หลายคนคิดว่า ออมเงินทำไม? อายุยังน้อย รายได้ก็อาจจะยังไม่มาก รอโตกว่านี้แล้วค่อยออมก็ได้ดีกว่ามาออมทีละนิด แต่นั่นคือความคิดที่ทำให้อาจจะพลาดโอกาสมีเงินก้อนไว้ใช้ในอนาคต เพราะที่จริงแล้วยิ่งเริ่มต้นเก็บออมตั้งแต่อายุน้อย ๆ นั้นมีข้อดีมากมาย และการออมเงินทีละนิดก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร ในทางกลับกัน การออมเพียงนิดหน่อยแต่สม่ำเสมอได้ผลมากกว่าการออมเยอะแต่ไม่ต่อเนื่องอย่างมาก ซึ่งการออมเงินก็ไม่ได้ยากเกินกว่าจะทำไม่ได้ บทความนี้จะมาแชร์เทคนิคออมเงินที่เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ ที่ทำให้การออมเงินเป็นเรื่องง่าย สนุก และเห็นผลจริง ไม่ใช่แค่ทฤษฎีบนกระดาษ
ทำไมถึงควรเริ่มออมเงินตั้งแต่อายุน้อย
1. พลังของการทบต้น
การออมตั้งแต่อายุน้อยเป็นเทคนิคออมเงินที่เหมือนการปลูกต้นไม้ อาจจะเติบโตช้า แต่ยิ่งนานวันต้มไม้ก็จะยิ่งเติบโตและแข็งแกร่ง
ตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ
- คนที่ 1: เริ่มออมอายุ 20 ปี เดือนละ 2,000 บาท (ออมจนอายุ 30 แล้วหยุด = ออมทั้งหมด 240,000 บาท)
- คนที่ 2: เริ่มออมอายุ 30 ปี เดือนละ 4,000 บาท (ออมจนอายุ 60 = ออมทั้งหมด 1,440,000 บาท)
ใครจะมีเงินมากกว่าตอนอายุ 60? คำตอบคือ คนที่ 1 เพราะเงินของเขามีเวลาทำงาน 40 ปี ขณะที่คนที่ 2 มีเวลาแค่ 30 ปีนั่นเอง
2. สร้างวินัยทางการเงินตั้งแต่เนิ่นๆ
การออมเงินตั้งแต่อายุน้อยเหมือนการฝึกวินัยให้กับตัวเอง เพื่อเรียนรู้วิธีแยกแยะระหว่าง "อยาก" กับ "ต้องการ" ฝึกการวางแผนเทคนิคออมเงินระยะยาวและสร้างความมั่นใจในการจัดการเงิน
3. มีเงินฉุกเฉินก่อนใคร
สถานการณ์ฉุกเฉินหรือเหตุไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอแบบไม่มีสัญญาณเตือน เช่น เกิดอุบัติเหตุ หรือป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาล แต่ประกันกลับให้สำรองจ่ายไปก่อน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเคลมได้ไหม หากเราไม่มีเงินออมสำรองไว้เลย ก็จะทำได้รักษาช้า หรือรักษาแบบไม่เต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น หรือเหตุการณ์อื่น ๆ เช่น อุปกรณ์เรียน/ทำงานเสีย, ต้องแบ่งเงินไปช่วยเหลือครอบครัวแบบกะทันหัน ดังนั้นการฝึกเทคนิคออมเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น เราจะมั่นใจว่าสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายโดยไม่เดือดร้อนใคร
4. เปิดโอกาสลงทุนและสร้างธุรกิจ
การมีเงินออมจะเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ ๆ ที่ก่อนคนอื่น เพราะเมื่อเก็บเงินไปได้สักระยะ แล้วเงินก้อนนั้นไม่ได้ถูกนำไปใช้อะไร มันจะกลายเป็นเงินเย็นที่สามารถนำไปลงทุนได้ ไม่ว่าจะเป็นลงทุนหุ้น หรือกองทุนรวม ซึ่งเป็นเทคนิคออมเงินสำหรับใครที่เริ่มมีความสนใจเรื่องธุรกิจก็สามารถเริ่มสร้างธุรกิจเป็นของตัวเองได้ก่อนใครเพราะเราเก็บเงินไว้เป็นต้นทุนอยู่แล้ว หรือจะเอาเงินไปลงทุนพัฒนาทักษะ เรียนภาษา หรือซื้ออุปกรณ์ที่ช่วยหารายได้เสริม ต่อยอดให้ตัวเองไปได้อีก
5. ความเป็นอิสระทางการเงิน
การมีเงินออมให้ความรู้สึกเป็นอิสระที่ล้ำค่า ไม่ต้องรอเงินพ่อแม่ ไม่ต้องคิดมากเวลาอยากซื้อของ ไม่ต้องปฏิเสธโอกาสดี ๆ เข้ามา เช่น โอกาสที่จะได้ไปเรียนต่อหรือทำงานต่างประเทศ ซึ่งบางครั้งถ้าไม่มีต้นทุนเลยก็อาจจะทำให้ลำบากหรือไปไม่ได้เลย ดังนั้นการออมเงินไว้ ก็จะช่วยให้เราหมดห่วงเรื่องนี้ไปได้
6. สร้างความมั่นใจและลดความเครียด
การมีเทคนิคออมเงินที่ดีจะช่วยให้รู้ว่าเรามีเงินสำรองทำให้นอนหลับสบาย ไม่ต้องเครียดเรื่องเงินเวลาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ยิ่งถ้าใครเริ่มเก็บเงินตั้งแต่ตอนเรียนแล้วยิ่งสบาย เพราะเมื่อเรียนจบ เราไม่มีอะไรมารับประกันมาว่าจะได้งานทันที ด้วยเศรษฐกิจที่ไม่รู้จะดีขึ้นหรือแย่ลง ดังนั้นการมีเงินเก็บสำรองไว้ก็จะช่วยให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องเงินที่ใช้ในชีวิตประจำวันระหว่างรอได้งานทำนั่นเอง
7. เรียนรู้การจัดการความเสี่ยง
การออมเงินสอนให้เราเข้าใจหลักการของเทคนิคออมเงิน เช่น "กระจายความเสี่ยง" ไม่พึ่งพารายได้จากแหล่งเดียว เช่น การแบ่งเงินเป็นสัดส่วน (เช่น 50% ใช้จ่าย, 30% ออม, 20% ลงทุน การหาแหล่งรายได้หลายๆ ช่องทาง และการประเมินความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทางการเงิน
8. ได้เปรียบในการต่อรองและซื้อของ
เมื่อมีเงินออม เราสามารถใช้ประโยชน์จากดีลดี ๆ โดยไม่ต้องกังวล และบางครั้งการรูดบัตรเครดิตกับทุกอย่าง อาจจะทำให้ลำบากตอนชำระยอดสิ้นเดือนถ้ามีเงินจ่ายไม่พอ ทำให้มีหนี้สินเกินตัว ในขณะที่ถ้าเราออมเงินไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะสามารถใช้ได้ทั้งเงินสดและบัตรเครดิต โดยไม่กังวล แต่ต้องวางแผนเทคนิคออมเงินดี ๆ ว่าสินค้าไหนใช้เงินสดหรือบัตรเครดิตคุ้มกว่ากัน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
9. เป็นแรงบันดาลใจให้คนรอบข้าง
เมื่อเราออมเงินได้สำเร็จ จะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้เพื่อน ๆ และคนในครอบครัวเริ่มออมเงินตาม ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีมาก เพราะเมื่อคนรอบข้างหันมาออมเงิน ทุกคนก็จะมีเงินสำรองฉุกเฉินไว้ใช้จ่ายเวลาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด โดยไม่ต้องเดือดร้อนไปยืมใคร ซึ่งเราสามารถเป็นได้ทั้งที่ปรึกษาด้านการเงิน เทคนิคออมเงิน ให้เพื่อน ๆ และช่วยครอบครัววางแผนการเงิน
10. เตรียมพร้อมสำหรับเป้าหมายใหญ่ในอนาคต
การออมตั้งแต่อายุน้อยทำให้เราพร้อมสำหรับเป้าหมายสำคัญในชีวิต เช่น ซื้อบ้าน แต่งงาน หรือเกษียณอายุอย่างสบาย ไม่ว่าจะเป็นเงินดาวน์ซื้อบ้าน (20-30% ของราคาบ้าน) ค่าใช้จ่ายแต่งงาน (300,000-1,000,000 บาท) เงินเลี้ยงดูเด็ก และค่าการศึกษา เงินเกษียณอายุ ซึ่งควรมี 10-15 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำปี
ตั้งเป้าหมายการออมให้ชัดเจน
- เป้าหมายระยะสั้น (1–6 เดือน) เหมาะกับเป้าหมายเล็ก ๆ ที่ทำให้สำเร็จได้เร็ว เช่น ซื้อมือถือใหม่ ทริปเที่ยวในประเทศ ซื้อของขวัญให้ตัวเอง
- เป้าหมายระยะกลาง (6 เดือน – 2 ปี) สำหรับความมั่นคงเบื้องต้น และของชิ้นใหญ่ที่ไม่ด่วนมาก เช่น เงินฉุกเฉิน (3–6 เท่าของรายจ่ายรายเดือน) โน้ตบุ๊กใหม่ ค่าคอร์สเรียนเพิ่มทักษะ
- เป้าหมายระยะยาว (มากกว่า 2 ปีขึ้นไป) เป้าหมายชีวิตที่ใช้เงินก้อนใหญ่และเวลาเก็บนาน เช่น เงินดาวน์บ้าน/รถเรียนต่อ เริ่มธุรกิจ เกษียณอย่างอิสระ
เทคนิคออมเงินสำหรับ Gen Z
เทคนิคออมเงินแบบง่าย ๆ
1. ออมก่อนใช้ ไม่ใช่ใช้ก่อนออม
เมื่อได้รับค่าขนมหรือเงินเดือน ให้หักเงินออมทันทีที่เงินเข้า เช่น 10–20% ไม่ควรใช้เงินไปก่อนแล้วเหลือเท่าไหร่ค่อยเอาไปออม เพราะถ้าเดือนไหนเราเผลอใช้เงินเกินตัวก็อาจจะทำให้ไม่เหลือเงินเก็บออมเลย
2. ใช้บัญชีแยก เพื่อกันเงินออมไว้ไม่ปะปน
แนะนำว่าให้เปิดบัญชีเพิ่มสำหรับเก็บเงิน โดยอาจจะเป็นบัญชีออนไลน์ที่ไม่มีหน้าสมุดบัญชีหรือผูกกับบัตรเดบิต แต่อาจจะต้องพิจารณาดอกเบี้ยที่จะได้รับด้วยว่าทางธนาคารจะดอกเบี้ยต่อปีเท่าไหร่
3. ออมเงินรายวัน/รายสัปดาห์แบบเกม
ถ้ารู้สึกว่าการออมเงินมันน่าเบื่อ ได้มาก็ต้องโอนแยกเข้าบัญชีออมเงินเลย ทำให้บางครั้งก็อาจจะไม่อยากทำทุกเดือน แนะนำว่าอาจจะลองเปลี่ยนมาสร้างสีสันให้การเก็บเงินเล็ก ๆ เช่น ออม 20 บาท/วัน ออมเพิ่มตามเลขวันในเดือน หรือถ้าใครมีดาราศิลปินให้ดวงใจ ก็อาจจะลองตั้งกฎว่าจะเก็บเงินครั้งละ 50 บาทเมื่อดาราหรือศิลปินคนโปรดมาอัพรูปบน ingstargram การออมเงินแบบนี้อาจไม่ได้ทำให้มีเงินเก็บในแต่ละเดือนมาก แต่จำนวนเงินที่เก็บก็อาจจะไม่เท่ากัน แต่ก็ถือเป็นการปรับให้การออมเงินไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อหรือตึงเครียดมากเกินไป
4. ใช้แอปช่วยออมเงิน
การใช้แอปช่วยออมเงินเป็นเทคนิคออมเงินที่จะช่วยสร้างวินัยในการออมแบบไม่ต้องคิดมาก เห็นภาพรวมรายรับรายจ่ายชัดเจน ตั้งเป้าหมายออมเงินและติดตามความคืบหน้าได้ ซึ่งปกติแอปธนาคารบางแอปก็จะสามารถทำได้ เช่น หักเงินในบัญชีไปออมโดยอัตโนมัติ หรือจะใช้แอปรายรับรายจ่ายเป็นตัวช่วย ให้เห็นพฤติกรรมการใช้เงินจริง ๆ ตั้งเป้าหมายการออมและดูความคืบหน้าได้
เทคนิคออมเงินแบบ 6 Jars แบ่งเงิน 6 โหล เปลี่ยนชีวิตการเงินให้มั่นคงและมีความสุข
เทคนิคออมเงินแบบ 6 Jars (6 โหล)การบริหารจัดการเงินที่ได้รับความนิยมทั่วโลก โดยเฉพาะจากแนวคิดของ T. Harv Ekerที่เน้น “ความสมดุลทางการเงินและชีวิต” ไม่ใช่แค่การออม แต่รวมถึงการ “ใช้เงินอย่างมีเป้าหมาย” โดยเมื่อได้เงินมา ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน รายได้พิเศษ หรือโบนัส ให้นำมาแบ่งเป็น 6 ส่วน เพื่อการใช้เงินอย่างมีระบบ และไม่หลุดเป้าหมายชีวิต
1. ออม (Saving Account) 10%
สำหรับเก็บออมเพื่อความมั่นคงในระยะสั้นและปานกลาง โดยให้สำรองฉุกเฉิน 3–6 เดือนของรายจ่าย เก็บเงินเพื่อเป้าหมาย เช่น ซื้อของที่อยากได้, เที่ยว, งานแต่ง เงินในส่วนนี้ไม่ควรแตะ เว้นแต่จำเป็นจริง ๆ
2) ใช้ (Necessities Account) 55%
เป็นการแบ่งเงินไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น ค่ากินอยู่ ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ-ไฟ อินเทอร์เน็ต ค่าเดินทาง ค่าเบี้ยประกัน หรือค่าผ่อนต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน เป็นต้น
3.เรียนรู้ (Education Account) 10%
เป็นการแบ่งเงินไว้ลงทุนกับตัวเองเพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสในอนาคต เช่น คอร์สออนไลน์, เวิร์กชอป, หนังสือ, สัมมนา, เรียนรู้ทักษะใหม่ เช่น ภาษา, ดิจิทัล, การเงิน หรือพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้
4.ลงทุน (Financial Freedom Account) 10%
แบ่งเงินไว้สำหรับสร้างรายได้ในระยะยาวและอิสรภาพทางการเงิน เช่น กองทุนรวม หุ้น หุ้นกู้ ทองคำ คริปโต (ต้องศึกษาให้ดี) หรือ ธุรกิจส่วนตัว หรือทำพอร์ตลงทุน
5. สนุก (Play Account) 10%
การเก็บเงินอย่างเดียวโดยไม่ให้ความสุขกับตัวเองเลย นอกจากจะอาจทำให้เครียดแล้วยังมีสิทธิ์ที่จะทำให้เราล้มเลิกกับออมเงินแบบกลางคัน ดังนั้นควรให้รางวัลชีวิต และสร้างแรงจูงใจในการออมและทำงาน เช่น ช้อปของที่ชอบ, เดินทางท่องเที่ยว, ร้านอาหารดี ๆ, งานอดิเรก, Gadget, ตั๋วคอนเสิร์ต ฯลฯ
6. แบ่งปัน (Give Account) 5%
นอกจากเก็บเงินเพื่อตัวเองแล้ว อย่าลืมแบ่งปันคืนสู่สังคม และสร้างความสุขใจ บริจาคให้มูลนิธิ หรือสนับสนุนกิจกรรมจิตอาสา/ทุนการศึกษา
ข้อดีของเทคนิคออมเงินแบบ 6 Jars
- ไม่รู้สึกผิดเวลาจ่าย เพราะมีระบบรองรับ
- ไม่ต้องรอให้มีเงินเยอะแล้วค่อย “ออม”
- ช่วยบริหารเงินแบบครอบคลุมทั้ง “ใช้”, “โต”, และ “เติมใจ”
ช่องทางการออมเงินที่น่าสนใจ
1. บัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง
เหมาะกับการออมเงินระยะสั้น – ใช้ใน 1 ปี หรือต้องการสภาพคล่อง มีจุดเด่นคือดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทั่วไป (ประมาณ 1.5%–2.5%) ถอน/โอนได้ตลอด
2. บัญชีฝากประจำ (Fixed Deposit)
เหมาะกับการออมเงินระยะสั้น–กลาง เช่น 6 เดือน – 2 ปี ดอกเบี้ยสูงกว่าออมทรัพย์ทั่วไป (2%–3.5%) มีหลายแบบ เช่น ฝาก 3 เดือน, 6 เดือน, 12 เดือน เหมาะกับคนมีวินัย ไม่ถอนก่อนกำหนด เพราะถ้าถอนก่อนครบกำหนดอาจได้ดอกเบี้ยต่ำ
3. กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund)
เหมาะกับการออมระยะกลาง–ปลอดภัย และต้องการดอกเบี้ยมากกว่าออมทรัพย์ ผลตอบแทน 1.5%–2.5% ต่อปี สภาพคล่องสูง ถอนออกได้ใน 1–2 วัน ความเสี่ยงต่ำมาก (เกือบเท่าฝากธนาคาร) แต่ไม่ใช่เงินฝาก ไม่คุ้มครองโดยสถาบันคุ้มครองเงินฝา
6. ออมแบบวางแผนล่วงหน้า เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือประกันออมทรัพย์
เหมาะกับคนที่คนทำงานประจำ ที่ต้องการออมแบบมีวินัย และได้ผลตอบแทนแน่นอน
- สหกรณ์ออมทรัพย์ – ดอกเบี้ย 2.5%–6% แล้วแต่ที่
- ประกันสะสมทรัพย์ – ออมตามแผน + คุ้มครองชีวิต
แต่การออมประเภทนี้เป็นการผูกพันระยะยาว (3–10 ปี) ถอนยาก ที่สำคัญคือต้องอ่านเงื่อนไขให้ดี ๆ
วางแผนการออมเงินด้วยเทคนิคออมเงินที่ดีตั้งแต่เนิ่น ๆ และมองหาตัวช่วยที่จะทำให้การใช้จ่ายของคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งบัตรเครดิต KTC ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญ ที่จะช่วยให้สมาชิกบัตรเครดิต KTC สามารถประหยัดเงิน ควบคู่ไปกับการรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการได้รับส่วนลด การแลกของรางวัล หรือของสมนาคุณ รวมถึงคะแนนสะสม KTC FOREVER หากใครยังไม่มีบัตรเครดิต KTC สามารถยื่นสมัครบัตรเครดิต KTC ออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเริ่มต้นชีวิตที่สมาร์ทขึ้น ประหยัดเงินได้มากขึ้น และรับสิทธิพิเศษมากมายที่จะทำให้การใช้ชีวิตพนักงานออฟฟิศในเมือง สะดวกสบายและคุ้มค่ากว่าเคย
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC