วางแผนการเดินทางได้ง่ายขึ้น เมื่อรู้เวลาเปิด-ปิดรถไฟฟ้า
รถไฟฟ้าเป็นชื่อเรียกระบบขนส่งทางรางในเมือง รถประเภทนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน เป็นวิธีการสัญจรที่ได้รับความนิยมมาก ซึ่งรถไฟฟ้าจะมีทั้งรถไฟฟ้าลอยฟ้าหรือรถไฟฟ้ายกระดับ (Skytrain) เป็นรถไฟฟ้าที่วิ่งอยู่ด้านบน มองเห็นวิวเมืองได้ชัดเจน และรถไฟฟ้าใต้ดิน (Underground Train) เป็นรถไฟฟ้าที่วิ่งอยู่ใต้ดินเป็นหลัก ไม่เห็นวิวข้างทางระหว่างเดินทาง รถไฟฟ้าในไทยมีให้บริการทั้ง 2 รูปแบบ
เลือกอ่านตามหัวข้อ
รถไฟฟ้าที่ให้บริการในไทย
รถไฟฟ้าในไทยมีทั้งรถไฟฟ้ายกระดับและรถไฟฟ้าใต้ดิน มีชื่อเรียกรถไฟฟ้าที่คุ้นหูกันดี ได้แก่
1.) BTS
ย่อมาจาก Bangkok Transit System เป็นขนส่งประเภทรถไฟฟ้ายกระดับ การใช้งานจะใช้สัญจรในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ดำเนินงานโดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด
2.) MRT
ย่อมาจาก Metropolitan Rapid Transit เป็นขนส่งประเภทรถไฟฟ้าใต้ดิน การใช้งานจะใช้ในการสัญจรในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ดำเนินงานโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
3.) ARL
ย่อมาจาก Airport Rail Link เป็นรถไฟฟ้ายกระดับที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กับสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารอากาศยานกรุงเทพมหานคร
4.) SRTET
ย่อมาจาก S.R.T. Electrified Train Co., Ltd. ซึ่งคำว่า S.R.T ก็มาจาก State Railway of Thailand หรือรถไฟฟ้า รฟท. ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลรถไฟฟ้าชานเมืองหรือรถไฟฟ้าสายสีแดง อยู่ภายใต้การดูแลของรถไฟไทย (รฟท.)
รถไฟฟ้าจะมีสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ที่ช่วยให้การเดินทางสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถเดินทางต่อเนื่องได้โดยง่าย
เวลาทำการของรถไฟฟ้าในไทย
รถไฟฟ้ามีบทบาทในการคมนาคมในยุคปัจจุบัน
รถไฟฟ้าในไทยให้บริการตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงช่วงค่ำ การรู้ว่า BTS เปิดกี่โมงล่าสุด และ BTS ปิดกี่โมง หรือ MRT ปิดกี่โมง ARL วิ่งเที่ยวแรกกี่โมง การรู้เวลาเปิด – ปิดของรถไฟฟ้ามีส่วนช่วยในการวางแผนการเดินทางในกรุงเทพและปริมณฑลได้เป็นอย่างดี
การรู้เวลาทำการรถไฟฟ้า ช่วยให้ง่ายต่อการวางแผนการเดินทาง
1.) เวลาทำการของ BTS
- เปิดบริการ เวลา 06.00 – 24.00 น.
- รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (BRT) ให้บริการคันสุดท้ายที่สถานีต้นทางในเวลา 23.40 น.
เส้นทางรถไฟฟ้า BTS:
- รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (BTS สุขุมวิท) เส้นทาง: คูคต – เคหะฯ
- รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (BTS สีลม) เส้นทาง: สนามกีฬาแห่งชาติ – บางหว้า
- รถไฟฟ้าสายสีทอง เส้นทาง: สถานีกรุงธนบุรี – คลองสาน
2.) เวลาทำการของ MRT
- เปิดบริการ 06.00 – 24.00 น.
เส้นทางรถไฟฟ้า MRT:
- รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เส้นทาง: หัวลำโพง – บางซื่อ และส่วนต่อขยาย หัวลำโพง – สถานีหลักสอง
- รถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นทาง: เตาปูน – คลองบางไผ่
- รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เส้นทาง: ลาดพร้าว – สำโรง
3.) เวลาทำการของ ARL
- เปิดบริการ 05.30 – 24.00 น. ของทุกวัน
เส้นทางรถไฟฟ้า ARL:
- รถไฟฟ้า Airport Rail Link เส้นทาง: พญาไท – สนามบินสุวรรณภูมิ
4.) เวลาทำการของรถไฟฟ้าสายสีแดง
- เปิดบริการ 05.30 – 24.00 น.
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง:
- รถไฟฟ้าสายแดง เส้นทาง: ตลิ่งชัน – บางซื่อ – รังสิต
การใช้บริการรถไฟฟ้ามีความสะดวกมาก โดยเฉพาะในเมืองที่ปริมาณรถค่อนข้างหนาแน่น รถไฟฟ้าจึงเป็นทางออกลดรถติดและสะดวกต่อคนไม่มีรถด้วย เพื่อความรวดเร็วในการซื้อบัตรและเป็นการประหยัดเวลา สามารถลดเวลารอซื้อบัตรได้ด้วยการใช้บัตรเดบิตและบัตรเครดิตที่มีสัญลักษณ์ Contactless แตะจ่ายรถไฟฟ้า MRT ไม่ต้องเสียเวลาเข้าแถวซื้อตั๋วหรือเติมตังในบัตรให้ยุ่งยาก แค่มีบัตรเครดิตใบเดียวก็เอาอยู่ ส่วน BTS บัตรเครดิตยังคงใช้ระบบแตะจ่ายไม่ได้ แต่สามารถผูกบัตรเครดิตเข้ากับแอปพลิเคชันอย่าง Rabbit Line Pay เพื่อใช้ชำระค่ารถไฟฟ้า BTS แทนได้ บัตรเครดิตจึงถือเป็นตัวช่วยที่มีความสะดวกและช่วยประหยัดเวลาในการซื้อบัตรโดยสารรถไฟฟ้า คนที่เดินทางบ่อยและต้องการบริหารเวลาควรมีไว้สักใบ
สมัครบัตรเครดิต KTC ชีวิตคนเมืองง่ายขึ้น
ข้อดีของการใช้บริการรถไฟฟ้า
- เส้นทางครอบคลุม
รถไฟฟ้ามีเส้นทางที่ครอบคลุมกรุงเทพและปริมณฑล ทำให้การเดินทางสะดวก สามารถวางแผนเที่ยวตามแนวรถไฟฟ้า นั่ง BTS ไปเที่ยวไหนดีในวันหยุด การมีรถไฟฟ้าจึงส่งผลดีต่อการเดินทางในพื้นที่เป็นอย่างมาก
- ราคาชัดเจน
รถไฟฟ้ามีการกำหนดราคามาอย่างชัดเจน สามารถตรวจสอบราคาได้ล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ หน้าเคาน์เตอร์ และเครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ
- หลีกเลี่ยงปัญหารถติด
การใช้งานรถไฟฟ้ามีการสร้างรางสำหรับรถไฟฟ้าโดยเฉพาะ จึงไม่ต้องเผชิญกับปัญหารถติด ช่วยให้เดินทางถึงที่หมายได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
สะดวกสบาย
ความสะดวกของรถไฟฟ้าเมื่อเทียบกับขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นอย่างรถเมล์ ถือว่ารถไฟฟ้ามีความสะดวกมากกว่า แต่ราคาก็สูงกว่า การใช้บริการรถไฟฟ้าอาจจะไม่ใช่วิธีเก็บเงินมนุษย์เงินเดือน แต่หากเทียบว่าประหยัดเวลาเดินทาง บางคนอาจจะมองว่าคุ้ม
คนที่มีความจำเป็นต้องโดยสารรถไฟฟ้าควรมีสมัครบัตรเครดิตเอาไว้ แล้วชำระค่ารถไฟฟ้าผ่านบัตรเครดิตเพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้จ่าย ไม่ใช่เฉพาะการใช้งานรถไฟฟ้าเท่านั้นที่สามารถใช้ประโยชน์จากบัตรเครดิตได้ การจองตั๋วเครื่องบิน การเติมน้ำมันก็สามารถใช้บัตรเครดิตในการใช้จ่ายได้ รวมไปถึงการรูดซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่มีโปรโมชั่นหลากหลายหมวดหมู่ การใช้จ่ายในยุคปัจจุบันมีบัตรเครดิตเอาไว้ประหยัดกว่าจริง ๆ
บัตรเครดิตรูดจ่ายค่ารถไฟฟ้าได้ง่ายๆ
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี