• บัตรเครดิต
    • ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต
    • คะแนน
    • ผ่อนชำระ
    • บริจาค
    • บริการหักค่าใช้จ่ายอัตโนมัติ
    • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
    • KTC Samsung Pay
    • KTC Fitbit Pay
    • KTC Garmin Pay
  • สินเชื่อบุคคล
    • ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ
    • ผ่อนชำระ
    • เครื่องคำนวณสินเชื่อ
    • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
  • โปรโมชั่น
  • ธุรกิจร้านค้า
  • บริการท่องเที่ยว
  • ช้อปสินค้าออนไลน์
  • บริการลูกค้า
    • ติดต่อ KTC
    • แอป KTC Mobile
    • บริการ KTC Online
    • ช่องทางการชำระเงิน
    • วารสารรายเดือน
    • ดาวน์โหลดแบบฟอร์มและคู่มือ
    • คำถามที่พบบ่อย
บัตรเครดิต

บัตรเครดิต

  • ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต
  • คะแนน
  • ผ่อนชำระ
  • บริจาค
  • บริการหักค่าใช้จ่ายอัตโนมัติ
  • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
  • KTC Samsung Pay
  • KTC Fitbit Pay
  • KTC Garmin Pay
สินเชื่อบุคคล

สินเชื่อบุคคล

  • ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ
  • ผ่อนชำระ
  • เครื่องคำนวณสินเชื่อ
  • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
โปรโมชั่น โปรโมชั่น ธุรกิจร้านค้าธุรกิจร้านค้า บริการท่องเที่ยวบริการท่องเที่ยว ช้อปสินค้าออนไลน์ช้อปสินค้าออนไลน์
บริการลูกค้า

บริการลูกค้า

  • ติดต่อ KTC
  • แอป KTC Mobile
  • บริการ KTC Online
  • ช่องทางการชำระเงิน
  • วารสารรายเดือน
  • ดาวน์โหลดแบบฟอร์มและคู่มือ
  • คำถามที่พบบ่อย
เปลี่ยนภาษา

EN

TH

KTC Search Icon KTC Search Icon
สมัครบัตร
KTC Login Icon KTC Login Icon เข้าสู่ระบบ KTC Mobile Login
KTC Profile

บัญชีของฉัน

  • KTC Online

    บัตร KTC ของฉัน

  • KTC Promotions

    โปรโมชั่นของฉัน

  • KTC Logout

    ออกจากระบบ

KTC Online Profile
  1. หน้าหลัก
  2. /
  3. บทความ
  4. /
  5. ความรู้
  6. /
  7. ยิ่งเศรษฐกิจไม่ดี ยิ่งต้องรู้จักลงทุน
  1. หน้าหลัก
  2. /
  3. บทความ
  4. /
  5. ความรู้
  6. /
  7. ยิ่งเศรษฐกิจไม่ดี ยิ่งต้องรู้จักลงทุน
investment Heading

ยิ่งเศรษฐกิจไม่ดี ยิ่งต้องรู้จักลงทุน

หมวดหมู่ : ความรู้

สรุปมาแล้ว...

คนส่วนใหญ่ชอบคิดว่า เศรษฐกิจแย่เก็บเงินไว้ดีกว่า...
ทั้งที่ความจริงแล้วยิ่งเศรษฐกิจแย่ ยิ่งต้องรู้จักที่จะลงทุน!
โดยพื้นฐานแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องเริ่มจากการบริหารแบ่งสัดส่วนเงินของเราก่อน ซึ่งหลักๆ แบ่งเป็น เงินลงทุน เงินออม เงินสำรอง และค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนว่าจะแบ่งใช้กี่เปอร์เซ็นต์จึงเหมาะสม โดยส่วนของเงินลงทุนจะลงทุนในรูปแบบการลงทุนให้เงินเติบโตได้จากอะไรบ้าง?ตั้งแต่การหาอาชีพเสริม ซื้อกองทุน ซื้อหุ้น ซื้อประกันชีวิต หรือซื้อตราสารหนี้

      เวลาในชีวิตของคนเรานั้นมีจำกัด โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนที่แต่ละเดือน กว่าจะได้เงินมาต้องเหนื่อย และเสียสละเวลา ยิ่งนับวันเวลาในการทำงานก็มีแต่จะลดลง หากมัวแต่เก็บเงินนอนนิ่งในบัญชีออมทรัพย์หรือรอจนกว่าจะมีเงินก้อนไปลงทุน คงยากที่จะมีความมั่นคงในระยะยาว เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจไม่ดียิ่งควรลงทุน มีเงินเดือนไม่มากก็ลงทุนได้ ขอแค่รู้จักที่จะเริ่มลงทุน เรียนรู้การลงทุนอย่างถูกวิธี อย่ามัวแต่รอเวลา ย่อมช่วยเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นกว่าเดิม

อย่างแรกแบ่งสัดส่วนเงินเพื่อลงทุน

      ก่อนจะไปลงทุนต้องเข้าใจว่าการลงทุนคือการที่เราจ่ายเงินออกไปแล้ว อาจจะได้เงินกลับมาจำนวนเพิ่มมากขึ้น(กำไร) หรือลดลง(ขาดทุน) ซึ่งก่อนลงทุนจะต้องบริหารจัดการเงิน โดยแบ่งสัดส่วนจากรายได้ที่เข้ามาในแต่ละเดือนอย่างมีวินัยเสียก่อน

รายได้แต่ละเดือน
15% = เงินลงทุน
10% = เงินออม
10% = เงินสำรอง
65% = เงินใช้จ่าย

      การจัดสรรเงินลงทุน ในแต่ละเดือนแบบที่ง่ายที่สุดคือ เมื่อมีรายรับเข้ามาในแต่ละเดือน ให้แบ่ง 15% สำหรับลงทุน เช่น เงินเดือน 20,000 บาท เอาไปลงทุน 15% คือ 3,000 บาท แบ่งสำหรับเก็บออมห้ามใช้ 10% คือ 2,000 บาท แบ่งสำหรับเงินสำรองฉุกเฉิน 2,000 บาท เมื่อแบ่งตามนี้แล้วจะมีเงินสำหรับใช้จ่ายค่าต่าง ๆ อาทิ กิน เที่ยว ซื้อของ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ และอื่น ๆ อยู่ที่ 13,000 บาท เป็นต้น นี่คือสัดส่วนที่ทำได้ไม่ยาก แถมช่วยสร้างวินัยทางการเงินให้กับตัวเอง

ลงทุนอะไรดี ให้ได้ผลตอบแทน
      เมื่อแบ่งเงินลงทุนไว้อย่างชัดเจน รูปแบบการลงทุนที่น่าสนใจที่อยากแนะนำ ได้แก่

suggest for investment

1. ใครๆก็ต้องมีอาชีพเสริม
การลงทุนที่ช่วยต่อยอดรายได้อย่างชัดเจน คือ การมองหาอาชีพเสริมจากทักษะที่ตนเองมี โดยสามารถทำได้ในต้นทุนที่กำหนดไว้ ไม่ควรมากเกินไปจนลำบาก อาชีพเสริมที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ขายสินค้าต่าง ๆ  ขายอาหาร บริการส่งของ ตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีช่องทางออนไลน์ช่วยลดต้นทุนค่าเช่าที่จากการมีหน้าร้านได้เป็นอย่างดี ขยันสักนิดลงทุนแบบพอดี รายได้เพิ่มแน่นอน

2. สะสมกองทุน
ช่วงเศรษฐกิจวิกฤตหนักให้มองเป็นโอกาสในการลงทุนระยะยาว ราวกับว่าเราจะซื้อของแพงในราคาถูกได้ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบนี้ โดยกองทุนระยะยาวที่แนะนำ คือ

: Super saving fund (SSF) หรือกองทุนรวมเพื่อการออม เป็นกองทุนการออมระยะยาวช่วยสร้างความมั่นคงในอนาคตโดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี โดยลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท* ระยะเวลาถือครอง 10 ปี(นับจากวันที่ซื้อ) ไม่จำเป็นต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกองทุน SSF จะนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ทุกประเภท เช่น หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
*รวมกับกองทุนเพื่อการเกษียรอื่น ๆ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

: Retirement Mutual Fund (RMF) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนการออมแบบผูกพันระยะยาวของทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ เพื่อให้มีหลักประกันสำหรับตนเองและครอบครัวยามเกษียณอายุ โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษี 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี** ระยะเวลาถือครอง 5 ปี(นับจากวันที่ซื้อ) และต้องถือยาวจนถึงอายุ 55 ปี จำเป็นต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกปี เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี ซึ่งกองทุน RMF จะนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ทุกประเภทเหมือนกองทุนรวมทั่วไป
**รวมกับกองทุนเพื่อการเกษียรอื่น ๆ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

