจุดจอดรถเกิน 7 เมตร
- อยู่ใกล้ตู้ MBD
ตู้ MBD คือตู้ที่ใช้จ่ายไฟภายในบ้าน การจัดพื้นที่ชาร์จให้อยู่ใกล้ตู้จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายที่โยงไปยังเครื่อง
ความปลอดภัย
การติดตั้งเครื่องชาร์จด้วยตัวเองที่บ้านต้องไม่มองข้ามเรื่องความปลอดภัย เพราะหากเกิดอุบัติเหตุระหว่างชาร์จอาจส่งผลกระทบร้ายแรงทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน
- เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD)
สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือเครื่องตัดไฟรั่ว โดยที่ชาร์จบางรุ่นมีระบบตัดไฟฟ้าลัดวงจรมาให้อยู่แล้ว แต่หากรุ่นที่ซื้อมาไม่มีระบบตัดไฟ ควรติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วเพิ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน
- ติดตั้งสายดิน
การโยงสายหลักลงดินช่วยลดโอกาสในการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ ควรหาช่างผู้เชี่ยวชาญมาติดตั้งสายดินและควรมีเต้ารับ EV Socket แบบ 3 รู สำหรับการชาร์จรถไฟฟ้าโดยเฉพาะ
การเตรียมความพร้อมเพื่อติดตั้งที่ชาร์จรถ EV ภายในบ้านช่วยลดความกังวลในกรณีที่นอกบ้านไม่มีสถานีชาร์จแบตหรือไม่มีเครื่อง EV Charger เหมาะสำหรับคนที่อยากมีรถพลังงานไฟฟ้า แต่กังวลเรื่องที่ชาร์จเพราะลงทุนเพิ่มขึ้นนิดหน่อยแต่ได้ใช้รถที่ประหยัดค่าน้ำมัน ดีต่อโลก และเป็นเทรนด์แห่งอนาคตด้วย ส่วนผู้ใช้งานรถไฟฟ้าที่พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหรือคอนโด หากสนใจติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าภายในคอนโด อาจต้องสำรวจความคิดเห็นผู้พักอาศัยทั้งหมด รวมถึงกำหนดค่าชาร์จไฟรถ EV ต่อหน่วยให้เรียบร้อย
ปัจจุบันคนมีรถมากขึ้น แต่รถ EV ยังคงได้รับความนิยมน้อย สาเหตุหลัก ๆ มาจากสถานีชาร์จที่มีน้อยและการรองรับการชาร์จไม่ครอบคลุม นอกจากนั้นรถ EV ยังไม่รองรับการกู้สินเชื่อจึงอาจทำให้เมื่อต้องการเงินด่วนไม่สามารถขอกู้ได้ แต่ถ้ามีรถยนต์ทั่วไปที่ไม่ใช่รถ EV สามารถนำไปกู้สินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงินที่อนุมัติเร็วทันใจภายใน 2 ชั่วโมง พร้อมรับเงินทันที ในอนาคตจึงหวังว่าจะมีมาตรการรองรับรถ EV ที่มากขึ้น รวมถึงมีการอนุมัติกู้ให้กับรถ EV ด้วย ซึ่งต้องติดตามข่าวสารกันต่อไป
รถ EV ช่วยรักษ์โลก ส่วนรถธรรมดาเป็นตัวช่วยหาเงินด่วนกับ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน