โควิด-19 ยังไม่ไป ใคร ๆ ก็ลำบาก พี่เบิ้มเห็นหลายคนต้องกุมขมับจากภาวะทางการเงินที่ฝืดเคือง จะขายของให้ได้กำไรก็ยาก เพราะคนมักเลือกเก็บเงินสดไว้กับตัว นานเข้าเงินในกระเป๋าก็เริ่มลดน้อยลง จึงต้องคิดหาวิธีประคับประคองให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตนี้ไปอย่างไม่เจ็บตัวมากนัก ซึ่งวันนี้พี่เบิ้มมีวิธีบริหารเงินในช่วงวิกฤตสำหรับทุกบ้านที่กำลังประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินมาแชร์เพื่อนำเอาไปปรับใช้กัน
วิเคราะห์รายจ่ายที่เรามีทั้งหมด
วิธีบริหารเงินในช่วงวิกฤตมีอยู่หลายขั้นตอน แต่วิธีบริหารเงินในช่วงวิกฤตขั้นตอนแรกที่พี่เบิ้มแนะนำให้รีบทำเป็นอย่างแรกคือ ให้ทุกคนในบ้านแจกแจงรายจ่ายทั้งหมดที่เราและครอบครัวมี โดยแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- รายจ่ายคงที่ คือ รายจ่ายที่เราจำเป็นต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน และมีจำนวนเงินที่ค่อนข้างแน่นอน เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ เงินที่ให้พ่อให้แม่ ค่าเบี้ยประกัน ค่าส่วนกลางของหมู่บ้าน
- รายจ่ายผันแปร คือ รายจ่ายที่มีจำนวนไม่เท่ากันในแต่ละเดือน แปรผันไปตามกิจกรรมและไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ค่ารถ ค่าเสื้อผ้า ค่าทำบุญ ค่าช่วยงาน ค่าซ่อมรถ ค่ารักษาพยาบาล และอื่น ๆ
- รายจ่ายเพื่อการออมและลงทุน คือ รายจ่ายที่เราเก็บเอาไว้ทุกเดือน เพื่อเป้าหมายในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว หรือเตรียมค่าใช้จ่ายเพื่อการเกษียณอายุก็ตาม
เมื่อไล่รายการและแจกแจงค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว วิธีบริหารเงินในช่วงวิกฤตในขั้นตอนต่อไปคือ ต้องมาแยกแยะดูว่ามีค่าใช้จ่ายใดจำเป็นและไม่จำเป็นบ้าง พี่เบิ้มรู้ว่าค่าใช้จ่ายบางอย่างก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จำเป็นต้องจ่ายทุกเดือน ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ แต่วิธีที่เราสามารถทำได้ คือการลดปริมาณการใช้ลง เช่น ลดการเปิดเครื่องปรับอากาศ ทำอาหารกินเอง ส่วนใครที่ชอบซื้อเสื้อผ้าหรือของฟุ่มเฟือย ก็ลองจำกัดการซื้อดู ค่อยๆ ลดและทำเป็นประจำจนกลายเป็นนิสัยก็จะช่วยประหยัดไปได้มาก
เคล็ดลับจากพี่เบิ้ม: วิธีบริหารเงินในช่วงวิกฤต นอกจากการลดรายจ่ายผันแปรที่ไม่จำเป็นแล้ว เราสามารถลดค่าใช้จ่ายคงที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อหรือเงินกู้ได้ ให้ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ จากสถาบันทางการเงิน เพื่อลดอัตราผ่อนชำระต่อเดือนให้น้อยลงที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการรีไฟแนนซ์ หรือการขอขยายระยะเวลาการผ่อนชำระ
ประมาณการค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
หลังจากที่เราแจกแจงค่าใช้จ่ายแล้ว ขั้นตอนต่อไปของวิธีบริหารเงินในช่วงวิกฤต คือการทำงบประมาณรายจ่ายในแต่ละเดือน ซึ่งในแต่ละเดือน พี่เบิ้มขอแนะนำให้กำหนดเลยว่าจะใช้จ่ายเงินกับค่าอาหาร ค่าขนม ค่าเสื้อผ้าเท่าไร และห้ามใช้เกินโดยเด็ดขาด! วิธีนี้จะช่วยให้เราสามารถวางแผนการใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม ไม่ให้เกิดภาวะเงินตึงมือจนเกินไป เพียงแค่นี้คำว่าสิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจก็จะไม่เกิดขึ้นกับทุกคนอีกต่อไปครับ
เคล็ดลับจากพี่เบิ้ม: พยายามไม่ใช้เงินเกินงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งเอาไว้ และควรจะมีงบสำหรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุจำเป็น จะได้รู้สึกอุ่นใจ
สำรองเงินสดไว้ยามฉุกเฉิน
วิธีบริหารเงินในช่วงวิกฤตที่ช่วยเสริมสภาพคล่องที่ดีที่สุด คือการมีเงินสดไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เปรียบเสมือนการเล่นกีฬาที่ยังต้องมีตัวสำรองเผื่อเจ็บ แล้วการเงินจะไม่มีเงินสำรองเอาไว้ได้อย่างไร ซึ่งข้อนี้พี่เบิ้มขอแนะนำให้ทำอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่ในช่วงที่ยังไม่เกิดภาวะวิกฤตการณ์ทางการเงิน เพราะภายภาคหน้าหากเกิดปัญหาเร่งด่วน เรายังสามารถดึงเงินส่วนนี้มาใช้จ่ายได้
เคล็ดลับจากพี่เบิ้ม: พยายามลดการใช้จ่ายโดยลดการใช้บัตรเครดิตหรือการขอสินเชื่อโดยไม่จำเป็น ควรพยายามใช้เงินสดให้มากที่สุด และควรทำรายการสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ ในกรณีที่เราต้องใช้เงินสดในยามฉุกเฉิน
เปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นเงินเป็นทอง
วิธีบริหารเงินในช่วงวิกฤตไม่ใช่แค่การลดรายจ่าย แต่ต้องเพิ่มรายได้ด้วย ดังนั้น สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนคือ การหารายได้เพิ่มเติมจากช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขายของออนไลน์ การขายของมือสอง การสอนออนไลน์ การรับงานฟรีแลนซ์หรือรายได้เสริม ได้กำไรหลักสิบ หลักร้อย หลักพัน ไม่ว่าจะเท่าไร พี่เบิ้มก็เชื่อว่าจะช่วยเราในภาวะวิกฤตได้เช่นกัน
เคล็ดลับจากพี่เบิ้ม : ลองมองหาสิ่งที่เราชอบ หรือสิ่งที่เราทำแล้วมีความสุข มาปรับเปลี่ยนเป็นรายได้เสริม เช่น การขายกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง การถ่ายภาพเพื่อนำไปขายในเว็บไซต์ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มความสุขในสิ่งที่ทำด้วย
ขอสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง
หากว่าทำครบทุกวิธีบริหารเงินในช่วงวิกฤตแล้ว แต่ยังขาดสภาพคล่องอยู่ เราอาจจะต้องมองหาสินเชื่อจากสถาบันทางการเงินต่าง ๆ โดยพิจารณาที่ดอกเบี้ยต่ำ ให้วงเงินสูง เพื่อเข้ามาเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้เกิดความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ใครที่กำลังกลุ้มใจหนัก ๆ ไม่รู้ว่าจะปรึกษาใคร พี่เบิ้มยินดีให้บริการสินเชื่อ KTC ทางเลือกคนไม่ท้อ
เคล็ดลับจากพี่เบิ้ม: ควรพิจารณาสินเชื่อจากสถาบันทางการเงินที่เชื่อถือได้ และมีมาตรการช่วยเหลืออย่างเป็นธรรม โดยเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยและวงเงินกู้ประกอบการพิจารณา
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีบริหารเงินในช่วงวิกฤตที่ทุกคนสามารถทำได้ทันที หรือนำไปปรับใช้ในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลง และสำหรับผู้ที่มีรถยนต์และมีปัญหาทางด้านการเงิน สามารถปรึกษาและขอสินเชื่อจากพี่เบิ้มได้ โดยไม่จำกัดยี่ห้อและจำนวนปี ให้วงเงินสูงสุด 700,000 บาท ดอกเบี้ยเริ่มต้น เพียง 0.98% ต่อเดือน ผ่อนนานสูงสุด 60 เดือน อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอก ปิดบัญชีสินเชื่อได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ไม่มีค่าปรับ รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก