“บัตรทอง” เป็นบัตรที่เราได้ยินชื่อมาอย่างยาวนาน เป็นบัตรประกันสุขภาพทั่วหน้าที่ทางรัฐบาลได้ออกให้กับคนที่มีสิทธิ์ได้รับตามโครงการหลัก ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ยังมีการใช้บัตรทองเพื่อหาหมอ หรือรักษาสุขภาพอยู่ เหมาะกับคนที่งบน้อย ต้องการรักษาแต่ไม่อยากจ่ายค่ายา หรือค่ารักษาเกิน 30 บาท บัตรทองถือว่าเป็นตัวช่วยหนึ่งที่ดี และมากกว่า 20 ปี ที่ “บัตรทอง” มอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนไทย ตามสโลแกน “30 บาท รักษาได้ทุกโรค” ใครมีคำถามหรือข้อสงสัยในรายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บัตรทองทำที่ไหน บัตรทองใช้ได้ที่ไหนบ้าง สิทธิประโยชน์ของบัตรทอง เลือกโรงพยาบาลได้ไหม ต่อไปนี้คือคำตอบ
ส่วนใครที่ไม่อยากรอที่จะต้องใช้บัตรทองที่คิวอาจจะเยอะ แนะนำรักษาโรงพยาบาลเครือชั้นนำที่มีโปรโมชั่นร่วมกับบัตรเครดิต KTC อาทิ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และโรงพยาบาลรัฐบาลอื่นๆ ที่ร่วมรายการ พร้อมโปรโมชั่น
- แลกรับสิทธิ์ผ่อนชำระ 0% นานสูงสุด 10 เดือน เมื่อใช้คะแนน KTC FOREVER ครึ่งหนึ่งของยอดใช้จ่ายผ่านบัตรฯ เพื่อแลกรับสิทธิ์ที่โรงพยาบาลรัฐบาลทั่วประเทศ
- ผ่อนชำระอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0.69% นานสูงสุด 10 เดือน ที่โรงพยาบาลรัฐบาลทั่วประเทศ หรือโรงพยาบาลรัฐบาลที่ร่วมรายการ
- ระยะเวลาโปรโมชั่น : 1 ม.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67
บัตรทองคือบัตรประกันสุขภาพทั่วหน้าที่ทางรัฐบาลออกให้กับคนที่มีสิทธิได้รับตามโครงการหลัก
บัตรทองคืออะไร
“บัตรทอง” หรือ “บัตร 30 บาท” มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า “บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ซึ่งออกโดยสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและการดำรงชีวิตที่ดีแก่คนไทยทุกคน ยกเว้นผู้ที่มีสิทธิ์รักษาพยาบาลอื่น อย่างประกันสังคม หรือสิทธิ์ข้าราชการ
ผู้ถือบัตรทองสามารถใช้บริการได้ที่สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง และโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรค และการรักษาตั้งแต่โรคทั่วไป เช่น ไข้หวัด ไปถึงโรคเรื้อรัง หรือโรคเฉพาะทางที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไตวายเรื้อรัง โรคเอชไอวี วัณโรค หรือโรคหัวใจ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ในกระบวนการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการบำบัด การตรวจ ฝากครรภ์ และคลอดบุตร ทันตกรรม การรักษาแพทย์แผนไทย บริการฝังแร่เฉพาะที่รักษาเนื้องอกในตา บริการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ บริการรักษาด้วยรังสีโปรตอน และบริการระบบการแพทย์ทางไกลดูแลคนไทยในต่างประเทศ
บัตรทอง กับบัตร 30 บาท ต่างกันอย่างไร
“บัตรทอง” และ “บัตร 30 บาท” เป็นสิทธิ์ชนิดเดียวกัน แตกต่างกันเพียงชื่อเรียก โดยเริ่มแรกเรียกว่า “สิทธิ 30 บาท” เนื่องจากเป็นนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค บัตรเป็นกระดาษอ่อนธรรมดา ต่อมาได้ออกเป็นบัตรสีเหลืองทอง เคลือบพลาสติก จึงเรียกว่า “สิทธิบัตรทอง” หรือ “บัตรทอง”
ทําบัตรทอง 2567 ได้ที่ไหน
“บัตรทอง” สามารถสมัครได้ที่สำนักงานเขต 30 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติใกล้บ้าน ส่วนจังหวัดอื่นๆ สามารถทำได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุขประจำจังหวัด คลินิกชุมชนอบอุ่น ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง
อีกช่องทางที่สะดวกรวดเร็ว คือการลงทะเบียนออนไลน์ ผ่าน Line @nhso โดยเพิ่มเพื่อนแล้วคลิกเลือกเมนู “สิทธิบัตรทอง” จากนั้นทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- คลิกคำว่า "เปลี่ยนหน่วยบริการ (ด้วยตนเอง)"
- อ่านเงื่อนไขข้อตกลงในการให้ความยินยอม ใช้ข้อมูลส่วนบุคคล และ กด "ยอมรับ"
- กรอกข้อมูลส่วนบุคคล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขโทรศัพท์มือถือ เพื่อขอรับรหัส OTP ในการยืนยันตัวตน
- ตั้งรหัสในการเข้าใช้งาน 6 หลัก
- เข้าสู่การลงทะเบียน
นอกจากนี้ยังสามารถลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “สปสช.” ได้อีกหนึ่งช่องทาง โดยติดตั้งแอปพลิเคชัน “สปสช.” แล้วกดปุ่ม “ลงทะเบียน“ กดอ่านเงื่อนไขข้อตกลง และกด “ยอมรับ”
- กรอกเลขบัตรประชาชน
- สแกนลายนิ้วมือ หรือตั้งรหัสผ่าน สำหรับเข้าสู่แอปพลิเคชัน
- คลิกเลือกลงทะเบียนสิทธิหลักประกัน
- ตรวจสอบที่อยู่ปัจจุบันตรงกับหน้าบัตรประจำตัวประชาชนหรือไม่ กด “ไม่ตรง” หรือ “ตรง”
- ถ่ายรูปบัตรประชาชน
- ถ่ายรูปตัวเองถือบัตรประชาชน
- แนบหลักฐานแสดงที่อยู่ปัจจุบัน และเอกสารอื่นๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น
- กรอกที่อยู่ปัจจุบัน
- เลือกเครือข่ายหน่วยบริการ
เอกสารขอทำบัตรทองมี 2 อย่าง ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (อายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สูติบัตร) และสำเนาทะเบียนบ้าน หากที่พักไม่ตรงกับทะเบียนบ้าน ใช้เอกสารเพิ่ม 2 อย่าง ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน และหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน หรือหนังสือรับรองของผู้นำชุมชน
สิทธิประโยชน์ บัตรทองมีอะไรบ้าง
- เสริมสร้างสุขภาพ และป้องกันโรค การตรวจคัดกรองหาภาวะเสี่ยง
- ตรวจ ฝากครรภ์ และคลอดบุตร ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
- การดูแลเด็กแรกเกิด
- การบำบัดและการบริการทางการแพทย์
- การสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น การฉีดวัคซีน การให้ยาบำรุง การเคลือบฟลูออไรด์
- ค่าเวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตามกรอบบัญชียาหลัก และยาที่มีราคาสูง
- ค่าอาหารและค่าห้องสามัญ ระหว่างพักรักษาตัว
- บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับ-ส่งผู้ป่วย และผู้ทุพพลภาพ
- การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ ของผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู
- บริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
- การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติด
- โรคเดียวกันที่ต้องใช้เวลารักษาตัวในโรงพยาบาลเกิน 180 วัน ใน 1 ปี
ในแต่ละปี บัตรทองได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่ ได้แก่
- บริการหมอครอบครัว (หมอในชุมชน) รับบริการที่หน่วยบริการไหนก็ได้ ทั่วประเทศ
- ผู้ป่วยในไม่ต้องใช้ใบส่งตัว
- บริการยาต้านไวรัสหลังสัมผัสเชื้อ (PEP) เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี
- การตรวจยีน BRCA1 BRCA2 ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
- บริการตรวจคัดกรองโรคหายากในผู้ป่วยโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกด้วยเครื่อง Tandem mass spectrometry
- การผ่าตัดใส่รากฟันเทียมสำหรับผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปาก
- บริการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก สำหรับผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
- บริการแว่นตาสำหรับเด็กที่มีภาวะสายตาผิดปกติ
- บริการตรวจคัดกรองคู่หญิงตั้งครรภ์ 2 รายการ คือ ธาลัสซีเมีย และ เชื้อซิฟิลิส
- ขยายบริการล้างไตผ่านช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ (Automated Peritoneal Dialysis : APD) โดยเพิ่มจำนวนเครื่องล้างไต เกือบ 1,300 เครื่อง สำหรับให้บริการทั่วประเทศ
- การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
- พบแพทย์ทางไกล ไม่ต้องเดินทางไกล
- บริการเภสัชกรรมออนไลน์
- การรักษาโรคมะเร็งครบวงจร
- ตรวจเลือด ตรวจแล็บในสถานบริการเอกชน
บัตรทองแบบใหม่สามารถเข้ารับบริการได้เลยทันทีทุกโรงพยาบาล
บัตรทอง ใช้ที่ไหนได้บ้าง
บัตรทองใบเดิมสามารถใช้ได้เฉพาะโรงพยาบาลที่เลือกใช้สิทธิ์ ยกเว้นอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล โดยไม่ต้องขอใบส่งตัว
ปัจจุบันในปี 2567 สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ เพิ่มความสะดวกในใช้บริการมากขึ้นด้วยโครงการ “30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว (30 Pro) จังหวัดนำร่อง คือ แพร่ ร้อยเอ็ด นราธิวาส เพชรบุรี นครราชสีมา นครสวรรค์ พังงา เพชรบูรณ์ สระแก้ว สิงห์บุรี หนองบัวลำภู และอำนาจเจริญ และจะครอบคลุมทั่วประเทศภายใน 1 ปี
บัตรทองแบบใหม่ เมื่อผู้ถือบัตรยืนยันตัวตนเรียบร้อย ข้อมูลสุขภาพทั้งหมด จะอยู่ในแอปพลิเคชันหมอพร้อมแล้ว หากเจ็บป่วยในจังหวัดนำร่องก็สามารถเข้ารับบริการได้เลยทันที ไม่ว่าจะมีสิทธิบัตรทองอยู่ที่จังหวัดใด ใช้แค่บัตรประชาชนใบเดียว หรือจะนัดคิวออนไลน์ผ่านไลน์และแอปพลิเคชันหมอพร้อมก็ได้เช่นกัน แถมยังขอออกใบรับรองแพทย์ดิจิทัลผ่านแอปหมอพร้อมได้อีกด้วย
อีกทั้งยังสามารถไปรับบริการที่ร้านยาใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการ กรณีเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น และคลินิกเทคนิคการแพทย์ชุมชนอบอุ่น ก็สามารถใช้บริการได้ทั่วประเทศ รวมถึงคลินิกทันตกรรม คลินิกเวชกรรม คลินิกเทคนิคการแพทย์ และคลินิกแพทย์แผนไทย
บัตรทอง เลือกโรงพยาบาลได้ไหม
หลังจากได้คำตอบว่า บัตรทองทำที่ไหน และทำการสมัครลงทะเบียนเป็นที่เรียบร้อย ผู้ถือบัตรสามารถเลือกโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านได้เพียง 1 โรงพยาบาลเท่านั้น (เรียกว่า "หน่วยบริการประจำ") โดยสามารถขอเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี
ปัจจุบันสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้เพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ถือบัตรทอง โดยสามารถเข้ารับบริการได้ที่ “หน่วยบริการปฐมภูมิ” ที่ไหนก็ได้ สามารถเช็กหน่วยบริการได้ง่ายๆ ด้วยปลายนิ้ว โดยเข้าเว็บไซต์ สปสช. (nhso.go.th) เลือกเมนู “สำหรับประชาชน” จากนั้นเลือก “รายชื่อหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” จากนั้นกดค้นหา เลือกดูหน่วยบริการที่ระบุประเภทว่า “บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป” หรือ “หน่วยบริการประจำในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
บัตรทองไม่คุ้มครองอะไรบ้าง
- ศัลยกรรมความงาม ผ่าตัดเปลี่ยนเพศ
- จัดฟัน
- การรักษาหรือการวินิจฉัย ที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
- การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง
- การปลูกถ่ายอวัยวะ (ยกเว้น ไต / ตับ / เปลี่ยนหัวใจ)
- รักษาภาวะมีบุตรยาก และการผสมเทียม
- บำบัดและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ในกรณีถูกบังคับให้บำบัด
- การรักษาที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุประสบภัยจากรถ
บัตรทองตรวจสุขภาพได้ไหม
ในปัจจุบัน บัตรทองยังไม่ครอบคลุมถึงการตรวจสุขภาพโดยตรง แต่จะมีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค หรือที่เรียกว่า “สิทธิสุขภาพดีป้องกันโรค” เป็นสิทธิ์คุ้มครองการตรวจสุขภาพประจำปีตามช่วงอายุ การตรวจขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ซึ่งจะมีการซักประวัติและตรวจคัดกรองความเสี่ยง แบ่งเป็น 5 กลุ่มวัย ได้แก่
- กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด ให้บริการครบวงจรตั้งแต่ทดสอบการตั้งครรภ์ ตรวจเลือดคัดกรองโรคเสี่ยง ให้ยาบำรุงเสริมประเมินสุขภาพจิต ตรวจหลังคลอดและคุมกำเนิด
- กลุ่มเด็กเล็กอายุ 0 - 5 ปี ครอบคลุมตั้งแต่การรักษาโรคทั่วไป โรคเฉพาะทางที่มีค่าใช้จ่ายสูง ไปจนถึงการป้องกันโรคอื่นๆ บันทึกพัฒนาการ และแว่นตาหากมีภาวะสายตาผิดปกติ
- กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6 - 24 ปี เน้นด้าน “อนามัยโรงเรียน” เริ่มตั้งแต่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ติดตามการเจริญเติบโตอย่างสมวัย การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
- กลุ่มผู้ใหญ่ อายุ 25 - 59 ปี ตรวจวัดคัดกรองความเสี่ยงจากโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ และความเสี่ยงจากบุหรี่ สุราและยาเสพติด การให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็ก
- กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขี้นไป ตรวจวัดดัชนีมวลกาย คัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิต เอชไอวี โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง คัดกรองโรคซึมเศร้า ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้ความรู้การออกกำลังกาย และฝึกสมองป้องกันโรคสมองเสื่อม
การตรวจสุขภาพเปรียบเสมือนการคัดกรองโรคเบื้องต้น เพื่อการรักษาที่รวดเร็ว ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม อีกทั้งยังช่วยให้วางแผนหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ชีวิตให้เหมาะสม เพื่อให้ห่างไกลโรคได้ สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพประจำปีแบบครบๆ เพียงใช้บัตรเครดิต KTC เลือกผ่อนชำระ ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน และยังมีสถานพยาบาลชั้นนำ พร้อมโปรโมชั่นสุดคุ้มให้เลือกมากมาย รวมถึงการแลกคะแนนรับเครดิตเงินคืน หรือส่วนลด จากคะแนนสะสม KTC FOREVER ที่ไม่มีวันหมดอายุและไม่กำหนดจำนวนสะสมสูงสุด สนใจโปรโมชั่นดีๆ แบบนี้ สมัครบัตรเครดิต KTC ผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC