• บัตรเครดิต
    • ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต
    • คะแนน
    • ผ่อนชำระ
    • บริจาค
    • บริการหักค่าใช้จ่ายอัตโนมัติ
    • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
    • KTC Samsung Pay
    • KTC Fitbit Pay
    • KTC Garmin Pay
  • สินเชื่อบุคคล
    • ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ
    • ผ่อนชำระ
    • เครื่องคำนวณสินเชื่อ
    • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
  • โปรโมชั่น
  • ธุรกิจร้านค้า
  • บริการท่องเที่ยว
  • ช้อปสินค้าออนไลน์
  • บริการลูกค้า
    • ติดต่อ KTC
    • แอป KTC Mobile
    • บริการ KTC Online
    • ช่องทางการชำระเงิน
    • วารสารรายเดือน
    • ดาวน์โหลดแบบฟอร์มและคู่มือ
    • คำถามที่พบบ่อย
บัตรเครดิต

บัตรเครดิต

  • ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต
  • คะแนน
  • ผ่อนชำระ
  • บริจาค
  • บริการหักค่าใช้จ่ายอัตโนมัติ
  • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
  • KTC Samsung Pay
  • KTC Fitbit Pay
  • KTC Garmin Pay
สินเชื่อบุคคล

สินเชื่อบุคคล

  • ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ
  • ผ่อนชำระ
  • เครื่องคำนวณสินเชื่อ
  • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
โปรโมชั่น โปรโมชั่น ธุรกิจร้านค้าธุรกิจร้านค้า บริการท่องเที่ยวบริการท่องเที่ยว ช้อปสินค้าออนไลน์ช้อปสินค้าออนไลน์
บริการลูกค้า

บริการลูกค้า

  • ติดต่อ KTC
  • แอป KTC Mobile
  • บริการ KTC Online
  • ช่องทางการชำระเงิน
  • วารสารรายเดือน
  • ดาวน์โหลดแบบฟอร์มและคู่มือ
  • คำถามที่พบบ่อย
เปลี่ยนภาษา

EN

TH

KTC Search Icon KTC Search Icon
สมัครบัตร
KTC Login Icon KTC Login Icon เข้าสู่ระบบ KTC Mobile Login
KTC Profile

บัญชีของฉัน

  • KTC Online

    บัตร KTC ของฉัน

  • KTC Promotions

    โปรโมชั่นของฉัน

  • KTC Logout

    ออกจากระบบ

KTC Online Profile
  1. หน้าหลัก
  2. /
  3. บทความ
  4. /
  5. ความรู้
  6. /
  7. ดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดยังไง ใช้แล้ววิ่งเลยหรือ?
  1. หน้าหลัก
  2. /
  3. บทความ
  4. /
  5. ความรู้
  6. /
  7. ดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดยังไง ใช้แล้ววิ่งเลยหรือ?
ดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดยังไง ใช้แล้ววิ่งเลยหรือ?

ดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดยังไง ใช้แล้ววิ่งเลยหรือ?

หมวดหมู่ : ความรู้

สรุปมาแล้ว...

การใช้บัตรเครดิตไม่ได้ทำให้เกิดดอกเบี้ยฯ แต่วิธีใช้ต่างหากที่อาจทำให้เกิดดอกเบี้ยฯได้
โดยบัตรเครดิตจะมีการคิดดอกเบี้ย ก็ต่อเมื่อ “จ่ายไม่ครบหรือจ่ายขั้นต่ำ”
สูตรการคิดดอกเบี้ย : ดอกเบี้ยบัตรเครดิต = (ยอดใช้จ่าย x อัตราดอกเบี้ยฯ x จำนวนวัน) / จำนวนวันในรอบปี)
** มีวิธีและตัวอย่างการคำนวณใน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

แต่หากจ่ายเต็มจำนวนตรงกำหนด การใช้บัตรเครดิตในรอบนั้นก็จะไม่มีดอกเบี้ยเกิดขึ้น (ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย)
กฎการใช้บัตรเครดิต คือ ต้องวินัย จ่ายให้ครบเต็มจำนวน จ่ายขั้นต่ำในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น

**การมีบัตรเครดิตนั้น เป็นจุดเริ่มต้นวินัยของการบริหารเงินที่ดี แถมสร้างเครดิตดีให้กับสถานะการเงินของตัวเอง**
หากเราใช้บัตรเครดิตอย่างมีสติ จ่ายตรงเวลา เราก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากบัตรเครดิตได้อย่างคุ้มค่าที่สุด เช่น
: สะสมคะแนนจากทุกการใช้จ่ายผ่านบัตร (25 บาท = 1 คะแนน KTC FOREVER ซึ่งคะแนนไม่มีวันหมดอายุ)
: สิทธิพิเศษต่างๆ การรับเครดิตเงินคืน หรือส่วนลดโปรโมชั่นมากมาย 
: ผ่อนชำระสินค้าหลายๆ อย่างได้ในอัตราดอกเบี้ย 0% นานสูงสุด 10 เดือน โดยมีเวลาบริหารจัดการการเงินของเราให้คล่องตัวขึ้น

      เมื่อถึงวัยทำงานถือว่าเป็นอีกวัยหนึ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตการทำงาน การเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันต่างๆ รวมไปถึงการใช้จ่ายที่ต้องมีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น จุดเริ่มต้นการใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิต ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นในวัยทำงานนี้แหละ เพราะมีคุณสมบัติที่จะสามารถสมัครบัตรเครดิตสักใบเป็นของตนเอง แต่ก่อนจะมีบัตรเครดิตสักใบ หลายๆคนมักมีกังวลใจว่าใช้บัตรแล้วจะเกิดดอกเบี้ยว่า ใช้แล้วเกิดดอกเบี้ยเลยหรือเปล่า?
ทั้งนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า ดอกเบี้ยบัตรเครดิตนี้มันจะเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่ ทำยังไงไม่ให้เสียดอกเบี้ย วันนี้เราจะมาหาคำตอบให้กับสิ่งนี้ไปพร้อมๆ กัน!

TIP :
คำว่า “ดอกเบี้ย” ที่เราเรียกกันนั้น หมายถึง ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน (ดอกเบี้ยฯ) ซึ่งมีอัตรารวมอยู่ที่ 16%  
*แต่ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับดอกเบี้ยฯตามแต่ละช่วงได้เหมือนกัน โปรดตรวจสอบแต่ละสถาบันการเงินอีกครั้ง

วิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต

      ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าบัตรเครดิตจะมีการคิดดอกเบี้ย ก็ต่อเมื่อจ่ายไม่ครบหรือจ่ายขั้นต่ำ “แต่หากจ่ายเต็มจำนวนตรงตามที่สถาบันการเงินกำหนด การใช้บัตรเครดิตในรอบนั้นก็จะไม่มีดอกเบี้ยเกิดขึ้น”  ซึ่งระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย โดยปกติจะอยู่ที่ประมาณ 45-55 วันขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันการเงิน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันสรุปยอดบัญชี ไปจนถึงวันครบกำหนดชำระของรอบบัญชีถัดไป 

TIP :
ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย คือ ช่วงที่เรานำเงินในวงเงินบัตรไปใช้ก่อน โดยไม่มีการคิดดอกเบี้ย

ดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดยังไง ใช้แล้ววิ่งเลยหรือ?

      ถ้าบัตรเครดิตของคุณ วันสรุปยอดบัญชีคือ ทุกวันที่ 17 ของเดือน และวันครบกำหนดชำระ คือ ทุกวันที่ 1 หรือ 2 ของเดือน หากเรารูดบัตรเครดิตหลังวันสรุปยอดบัญชี ซึ่งคือ ช่วงเวลาตั้งแต่ 18 พฤษภาคม ถึง 2 กรกฎาคม นี่คือช่วงเวลา “ระยะปลอดดอกเบี้ย” สามารถใช้ประโยชน์จากช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ไปบริหารการเงิน ก่อนที่จะต้องจ่ายคืนเต็มจำนวนในวันครบกำหนดชำระ แบบไม่เสียดอกเบี้ยนานสูงสุดถึง 45 วัน

นี่คือจุดเด่นที่ทำให้คนหันมาใช้บัตรเครดิตกัน เพราะมีแต่ได้กับได้ หากมีวินัยและรู้จักการบริหารการเงินที่ดี ทำให้เราไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเราไปก่อน แต่เมื่อถึงวันครบกำหนดชำระแล้ว หากเราไม่สามารถชำระเต็มจำนวนที่ใช้ไปได้เมื่อไหร่ “ดอกเบี้ยบัตรเครดิต ก็จะเกิดขึ้นทันที”

สูตรการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตในกรณีจ่ายขั้นต่ำ (เป็นการคำนวณแบบประมาณการ)

ดอกเบี้ยบัตรเครดิต = (ยอดใช้จ่าย x อัตราดอกเบี้ยฯ x จำนวนวัน) / 366
(จำนวนวันในรอบปี = 365/366 วัน ขึ้นอยู่กับจำนวนวันของแต่ละปี)

      การจ่ายขั้นต่ำ 10% ของยอดที่ต้องชำระ แม้จะเป็นช่องทางที่ช่วยให้สถานะทางการเงินของเรายังรอดต่อไปได้ หรือไม่เสียประวัติเครดิตของเรา แต่การจ่ายขั้นต่ำนั้น ดอกเบี้ยบัตรเครดิตก็จะถูกคิดย้อนกลับตั้งแต่ ณ วันที่บันทึกรายการ (Posting date) คิดคำนวณไปจนกว่าจะจ่ายครบทั้งหมดของยอดเรียกเก็บเต็มจำนวน

ตัวอย่างเช่น

รูดซื้อของในราคา 20,000 บาท วันที่ 18 พฤษภาคม 2563
วันที่บันทึกรายการ (Posting date) คือ วันที่ 18 พฤษภาคม 2563
วันสรุปยอดบัญชีคือ ทุกวันที่ 17 ของเดือน
วันครบกำหนดชำระ คือ ทุกวันที่ 1 หรือ 2 ของเดือนถัดไป
(อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 16%)

สมมุติว่า ในวันที่ 2 กรกฎาคม เลือกจ่ายแบบขั้นต่ำ 10% = 2,000 บาท
การคำนวณดอกเบี้ย จะเป็นดังนี้

1. ดอกเบี้ยเงินต้น
จะถูกคำนวณจากวันที่บันทึกรายการถึงวันก่อนวันชำระ 1 วัน ( วันที่ 18 พฤษภาคม – 1 กรกฎาคม = 45 วัน )
: (20,000 บาท × 16% × 45 วัน) ¸ 366 วัน = 393.44บาท

2. ดอกเบี้ยค้างชำระ
จะถูกคำนวณตั้งแต่วันที่ชำระขั้นต่ำ จนถึงวันสรุปยอดบัญชีถัดไป ( 2 – 17 กรกฎาคม = 16 วัน )
: (20,000 - 2,000 บาท) × 16% × 16 วัน  ¸ 366 วัน = 125.9 บาท

ดังนั้น ในรอบวันสรุปยอดบัญชีวันที่ 17 กรกฎาคม จะมียอดดอกเบี้ยที่เรียกเก็บเพิ่มทั้งหมด คือ 393.44 + 125.9 = 519.34 บาท

สรุป เมื่อถึงรอบครบกำหนดชำระถัดไปในวันที่ 2 สิงหาคม จะมียอดคงค้างพร้อมดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น เป็นจำนวนเงิน ดังนี้

: 18,000 + 519.34 = 18,519.34 บาท

ดอกเบี้ยบัตรเครดิตคิดยังไง ใช้แล้ววิ่งเลยหรือ?

TIP :
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า การชำระค่าบัตรเครดิตเพียงบางส่วน จะทำให้เกิดดอกเบี้ยตามมา ซึ่งถ้าจ่ายให้ครบเต็มจำนวน ก็จะไม่มีดอกเบี้ยดังกล่าว KTC สนับสนุนการใช้จ่ายในเรื่องที่จำเป็น ไม่เกินตัวคือทางที่ดีที่สุด และใช้การจ่ายขั้นต่ำในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เพื่อลดการเกิดดอกเบี้ย

เลือกใช้โอกาสดีๆ ที่บัตรเครดิตมอบให้ (จ่ายตรง จ่ายครบ)

หลายๆ คนอาจจะเริ่มกลัว โปรดอย่าเพิ่งกังวลใจไป เพราะที่จริงแล้วการใช้บัตรเครดิตนั้น มีประโยชน์กว่าที่คิด เช่น
: สะสมคะแนนจากทุกการใช้จ่ายผ่านบัตร (25 บาท = 1 คะแนน KTC FOREVER ซึ่งคะแนนไม่มีวันหมดอายุ)
: สิทธิพิเศษต่างๆ สำหรับคนใช้บัตรเครดิต การรับเครดิตเงินคืน หรือส่วนลดตามโปรโมชั่นมากมาย 
: สามารถผ่อนชำระสินค้าหลายๆ อย่างได้ในอัตราดอกเบี้ย 0% นานสูงสุด 10 เดือน โดยไม่ต้องควักเงินก้อนโตของตัวเองออกมาใช้ก่อน แถมยังมีเวลาให้เราสามารถบริหารจัดการการเงินของเราให้คล่องตัวขึ้นอีก

      สุดท้ายนี้การมีบัตรเครดิตเป็นของตัวเองก็ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแต่อย่างใด แต่เป็นจุดเริ่มต้นวินัยของการบริหารเงินที่ดี แถมสร้างเครดิตดีให้กับสถานะการเงินของตัวเองอีกด้วย หากเราใช้บัตรเครดิตอย่างมีสติ ไม่เกินตัว โดยไม่หวังเอาเงินอนาคตมาใช้ในเรื่องไม่จำเป็น จ่ายตรงเวลา เราก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากบัตรเครดิตได้อย่างคุ้มค่าที่สุด

หมายเหตุ: ดอกเบี้ย หมายถึง ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน ซึ่งมีอัตรารวมกัน 16%
*แต่ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับดอกเบี้ยฯตามแต่ละช่วงได้เหมือนกัน โปรดตรวจสอบแต่ละสถาบันการเงินอีกครั้ง

 

สมัครบัตรเครดิต เพื่อสร้างเครดิตดี…. ที่นี่
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี

บัตรเครดิตใบแรก ไม่ใช่ใครก็มีได้

Travel World Painaidee Krabi Thailand

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธียอดฮิตหาเงินฉุกเฉิน กู้เงินด่วน (emergency money)

วิธียอดฮิตหาเงินฉุกเฉิน กู้เงินด่วน

คงไม่มีใครอยากกู้เงินด่วน แต่ใช่ว่าชีวิตทุกคนจะเป็นดั่งใจไปทุกครั้ง บางครั้งการได้เงินก้อนมาช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ถือว่าเป็นโอกาสหมุนเงินให้การเงินของคุณไม่ตึงเครียดจนเกินไป แม้ว่าเงินฉุกเฉินนั้นควรมาจากเงินออมที่เก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ แต่หากไม่มีเงินออมเลย มีวิธีอะไรบ้างละ?

อาชีพเสริมไม่แปลก : Don't Put All your Eggs in One Basket.

อาชีพเสริมไม่แปลก : Don't Put All your Eggs in One Basket.​

เชื่อไหม?.. การที่จะบอกว่าคนในยุค 2020 ส่วนใหญ่ มีอาชีพมากกว่า 1 อาชีพนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเทคโนโลยีในโลกดิจิทัล นอกจากจะช่วยให้ใช้เวลาในการทำงานน้อยลงแล้ว ยังเปิดโอกาสให้การประกอบอาชีพเสริมหรือสร้างธุรกิจใหม่สะดวกและง่ายขึ้น…

หูฟังไร้สายมีกี่แบบ??

หูฟังไร้สายมีกี่แบบ??

เมื่อสมาร์ทโฟนกลายเป็นส่วนสำคัญต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ทั้งใช้ทำงาน เรียนหนังสือ เสพความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง ฟังคอนเทนต์ดีๆ จากกูรูต่างๆ

ร้านอาหารในตำนาน

ร้านอาหารเก่าแก่ระดับตำนานที่ควรค่าแก่การไปชิมสักครั้ง

สืบทอดสูตรและเคล็ดลับความอร่อยสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน

เลือกผลิตภัณฑ์

บัตรเครดิต KTC

บัตรกดเงินสด KTC PROUD

สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH

สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ <span>KTC พี่เบิ้ม</span>

สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม

เกี่ยวกับเรา

  • วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
  • ข้อมูลทั่วไป
  • โครงสร้างการถือหุ้นกลุ่มบริษัท
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • คณะผู้บริหาร
  • เลขานุการบริษัท
  • หัวหน้างานตรวจสอบภายใน
  • ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี
  • นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • บทความ
  • สมัครงาน / ฝึกงาน

บริการลูกค้า

  • บริการออนไลน์
  • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
  • คำนวณดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม
  • ช่องทางการชำระเงิน
  • บริการหักค่าใช้จ่ายรายเดือนอัตโนมัติ
  • ดาวน์โหลด
  • ประกาศบริษัท
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แผนผังเว็บไซต์

การพัฒนาความยั่งยืน

  • การกำกับดูแลกิจการ
  • การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยง
  • ประมวลภาพกิจกรรมการกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม
  • การรับรองมาตรฐานระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสําหรับสารสนเทศ (ISO/IEC 27001:2013)

นักลงทุนสัมพันธ์

  • ข้อมูลสำคัญทางการเงิน
  • นโยบายการเปิดเผยข้อมูล
  • ข้อมูลนำเสนอ
  • ข้อมูลสำหรับผู้ถือหุ้น
  • การประชุมผู้ถือหุ้น
  • ข้อมูลและกิจกรรมหุ้นกู้
  • ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์

KTC PHONE

02 123 5000
CAC Certified

ดาวน์โหลดแอป

KTC Mobile
KTC Mobile KTC Mobile KTC Mobile
KTC Facebook KTC Twitter KTC Instagram KTC LINE
© 2563 บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
KTC Facebook KTC Facebook KTC twitter KTC twitter KTC instagram KTC instagram KTC LINE KTC LINE

EN

TH

KTC LIVE CHAT

Live Chat

KTC LIVE CHAT
ทั้งหมด
โปรโมชั่น
ผลิตภัณฑ์
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
0 ผลลัพธ์
คุณกำลังหมายถึง?
    ดูเพิ่มเติม

    ไม่พบผลลัพธ์ที่ค้นหา

    ตรวจสอบคำค้นหาของคุณแล้วลองอีกครั้ง
    ลองค้นหาด้วยคำหลักที่น้อยลง
    ประวัตการค้นหา
    ไม่มีประวัตการค้นหา
    ลบทั้งหมด
    KTC
    ตัวกรองโปรโมชั่น
    หมวดหมู่โปรโมชั่น
    • เลือกทั้งหมด
    • ล้างทั้งหมด
    ประเภทบัตรทั้งหมด
    • เลือกทั้งหมด
    • ล้างทั้งหมด
    เลือกผลิตภัณฑ์

    บัตรเครดิต KTC

    บัตรกดเงินสด KTC PROUD

    สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH

    สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ <span>KTC พี่เบิ้ม</span>

    สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม

    Filter

    ตัวกรอง

    Search
    www.ktc.co.th ไม่รองรับเบราว์เซอร์ Internet Explorer
    หากดำเนินการต่อ การใช้งานในบางเมนู/รายการอาจไม่สมบูรณ์

    ขอบคุณที่ไว้วางใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการจาก KTC

    ระบบได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับด้วยหมายเลข 02 123 6000
    ภายใน 2 ชั่วโมง ในวันและเวลาทำการ
    วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08:00 – 20:00 น.
    วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09:00 – 18:00 น.
    ยกเว้น วันนักขัตฤกษ์

    ระบบได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับด้วยหมายเลข 02 123 6000
    ภายใน 2 ชั่วโมง ในวันและเวลาทำการ
    วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08:00 – 20:00 น.
    วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09:00 – 18:00 น.
    ยกเว้น วันนักขัตฤกษ์

    ติดตามสถานะการสมัครผ่าน

    KTC Promo

    สามารถดาวน์โหลดได้ที่

    © 2562 บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

    EN

    TH