ขับรถขึ้นเขา ใช้เกียร์อะไรดี เชื่อว่าน่าจะเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย เพราะหากเป็นทางราบปกติ การใช้เกียร์ D เป็นสิ่งที่ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้ว แต่หากเป็นการขับขี่ขึ้นหรือลงทางลาดชัน ควรใช้เกียร์ใด เพราะถนนแต่ละเส้นก็มีความลาดเอียงไม่เท่ากัน จะมีจุดสังเกตไหนบ้างในการเลือกใช้เกียร์เมื่อต้องขับรถทางไกล เดี๋ยววันนี้ KTC เราจะมาแนะนำเทคนิคดี ๆ ให้ทุกคนได้รู้กัน
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไร
การขับรถขึ้นเขานั้นต้องอาศัยกำลังเครื่องยนต์มากกว่าการขับบนพื้นราบ ดังนั้นการเลือกใช้เกียร์ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นรถเกียร์ออโต้ หรือเกียร์ธรรมดาก็ตาม โดยหลักการพื้นฐานคือต้องใช้เกียร์ต่ำ เพื่อให้เครื่องยนต์มีกำลังเพียงพอในการพารถขึ้นทางชัน โดยมีขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้
ขับเกียร์ออโต้ขึ้นเขา ต้องใช้เกียร์อะไร
สำหรับรถเกียร์ออโต้ แม้จะดูเหมือนง่ายกว่าเกียร์ธรรมดา แต่ก็มีเทคนิคในการใช้งานเช่นกัน เมื่อขับขึ้นเขาให้ปฏิบัติดังนี้
1. เริ่มต้นด้วยเกียร์ D (Drive) ตามปกติ
2. หากพบว่าทางชันมากขึ้น และรถเริ่มมีอาการอืดหรือเครื่องยนต์ทำงานหนัก ให้ปรับเกียร์ลงมาเป็น D2 หรือ 2
3. ในกรณีที่ทางชันมาก ๆ อาจต้องใช้เกียร์ D1 หรือ 1 เพื่อให้เครื่องยนต์มีกำลังมากที่สุด
4. รักษาความเร็วให้สม่ำเสมอ โดยทั่วไปควรอยู่ที่ประมาณ 50 - 80 กม./ชม. ขึ้นอยู่กับสภาพถนนและความชัน
5. สังเกตรอบเครื่องยนต์ให้อยู่ในช่วงประมาณ 2,000 - 3,500 รอบต่อนาที
ขับเกียร์ธรรมดาขึ้นเขา ต้องใช้เกียร์อะไร
สำหรับรถเกียร์ธรรมดา การขับขึ้นเขาต้องอาศัยทักษะในการควบคุมคันเร่ง คลัตช์ และเกียร์ให้สัมพันธ์กัน ดังนี้
1. เริ่มต้นด้วยเกียร์ 1 หรือ 2 ขึ้นอยู่กับความชันของเส้นทาง
2. รักษาความเร็ว และรอบเครื่องยนต์ให้สม่ำเสมอ
3. หากรู้สึกว่ารถเริ่มอืดหรือเครื่องยนต์ทำงานหนัก ให้เปลี่ยนลงเป็นเกียร์ต่ำกว่า เช่น จากเกียร์ 2 ลงมาเป็นเกียร์ 1
4. อย่าปล่อยให้รอบเครื่องตกจนเกินไป เพราะอาจทำให้เครื่องยนต์ดับกลางทางได้
5. ในกรณีที่ต้องหยุดรถกลางทางชัน ให้ใช้เบรกมือ และเมื่อออกตัวให้ค่อย ๆ ปล่อยคลัตช์พร้อมกับเร่งเครื่องเบา ๆ และปล่อยเบรกมือ
ขับรถลงเขา ใช้เกียร์อะไร
การขับรถลงเขาก็มีความสำคัญไม่แพ้การขึ้นเขา เพราะทางที่ลาดจะทำให้รถพุ่งลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการควบคุมความเร็วจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งหลักการสำคัญในการขับรถลงเขา มีดังนี้
1. ใช้เกียร์ต่ำเช่นเดียวกับการขึ้นเขา (เกียร์ 1 หรือ 2 สำหรับเกียร์ธรรมดา, D1 หรือ D2 สำหรับเกียร์ออโต้)
2. ห้ามใช้เกียร์ว่างหรือเกียร์ N โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้รถไหลลงอย่างรวดเร็ว และควบคุมยาก
3. ใช้เอนจินเบรกช่วยชะลอความเร็ว
4. แตะเบรกเป็นจังหวะ ไม่ควรเหยียบเบรกค้างไว้นาน ๆ เพราะอาจทำให้เบรกร้อนจัด และเสื่อมประสิทธิภาพ
5. รักษาความเร็วให้คงที่ประมาณ 30-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความชันของเส้นทาง
เทคนิคขับรถขึ้น-ลงเขาอย่างปลอดภัย
นอกจากการเลือกใช้เกียร์ที่เหมาะสมแล้ว ยังมีเทคนิคอื่น ๆ ที่จะช่วยให้การขับรถขึ้น-ลงเขาปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งทุกคนสามารถนำไปปรับใช้กันได้ตามสถานการณ์ ดังนี้
ใช้เกียร์ต่ำอยู่เสมอ
การใช้เกียร์ต่ำไม่เพียงแต่ช่วยให้รถมีกำลังเพียงพอในการขึ้นเขา แต่ยังช่วยในการชะลอความเร็วเมื่อลงเขาด้วย ซึ่งเป็นการช่วยประหยัดเบรก และเพิ่มความปลอดภัยในทางลาดชันมากยิ่งขึ้น
แตะเบรกเท่าที่จำเป็น
เพราะการเหยียบเบรกนาน ๆ อาจทำให้เบรกร้อนจัดและสูญเสียประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งเมื่อขับลงเขา จึงควรใช้เอนจินเบรก (Engine Brake) หรือการปล่อยให้รถไหลร่วมกับการแตะเบรกเป็นระยะ จะช่วยให้ควบคุมความเร็วได้ดีขึ้น
ให้สัญญาณในจุดอับสายตา
เส้นทางภูเขามักมีโค้งหักศอก และจุดอับสายตาอยู่มาก จึงควรใช้แตรส่งสัญญาณเตือนรถคันอื่นเมื่อเข้าใกล้จุดเหล่านี้ เพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุจากการชนกันในจุดที่มองไม่เห็นได้
ไม่แซงทางโค้งเด็ดขาด
การแซงบนเส้นทางภูเขาเป็นสิ่งที่อันตรายมาก โดยเฉพาะในบริเวณทางโค้ง เนื่องจากมีระยะการมองเห็นที่จำกัด และอาจมีรถสวนทางมาได้ตลอดเวลา ให้อดทนและรักษาระยะห่างจากรถคันหน้าอย่างเหมาะสม และแซงในช่วงทางตรงเท่านั้น
สรุปบทความ ขับรถขึ้นเขาต้องใช้เกียร์อะไรถึงจะปลอดภัย
หวังว่าทุกคนจะรู้กันแล้วนะว่า การขับรถขึ้นเขาต้องใช้เกียร์อะไร และมีเทคนิคอะไรบ้างที่ควรรู้เอาไว้ เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สถานที่ท่องเที่ยวอย่างดอยต่าง ๆ ในประเทศไทย กำลังเป็นกระแสนิยมที่หลายคนชื่นชอบในช่วงนี้ จึงสำคัญอย่างมากที่จะต้องรู้ว่าการขับขี่ขึ้นหรือลงทางลาดชัน ควรใช้เกียร์ใด ส่วนใครที่มีรถใช้งาน แต่กำลังประสบปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ช่วยคุณได้ เพราะเรามีวงเงินก้อนใหญ่ สมัครง่าย ไม่ยุ่งยาก พร้อมบริการ พี่เบิ้ม Delivery ในการเดินทางไปประเมินสภาพรถให้ถึงหน้าบ้าน ที่สำคัญยังอนุมัติไว รับเงินก้อนได้ทันที โดยไม่ต้องมีคนค้ำประกัน และผ่อนได้นานสูงสุด 84 เดือน โดยสามารถเลือกรับบัตรกดเงินสด KTC พี่เบิ้ม ไว้ใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉินได้อย่างอุ่นใจ หากไม่กดใช้ก็ไม่เสียดอกเบี้ยแต่อย่างใด
*กรุณาศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนทำการสมัคร*
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ และธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด*
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 21%-24% ต่อปี*