การตัดสินใจลงทุน หรือออมเงินในรูปแบบต่างๆ จำเป็นต้องพิจารณาประกอบ โดยหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้การตัดสินใจง่ายขึ้นก็คือ IRR (Internal Rate of Return) หรือ อัตราผลตอบแทนภายใน ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับคำว่า IRR คืออะไร และวิธีการคำนวณ IRR หายังไง เพื่อให้คุณมีข้อมูลมากขึ้นก่อนตัดสินใจลงทุน
IRR คืออะไร ?
IRR คือ อัตราผลตอบแทนภายใน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปีที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ของกระแสเงินสดจากการลงทุนมีค่าเป็นศูนย์ หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ IRR คือ อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนตลอดอายุการลงทุนนั่นเอง
ซึ่ง IRR มักใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจลงทุน ออม หรือทำประกัน เพราะช่วยให้เราทราบว่า ผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนจะสูงหรือต่ำกว่าต้นทุนที่ใช้หรือไม่ ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าตลอดอายุการลงทุนหรือไม่
IRR ใช้ในการวิเคราะห์โครงการลงทุน ช่วยให้ตัดสินใจว่าควรลงทุนในโครงการหรือไม่ ถ้า IRR สูงกว่า ต้นทุนทางการเงิน ถือว่าเป็นโครงการที่น่าลงทุน
IRR มีวิธีคํานวณอย่างไร ?
การคำนวณ IRR จะช่วยให้นักลงทุนเข้าใจถึงผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนแต่ละประเภท โดยเฉพาะในการลงทุนที่มีระยะเวลาและกระแสเงินสดต่างกันไป เช่น กองทุนรวม การออม หรือการทำประกัน
ทั้งนี้ การคำนวณ IRR ใช้วิธีการลองผิดลองถูก (Trial and Error) ซึ่งเป็นวิธีการคิดที่ซับซ้อนมาพอสมควร ดังนี้
- บันทึกเงินลงทุนเริ่มต้น พร้อมประมาณการกระแสเงินสดรับในแต่ละงวด
- ตั้งสมการหา NPV ก่อน โดยใช้สูตร NPV = CF0 + CF1/(1+r)^1 + CF2/(1+r)^2 + ... + CFn/(1+r)^n = 0 โดย CF คือกระแสเงินสด, r คือ IRR, n คือจำนวนงวด
- แก้สมการหา r โดยใช้วิธีลองผิดลองถูก (Trial and Error) หรือใช้ฟังก์ชัน XIRR ใน Excel หรือใช้เครื่องคิดเลขการเงิน
- โดยค่า r ที่ทำให้ NPV = 0 คือ IRR
ดังนั้น ในทางปฏิบัติจริง หากอยากทราบว่า IRR หายังไง ต้องการหาค่า IRR ที่แม่นยำ สามารถใช้ฟังก์ชัน XIRR ใน Microsoft Excel หรือโปรแกรมคำนวณสำเร็จรูป หรือง่ายที่สุด หากเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น ประกันสะสมทรัพย์ที่มีเงินคืนแน่นอนตามสัญญา (ไม่รวมประกันชีวิตแบบมีเงินปันผล) แนะนำให้สอบถามข้อมูลจากพนักงานขายโดยตรงเพื่อขอเอกสารมาอ่าน หรือดูจากรายงานประจำปีของบริษัท (Annual Report) ก็ได้เช่นกัน
ทำไมต้องทำความรู้จัก IRR ก่อนตัดสินใจลงทุน ออม หรือทำประกัน
- ช่วยให้เข้าใจผลตอบแทนที่แท้จริง : การรู้ค่า IRR ทำให้สามารถประเมินได้ว่า การลงทุน ออม หรือทำประกันให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าหรือไม่เมื่อเทียบกับทางเลือกอื่นๆ
- ช่วยเปรียบเทียบทางเลือกลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ : IRR ช่วยให้นักลงทุนสามารถเปรียบเทียบการลงทุนหลายประเภท เช่น กองทุน หุ้น หรือประกันสะสมทรัพย์ เพื่อเลือกทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด
- ช่วยวางแผนทางการเงินระยะยาว : การเข้าใจ IRR ทำให้สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมกับเป้าหมายทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการออมเพื่อเกษียณ การลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าทรัพย์สิน หรือการทำประกันเพื่อสร้างหลักประกันในอนาคต
- ลดความเสี่ยงในการลงทุน : หากไม่คำนวณ IRR ก็อาจเสี่ยงต่อการเลือกการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าที่คาดหวัง หรือไม่คุ้มค่ากับต้นทุนที่ต้องจ่ายไป
ข้อดี-ข้อเสียของการใช้ IRR ในการลงทุน
ข้อดี
- ใช้เป็นเครื่องมือวัดผลตอบแทนของโครงการหรือการลงทุนได้ดี โดย IRR แสดงผลเป็นเปอร์เซ็นต์ที่เข้าใจได้ทันที สามารถใช้ในการประเมินผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุน ช่วยให้เข้าใจถึงศักยภาพในการทำกำไร และผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจากการลงทุนระยะยาว
- หากมีรูปแบบการลงทุนให้เลือกมากมาย IRR จะช่วยเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนรูปแบบต่างๆ ได้ และช่วยให้ตัดสินใจเลือกการลงทุนที่มี IRR สูงสุด ที่แสดงถึงผลตอบแทนที่ดี
- IRR ช่วยให้สามารถเปรียบเทียบการลงทุนในหลายประเภทได้ เช่น การลงทุนในหุ้น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งช่วยให้มองเห็นภาพรวมของผลตอบแทนจากแต่ละตัวเลือกได้อย่างชัดเจน
- ช่วยวิเคราะห์และเปรียบเทียบความเสี่ยงจากการลงทุนได้ ทำให้ นักลงทุนสามารถเลือกโครงการที่มีอัตราผลตอบแทนเหมาะสมกับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้
- IRR ใช้ได้กับการลงทุนทั้งในธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ช่วยประเมินผลตอบแทนจากการลงทุนในหลายรูปแบบได้
ข้อเสีย
- การคำนวณ IRR เป็นเรื่องซับซ้อนและต้องใช้เครื่องมือช่วยในการคำนวณค่า IRR
- IRR ไม่ได้คำนึงถึงขนาดของการลงทุน ซึ่งการใช้ IRR อาจทำให้หุ้นขนาดเล็กที่มีอัตราผลตอบแทนสูงดูน่าสนใจกว่าหุ้นขนาดใหญ่ที่มีการทำกำไรมากกว่า ทั้งที่จริงแล้วหุ้นขนาดใหญ่อาจสร้างกำไรได้มากกว่าในระยะยาว
- ในกรณีที่กระแสเงินสดมีการสลับขึ้นลง IRR อาจมีค่าหลายค่า เนื่องจากการคำนวณ IRR ขึ้นอยู่กับลำดับของกระแสเงินสด หากกระแสเงินสดมีการเปลี่ยนทิศทางไปมาหลายครั้ง เช่น กระแสเงินสดเป็นบวกแล้วกลับเป็นลบ ผลลัพธ์ของ IRR อาจมีหลายค่า ทำให้ยากในการตีความและใช้ในการตัดสินใจ เนื่องจากค่า IRR หลายค่าสามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีที่กระแสเงินสดมีความผันผวนหรือไม่สม่ำเสมอ
- ไม่เหมาะสำหรับการพิจารณาการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจาก IRR ไม่ได้รวมถึงการคำนวณปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการลงทุน เช่น อัตราเงินเฟ้อ การเปลี่ยนแปลงในสภาวะเศรษฐกิจ หรือความผันผวนของตลาด ซึ่งอาจไม่สะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงในการลงทุน
- การพิจารณาเฉพาะ IRR โดยไม่พิจารณาปัจจัยอื่น อาจทำให้การตัดสินใจลงทุนผิดพลาด เนื่องจาก IRR ไม่สามารถสะท้อนภาพรวมทั้งหมดของการลงทุนได้
การเข้าใจ IRR จะช่วยให้คุณตัดสินใจลงทุนได้อย่างมั่นใจ แต่ถ้าคุณอยากเพิ่มความคุ้มค่าให้กับการจัดการการเงินในชีวิตประจำวัน บัตรเครดิต KTC คือคำตอบ เพราะด้วยสิทธิประโยชน์มากมาย เช่น ทุกการใช้จ่าย 25 บาท จะได้รับคะแนน KTC FOREVER 1 คะแนน ที่สามารถสะสมแล้วนำคะแนนไปแลกรับส่วนลด, เครดิตเงินคืน และสิทธิประโยชน์อื่นๆ ได้ หรือจะเป็นการได้รับส่วนลดจากร้านค้า ร้านอาหาร ที่พัก รวมไปถึงโปรโมชั่นพิเศษต่างๆ ที่ช่วยให้การใช้จ่ายในทุกๆ วันของคุณ กลายเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสมัครบัตรเครดิต KTC ผ่านออนไลน์ได้เลย ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC