ความสำคัญของสถานีชาร์ตรถไฟฟ้า
หนึ่งในปัญหาที่ทำให้ผู้บริโภคชาวไทยเกิดความกังวลในการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือรถ EV มากที่สุด คงหนีไม่พ้นเรื่องจำนวนของสถานีชาร์ตรถไฟฟ้า เพราะไม่รู้ว่าเวลาเดินทางไกลข้ามจังหวัดไป จะมีสถานีชาร์ตรถไฟฟ้าระหว่างทางให้จอดชาร์ตหรือเปล่า หากคำนวณระยะทางไม่ดี ก็กลัวว่ารถจะไปตายกลางทางเอาดื้อ ๆ
แต่ในปัจจุบัน ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าได้ค่อนข้างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นจากทางฝั่งภาครัฐเองก็ดี หรือจะเป็นจากทางฝั่งภาคเอกชนก็ตาม ทำให้สถานีชาร์จรถไฟฟ้าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานั้นขยายตัวยิ่งกว่าดอกเห็ด จึงทำให้ผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า หรือผู้ที่กำลังตัดสินใจจะเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ EV มีความมั่นใจได้ว่าจะมีสถานีชาร์ตรถไฟฟ้ารองรับการใช้งานได้อย่างครอบคลุมแน่นอน เพียงแค่เสิร์ชคำว่า “สถานีชาร์จรถไฟฟ้า 2567 ใกล้ฉัน” “จุดชาร์จรถไฟฟ้า ใกล้ฉัน” หรือ “ev station ใกล้ฉัน” ก็จะเจอจุดที่สามารถจอดชาร์จรถไฟฟ้าของคุณได้ทันที แต่หากใครยังมีความสงสัย ว่าจุดให้บริการชาร์จรถไฟฟ้าของแต่ละเจ้าแตกต่างกันอย่างไร มีการคิดค่าไฟฟ้าในการบริการที่เท่าไหร่ วันนี้ทาง KTC เราขออาสามาบอกทุกคนเอง
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ประเภทของสถานีชาร์ตรถไฟฟ้า
อีกหนึ่งสิ่งที่ยังใหม่สำหรับใครหลายคนในการเปลี่ยนมาใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ก็คือเรื่องของหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถ EV ที่มีค่อนข้างจะหลากหลายประเภท รวมไปถึงรูปร่างหน้าตาหัวชาร์จก็ยังไม่เหมือนกันอีก แต่โดยมากแล้ว รถยนต์ไฟฟ้า หรือรถ EV มักจะมีการรองรับการชาร์จไฟทั้งแบบกระแสสลับ (AC) และแบบกระแสตรง (DC) มาให้อยู่แล้ว
และปัจจุบัน สถานีชาร์ตรถไฟฟ้าในบ้านเรา (EV Station) จะมีให้บริการการชาร์จแบบ Double Speed Charge ที่มีเป็นการชาร์จแบบกระแสสลับ (AC) คล้ายกับ Normal Charge แต่จะกินระยะเวลาน้อยกว่า อยู่ที่ราว ๆ 6-8 ชม. และอีกแบบหนึ่ง คือการชาร์จแบบ Quick Charge ที่เป็นการชาร์จแบบกระแสตรงเข้าไปในตัวแบตเตอรี่ กินระยะเวลาในการชาร์จเพียง 30 นาที - 2 ชม. จึงครอบคลุมการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ทุกประเภท
สถานีชาร์จแบบ AC
การชาร์จแบบกระแสสลับ (AC) คือการชาร์จไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลของกระแสไฟสลับไปมา ไม่มีขั้วบวกกับลบ ผ่านไปยังตัว On Board Charger หรือเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า ก่อนแปลงเป็นกระแสตรง (DC) เข้าสู่แบตเตอรี่รถยนต์เพื่อใช้งาน ซึ่งมีข้อดี และข้อเสียต่างกันดังนี้
- ข้อดีของการชาร์จแบบ AC : การชาร์จรถไฟฟ้าด้วยกระแสสลับ จะไม่ทำลายสุขภาพของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า มีค่าไฟต่อหน่วยถูกกว่า มีให้บริการที่สถานีชาร์จรถไฟฟ้าทั่วประเทศ
- ข้อเสียของการชาร์จแบบ AC : ไม่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการเดินทางไกล เพราะใช้เวลาในการชาร์จค่อนข้างนาน เมื่อเทียบกับการชาร์จแบบ DC ที่แพงกว่านิดหน่อย ก็อาจจะยังไม่คุ้มอยู่ดี จึงเหมาะกับการชาร์จเมื่อต้องค้างคืน หรืออยู่ภายในบ้านพักอาศัยเท่านั้น
สถานีชาร์จแบบ DC
การชาร์จแบบกระแสตรง (DC) หรือที่หลายคนเรียกว่า Quick Charge จะเป็นการชาร์จเข้าตัวแบตเตอรี่รถยนต์ได้โดยตรง แบบไม่ต้องผ่าน On Board Charger จึงมีระยะเวลาในการชาร์จเฉลี่ยเพียง 30 นาที - 2 ชม. ซึ่งแบ่งเป็นข้อดี และข้อเสียได้ดังนี้
- ข้อดีของการชาร์จแบบ DC : มีระยะเวลาในการชาร์จที่สั้น จาก 10% - 80% ภายใน 30 นาที จึงตอบโจทย์คนที่ต้องใช้รถเดินทางไกล หรือท่องเที่ยวได้อย่างสะดวก โดยไม่จำเป็นจะต้องชาร์จให้เต็มความจุ
- ข้อเสียของการชาร์จแบบ DC : มีราคาในการชาร์จที่แพงกว่าแบบ AC และจำนวนสถานีที่มีหัวชาร์จประเภทนี้ยังไม่ครอบคลุมมากนัก อีกทั้งยังเป็นการชาร์จแบบเข้าแบตเตอรี่โดยตรง จึงอาจทำให้แบตเสื่อมสภาพไวขึ้น
สถานีชาร์ตรถไฟฟ้าในไทย มีหัวชาร์จรองรับกี่แบบ
มาตรฐานการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ยังเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ยังคงถกเถียงกันไม่ตก เพราะรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละค่ายที่ถูกผลิตออกมา ก็ยังมีหัวชาร์จที่แตกต่างกันไป ยังคงไม่ได้ทำให้มีมาตรฐานเดียวกับเหมือนกับสายชาร์จมือถือ จึงทำให้ผู้บริโภคยังเกิดความสับสนในการใช้งาน รวมไปถึงสถานีชาร์จรถไฟฟ้าเอง ก็จำเป็นจะต้องติดตั้งหัวชาร์จให้ครอบคลุมการใช้งานตรงจุดนี้ด้วยเช่นกัน แต่หลัก ๆ จะแบ่งได้ทั้งหมดตามนี้
- TYPE 1 (AC) : เป็นหัวชาร์จกระแสสลับแบบไฟ 1 เฟส มีลักษณะหัวต่อแบบ 5 pin รองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุด 32A / 250V มักจะนิยมใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าจากอเมริกา หรือญี่ปุ่นเป็นหลัก
- TYPE 2 (AC) : เป็นหัวชาร์จกระแสสลับไฟ 1 เฟส มีลักษณะหัวต่อแบบ 7 pin รองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุด 70A หรือ 250V และยังสามารถรองรับกระแสสลับแบบไฟ 3 เฟส ที่กระแสไฟฟ้า 63A หรือ 480V ได้ด้วย โดยมากจะนิยมใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าจากยุโรป และเอเชีย จึงเป็นประเภทที่นิยมใช้ในบ้านเรา
- CHAdeMO (DC) : เป็นมาตรฐานหัวชาร์จจากญี่ปุ่น ที่รองรับการชาร์จด้วยความเร็วสูงสุด 200A / 600 V
- GB/T : เป็นมาตรฐานหัวชาร์จจากจีน ที่รองรับการชาร์จทั้งกระแสสลับ และกระแสตรง โดยแบบกระแสสลับ (AC) จะรองรับกระแสไฟที่ “10A” “16A” และ “32A” / 250V - 440V และกระแสตรง (DC) จะรองรับกระแสไฟที่ “80A” “125A” “200A” และ “250A” / 750V - 1,000V
- Combined Charging System (CSS) : เป็นหัวชาร์จที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก AC Charging ด้วยการเพิ่มหัวต่ออีก 2 pin ให้รองรับการชาร์จกระแสตรงแบบ DC Charging ร่วมด้วย ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น TYPE 1 ที่นิยมใช้ในอเมริกาเหนือกับญี่ปุ่น รองรับกระแสไฟฟ้า 200A/ 600V และแบบ TYPE 2 ที่นิยมใช้ในยุโรป และเอเชีย รองรับกระแสไฟฟ้า 200A / 1000V
รวมสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ใกล้ฉัน 2567
แม้ว่าจะมีสถานีชาร์จรถไฟฟ้ามากมายในปัจจุบัน แต่คนใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ ก็คงอยากที่จะรู้จุดสังเกตง่าย ๆ เวลาขับผ่านตามสถานีชาร์จ ว่าที่ไหนนั้นเอารถเข้าไปจอดชาร์จได้บ้าง เราจะพาไปดูผู้ให้บริการสถานีชาร์จรถไฟฟ้า 2567 กัน
สถานีชาร์จรถไฟฟ้าของ MEA EV Charging Station
MEA EV หรือสถานีชาร์จรถไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง มีให้บริการทั้งหมด 34 สถานี รวม 138 หัวชาร์จ โดยแบ่งเป็นจุดชาร์จที่ทำการในส่วนของการไฟฟ้า (MEA) 20 แห่ง และชุดชาร์จในพื้นที่พันธมิตรอีก 14 แห่ง ครอบคลุมทั่วพื้นที่กรุงเทพ และปริมณฑล โดยมีบริการทั้งแบบอัดประจุธรรมดา (AC Charging) และอัดประจุแบบเร็ว (DC Charging)
ค่าบริการ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า MEA
- ค่าชาร์จ 7.5 บาท / หน่วย (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
แอปพลิเคชันค้นหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้า MEA EV
อีกหนึ่งช่องทางสุดแสนจะสะดวกสบาย สำหรับคนที่ต้องการเช็กจุดชาร์จรถไฟฟ้าจากทาง MEA สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน MEA EV เพื่อค้นหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้าใกล้ฉัน รวมไปถึงการเช็คจุดชาร์จรถไฟฟ้าใกล้ฉัน ของสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) และ EA Anywhere ได้เช่นกัน
สถานีชาร์จรถไฟฟ้าของ EA Anywhere
EA Anywhere เป็นผู้ให้บริการสถานีชาร์จรถไฟฟ้าเอกชน จากบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ หรือ Energy Absolute ที่ใครหลายคนคุ้นชื่อกัน โดยมีให้บริการจุดชาร์จรถไฟฟ้าทั้งแบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และแบบแบตเตอรี่ล้วน (BEV) ทั้งสิ้นกว่า 500 สถานี
และในส่วนของรถยนต์ไฟฟ้า ที่รองรับการใช้หัวชาร์จแบบ TYPE 2 สถานีชาร์จรถไฟฟ้าของ EA จะมีการให้บริการอัดประจุแบบเร็ว (DC Charging) 150 kW ในวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 22.00 - 08.00 น. และวันเสาร์ - อาทิตย์ รวมถึงวันหยุดราชการ (ไม่รวมวันหยุดชดเชย) ตลอด 24 ชั่วโมง
ค่าบริการ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า EA Anywhere
การชาร์จแบบ AC Charging จะคิดค่าบริการเป็นรายชั่วโมง
- 1 ชั่วโมง 50 บาท
- 2 ชั่วโมง 80 บาท
- 3 ชั่วโมง 110 บาท
- 4 ชั่วโมง 150 บาท
การชาร์จแบบ DC Charging
- คิดค่าชาร์จเริ่มต้นที่ 6.50 - 7.50 บาท / หน่วย
แอปพลิเคชันค้นหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้า EA Anywhere
ในส่วนของการหาจุดชาร์จรถไฟฟ้าจากทาง EA Anywhere นั้นก็ง่ายเหมือนกัน เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “EA Anywhere” มาใช้งาน ก็สามารถเช็คได้ทันทีว่ามีจุดชาร์จไหนอยู่บริเวณใกล้เคียงบ้าง รวมไปถึงฟังก์ชันในการจอง และรับชำระเงินแบบสะดวกสบายครบจบในแอปเดียว
สถานีชาร์จรถไฟฟ้าของ PTT EV Station Pluz
EV Station Pluz เป็นปั๊มชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจากบริษัท ปตท. จำกัน (มหาชน) ผู้ให้บริการเจ้าใหญ่ ที่ปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนในปั๊มน้ำมัน ให้กลายเป็นสถานีชาร์จรถไฟฟ้า จึงทำให้มีการขยายจุดชาร์จได้รวดเร็วกว่าผู้ให้บริการเจ้าอื่นเป็นอย่างมาก กับจำนวนมากกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ ที่ตั้งเป้าจะขยายให้กลายเป็น 7,000 สถานีก่อนปี 2573
โดยมีรูปแบบการให้บริการชาร์จทั้งแบบ Normal Charge (TYPE 2) กำลังไฟ 7.4 กิโลวัตต์ และแบบ Quick Charge (DC) ที่มีกำลังไฟให้สูงถึง 160 กิโลวัตต์ พร้อมหัวชาร์จแบบ “AC-TYPE 2” “CSS TYPE 2” และ “CHAdeMO”
ค่าบริการ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า EV Station Pluz
- ค่าจองเวลาชาร์จล่วงหน้า 20 บาท
- ค่าชาร์จช่วง On-Peak 7.5 บาท / หน่วย
- ค่าชาร์จช่วง Off-Peak 4.5 บาท / หน่วย
แอปพลิเคชันค้นหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้า EV Station Pluz
ด้วยความที่จำนวนสถานีชาร์จมีค่อนข้างเยอะ การดาวน์โหลดแอปพลิเคชันในการค้นสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ใกล้ฉัน กับทางแอปจึงสะดวกมากกว่า เพราะสามารถช่วยในการวางแผนล่วงหน้าได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเดินทางไปทำงาน หรือท่องเที่ยวก็ตาม
สถานีชาร์จรถไฟฟ้าของ PEA VOLTA
PEA VOLTA เป็นจุดให้บริการชาร์จรถไฟฟ้าจากทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ที่มีสถานีชาร์จรถไฟฟ้าครอบคลุมทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ กว่า 118 สถานี พร้อมตั้งเป้าในการเพิ่มจำนวนให้เกินกว่า 263 สถานี รวมแล้ว 1,000 หัวชาร์จ อีกทั้งยังได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับปั๊มน้ำมันบางจาก ในการติดตั้งปั๊มชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charger Station) ในเส้นทางสายหลักของประเทศกว่า 56 สาขา ทุกระยะทาง 100 กิโลเมตรในเส้นขาเข้า-ออก
โดยมีการให้บริการชาร์จรถไฟฟ้าแบบ Multi-Standard อยู่ 3 รูปแบบ ได้แก่ การอัดประจุแบบธรรมดา (AC TYPE 2) ที่กระแสไฟ 43 กิโลวัตต์ การอัดประจุแบบเร็ว (DC Quick Charge) ด้วยหัวชารจ์ CHAdeMO ขนาด 50 กิโลวัตต์ และอัดประจุแบบเร็ว (DC Quick Charge) ด้วยหัวชาร์จแบบ CSS TYPE 2 ขนาด 50 กิโลวัตต์
ค่าบริการ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า PEA VOLTA
- ค่าชาร์จช่วง On-Peak 6.9 บาท / หน่วย
- ค่าชาร์จช่วง Off-Peak 4.5 บาท / หน่วย
แอปพลิเคชันค้นหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้า PEA VOLTA
แม้จะเป็นสถานีชาร์จของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แต่ก็สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน PEA VOLTAเพื่อค้นหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้าใกล้ฉัน ได้เช่นกัน นอกจากนั้น ตัวแอปยังมีฟังก์ชันที่ช่วยระบุระยะห่างจากจุดที่คุณอยู่ กับระยะสถานีชาร์จที่ใกล้ที่สุดให้ด้วย ซึ่งสะดวกต่อคนใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นอย่างมาก ที่จะต้องการความเป๊ะในเรื่องของระยะทาง และเวลาในการเดินทาง
สถานีชาร์จรถไฟฟ้าของ Elex by EGAT
Elex by EGAT เป็นสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟฝ.) ที่ให้บริการในจุดชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าด้วยเช่นกัน โดยจะเป็นพันธมิตรร่วมกับปั๊มน้ำมัน PT และสถานที่ต่างๆ อย่างเขื่อนโรงไฟฟ้า และศูนย์การเรียนรู้ของ กฟผ. รวมกว่า 50 แห่ง
ค่าบริการภายในพื้นที่สถานีบริการน้ำมัน PT
- ค่าชาร์จ 7.5 บาท / หน่วย
ค่าบริการภายในพื้นที่ กฟผ. ทุกสาขา
- ค่าชาร์จ AC 5.5 บาท / หน่วย
- ค่าชาร์จ DC 6.5 บาท / หน่วย
สรุปบทความ อัปเดตล่าสุด สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ev station ใกล้ฉัน 2567
แม้ว่าการเสิร์ชคำว่า “สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ใกล้ฉัน” “จุดชาร์จรถไฟฟ้า ใกล้ฉัน” และ “ev station ใกล้ฉัน” จะสามารถช่วยหาสถานีชาร์จในบริเวณใกล้เคียงได้ก็จริง แต่การทำความรู้จักกับผู้ให้บริการสถานีชาร์จแต่ละเจ้า รวมไปถึงประเภทของหัวชาร์จแต่ละแบบ ก็ยังคงเป็นความรู้เบื้องต้นที่สำคัญสำหรับคนใช้รถไฟฟ้าอย่างเรา ๆ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เราเลือกสถานีชาร์จจากภาครัฐมาแนะนำกันถึง 3 แห่ง เพราะนอกจากจะมีสถานีที่ค่อนข้างครอบคลุมแล้ว ยังคงมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่สูงอีกด้วย เพราะเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพลังงานไฟฟ้าโดยตรง
ส่วนใครที่กำลังประสบปัญหาด้านสภาพคล่อง อยากจะลดภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมไปถึงการเดินทาง แต่จะให้เปลี่ยนจากการใช้งานรถน้ำมันไปเป็นรถไฟฟ้าในทันทีก็ยังทำไม่ได้ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน สินเชื่อวงเงินใหญ่ สมัครง่าย อนุมัติไว รับเงินได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้คนค้ำ ผ่อนได้ยาวสูงสุด 84 เดือน และพร้อมไปหาคุณถึงที่แบบไม่มีวันหยุด คืออีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการเงินก้อนฉุกเฉินแบบรวดเร็วทันใจ
*กรุณาศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนทำการสมัคร*
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ และธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด*
*KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน เป็นสินเชื่อสำหรับรถยนต์สันดาปเพียงเท่านั้น*
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 21% - 24% ต่อปี*