รวมสิ่งที่ต้องรู้ในการหัดขับรถเกียร์กระปุกแบบเข้าใจง่าย
การขับรถเกียร์กระปุก หรือเกียร์ธรรมดา อาจดูเป็นเรื่องยาก และซับซ้อนสำหรับมือใหม่ไม่ต่างจากการดูแลรถ แต่ถ้าเข้าใจหลักการและฝึกฝนบ่อย ๆ ก็สามารถทำได้อย่างคล่องแคล่ว วันนี้ KTC เราจะมาสอนขับรถเกียร์ธรรมดา และขั้นตอนการขับที่ถูกต้องแบบเข้าใจง่ายมาฝากกัน เผื่อมีเหตุการณ์ที่ต้องขับรถประเภทนี้ จะได้ใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา
เลือกอ่านตามหัวข้อ
รถเกียร์กระปุก คืออะไร
รถเกียร์กระปุก หรือเกียร์ธรรมดา คือ รถที่ต้องใช้คันเกียร์ในการเปลี่ยนเกียร์ด้วยตัวเอง ซึ่งต่างจากเกียร์ออโต้ที่จะเปลี่ยนเกียร์ให้อัตโนมัติ การขับรถเกียร์กระปุกจึงต้องอาศัยทักษะการควบคุมคลัตช์ และคันเกียร์ให้สัมพันธ์กัน เพื่อให้รถวิ่งได้อย่างราบรื่นโดยไม่ดับกลางอากาศ
ก่อนเรียนวิธีขับรถเกียร์ธรรมดาต้องรู้อะไรบ้าง
แต่ก่อนจะลงมือหัดขับรถเกียร์กระปุก เราควรศึกษา และทำความเข้าใจองค์ประกอบสำคัญของรถก่อน ซึ่งมีคร่าว ๆ ดังนี้
ตำแหน่งการทำงานของเกียร์ธรรมดา
คันเกียร์สำหรับเกียร์ธรรมดานั้นจะมี 5 - 6 ตำแหน่งตามจำนวนเกียร์ โดยตำแหน่งแต่ละเกียร์จะอยู่คนละทิศทางกัน ได้แก่
- เกียร์ 1 และ 2 จะอยู่ฝั่งซ้าย
- เกียร์ 3 และ 4 อยู่ตรงกลาง
- เกียร์ 5 และ 6 อยู่ทางด้านขวา
- ส่วนเกียร์ถอยหลังหรือเกียร์ R จะอยู่ด้านซ้ายสุดหรือขวาสุด (ขึ้นอยู่กับรุ่นรถ)
- เกียร์ว่างหรือเกียร์ N จะอยู่ตำแหน่งกลางระหว่างเกียร์
แป้นเหยียบ 3 ตำแหน่งที่เท้า
ในขณะที่ขับรถเกียร์ธรรมดา เท้าของเราจะต้องคุมแป้นเหยียบ 3 อย่างพร้อมกัน ได้แก่
- คลัตช์ - จะอยู่ซ้ายสุด ใช้สำหรับการเปลี่ยนเกียร์
- เบรก - จะอยู่ตรงกลาง ใช้เพื่อลดความเร็ว และหยุดรถ
- คันเร่ง - จะอยู่ขวาสุด ใช้เพื่อเร่งความเร็วรถ
ขั้นตอนสอนขับรถเกียร์ธรรมดาแบบเข้าใจง่าย
เมื่อเข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานของรถเกียร์ธรรมดาแล้ว ทีนี้เรามาดูขั้นตอนการขับรถทั้ง 7 ขั้นตอนกันเลยดีกว่า
1. เช็กเกียร์เสมอก่อนขับรถ
ก่อนสตาร์ทรถเกียร์กระปุก ให้ตรวจสอบทุกครั้งว่าคันเกียร์อยู่ที่เกียร์ว่างหรือไม่ โดยการโยกคันเกียร์ไปทางซ้ายกับขวาดู หากโยกได้แสดงว่าพร้อมขับได้แล้ว หลังจากนั้นเหยียบคลัตช์ให้สุดก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์
2. เหยียบคลัทช์ก่อนเข้าเกียร์ 1
เมื่อจะออกตัวให้เหยียบคลัตช์ให้สุดเช่นเดิม จากนั้นเลื่อนคันเกียร์ไปที่เกียร์ 1 แล้วค่อย ๆ ปล่อยคลัตช์
3. ค่อยๆปล่อยคลัทช์ พร้อมเหยียบคันเร่ง
ขณะที่รถเริ่มไหลไปข้างหน้าเมื่อปล่อยคลัตช์ ให้เริ่มเหยียบคันเร่งเพื่อเพิ่มความเร็ว แล้วยกเท้าออกจากแป้นคลัทช์เมื่อรถวิ่งได้ตามต้องการ การฝึกให้จังหวะเท้าลงตัวอาจต้องทำหลายครั้งจนชำนาญ เพราะหากปล่อยคลัตช์เร็วเกินไปโดยไม่ได้เร่งเครื่อง รถอาจเกิดอาการสะดุดจนดับกลางอากาศได้
4. เปลี่ยนเกียร์ด้วยการผ่อนคันเร่ง และเหยียบคลัทช์ให้สุด
ทุกครั้งที่ต้องเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้น ให้เริ่มจากการผ่อนคันเร่งลง และกดคลัทช์จนสุด แล้วจึงเลื่อนคันเกียร์ไปยังเกียร์ถัดไป จากนั้นปล่อยคลัทช์ช้า ๆ พร้อมเร่งรถตามความเร็วที่ต้องการ
5. ถอนเกียร์ในการชะลอความเร็วด้วยการเลี้ยงคลัทช์
ขณะที่ต้องการลดความเร็วรถ ให้ปล่อยคันเร่งและใช้เท้าขวาเหยียบเบรกช้า ๆ ส่วนเท้าซ้ายให้เหยียบคลัตช์จนสุด ก่อนเลื่อนเกียร์ลงมา 1 ระดับ แต่ยังไม่ควรปล่อยคลัตช์ทันที ให้ค่อย ๆ ปล่อยเมื่อความเร็วได้ที่
6. หยุดรถด้วยการเหยียบเบรคกับคลัทช์พร้อมใส่เกียร์ว่าง
เวลาจอดรถ ให้เอาเท้าขวาจากคันเร่งมาเหยียบเบรก ส่วนเท้าซ้ายกดคลัทช์จนสุด พร้อมเลื่อนคันเกียร์ไปที่เกียร์ว่าง และดึงเบรกมือขึ้นเพื่อกันรถไหล
7. ถอยรถด้วยการเหยียบเบรคและคลัทช์ ก่อนใส่เกียร์ R และปล่อยคลัทช์
การถอยหลังให้ทำเช่นเดียวกับการเปลี่ยนเกียร์ โดยเบรกรถให้หยุด และเหยียบคลัตช์จนสุด ก่อนเลื่อนคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง R เมื่อต้องการถอยหลัง แล้วให้ปล่อยคลัทช์ช้า ๆ เป็นจังหวะ โดยห้ามปล่อยทีเดียว เพราะรถจะกระชากจนดับได้
สรุปบทความ รวมสิ่งที่ต้องรู้ในการหัดขับรถเกียร์กระปุกแบบเข้าใจง่าย
แม้ว่าการขับรถเกียร์กระปุกอาจต้องอาศัยการฝึกฝนพอสมควร แต่หากทำตามขั้นตอนที่เราสอนขับรถเกียร์ธรรมดาไป รับรองว่าจะขับได้อย่างลื่นไหลแน่นอน และสำหรับคนที่มีรถใช้งาน แต่ต้องการที่จะใช้เงินก้อน KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน คือคำตอบสำหรับคุณ เพราะมีวงเงินก้อนใหญ่ สมัครง่าย ไม่ยุ่งยาก และยังมีบริการ พี่เบิ้ม Delivery ในการเดินทางไปประเมินสภาพรถถึงหน้าบ้าน ที่สำคัญยังอนุมัติไว รับเงินก้อนได้ทันที โดยไม่ต้องใช้คนค้ำประกัน พร้อมผ่อนได้นานสูงสุด 84 เดือน และสามารถเลือกรับบัตรกดเงินสด KTC พี่เบิ้ม ไว้ใช้จ่ายฉุกเฉิน โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมอีกด้วย
สมัคร KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ได้วงเงินก้อนใหญ่ แบบไม่ต้องมีคนค้ำประกัน
สมัครง่าย รู้ผลไว ผ่อนได้นานสูงสุด 84 เดือน
*กรุณาศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนทำการสมัคร*
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ และธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด*
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 21%-24% ต่อปี*