หากใครมีแพลนที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศหรืออยากย้ายถิ่นฐานไปยังต่างประเทศ น่าจะเคยได้ยินเรื่องราวของใบอนุญาตทำงาน หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Work Permit ซึ่งถือเป็นใบเบิกทางสำคัญในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ในต่างประเทศก็ว่าได้ ดังนั้นหากใครมีแพลนในการย้ายถิ่นฐาน หรือมองหาแนวทางในการทำงานต่างประเทศ KTC ได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับใบอนุญาตทำงาน พร้อมทั้งวิธีการเตรียมตัวในการทำงานต่างประเทศมาให้แล้ว ตามไปดูพร้อมกันเลย
ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) คืออะไร?
ใบอนุญาตทำงาน หรือ Work Permit เป็นเอกสารที่แต่ละประเทศจะออกให้กับชาวต่างชาติ ที่เข้ามาทำงาน ประกอบวิชาชีพ หรือทำธุรกิจในประเทศนั้นๆ ซึ่งออกโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านแรงงาน กระทรวงต่างประเทศ หรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยแต่ละประเทศ จะกำหนดเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป และหากมีการหมดอายุ จะต้องต่ออายุใหม่ทันที หากยังคงทำงานโดยไม่ได้ต่ออายุใบอนุญาตทำงาน สามารถโดนจับและส่งตัวกลับประเทศได้
คนไทยอยากเริ่มต้นทำงานต่างประเทศต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
ส่วนคนไทยที่สนใจอยากทำงานต่างประเทศ KTC มีคำแนะนำในการเตรียมตัวให้พร้อม ก่อนเริ่มต้นทำงานที่ต่างประเทศ จะได้หางานที่ถูกใจ พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี
- ศึกษาหาข้อมูลในตำแหน่งที่สนใจ
เริ่มต้นศึกษาในสายอาชีพ หรือตำแหน่งที่สนใจในต่างประเทศ ว่าเป็นสายงานที่กำลังเป็นที่ต้องการหรือไม่? มีรายละเอียดการทำงานอย่างไร? หรือว่ามีทักษะใดที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อใช้ในการสมัครงาน โดยสามารถดูตำแหน่งงานได้จาก LinkedIn, Glassdoor หรือ Jobs Abroad ซึ่งเป็นเว็บไซต์หางานที่มีความเป็นสากล สามารถปักหมุดประเทศที่ต้องการได้
- มองหางานที่ต้องการ
หลังจากศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งที่สนใจแล้ว หากมีความต้องการอยากจะทำงานนั้นอย่างแท้จริง ก็สามารถเริ่มต้นหางานได้เลย อาจเริ่มจากบริษัทที่เปิดรับสมัครพนักงานต่างชาติก่อน เพราะบริษัทเหล่านี้มักจะมีวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างในการรับพนักงาน ทำให้มีโอกาสได้งานในต่างประเทศง่ายกว่า
- เรียนรู้ชีวิต รายละเอียดความเป็นอยู่ในประเทศนั้นๆ
การไปทำงานที่ต่างประเทศเสมือนเป็นการย้ายถิ่นฐานที่อยู่ชั่วคราว ซึ่งย่อมส่งผลต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของเราอย่างแน่นอน ดังนั้นควรศึกษารูปแบบการใช้ชีวิตของประเทศที่สนใจจะไปทำงาน ว่าเป็นแบบใด ต้องอาศัยอยู่บริเวณไหน? รวมไปถึงค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายต่างๆ
- ฝึกภาษาอังกฤษให้ชำนาญ
ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษาสากล แม้จะไปในประเทศที่ไม่ได้มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก แต่ในองค์กรที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ก็นิยมใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเป็นหลัก ดังนั้นจึงควรมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดี สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดีทั้งฟังพูดอ่านเขียน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านการสื่อสารในการทำงาน
- เตรียมตัวรับความแตกต่าง
การใช้ชีวิตในต่างประเทศย่อมต้องเจอกับวัฒนธรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตที่แตกต่าง ดังนั้นจึงควรเตรียมใจยอมรับความแตกต่างที่จะเกิดขึ้น และพยายามเรียนรู้ปรับตัวให้เร็วที่สุด ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำงาน และใช้ชีวิตในต่างประเทศได้ง่ายยิ่งขึ้น
- วางแผนการใช้เงิน
เรื่องการเงินถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ต้องเตรียมตัว แม้การทำงานในต่างประเทศจะมีรายได้มากกว่าก็จริง แต่ก็ต้องคำนวณอัตราค่าครองชีพให้แม่นยำ เพราะในต่างประเทศส่วนใหญ่ มักมีค่าครองชีพที่สูงกว่าประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าอาหาร และค่าที่พัก ซึ่งต้องวางแผน และคำนวณอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจไปทำงานต่างประเทศ
หากไม่มี Work Permit จะไม่สามารถทำงานได้ หากฝ่าฝืนจะถูกส่งกลับประเทศต้นทางทันที
คนไทยไม่มี Work Permit ทํางานต่างประเทศได้ไหม?
การไปทำงานที่ต่างประเทศ ถ้าไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือ Work Permit จะ “ไม่สามารถทำงานได้” ถือว่าฝ่าฝืนทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 - 50,000 บาท และจะถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทาง รวมถึงยกเลิกการขอใบอนุญาตทำงานเป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับโทษ สำหรับคนไทยที่อยากจะไปทำงานต่างประเทศ ในบางประเทศอาจมีโครงการ Work & Holiday ซึ่งจะออกวีซ่าให้สามารถทำงานตามสายอาชีพที่ได้กำหนดไว้ในวีซ่าของประเทศนั้นๆ หรือสำหรับวีซ่านักเรียนในบางประเทศ ก็อาจจะมีเงื่อนไขอนุญาตให้สามารถทำงานได้เช่นกัน แต่จะต้องอยู่ในจำนวนชั่วโมง และตำแหน่งงานที่กำหนดเท่านั้น
คนไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ นอกจากต้องมี Work Permit แล้ว อีกสิ่งที่สำคัญคือ Work Visa หรือ วีซ่าทำงาน ซึ่งต้องมีทั้ง 2 สิ่งนี้สำหรับการทำงานต่างประเทศ โดย เอกสารทั้ง 2 อย่างนี้ มีข้อแตกต่างกันดังนี้
ประเภท |
วัตถุประสงค์ |
หน่วยงานในการขอ |
วีซ่าทำงาน (Work Visa) |
สิทธิในการเข้าประเทศนั้นๆ เพื่อเข้าทำงาน |
สถานทูตหรือหน่วยตรวจคนเข้าเมือง |
ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) |
สิทธิในการทำงาน เพื่อขออนุญาตในการประกอบอาชีพ, ทำงาน หรือทำธุรกิจในต่างประเทศ |
หน่วยงานแรงงาน |
การขอ Work Permit กับการขอ Visa นั้นมีความแตกต่างกัน
ประเภทของ Work Permit กับ Visa ในประเทศไทยมีความต่างกันอย่างไร?
ถือได้ว่าเป็นคำถามยอดฮิตสำหรับความแตกต่างของใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) และวีซ่าธุรกิจ (Non-B Visa) เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันในบางส่วน ที่อาจทำให้เกิดความสับสนได้ โดย Work Permit กับ Non-B Visa ที่มีการใช้งานในประเทศไทย มีความแตกต่างกัน ดังนี้
ประเภท |
วัตถุประสงค์ |
หน่วยงานในการขอ |
วีซ่าธุรกิจ (Non-B Visa) |
ขออนุญาตในการเดินทางเข้าประเทศไทยเพื่อทำงาน โดยผู้ที่ขออนุญาตจะต้องเป็นชาวต่างชาติเท่านั้น |
สถานกงสุลไทย กระทรวงการต่างประเทศ หรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง |
ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) |
สำหรับชาวต่างชาติ ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย เพื่อขออนุญาตในการประกอบอาชีพ, ทำงาน หรือทำธุรกิจในประเทศไทย |
กรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน |
ชาวต่างชาติที่ต้องการทำงานในประเทศไทย จะต้องทำการขอเอกสารทั้ง 2 ประเภท ก็คือวีซ่าธุรกิจ (Non-B Visa) เมื่อได้รับวีซ่าแล้ว จึงยื่นขอใบอนุญาตทำงาน วีซ่าธุรกิจ (Non-B Visa) มิเช่นนั้นจะไม่สามารถทำงานในประเทศไทยได้
Work Permit สำหรับชาวต่างชาติในประเทศไทยมีกี่ประเภท?
ในประเทศไทย ทางกรมแรงงานได้มีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ทั้งหมด 3 ประเภทดังนี้
- ประเภท ตท.๑๑ หรือ WP. 11 เล่มสีน้ำเงิน
มีลักษณะเล่มคล้ายสำเนาทะเบียนบ้าน โดย Work Permit ประเภทนี้ จะอนุญาตใช้กับกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน, แรงงานฝีมือ, แรงงานนำเข้าตาม MOU, แรงงานที่ผ่านการตรวจสัญชาติ และแรงงานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ
- ตท.๑๕ หรือ WP. 15 แผ่นสีเหลือง
มีลักษณะเป็นกระดาษ A4 สีเหลือง ซึ่ง Work Permit ประเภทนี้ จะถูกใช้ในกลุ่มแรงงานที่เดินทางไป - กลับ หรือตามฤดูกาล
- ตท.๑๑ หรือ WP. 11 เล่มสีส้ม
ประเภทสุดท้าย มีลักษณะเป็นเล่มเหมือนกับประเภท ตท.๑๑ หรือ WP. 11 แต่เป็นสีส้ม ซึ่งเป็น Work Permit ที่อนุญาตใช้ในกลุ่มชาวต่างชาติที่มาทำงานในกิจการประมง และทะเล
การทำงานในต่างประเทศ ถือเป็นความฝันของหลายๆ คน เรียกได้ว่าเป็นการเพิ่มประสบการณ์ ที่ไม่ใช่แค่เรื่องงาน แต่ยังรวมถึงการใช้ชีวิต จนทำให้ปัจจุบันกลายเป็นกระแสในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เริ่มอยากจะไปทำงานต่างประเทศกันมากขึ้น และอย่าลืมดูแลเรื่องการใช้จ่าย แม้จะอยู่ต่างแดน แต่ก็สามารถใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้ โดยเฉพาะบัตรเครดิต KTC ที่ตอบโจทย์ในการใช้จ่ายในต่างประเทศโดยเฉพาะ ด้วยคะแนนสะสม x2 เมื่อใช้จ่ายที่ต่างประเทศ และรับเรทถูกกว่า เมื่อใช้จ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศ กับการคิดค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินตราต่างประเทศ ที่ถูกกว่าเพียง 2% (จากปกติอัตราตลาด 2.5%) ให้ทุกการใช้จ่ายสะดวกสบาย พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย สมัครออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ง่ายๆ สมัครบัตรเครดิต KTC ออนไลน์
อ้างอิงค่าความเสี่ยงการแปลงสกุลเงินจาก:
https://www.ktc.co.th/promotion/overseas-privilege/asia/overseas
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC