มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ ลาออกจากงาน ประกันสังคม จ่ายเท่าไหร่
การลาออกจากงานเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเพราะต้องการเปลี่ยนสายงานหรือเหตุผลอื่น ๆ แต่เชื่อว่ามีคำถามที่ผู้ประกันตน มาตรา 33 หลายคนสงสัยว่าเมื่อตัดสินใจลาออกจากงานแล้ว ประกันสังคม คุ้มครองอะไรบ้าง ? มีสิทธิได้รับเงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออกไหม ต้องลงทะเบียนว่างงาน ประกันสังคม ออนไลน์ มาตรา 33 หรือไม่ บทความนี้พี่เบิ้มได้รวบรวมคำตอบมาให้แล้ว
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ประกันสังคม คืออะไร ทำไมต้องจ่ายทุกเดือน
- ผู้ประกันตน มาตรา 33 เป็นใครได้บ้าง
- สิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ประกันสังคม
- ลาออกจากงาน ประกันสังคมจ่ายเงินชดเชยเท่าไร
- ขั้นตอนลงทะเบียนว่างงาน ประกันสังคม ออนไลน์ มาตรา 33
- เช็คเงินว่างงานประกันสังคม เข้าวันไหน
- เช็คเงินประกันสังคมกรณีลาออก ผ่านช่องทางไหน
- ลาออกจากงานแล้ว ยังใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม
ประกันสังคม คืออะไร ทำไมต้องจ่ายทุกเดือน
เป็นอีกหนึ่งสวัสดิการที่รัฐมอบให้แก่ลูกจ้างที่สร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตให้แก่ลูกจ้างที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นประจำทุกเดือน เพื่อแลกกับความคุ้มครองใกรณีว่างงาน ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร หรือชราภาพ (สิทธิประโยชน์ที่ได้รับขึ้นอยู่กับว่าเป็นผู้ประกันตนมาตราใด) โดยเงินสมทบมาจาก 3 ส่วน ได้แก่ ลูกจ้าง 5% นายจ้าง 5% รัฐบาล 2.75% ทั้งนี้เงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในส่วนของลูกจ้างเป็นการคำนวณและหักจากฐานเงินเดือนของแต่ละคน แต่สูงสุดต้องไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน
หากถามว่าทำไมต้องจ่ายเงินประกันสังคมทุก ๆ เดือน ? คำตอบคือ เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับการดูแลและการทดแทนรายได้ตามสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคม เช่น กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาจากแพทย์ได้ตามสิทธิประกันสังคมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา หรือรับเงินชดเชยประกันสังคม ว่างงาน เป็นต้น
ผู้ประกันตน มาตรา 33 เป็นใครได้บ้าง
ผู้ที่มีสิทธิสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ต้องเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานให้กับนายจ้างในสถานประกอบการ อย่างพนักงานบริษัทเอกชนหรือพนักงานประจำที่มีนายจ้าง และนายจ้างจะเป็นผู้แจ้งขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานประกันสังคมให้ลูกจ้าง โดยลูกจ้างต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ในวันเข้าทำงาน
- สัญชาติไทย หรือเป็นคนต่างด้าวก็สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคม มาตรา 33 ได้
- กรณีเป็นคนต่างด้าว ต้องมีใบอนุญาตทำงาน มีบัตรประจำตัวที่กรมการปกครองออกให้ หรือมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
สิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ประกันสังคม
ผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ถูกเลิกจ้าง ลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย จะได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากกองทุนประกันสังคม แต่ผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน แล้วมีการขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ว่างงาน
ลาออกจากงาน ประกันสังคมจ่ายเงินชดเชยเท่าไร
กรณีลาออกจากงานเองโดยสมัครใจ ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนว่างงาน จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในระหว่างการว่างงาน 30% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน โดยคิดจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำ 1,650 บาท/เดือน และฐานเงินสมทบสูงสุด 15,000 บาทต่อเดือน เช่น
- เงินเดือน 13,500 บาท จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน เดือนละ 4,050 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน
- เงินเดือน 20,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน เดือนละ 4,500 บาท (คิดจากฐานเงินสมทบสูงสุด 15,000 บาท) เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน
ขั้นตอนลงทะเบียนว่างงาน ประกันสังคม ออนไลน์ มาตรา 33
ลงทะเบียนว่างงานภายในกำหนด เพื่อไม่ให้พลาดสิทธิรับเงินชดเชย
เมื่อผู้ประกันตน มาตรา 33 ลาออกจากงานแล้ว ในช่วงที่ยังไม่มีงานใหม่ทำ เราสามารถขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงานเพื่อขอรับเงินชดเชย ได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
(1) ผู้ประกันตนสามารถขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านอินเทอร์เน็ต ได้ที่เว็บไซต์กรมการงานจัดหางาน https://e-service.doe.go.th/login.do ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ว่างงาน ถ้าเกินกำหนดจะไม่สามารถใช้สิทธิรับเงินชดเชยว่างงานหรือเงินชดเชยเลิกจ้างย้อนหลังได้
(2) ยื่นแบบคำขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ พร้อมแนบเอกสารดังนี้
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6-09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
- หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคารที่เป็นชื่อผู้ประกันตน ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน), ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
(3) รายงานตัวตามกำหนดเวลาทุกเดือนกับกรมการงานจัดหางาน ผ่านเว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th/login.do เพื่อรับเงินว่างงาน
วัยทำงานควรมีบัตรกดเงินสด ไว้เป็นวงเงินยามฉุกเฉิน
เช็คเงินว่างงานประกันสังคม เข้าวันไหน
สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ลงทะเบียนว่างงานหลังจากลาออกเรียบร้อย และสงสัยว่าเงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออก กี่วันได้ ? คำตอบคือ หลังจากผู้ประกันตนกดรายงานตัวเงินชดเชยประกันสังคมจะโอนเข้าบัญชีภายใน 5-7 วันทำการ (ไม่รวมเสาร์อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการ) นับจากวันที่ได้รับการอนุมัติและรายงานตัว
เช็คเงินประกันสังคมกรณีลาออก ผ่านช่องทางไหน
ผู้ประกันตนที่ลงทะเบียนว่างงานหลังลาออกแล้วอยากเช็คเงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออก สามารถตรวจสอบได้ผ่านช่องทาง ดังต่อไปนี้
แอปพลิเคชัน SSO Connect
- เข้าสู่ระบบบนแอปพลิเคชัน SSO Connect ด้วยการกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และกรอกรหัสผ่าน
- เลือกหัวข้อ "การเบิกสิทธิประโยชน์"
- ระบบจะแจ้งยอดเงินและวันที่อนุมัติสิทธิ เมื่อถึงวันที่กำหนดยอดเงินจะถูกโอนเข้าบัญชีของผู้ได้รับสิทธิ
เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th
- ทำการเข้าสู่ระบบ ด้วยการกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และกรอกรหัสผ่าน
- เลือกหัวข้อ "ตรวจสอบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย"
- จากนั้นระบบจะแจ้งยอดเงินและวันที่อนุมัติสิทธิ
ลาออกจากงานแล้ว ยังใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม
ผู้ประกันตน มาตรา 33 ยังใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีกระยะเวลาหนึ่ง
แม้ผู้ประกันตน มาตรา 33 ลาออกจากงานประจำและไม่ได้ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ก็ยังสามารถใช้สิทธิประกันสังคมกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และเสียชีวิตได้ต่ออีก 6 เดือน แต่ถ้าพ้น 6 เดือนแล้วผู้ประกันตนยังไม่ได้เริ่มทำงานกับบริษัทใหม่ หรือได้เปลี่ยนไปประกอบอาชีพอิสระส่งผลให้สิทธิประโยชน์ในฐานะผู้ประกันตน มาตรา 33 สิ้นสุดลง
ทั้งหมดนี้เป็นสิทธิประกันสังคมที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนต้องรู้ พร้อมทำความเข้าใจก่อนลาออกหรือเปลี่ยนงานบ่อย รวมถึงควรมองหาตัวเลือกที่ช่วยเสริมความคล่องตัวยามว่างงานไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ นั่นคือการสมัครบัตรกดเงินสด ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เปรียบเสมือนแหล่งทุนสำรองยามฉุกเฉินของผู้ถือบัตรฯ ให้สามารถกดเงินสดออกมาใช้จ่ายได้ตามความต้องการโดยไม่ต้องเสียเวลาไปหยิบยืมเงินจากคนอื่น หรือรูดซื้อสินค้าตามโปรโมชั่นผ่อนชำระ 0% กับร้านค้าที่ร่วมรายการ โดยมีบัตรกดเงินสดที่ชาวออฟฟิศไม่ควรมองข้าม มีดังนี้
บัตรกดเงินสด KTC PROUD
ทำบัตรกดเงินสด KTC PROUD ติดไว้ เหมือนมีวงเงินสำรองติดตัว
เมื่อเอ่ยถึงบัตรกดเงินสด KTC PROUD หลายคนอาจคิดว่าบัตรฯ ใบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายยามต้องการกดเงินสดออกมาเสริมสภาพคล่องเพียงอย่างเดียว แต่ความเป็นจริงแล้วนอกกดเงินสะดวกที่ตู้ ATM ทั่วประเทศ หรือโอนเงินเข้าบัญชีผ่านแอป KTC Mobile ได้ตลอด 24 ชั่วโมง บัตรกดเงินสด KTC PROUD ยังมีสิทธิประโยชน์ด้านอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มความคล่องตัวแก่ผู้ถือบัตรฯ เช่น
- รูดชำระค่าสินค้าและบริการกับร้านค้าที่ร่วมรายการได้ทั่วโลก
- ผ่อนซื้อสินค้า ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0%ได้นานสูงสุด 24 เดือน สำหรับร้านค้าที่ร่วมรายการ
- ประกันอุบัติเหตุสำหรับลูกค้าใหม่ ให้วงเงินประกันสูงถึง 300,000 บาท
- ไม่มีค่าธรรมเนียมทั้งแรกเข้าและรายปี
จะเห็นได้ว่า บัตรกดเงินสด KTC PROUD ถือเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ เพราะสามารถรูด โอน กด ผ่อน และช้อปออนไลน์ภายในบัตรเดียว ที่สำคัญสมัครวันนี้ รับดอกเบี้ยต่ำสุด 0.92% ต่อเดือน หากไม่อยากพลาดสิทธิพิเศษที่มีให้เฉพาะผู้ถือบัตรกดเงินสด KTC PROUD อย่าลืมทำบัตรกดเงินสดติดไว้สักใบไว้เพื่อการใช้จ่ายที่คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น
อ้างอิงข้อมูลจาก : สำนักงานประกันสังคม
เสริมสภาพคล่องทางการเงินได้ทุกช่วงเวลา ด้วยบัตรกดเงินสด KTC PROUD
เบิกถอนเงินสด แบ่งผ่อนชำระได้ทุกที่ทุกเวลา