KTC TIP :
      แนะนำให้กระจายการซื้อหลักทรัพย์ ทยอยซื้อเป็นประจำทุกสัปดาห์หรือทุกเดือนด้วยเงินเท่า ๆ กัน เป็นการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน DCA (Dollar - Cost Averaging) ซึ่งช่วยลดโอกาสการขาดทุน มีโอกาสได้ผลตอบแทนดีในระยะยาว แต่ห้ามทำผิดเงื่อนไขเด็ดขาด เพราะอาจต้องเสียค่าปรับให้กรมสรรพากร

stock market investor

3. เล่นหุ้นไม่ได้แพงอย่างที่คิด
การลงทุนกับหุ้นในปัจจุบันนั้นทำได้ง่าย โดยขั้นตอนการเปิดพอร์ตนั้น อย่างแรกคือมองหาโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือและติดต่อได้ง่าย โดยดูประวัติ รูปแบบการบริการ และค่าคอมมิชชัน จากเว็ปไซด์นี้ settrade.com

แนะนำว่าเมื่อได้โบรกเกอร์แล้ว เลือกบัญชีหุ้น 2 แบบคือ
แบบ Cash Account  ต้องโอนเงินซื้อภายใน 3 วันหลังจากได้รับการยืนยัน คำสั่งซื้อ (เหมือนพรีออเดอร์ละจ่ายทีหลัง)
แบบ Cash Balance ใช้เงินจากบัญชีโดยตรง มีเงินในบัญชีเท่าไหร่ก็ซื้อหุ้นได้เท่านั้น
จากนั้นดาวน์โหลดแอปฯ Streaming มาช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อขาย เช็กราคา บริหารพอร์ตด้วยตนเอง
      สิ่งสำคัญของการลงทุนกับหุ้นคือการหาความรู้และตัดสินใจอย่างรอบคอบ แนะนำผู้ลงทุนให้ดูผลประกอบการของบริษัทที่สนใจจะซื้อหุ้นย้อนหลัง 10 ปี ว่ามีอัตราการเติบโตอย่างไร?

โดยมีปัจจัยหลัก 3 สิ่งช่วยตัดสินใจในการวิเคราะห์หุ้น คือ
1.) วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน : สภาวะเศรษฐกิจ วิเคราะห์อุตสาหกรรม วิเคราะห์บริษัท
2.) งบการเงิน : แสดงถึงผลการประกอบกิจการ
3.) การวิเคราะห์กราฟเชิงลึก : ศึกษาแนวโน้มการขึ้น-ลงของทิศทางคณิตศาสตร์
      ควรลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง ไม่ซื้อแค่ตัวเดียว แต่ควรซื้อกระจายความเสี่ยง สัก 3-6 อุตสาหกรรม จำไว้ว่าหากเลือกลงทุนกับหุ้นที่ถูกต้อง มูลค่าจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แต่หากขาดทุนก็ต้องยอมรับและศึกษาหาความรู้ให้มากกว่าเดิม อย่าทุ่มกับการซื้อหุ้นจนหมดตัว แต่ซื้อหุ้นอย่างรอบคอบมีสติ

life insurance

4. ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี+ผลตอบแทน
      การลงทุนกับการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์คืออีกทางเลือกในการออมเงิน ซึ่งมักให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจและคุ้มครองชีวิตไปพร้อมกัน โดยมีให้เลือกทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่น 7/15 ชำระเบี้ยประกัน 7 ปี คุ้มครอง 15 ปี เป็นต้น เมื่อครบกำหนดอายุกรรมธรรม์จะได้ผลประโยชน์ตามที่ตกลง การลงทุนกับประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เหมาะกับคนเริ่มทำงานและวัยกลางคน เพราะต้องชำระเบี้ยมากกว่าสิบปี ไม่เหมาะกับวัยเกษียณ เพราะอาจจะเพิ่มภาระในการใช้จ่าย แนะนำให้ชำระเบี้ยแบบรายปี ค่าเบี้ยจะต่ำกว่าและได้ผลตอบแทนสูงสุดตามเงื่อนไข นอกจากนี้ควรจำไว้ว่าหากเลือกวงเงินคุ้มครองสูง ผลตอบแทนจะค่อนข้างต่ำจึงควรพิจารณาให้รอบคอบ เลือกให้เหมาะกับวัยและตามกำลังที่จ่ายได้แน่นอน

KTC TIP :
สิทธิพิเศษใช้บัตรเครดิต KTC ชำระเบี้ยประกันชีวิตมีส่วนลด รายละเอียดโปรโมชั่น คลิก

5. ได้น้อย แต่ได้แน่ด้วยตราสารหนี้
      การลงทุนกับตราสารทางการเงินเป็นอีกทางเลือกในการลงทุนสำหรับผู้ที่ไม่กล้าเสี่ยงมากนับเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำแต่ดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากทั่วไป ผู้ลงทุนในตราสารหนี้จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ โดยเจ้าหนี้จะได้รับดอกเบี้ยตามเวลาที่กำหนดที่ระบุไว้ ส่วนเงินต้นจะได้คืนเมื่อครบกำหนดเวลา ตราสารหนี้ที่พบบ่อย ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน ตั๋วเงินคลัง ซึ่งอายุของตราสารหนี้มีตั้งแต่ 1 วันถึง 20 ปี มีความเสี่ยงแตกต่างกัน ผลตอบแทนตราสารหนี้มักตรงข้ามกับหุ้น จึงช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้เป็นอย่างดี

ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ประโยคที่ทุกคนรู้กันดี แต่ยิ่งเศรษฐกิจไม่ดี ยิ่งต้องรู้จักลงทุนเพื่อเพิ่มโอกาสหารายได้ให้กับตัวเอง และที่สำคัญคือการมีวินัยทางการเงิน เช่นเดียวกับความคุ้มค่าในการใช้เงิน บัตรเครดิตนอกจากสะดวกยังมีคะแนนสะสม ทุก 25 บาทเท่ากับ 1 คะแนน ซึ่งคะแนนเหล่านี้เปรียบเหมือนเงินสด สามารถเอามาใช้เป็นเครดิตเงินคืนหรือส่วนลดเวลาซื้อของต่าง ๆ และยังมีวงเงินให้ใช้บริหารเงินหรือลงทุนได้ เพราะฉะนั้นก่อนจะลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องจัดสรรรายรับที่มีให้ชัดเจน ฉลาดลงทุน แบ่งเก็บแบ่งใช้ มีวินัยทางการเงิน เพื่อที่การลงทุนจะได้ไม่สะดุด และมีชีวิตที่มั่นคงมั่งคั่งในระยะยาว

KTC TIP :
หากเพิ่งเริ่มลงทุนอย่าหวังแต่กำไร ควรพิจารณาเลือกการลงทุนในระยะยาวที่มีความเสี่ยงต่ำ และหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาการลงทุนให้เหมาะสม และผิดพลาดน้อยที่สุด

สมัครบัตรเครดิต…ที่นี่

ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี
เริ่มต้นการลงทุนง่ายๆ แค่รายได้ 15,000 บาท/เดือนขึ้นไป

investment with creditcard

Travel World Painaidee Krabi Thailand

บทความที่เกี่ยวข้อง

บัตรเครดิตใบแรก ไม่ใช่ใครก็มีได้

บัตรเครดิตใบแรก ไม่ใช่ใครก็มีได้

เมื่อมีงานทำ และมีเงินเดือนเป็นของตัวเอง การมีบัตรเครดิตสักใบน่าจะอยู่ในลิสต์ของใครหลายคน ยิ่งในยุค Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสด การใช้บัตรเครดิตในการจับจ่ายไม่เพียงช่วยให้ใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น

ค่าใช้จ่ายมาพร้อมกัน จ่ายอย่างไรให้กระเป๋าไม่ฉีก?

ค่าใช้จ่ายมาพร้อมกัน จ่ายอย่างไรให้กระเป๋าไม่ฉีก?

เกิดเป็นมนุษย์เงินเดือนที่รายรับแต่ละเดือนจำกัด การจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ในแต่ละเดือนที่บรรดาค่าใช้จ่ายทยอยมาจนเผลอกระพริบตาเดียวก็กองพะเนินแล้วนั้นทำเอาหลายคนกังวลใจว่าจะจ่ายอย่างไรดี

ควรเลือกทรงผมให้เหมาะกับใบหน้าอย่างไรดี ???

ควรเลือกทรงผมให้เหมาะกับใบหน้าอย่างไรดี ???

เคยไหมคะ? เลือกทรงผมแบบเดียวกับไอดอลที่ชื่นชอบ แต่ทำออกมาแล้วไม่สวยเหมือนที่คิด แถมยังดูไม่เหมาะกับเราอีกด้วย นั่นเป็นเพราะรูปหน้าของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทรงผมสวยๆของคนอื่น อาจไม่เหมาะกับรูปหน้าของเรา สาวๆคนไหน ยังไม่แน่ใจว่าจะไว้ทรงผมอะไรดี ลองมาดูทิปในการเลือกทรงผมให้ปังเหมาะกับรูปหน้าของเรากันค่ะ

ชวนวอร์มขาให้พร้อม แล้วไป “วิ่ง ใน สวน” กัน

ชวนวอร์มขาให้พร้อม แล้วไป “วิ่ง ใน สวน” กัน

“ออกกำลังแค่ 40 นาทีต่อวัน ก็ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น” วันนี้เราจึงอยากแนะนำสวนสาธารณะ สถานที่ออกกำลังได้ในภาวะที่ฟิตเนสปิด และหลายคนคงเริ่มเบื่อกับการออกกำลังจากที่บ้าน

เลือกผลิตภัณฑ์

บัตรเครดิต KTC

บัตรกดเงินสด KTC PROUD

สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH

สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ <span>KTC พี่เบิ้ม</span>

สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม

เกี่ยวกับเรา

  • วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
  • ข้อมูลทั่วไป
  • โครงสร้างการถือหุ้นกลุ่มบริษัท
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • คณะผู้บริหาร
  • เลขานุการบริษัท
  • หัวหน้างานตรวจสอบภายใน
  • ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี
  • นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • บทความ
  • สมัครงาน / ฝึกงาน

บริการลูกค้า

  • บริการออนไลน์
  • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
  • คำนวณดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม
  • ช่องทางการชำระเงิน
  • บริการหักค่าใช้จ่ายรายเดือนอัตโนมัติ
  • ดาวน์โหลด
  • ประกาศบริษัท
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แผนผังเว็บไซต์

การพัฒนาความยั่งยืน

  • การกำกับดูแลกิจการ
  • การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยง
  • ประมวลภาพกิจกรรมการกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม
  • การรับรองมาตรฐานระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสําหรับสารสนเทศ (ISO/IEC 27001:2013)

นักลงทุนสัมพันธ์

  • ข้อมูลสำคัญทางการเงิน
  • นโยบายการเปิดเผยข้อมูล
  • ข้อมูลนำเสนอ
  • ข้อมูลสำหรับผู้ถือหุ้น
  • การประชุมผู้ถือหุ้น
  • ข้อมูลและกิจกรรมหุ้นกู้
  • ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์

KTC PHONE

02 123 5000
CAC Certified

ดาวน์โหลดแอป

KTC Mobile
KTC Mobile KTC Mobile KTC Mobile
KTC Facebook KTC Twitter KTC Instagram KTC LINE
© 2563 บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
KTC Facebook KTC Facebook KTC twitter KTC twitter KTC instagram KTC instagram KTC LINE KTC LINE

EN

TH

KTC LIVE CHAT

Live Chat

KTC LIVE CHAT
ทั้งหมด
โปรโมชั่น
ผลิตภัณฑ์
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
0 ผลลัพธ์
คุณกำลังหมายถึง?
    ดูเพิ่มเติม

    ไม่พบผลลัพธ์ที่ค้นหา

    ตรวจสอบคำค้นหาของคุณแล้วลองอีกครั้ง
    ลองค้นหาด้วยคำหลักที่น้อยลง
    ประวัตการค้นหา
    ไม่มีประวัตการค้นหา
    ลบทั้งหมด
    KTC
    ตัวกรองโปรโมชั่น
    หมวดหมู่โปรโมชั่น
    • เลือกทั้งหมด
    • ล้างทั้งหมด
    ประเภทบัตรทั้งหมด
    • เลือกทั้งหมด
    • ล้างทั้งหมด
    เลือกผลิตภัณฑ์

    บัตรเครดิต KTC

    บัตรกดเงินสด KTC PROUD

    สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH

    สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ <span>KTC พี่เบิ้ม</span>

    สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม

    Filter

    ตัวกรอง

    Search
    www.ktc.co.th ไม่รองรับเบราว์เซอร์ Internet Explorer
    หากดำเนินการต่อ การใช้งานในบางเมนู/รายการอาจไม่สมบูรณ์

    ขอบคุณที่ไว้วางใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการจาก KTC

    ระบบได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับด้วยหมายเลข 02 123 6000
    ภายใน 2 ชั่วโมง ในวันและเวลาทำการ
    วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08:00 – 20:00 น.
    วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09:00 – 18:00 น.
    ยกเว้น วันนักขัตฤกษ์

    ระบบได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับด้วยหมายเลข 02 123 6000
    ภายใน 2 ชั่วโมง ในวันและเวลาทำการ
    วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08:00 – 20:00 น.
    วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09:00 – 18:00 น.
    ยกเว้น วันนักขัตฤกษ์

    ติดตามสถานะการสมัครผ่าน

    KTC Promo

    สามารถดาวน์โหลดได้ที่

    © 2562 บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

    EN

    TH