การขับรถลุยน้ำในช่วงฤดูฝน น่าจะเป็นในปัญหาที่คนใช้รถในเมืองไทยกลัวที่สุด โดยเฉพาะในเขตเมืองที่รถติด และถนนแทบทุกเส้นท่วมพร้อม ๆ กันหมด ใครที่กำลังกังวลกับปัญหานี้อยู่ เดี๋ยววันนี้ KTC เรามีข้อมูลดี ๆ อย่างการขับรถลุยน้ําควรปฏิบัติอย่างไรทั้งก่อนและหลัง พร้อมเก็รดความรู้ดี ๆ หลังจากขับรถลุยน้ำจนผ้าเบรกเปียก มีวิธีแก้ไขให้แห้งได้อย่างไรบ้าง
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ทำไมขับรถลุยน้ำถึงอันตรายและเสี่ยงรถดับ
เพราะระดับน้ำที่ท่วมสูง อาจเกิดอันตรายต่อห้องเครื่องยนต์โดยตรง เมื่อมีการขับสวนเลนกันไปมา อีกทั้งยังมีความเสี่ยงในด้านทัศนิวิสัย ไม่ว่าจะเป็น เศษขยะ เหล็ก หรือของมีคมต่าง ๆ ที่ถูกน้ำมันพัดมา อาจสร้างความเสียหายขึ้นกับตัวรถได้
สิ่งที่ต้องระวังเมื่อขับรถลุยน้ำในหน้าฝน
ฤดูฝนเป็นช่วงที่ต้องระมัดระวังอุบัติเหตุจากการขับขี่มากเป็นพิเศษ เพราะทุกครั้งที่ฝนตกนอกจากทำให้พื้นผิวถนนเต็มไปด้วยน้ำขัง สายฝนยังทำให้ทัศนวิสัยการมองเห็นแย่ลง เมื่อเป็นเช่นนี้มือใหม่หัดขับที่ไม่ชำนาญทั้งเส้นทางและการขับรถเวลาฝนตก ควรหลีกเลี่ยงการใช้รถในช่วงเวลาฝนตกหนัก เพื่อป้องกันปัญหาดังต่อไปนี้
- ทัศนวิสัยที่ถูกบดบังด้วยน้ำฝน : การมองเห็นในช่วงฝนตกทำได้ยากกว่าในสภาพอากาศปกติ เพราะละอองฝนจะปกคลุมจนทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นขุ่นมัว ทำให้ต้องใช้ที่ปัดน้ำฝนและไฟหน้ารถช่วยให้มองเห็นเส้นทางได้ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงต้องใช้ความระมัดระวังเวลาขับขี่สูงขึ้นตามไปด้วย
- พื้นที่น้ำขังหรือแอ่งน้ำที่ต้องขับลุยน้ำ : น้ำขังและแอ่งน้ำส่งผลโดยตรงต่อเครื่องยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ที่ไม่สูงมาก มีโอกาสที่น้ำจะเข้าเครื่องยนต์ได้ง่ายจึงต้องหลีกเลี่ยงแหล่งน้ำขัง หรือรู้วิธีดูแลรถหลังจากลุยน้ำ
- โคลนและเศษดินที่กระเด็นมากับละอองฝนติดรถ : รถมักจะสกปรกและมีคราบง่ายกว่าฤดูกาลอื่น ๆ เพราะน้ำฝนทำให้ดินกลายเป็นโคลน เมื่อขับผ่านอาจมีเศษดินโคลนกระเด็นมาโดนรถ ทำให้ต้องทำความสะอาดรถบ่อยเป็นพิเศษ
เวลาที่ฝนตกเป็นช่วงที่ผู้ใช้รถต้องมีสติและระวังมากขึ้น นอกจากอุบัติเหตุจากการขับขี่ที่อาจเกิดขึ้นแล้ว ความเสียหายที่อาจเกิดกับรถเนื่องจากฝนตกก็ไม่ควรมองข้าม เพื่อให้รถใช้งานได้อย่างยาวนาน
ขับรถลุยน้ําควรปฏิบัติอย่างไรให้ปลอดภัย
แม้ว่าปัญหาน้ำท่วม จะเป็นสิ่งที่คนไทยเราคุ้นชินเป็นประจำ แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าการขับรถลุยน้ำ ควรปฏิบัติอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งก่อนและหลัง เรามีเคล็ดลับดี ๆ มาฝากกัน
สังเกตระดับน้ำก่อนขับผ่าน
สิ่งแรกที่ควรทำก่อนขับรถลุยน้ำ ก็คือการประเมินความเสี่ยงจากระดับน้ำ ระดับที่ยังขับผ่านไปได้ควรที่จะไม่เกิน 15 - 20 ซม. หรือประมาณครึ่งล้อรถยนต์ แต่หากกะไม่ถูก ก็สังเกตจากขอบฟุตปาธได้เช่นกัน หากระดับน้ำสูงกว่านั้น ควรเลี่ยงขับผ่านจะปลอดภัยกว่า เพราะน้ำอาจเล็ดลอดเข้ามายังห้องโดยสารได้
ใช้ความเร็วต่ำให้มากที่สุด
การใช้ความเร็วต่ำ เป็นอีกข้อสำคัญที่ต้องปฏิบัติในการขับรถลุยน้ำ เพราะหากขับเร็วน้ำอาจจะกระเด็นเข้าไปยังห้องเครื่องยนต์จนเกิดความเสียหายได้ จึงควรขับด้วยความเร็วต่ำ โดยรักษารอบเครื่องยนต์ให้อยู่ที่ 1,500 - 2,000 รอบต่อนาที
ปิดแอร์รถยนต์เพื่อกันน้ำเข้า
การปิดแอร์รถยนต์ในขณะขับรถลุยน้ำ จะช่วยป้องกันไม่ให้พัดลมแอร์ด้านหน้า พัดน้ำเข้าสู่ห้องเครื่องยนต์ จนอาจเกิดความเสียหายได้ อีกทั้งยังช่วยลดภาระการทำงานของเครื่องยนต์ลงด้วย จึงปลอดภัยกว่าในสถานการณ์นี้
เว้นระยะเบรก 2 - 3 คันรถ
การเว้นระยะเบรกจากคันหน้า 2 - 3 คันรถ จะช่วยให้คลื่นน้ำไม่ซัดเข้ามาโดนหน้ารถเราเต็ม ๆ อีกทั้งยังช่วยสร้างความปลอดภัยหากเกิดเหตุฉุกเฉินอีกด้วย
หากรถดับไม่ควรสตาร์ตใหม่
กรณีที่รถดับขณะขับผ่านบริเวณน้ำท่วม สิ่งที่ไม่ควรทำเลยก็คือ การสตาร์ตเครื่องยนต์ใหม่อีกครั้ง เพราะจะทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์มากขึ้น จนอาจเกิดความเสียหายที่หนักกว่าเดิมได้ จึงควรเข็นรถเข้าข้างทาง หรือรอให้ระดับน้ำลดลงก่อนจะปลอดภัยที่สุด
ข้อควรปฏิบัติหลังขับรถลุยน้ำในการดูแลรถ
เมื่อขับผ่านบริเวณน้ำท่วมมาแล้ว หากไม่อยากให้รถเกิดความเสียหาย ควรทำตามแนวทาง และข้อควรปฏิบัติหลังขับรถลุยน้ำทั้งหมด ดังนี้
- ตรวจสอบระบบเบรก : เหยียบเบรกเบา ๆ หลายครั้งเพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรก
- ตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่อง : หากน้ำมันเครื่องขุ่นหรือมีสีคล้ายกาแฟ แสดงว่าน้ำอาจเข้าเครื่องยนต์
- ตรวจสอบไส้กรองอากาศ : หากเปียกชื้นหรือมีเศษขยะติด ควรทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่
- ตรวจสอบระบบไฟฟ้า : สังเกตการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชิ้นในรถ เพื่อดูว่าแบตเตอรี่ได้รับความเสียหายไหม
- ล้างทำความสะอาดใต้ท้องรถ : เพื่อกำจัดเศษดิน หรือทรายที่อาจติดค้าง
- ตรวจสอบน้ำมันเฟืองท้าย : หากมีน้ำปนเปื้อน ควรเปลี่ยนถ่ายใหม่
หลังจากขับรถลุยน้ำจนผ้าเบรกเปียก มีวิธีแก้ไขให้แห้งได้อย่างไร
เมื่อผ้าเบรกเปียกน้ำ ประสิทธิภาพในการเบรกจะลดลง ซึ่งวิธีแก้ไขมีดังนี้
- ขับรถด้วยความเร็วต่ำ แล้วเหยียบเบรกเบา ๆ เป็นจังหวะ
- ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้ความร้อนจากการเสียดสีช่วยระเหยน้ำออกจากผ้าเบรก
- หลีกเลี่ยงการเบรกแรงในช่วงแรก เพราะอาจทำให้เบรกไม่อยู่ และเกิดอันตรายได้
- หากยังรู้สึกว่าเบรกไม่ปกติหลังทำตามขั้นตอนข้างต้น ควรนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจสอบ
สรุปบทความ เมื่อจำเป็นต้องขับรถลุยน้ำ ควรปฏิบัติอย่างไร
การดูแลรถให้ใช้งานได้เหมือนใหม่ช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพราะช่วยยืดอายุการทำงานของระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ให้ทำงานได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังช่วยให้เวลาต้องการเงินด่วนสามารถนำรถไปเป็นประกันเวลาขอกู้สินเชื่อกับ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงินได้ง่ายขึ้น เพราะรถยังอยู่ในสภาพดี โดย KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงินมีวงเงินก้อนใหญ่ สมัครง่าย ไม่ยุ่งยาก และยังมีบริการ พี่เบิ้ม Delivery ในการเดินทางไปประเมินสภาพรถถึงหน้าบ้าน ที่สำคัญยังอนุมัติไว รับเงินก้อนได้ทันที โดยไม่ต้องมีคนค้ำประกัน และผ่อนได้นานสูงสุด 84 เดือน อีกทั้งยังเลือกรับบัตรกดเงินสด KTC พี่เบิ้ม ไว้ใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉินได้อย่างอุ่นใจ หากไม่กดใช้ก็ไม่เสียดอกเบี้ยแต่อย่างใด
*กรุณาศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนทำการสมัคร*
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ และธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด*
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 21%-24% ต่อปี*