Office Syndrome ดูแลอย่างไรไม่ให้เรื้อรัง
หากนึกถึงโรคภัยของพนักงานออฟฟิศที่ไม่ว่าวัยไหนก็มีโอกาสเป็น คงหนีไม่พ้นโรคออฟฟิศซินโดรมที่นับวันมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมในการทำงานที่คล้ายคลึงกัน ทั้งนั่งหลังค่อม นั่งทำงานอยู่กับหน้าจอคอมเป็นเวลานานโดยไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถ ใช้งานโต๊ะหรือเก้าอี้ที่ใช้ทำงานสูงหรือต่ำจนเกินไป เมื่อใช้ชีวิตอยู่กับพฤติกรรมเสี่ยงแบบนี้เป็นเวลานานติดต่อกัน อาจเปลี่ยนจากอาการปวดเมื่อยธรรมดาเป็นออฟฟิศซินโดรมชนิดเรื้อรังได้ บทความนี้ขอพาทุกคนไปทำความรู้จัก Office Syndrome คืออะไร มีวิธีป้องกันและรักษาอย่างไร
เลือกอ่านตามหัวข้อ
โรคออฟฟิศซินโดรม คืออะไร ภัยเงียบวัยทำงานจริงหรือ
เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด เกิดจากบุคคลดังกล่าวใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำไปมาหรือค้างอยู่ในท่าเดิมเป็นระยะเวลานานติดต่อเนื่องกันหลายชั่วโมงต่อวัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะส่วนอื่น ๆ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ หากมีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมแล้วไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือเข้ารับการรักษาออฟฟิศซินโดรมในทันที อาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง และอาจส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาในอนาคต
หากถามว่า โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นภัยเงียบวัยทำงานจริงหรือไม่ ? คำตอบคือ จริง เนื่องจากเป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนทำงาน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่มีพฤติกรรมการทำงานคล้ายคลึงกัน นั่นคือใช้คอมพิวเตอร์อยู่ตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวน้อย เพราะต้องนั่งทำงานที่โต๊ะเกือบตลอดทั้งวัน ส่งผลให้เกิดอาการเกร็งตามกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และอวัยวะต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัว จนนำไปสู่อาการของโรคออฟฟิศซินโดรม
อาการแบบไหน เสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม
แม้อาการออฟฟิศซินโดรมเกิดได้จากการใช้งานอุปกรณ์ทำงานที่ไม่เหมาะสมกับโครงสร้างของร่างกายของผู้ทำงาน อิริยาบถในการนั่งทำงานไม่เหมาะสม หรือนั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ไม่ขยับไปไหน จนนำไปสู่อาการปวดกล้ามเนื้อเบา ๆ ที่ชวนสงสัยว่าจะเป็นออฟฟิศซินโดรม เพื่อไขข้อสงสัยตามดูกันว่าอาการปวดแบนไหนถึงเข้าข่ายเป็นโรค Office Syndrome มาดูกัน
การปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
(1) มีอาการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ไหล่ สะบัก คอ บ่า ท้ายทอย ปวดหลังส่วนบนหรือส่วนล่าง ปวดมือ หรือข้อมือ และมักจะเป็นเรื้อรังไม่หายขาด โดยอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากการนั่งทำงานนานๆ และใช้ระยะเวลานานในการใช้พื้นที่ทำงานที่ไม่เหมาะสม ฉะนั้นหากรักษาแล้วยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานก็ยังมีอาการปวดเมื่อยตามจุดต่าง ๆ อยู่เช่นเดิม
(2) ปวดศีรษะเรื้อรังหรือบางครั้งมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย มีสาเหตุมาจากการใช้สายตาเป็นเวลานานหรือมาจากความเครียด
(3) ปวดหลัง เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วย เนื่องจากต้องนั่งทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานหลายชั่วโมง โดยบางคนอาจนั่งไม่ถูกท่าหรือนั่งหลังค่อม ส่งผลให้กล้ามเนื้อต้นคอเมื่อยล้าและยึดเกร็งอยู่ตลอดเวลา นี่ถือเป็นหนึ่งในอาการออฟฟิศซินโดรมที่เป็นพบมากที่สุดในวัยทำงาน
(4) มีอาการปวดหรือเกิดเหน็บชาบริเวณขาลงมา ซึ่งมีสาเหตุมาจากการนั่งในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและการไหลเวียนของเลือดมีความผิดปกติ
(5) มีอาการมือชา นิ้วล็อค และปวดข้อมือ โดยสาเหตุมาจากการจับเมาส์ในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณมือหรือนิ้วมือเกิดอาการอักเสบ
(6) ปวดตา ตาพร่า เนื่องจากต้องมีการมองหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ หรือใช้สายตาอย่างหนักเป็นเวลานาน
ออฟฟิศซินโดรม รักษาหายไหม
คำตอบคือ ปัจจุบันการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมมีด้วยกันหลายวิธี สามารถเริ่มด้วยตัวเองง่าย ๆ อย่างการปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานควบคู่กับการทานยารักษาอาการปวดตามคำแนะนำของแพทย์ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นอาจต้องแก้ออฟฟิศซินโดรมด้วยการทำกายภาพบำบัด หรือรักษาด้วยวิธีทางอื่น ๆ เช่น การฝังเข็ม หรือการนวดแผนไทย เป็นต้น
วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรมง่าย ๆ ด้วยตนเอง
ปรับท่านั่งทำงานให้ถูกต้อง ลดเสี่ยงโรคออฟฟิศซินโดรม
ไม่ควรนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน
แนะนำให้เปลี่ยนอิริยาบถขณะทำงาน เพื่อผ่อนคลายสมองและร่างกายจากอาการปวดเมื่อย เช่น ลุกเดินยืดเส้นยืดสาย ออกไปสูดอากาศด้านนอก ลุกไปชงกาแฟบ้าง ไม่ควรนั่งทำงานติดกันนานเกินไป นอกจากนี้การนั่งทำงานทั้งวันโดยไม่ลุกไปเข้าห้องน้ำยังเสี่ยงเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
จัดท่าทางในการทำงานให้เหมาะสม
เวลานั่งทำงานไม่ควรนั่งหลังค่อมหรือนั่งเอนหลัง เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการล้าและเสียบุคลิก ซึ่งการนั่งหลังตรงช่วยลดอาการปวดหลัง แล้วยังทำให้การไหลเวียนของออกซิเจนดี และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารได้อีกด้วย ที่สำคัญควรเลือกใช้งานโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระ
ไม่ควรเพ่งหน้าจอคอมนาน
การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานหรือนั่งอยู่ใกล้จอมากเกินไป อาจทำให้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อตาและปวดศีรษะได้ ฉะนั้นควรพักสายตาทุก ๆ 1 ชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อตาได้ผ่อนคลาย
ออกกำลังกายเป็นประจำ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอไม่ได้มีข้อดีที่ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้มีอาการออฟฟิศซินโดรม แต่ยังเป็นวิธีป้องกันให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้ เพราะช่วยลดอาการเกร็ง ยืดเส้น และสร้างความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ หากกำลังมองหาช่องทางสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายก็อย่าลืมหาเวลาออกกำลังกาย
วัยทำงานต้องมีบัตรเครดิต KTC เตรียมไว้ใช้จ่ายอย่างสุดคุ้ม
แนะนำท่าบริหารแก้ออฟฟิศซินโดรม
แม้จะทราบวิธีสังเกตและแก้อาการออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้นกันไปแล้ว ทำให้มนุษย์เงินเดือนหลายคนเลือกเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อผ่อนคลายร่างกายจากอาการปวดเมื่อยเพราะโรค Office Syndrome แต่ถึงอย่างนั้นการขยับตัวหรือเปลี่ยนท่านั่งระหว่างทำงานอาจไม่เพียงพอ การยืดกล้ามเนื้อที่ทำได้ด้วยตนเองง่าย ๆ ใช้เวลาไม่มาก อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการป้องกันภาวะเรื้อรังจากออฟฟิศซินโดรม
ท่ายืดกล้ามเนื้อเพื่อแก้อาการออฟฟิศซินโดรม
(1) ท่ายืดกล้ามเนื้อแขนและข้อมือ
นั่งในท่าที่สบายและผ่อนคลายที่สุด จากนั้นให้ประสานมือทั้ง 2 ข้างเข้าด้วยกัน และยืดแขนออกไปข้างหน้าให้สุด โดยหันฝ่ามือออกนอกตัว ทำค้างไว้ประมาณ 5-10 วินาที แล้วจึงค่อยยกแขนชูขึ้นจนสุด ค้างไว้ประมาณ 5-10 วินาที แนะนำให้ทำท่านี้สลับกันไปมาประมาณ 3-5 ครั้ง
(2) ท่ายืดกล้ามเนื้อคอ
หลังจากเอียงคอไปด้านซ้ายหรือด้านขวา ข้างใดข้างหนึ่งก่อนจนรู้สึกตึงบริเวณต้นคอ ก็เริ่มใช้มืออีกข้างช่วยในการยืด ด้วยการยกแขนขวาขึ้น พับข้อศอกนำฝ่ามือไปแนบที่ใบหูและด้านข้างของศีรษะด้านซ้าย แล้วค่อย ๆ ดันศีรษะไปด้านขวาช้า ๆ จนรู้สึกตึงที่ต้นคอ ให้ทำค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที จากนั้นสลับข้างกับอีกข้าง 2-3 รอบ จะช่วยลดอาการปวดตึงต้นคอได้
(3) ท่ายืดแขนและไหล่
สำหรับท่ายืดแขนและไหล่มีขั้นตอนการบริหารร่างกายที่ไม่ยุ่งยากและสามารถทำตามได้ง่าย ๆ ด้วยการยืดแขนข้างขวาไปทางฝั่งข้างซ้าย จากนั้นพับแขนซ้ายขึ้นมาหาตัวเพื่อล็อกแขนข้างขวาให้ตึงในลักษณะเครื่องหมายบวก โดยให้ทำค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที จากนั้นให้ทำสลับข้าง
(4) ท่าบริหารนิ้วและฝ่ามือ
ท่านี้ให้เริ่มด้วยการกำมือทั้ง 2 ข้างให้แน่น ค้างไว้นับ 1-5 จากนั้นจึงค่อย ๆ คลายออก เหยียดและกางนิ้วออกให้มากที่สุด แล้วค้างไว้ นับ 1-5 แล้วกลับมาอยู่ท่าเดิม โดยให้บริหารนิ้วและฝ่ามือด้วยท่านี้ประมาณ 2-3 รอบ หรือจะมากกว่านั้นก็ได้เช่นเดียวกัน
(5) ท่ายืดกล้ามเนื้อหลัง
เริ่มจากการทิ้งแขนทั้งสองลงแนบลำตัว แล้วค่อย ๆ เอนตัวไปทางขวาจากนั้นให้ยืดแขนขวาลงไปแตะใกล้พื้นมากที่สุด ทำค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับไปทำอีกข้าง ด้วยการเอนตัวไปทางซ้าย ยืดแขนซ้ายลงไปแตะใกล้พื้นมากที่สุด ทำค้างไว้ 10 วินาที ทำสลับไปมาทั้งสองข้าง
(6) ท่าบริหารขา
ให้ลุกขึ้นยืนจากนั้นไขว้ขาซ้ายไว้ข้างหน้าขาขวา แล้วค่อย ๆ ก้มตัวลงแล้วนำมือไปแตะที่หน้าขาค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วจึงสลับมาบริหารอีกข้างด้วยการไขว้ขาขวาไว้ข้างหน้าขาซ้าย แล้วค่อย ๆ ก้มนำมือไปแตะที่หน้าขาค้างไว้ประมาณ 10 วินาทีเช่นเดียวกัน
ออฟฟิศซินโดรม รักษาด้วยประกันสังคมได้ไหม
คำตอบคือ ได้ โดยผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมได้ฟรี ที่โรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสังคมหรือคลินิกโรคจากการทำงาน หากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม จะได้รับการรักษาตามแพทย์สั่ง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
แต่สำหรับฟรีแลนซ์หรือพ่อค้าแม่ค้าที่ไม่ได้สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ทำประกันภัยสุขภาพไว้ ก็สามารถเข้ารับการรักษาโดยใช้สิทธิตามกรมธรรม์ที่ทำไว้ ดังนี้
- ประกันสุขภาพทั่วไป สามารถเบิกค่าบริการกายภาพบำบัดที่เกิดจากโรคออฟฟิศซินโดรมหรือโรคอื่น ๆ ได้ เฉพาะกรณีที่เป็นผู้ป่วยใน (IPD) ของโรงพยาบาลแห่งใดแห่งหนึ่งเท่านั้น
- ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก หรือประกัน OPD กรณีนี้ต้องมีใบรับรองแพทย์ ที่ออกโดยแพทย์ประจำโรงพยาบาลหรือที่คลินิกเวชกรรม โดยระบุโรคและระบุว่าคนไข้ต้องได้รับการกายภาพบำบัด จึงสามารถส่งเรื่องเคลมค่ารักษาพยาบาลตามวงเงินที่ทำประกันไว้
แม้ออฟฟิศซินโดรมไม่ใช่โรคที่อันตรายหรือร้ายแรงนัก แต่ถ้าฝืนร่างกายและปล่อยให้เป็นอาการปวดเรื้อรัง ก็อาจส่งผลกระทบการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานได้ หากมนุษย์เงินเดือนคนไหนที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อป้องกันโรค Office Syndrome ไม่ทัน แนะนำให้เข้ารับการรักษาจากแพทย์ทันที เพื่อป้องกันไม่ให้อาการลุกลาม และรักษาให้หายเป็นปกติโดยเร็ว ส่วนใครที่กังวลเรื่องค่าใช้จ่ายเพราะไม่อยากดึงเงินสดออกมาใช้จ่าย รูดบัตรเครดิตชำระค่ารักษาถือเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ไม่น้อยทีเดียว ยิ่งถ้ามีโปรโมชั่นผ่อน 0% ทำให้ผู้ถือบัตรฯ ไม่ต้องแบกภาระค่ารักษาพยาบาลต่อเดือนหนักเกินไป ฉะนั้นก่อนชำระเงินลองเช็กโปรโมชั่นบัตรเครดิตอย่างละเอียด ว่าโรงพยาบาลที่ใช้บริการเป็นพาร์ทเนอร์กับบัตรเครดิตในกระเป๋าหรือไม่ หากวัยทำงานคนไหนที่ยังไม่มีบัตรเครดิต อย่าลืมพิจารณาสมัครบัตรเครดิตติดไว้เพื่อจะได้ไม่พลาดสิทธิประโยชน์ดี ๆ
ทำบัตรเครดิต KTC มีวงเงินสำรองไว้ใช้ยามเจ็บป่วย
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี