เรื่องต้องรู้ ก่อนคิดต่อยอดกิจการเดิม
ทุกวันนี้มนุษย์เงินเดือนหลายคนเริ่มมองหาอาชีพเสริมหรือทำธุรกิจที่ตนสนใจเพื่อหวังต่อยอดรายได้ที่มีอยู่ โดยเฉพาะผู้ที่คิดลงทุนเปิดกิจการหรือทำร้านค้าอาจคุ้นตากับสถานประกอบการที่ติดประกาศคำว่า "เซ้ง" หรือ "เช่า" แต่รู้หรือไม่ว่าระหว่าง "เซ้งร้าน" กับ "เช่าร้าน" นั้นเหมือนหรือต่างกันแค่ไหน มีเรื่องใดต้องระวังบ้าง วันนี้พี่เบิ้มขอพาทุกคนไปหาคำตอบกันก่อนคิดเช่าหรือเซ้งกิจการต่อจากคนอื่น เพื่อไม่ให้โดนโกงและได้ราคาเช่าสถานที่ค้าขายที่ยุติธรรม
เซ้งกับเช่า เหมือนหรือต่างกันแค่ไหน
เซ้งร้าน คืออะไร
การเซ้งร้าน หมายถึง การขายหรือโอนสิทธิการเช่าระยะยาวในสัญญาเช่าทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นโดยผู้เซ้งสามารถนำทรัพย์สินดังกล่าวไปพัฒนาต่อยอดทำธุรกิจได้ตามที่ต้องการ รวมถึงสามารถปรับปรุง รีโนเวทอาคาร ตึก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่เซ้งได้ เพื่อให้เหมาะกับกิจการที่ตนต้องการเปิด แต่ทั้งนี้การรีโนเวทหรือต่อเติมใด ๆ ทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้ให้เซ้งเมื่อหมดสัญญา โดยทางผู้เซ้งจะไม่สามารถเรียกร้องได้ ฉะนั้นก่อนตัดสินใจเซ้งร้านหรือกิจการต่อจากใคร ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าตกแต่งต่อเติมพื้นที่นั้น ๆ คุ้มค่ากับการลงทุนจริงไหม
เช่าร้าน คืออะไร
ในส่วนของการเช่าร้าน เป็นการนำอสังหาริมทรัพย์หรือสถานที่ไปให้ผู้อื่นทำประโยชน์ผ่านการทำสัญญาเช่า โดยเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นหรือผู้ปล่อยเช่าจะกำหนดเงื่อนไขทั้งระยะเวลาและค่างวดที่ปล่อยเช่าตามตกลงกันในสัญญา เช่น จ่ายเป็นรายเดือน รายปี หรือตามแต่จะตกลง ทั้งนี้ภายในสัญญาควรระบุให้ชัดเจนด้วยว่า กรณีที่เช่าครบสัญญาหรือกรณียกเลิกการเช่า ถ้ามีทรัพย์สินเสียหายใครเป็นผู้รับผิดชอบ
เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า "เซ้งร้าน" กับ "เช่าร้าน" พบว่าเป็นการปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสถานที่เหมือน ๆ กัน แต่มีข้อแตกต่างเรื่องเงื่อนไขหรือข้อกำหนดภายในสัญญา เช่น การชำระค่างวด ระยะเวลาสัญญา การส่งคืนอสังหาริมทรัพย์หลังหมดสัญญาว่า ทรัพย์สินด้านในเป็นของใคร และความเสียหายที่เกิดขึ้นใครเป็นผู้รับผิดชอบ ไปจนถึงการนำอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปพัฒนาต่อยอดเพื่อทำกำไรให้งอกเงย
การเซ้งหรือเช่าร้าน มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนลงทุน
ข้อควรรู้ ก่อนลงทุนเซ้งหรือเช่าร้าน
การเซ้งร้าน
(1) ผู้ปล่อยเซ้งหรือผู้ให้เซ้ง สามารถทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าให้แก่ผู้เซ้ง ตั้งแต่ระยะ 10-99 ปี พร้อมรับเงินก้อนตามงวดชำระที่ตกลงกันในสัญญา
(2) ผู้เซ้งมีสิทธิรีโนเวท สร้าง หรือต่อเติมได้ตามที่ตกลงกับผู้ให้เซ้ง แต่ทั้งนี้ควรมีการระบุในสัญญาให้ชัดเจนว่า ผู้เซ้งสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง
(3) ผู้เซ้งไม่มีสิทธิยกเลิกสัญญาในกรณีที่เซ้งมาแล้วทำธุรกิจหรือประกอบกิจการแล้วทำกำไรให้งอกเงยไม่ได้ เนื่องจากการเซ้งร้านหรือเซ้งอาคารถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างกัน แม้ทำกิจการแล้วรู้สึกขาดทุนจนอยากยกเลิกสัญญา แต่ก็ทำไม่ได้ ผู้เซ้งทำได้เพียงจ่ายค่าเช่าไปจนกว่าจะครบสัญญา
(4) ผู้เซ้งมีสิทธิปล่อยเซ้งต่อได้ แม้ว่าจะยกเลิกสัญญาไม่ได้ก็ตาม
การเช่าร้าน
(1) ผู้ปล่อยเช่าหรือผู้ให้เช่าสามารถเรียกเก็บค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันได้ แต่ต้องไม่เกินกว่า 3 เดือนของค่าเช่ารายเดือน
(2) ผู้ให้เช่าต้องส่งใบแจ้งหนี้ให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน ก่อนถึงวันกำหนดชำระค่าเช่า
(3) ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่าสาธารณูปโภคเกินกว่าอัตราที่ผู้ให้บริการเรียกเก็บ
(4) ผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบอายุสัญญาได้ แต่ต้องพักอาศัยมาแล้วไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของระยะเวลาตามสัญญา และมีการบอกกล่าวล่วงหน้ากับผู้ให้เช่าไม่น้อยกว่า 30 วัน รวมถึงต้องไม่ติดค้างค่าชำระใด ๆ
(5) ผู้ให้เช่ามีสิทธิยกเลิกสัญญาเช่าได้ กรณีที่ผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่าตามกำหนด แต่ต้องแจ้งล่วงหน้าเป็นหนังสือภายใน 30 วัน ถึงยกเลิกสัญญาเช่าได้ โดยรายละเอียดตรงส่วนนี้ต้องมีระบุไว้อย่างชัดเจนในสัญญาด้วย
(6) ผู้ให้เช่ามีสิทธิเรียกเก็บค่าเสียหาย หากผู้เช่าทำสิ่งของหรือสถานที่ชำรุด โดยต้องมีระบุไว้ในสัญญา
เลือกลงทุนเซ้งร้านหรือเช่าร้าน แบบไหนคุ้มกว่ากัน
การเลือกลงทุนเซ้งหรือเช่าร้านขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละบุคคล
สุดท้ายการตัดสินใจทำร้านค้าหรือประกอบกิจการที่สนใจด้วยการเซ้งหรือเช่าก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของคุณเป็นหลัก แต่ไม่ว่าคุณเลือกลงทุนกิจการแบบใด ควรศึกษาข้อมูล เรื่องควรระวัง และรายละเอียดต่าง ๆ ในสัญญาการเซ้งร้านหรือเช่าร้านให้ชัดเจน ทั้งต้องตรวจสภาพของอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ว่าอยู่ในสภาพอย่างไรก่อนลงมือเซ็นสัญญา เพื่อประเมินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ว่าเมื่อปรับปรุงหรือต่อเติมไปแล้ว รายจ่ายที่เกิดขึ้นจะถึงจุดคุ้มทุนเมื่อไหร่ เพื่อให้ทุกการใช้จ่ายของคุณคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
มาถึงตรงนี้เมื่อเลือกได้แล้วว่าต้องการเซ้งร้านหรือเช่าร้าน ลำดับถัดมาคือทุนที่ใช้ในการทำสัญญาและปรับปรุงสถานที่ จัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมประกอบกิจการ ถ้าบวกลบคูณหารแล้วงบประมาณที่มีพอซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้ก็คงไม่เป็นปัญหา หากงบไม่พอหรือต้องการเงินก้อนไว้สำรองยามฉุกเฉิน การมองหาแหล่งเงินด่วนถูกกฎหมายอย่างผลิตภัณฑ์สินเชื่อถือเป็นทางออกที่ปลอดภัย และไม่ต้องกังวลว่าเจอดอกเบี้ยมหาโหด โดยเฉพาะผู้ที่มีรถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์ปลอดภาระสามารถนำเล่มทะเบียนรถมายื่นขอสินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ผู้ให้บริการสินเชื่อที่มีความน่าเชื่อถือ พร้อมให้วงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท อนุมัติทันใจภายในเวลา 2 ชั่วโมง พร้อมรับเงินก้อนใหญ่เข้าบัญชีทันทีเมื่อผ่านการอนุมัติ ใครที่อยากได้เงินด่วนไว้ใช้เสริมสภาพคล่องทันเวลา อย่าลืมคิดถึงพี่เบิ้มนะครับ