กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออกแล้ว เงินไปไหน? ทำอย่างไรให้งอกเงยมากที่สุด?
เมื่อถึงเวลาต้องออกจากงาน หลายคนอาจกังวลว่า เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออกได้เงินเท่าไหร่ แล้วเงินจะไปไหนต่อ ทำอย่างไรให้เงินงอกเงยต่อไป? ต้องบอกว่าเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นเปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์ที่รอวันออกดอกออกผล ซึ่งแม้ลาออกจากงาน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ยังคงอยู่ แต่คุณต้องเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะปลูกเมล็ดพันธุ์นี้อย่างไรดี ซึ่งทางเลือกหลัก ๆ คือ การถอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ภาษีจ่ายไปตามเกณฑ์ และนำเงินก้อนไปปลดหนี้หรือใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
นอกจากนี้ คุณยังสามารถคงเงินไว้ในกองทุนต่อได้ หากที่ทำงานใหม่ของคุณมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยทำการโอนเงินจากกองทุนเก่าไปยังกองทุนใหม่ได้เลย แต่หากบริษัทใหม่ไม่มีสวัสดิการด้านนี้ คุณก็สามารถเลือกคงเงินไว้กับกองทุนเดิม หรือโอนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือที่เรียกว่า RMF for PVD ได้เช่นกัน
วันนี้ KTC จะพาคุณไปท่องโลกของตัวเลือกเหล่านี้ พร้อมเจาะลึกข้อดีข้อเสีย เปรียบเทียบผลตอบแทน และแนะนำวิธีจัดการเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังลาออกให้งอกเงยมากที่สุด
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ทำอย่างไรกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อเราลาออก?
Provident Fund หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นเงินสะสมเข้ากองทุนใดกองทุนหนึ่งซึ่งบริษัทและพนักงานร่วมกันลงทุน โดยมีจุดประสงค์คือ เพื่อให้พนักงานมีเงินก้อนที่เป็นหลักประกันเมื่อตอนเกษียณ ซึ่งกฎหมายระบุไว้ว่า บริษัทจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราไม่น้อยกว่าเงินสะสมของพนักงาน ไม่ว่าคุณจะได้รับเงินเดือนในเรตค่าแรงขั้นต่ำหรือเงินเดือนหลักแสนก็ตาม และบางบริษัทอาจมีสิทธิประโยชน์ในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ในอัตราที่มากขึ้นตามอายุงานด้วย
เมื่อคุณเป็นหนึ่งคนที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออกจากงานแล้ว หลังจากนั้น คุณมีตัวเลือกในการจัดการกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่มากมาย ซึ่งการทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดเหล่านี้จะช่วยให้ทราบถึงทางเลือกที่เหมาะสมกับเป้าหมายทางการเงินในอนาคต จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า การบริหารเงินจากการลาออกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีส่วนสำคัญมากต่อการวางแผนความมั่งคั่งและความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว ซึ่งก็มีวิธี ดังนี้
ย้ายเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไปยังบริษัทใหม่ที่มีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ถ้าบริษัทที่คุณย้ายไปทำงานมีสวัสดิการพนักงานด้านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อคุณผ่านการทดลองงานกับที่ใหม่แล้ว สามารถโอนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเดิมที่มีอยู่ไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่ได้เลย ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการแจ้งเรื่องไปยังบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม และขอให้ออกเช็ก เพื่อเอาไปยื่นกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัทใหม่หรือยื่นกับเจ้าหน้าที่ฝ่าย HR ของบริษัทใหม่ก็ได้ เพียงเท่านี้เมื่อลาออก Provident Fund ก็จะถูกย้ายมายังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใหม่เป็นที่เรียบร้อย
อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้ดำเนินการทั้งหมดนี้เมื่อคุณผ่านช่วงการทดลองงานกับบริษัทใหม่แล้ว เพราะหากเกิดกรณีไม่คาดฝันที่อาจไม่ผ่านการทดลองงานหรือไม่ได้ทำงานต่อกับบริษัทใหม่ ก็อาจมีความยุ่งยากในการจัดการเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากขึ้นไปอีกระดับ
โอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (RMF for PVD)
การเลือกโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออกจากงานแล้ว ไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ RMF for PVD เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะนอกจากจะได้ลงทุนต่อแล้ว การนำเงินไปไว้ในกองทุน RMF ยังช่วยลดภาระภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อถอนเงินก้อนนี้ในอนาคตอีกด้วย
โดยควรเลือกกองทุน RMF ที่ตรงกับเป้าหมายการลงทุนและอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เช่น กองทุน RMF ตราสารหนี้สำหรับคนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ไม่มาก หรือกองทุนหุ้นต่างประเทศสำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้ในระดับสูง เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันก็มีกองทุน RMF มากมายที่เปิดรับเงินจากการลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งจะช่วยให้คุณมีการบริหารเงินหรือวิธีเก็บเงินที่ยืดหยุ่นและยังอาจมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าเดิมด้วย
เก็บเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมก่อน โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจะมาดูแลให้โดยตรง
เมื่อคุณตัดสินใจเปลี่ยนงาน คุณสามารถเลือกที่จะฝากเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออกแล้วไว้กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเดิมได้เลย โดยไม่ต้องดำเนินการใด ๆ ให้ยุ่งยาก และยังสามารถปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนได้ตามความต้องการ ซึ่งการคงเงิน Provident Fund ลาออกไว้กับกองทุนเดิมจะทำให้คุณได้รับการดูแลโดยตรงจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไม่ต้องผ่านนายจ้าง แต่จะไม่ได้รับเงินสมทบในส่วนของบริษัทเดิมเหมือนที่ผ่านมา
ซึ่งการคงเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้กับกองทุนเดิมนั้นถือเป็นทางเลือกที่ดีที่จะทำให้ให้เงินออมของคุณมีโอกาสในการลงทุนและสะสมผลประโยชน์ในระยะยาว โดยสามารถตัดสินใจถอนเงินได้เมื่ออายุครบ 55 ปี ซึ่งจะทำให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี หรือในกรณีที่เปลี่ยนงานใหม่ แล้วอยากรอดูผลการประเมินในช่วงทดลองงานก่อน แล้วค่อยพิจารณาโอนเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
ถอนเงินออกจากกองทุนสำรองและชำระภาษีหากถอนก่อนอายุครบ 55 ปี
เนื่องจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นรูปแบบการลงทุนที่ออกแบบมาเพื่อให้เป็นแหล่งเงินออมในยามเกษียณอายุไปแล้ว ดังนั้น การถอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออกก่อนอายุ 55 ปี และยังสะสมไม่ครบ 5 ปี จึงอาจมีเงื่อนไขและข้อกำหนดต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก และเป็นทางเลือกที่ขอแนะนำให้พิจารณาอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจ โดยการลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วต้องการเปลี่ยนเงินกองทุนเป็นเงินสดนั้นจะต้องถอนเงินทั้งหมดในครั้งเดียว โดยไม่สามารถทยอยหรือแบ่งถอนได้ และกฎหมายแรงงานกำหนดให้ต้องทำการเสียภาษีเงินได้จากเงินแต่ละส่วนในกองทุน ดังนี้
- กำไรของเงินในส่วนที่ลงทุนเอง
- เงินในส่วนที่นายจ้างจ่ายสมทบ
- กำไรของเงินในส่วนที่นายจ้างจ่ายสมทบ
จะได้รับเงินเท่าไหร่จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อเราลาออก?
สำหรับใครที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออกจากงานก่อนอายุครบ 55 ปี ก่อนตัดสินใจลาออกควรตรวจเช็กให้แน่ใจว่ามีสิทธิได้รับเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพครบทั้ง 4 ส่วนหรือไม่อย่างไร ทั้งเงินสะสมในส่วนที่ตนเองลงทุน, ผลประโยชน์ของเงินสะสม, เงินสมทบจากนายจ้าง และผลประโยชน์ของเงินสมทบนั้น แล้วถ้าได้จะได้รับในจำนวนเท่าไร
ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราเหล่านี้คือ อายุงานหรืออายุที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งปัจจุบันบริษัทมักกำหนดหลักการให้เงินสมทบและผลประโยชน์ตามช่วงเวลาที่คุณทำงานกับบริษัท โดยมีตัวอย่างเงื่อนไขการจ่ายเงินที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน ดังนี้
เสียภาษีอย่างไรหากเราออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว?
การเสียภาษีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออกจากงานแล้วจะขึ้นอยู่กับอายุและระยะเวลาที่เป็นสมาชิก โดยถ้าคุณลาออกจากงานเมื่อมีอายุ 55 ปีขึ้นไปและเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมามากกว่า 5 ปี จะได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีครอบคลุมทั้ง 4 ส่วนของเงินกองทุน แต่ถ้าหากลาออกก่อนอายุ 55 ปี จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเฉพาะในส่วนเงินสะสมของตนเองเท่านั้น และจะต้องจ่ายภาษีในอีก 3 ส่วนที่เหลือ
โดยสำหรับคนที่ลาออกเมื่อมีอายุงานมากกว่า 5 ปี เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพลาออกเสียภาษีสามารถเลือกวิธีคำนวณได้ว่าจะนำเงินกองทุน 3 ส่วนนี้ไปรวมกับ ภงด90 หรือการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีเลย หรือแยกการคำนวณภาษีต่างหาก
สรุปเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออกจากงาน แต่ยังต้องบริหารการเงินเพื่อวางแผนอนาคต!
การลาออกจากงานเป็นเหตุการณ์ที่ต้องเตรียมความพร้อมทางการเงินอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะเรื่องเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาออกแล้วจะทำอย่างไรต่อ ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่สำคัญซึ่งจะทำให้คุณมีสถานะทางการเงินที่มั่นคงในระยะยาว รวมถึงการพิจารณาเรื่องภาษีและสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ ดังนั้น การวางแผนที่ดีในการจัดการเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะช่วยให้คุณไม่ต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินในอนาคต
และสำหรับใครที่ต้องการมีแหล่งเงินทุนสำรองไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ‘บัตรกดเงินสด KTC PROUD’ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งถือเป็นตัวช่วยที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่หมุนเงินไม่ทัน ต้องการวงเงินพร้อมใช้ เพื่อนำมาหมุนเวียนหรือเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ที่สำคัญ ยังมีระยะเวลาผ่อนชำระที่นานกว่าบัตรเครดิตทั่วไป และโอนเงินผ่านแอปเข้าบัญชีธนาคาร ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้สามารถวางแผนการใช้จ่ายได้อย่างยืดหยุ่น แม้ในยามที่ลาออกจากงานแล้ว
แหล่งเงินทุนสำรองในยามฉุกเฉิน ‘บัตรกดเงินสด KTC PROUD’