แก้ปัญหาเงินหมดตั้งแต่ต้นเดือน บริหารเงินอย่างชาญฉลาดจบปัญหาเงินไม่พอใช้!
สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ คำเปรียบเปรยคุ้นหูของมนุษย์เงินเดือนที่รายจ่ายชักหน้าไม่ถึงหลัง บางเดือนมีพอใช้แต่ไม่พอเก็บ เดือนไหนรายจ่ายเยอะหน่อยก็มีโอกาสที่เงินจะขาดมือก่อนสิ้นเดือน ทั้งค่าห้อง ค่าบ้าน ค่าน้ำมัน ค่าเดินทาง ค่ากิน และค่าจิปาฐะอื่น ๆ อีกมากมาย ใครที่กำลังประสบกับปัญหาเงินหมดกระเป๋าก่อนสิ้นเดือน บทความนี้ มี 10 เทคนิคการบริหารเงินดี ๆ มาแชร์กัน
เลือกอ่านตามหัวข้อ
10 เทคนิคบริหารเงินยังไง ไม่ให้เงินหมดก่อนสิ้นเดือน
1. ศึกษาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ตัวช่วยยามฉุกเฉิน
สำหรับใครที่พยายามรัดเข็มขัดประหยัดค่าใช้จ่ายต่อเดือนแล้วก็ยังรู้สึกตึงมือ ลองศึกษาผลิตภัณฑ์ทางการเงินเอาไว้ใช้เป็นตัวช่วยเงินฉุกเฉิน เช่น บัตรกดเงินสด KTC PROUD บัตรกดเงินสดของคนรุ่นใหม่ เกิดเหตุสุดวิสัยเงินไม่พอใช้ ต้องใช้เงินก้อน หรือมีค่าใช้จ่ายจำเป็นในเดือนที่เงินขาดมือ ก็สามารถกดเงินสดหรือโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมใช้จ่าย แล้วค่อยใช้หนี้เต็มจำนวนในเดือนต่อ ๆ ไป สมัครง่าย เงินเดือนเริ่มต้นเพียง 12,000 บาท บัตรกดเงินสด KTC PROUD มีไว้อุ่นใจแน่นอน
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี
2. ทำตารางรายรับรับจ่าย
สำรวจพฤติกรรมที่ทำให้ตัวเองเงินหมด เพื่อให้สามารถบริหารเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เลือกใช้วิธีที่ตัวเองถนัดได้ตามใจ ไม่ว่าจะเป็นการทำใส่สมุดหรือจะเลือกใช้แอปรายรับรายจ่ายก็ได้เหมือนกัน ขอเพียงแค่ทำอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ เดือน
การทำตารางรายรับรายจ่ายจะช่วยให้คุณมีข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ว่าตัวเองหมดเงินไปกับอะไรบ้าง ในแต่ละเดือนมี Fixed Cost เท่าไหร่ และใช้จ่ายไปกับสิ่งฟุ่มเฟือยมากแค่ไหน เมื่อมีข้อมูลรายรับ-รายจ่ายช่วง 1-2 เดือนแล้ว จากนั้นค่อยหาวิธีบริหารเงินเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงในลำดับถัดไปนั่นเอง
3. เรียงลำดับความสำคัญในการบริหารเงิน
การบริหารเงินไม่ใช่เพียงแค่การประหยัดเท่านั้น แต่การเลือกจ่ายให้เป็นก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยหนึ่งในข้อแนะนำก็คือเมื่อได้รับเงินเดือนหรือโบนัส อย่างแรกที่ต้องทำคือ ‘จ่าย’ เพียงแต่การจ่ายในที่นี้เป็นการจ่ายหนี้ หรือค่าใช้จ่ายที่สำคัญก่อนจะนำเงินไปเก็บ หรือนำเงินไปใช้ เช่นค่าใช้จ่าย Fixed Cost อย่างค่าผ่อนคอนโด บ้านและคอนโด รวมไปถึงค่าดอกเบี้ยบัตรกดเงินสด และบัตรเครดิตที่จะทำให้เรามีเครดิตทางการเงินที่ดี
4. แบ่งเงินให้เป็นสัดส่วน
อีกหนึ่งวิธีเก็บเงินที่มีประสิทธิภาพในการบริหารเงินคือการแบ่งเงินให้เป็นสัดส่วน โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้แบ่งเงินเป็น 3 ส่วน ดังนี้
- แบ่งเงิน 60% สำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็น เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบ้าน ค่าเดินทาง ค่าอาหาร และหนี้สินต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ต่อเดือน
- แบ่งเงิน 25% สำหรับให้รางวัลตัว เพราะการเก็บออมที่ตึงเกินไปอาจเป็นอุปสรรคต่อความสม่ำเสมอ เพราะฉะนั้นการเจียดเงินเพื่อให้รางวัลตัวเองบ้างย่อมส่งผลดีกับตัวเอง
- แบ่งเงิน 15% สำหรับแบ่งออม หรือการลงทุนกับกองทุนเล็ก ๆ ที่เหมาะสมกับตัวเอง ไม่จำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ แต่ค่อย ๆ ลงทุนกับเงิน 10%-50% ไปเรื่อย ๆ ย่อมดีกับตัวเองในอนาคต
5. กำหนดค่าใช้จ่าย
เงินไม่เหลือเก็บหลาย ๆ ครั้งเพราะไม่มีการกำหนดค่าใช้จ่าย โดยหลังจากทำตารางรายรับรายจ่าย และแบ่งเงินให้เป็นสัดส่วนแล้ว การกำหนดค่าใช้จ่ายก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกป้องกันเงินหมดก่อนสิ้นเดือนได้ เช่น ค่าใช้จ่ายต่อวันจะจำกัดเพียงวันละ 200 บาท หรือค่าชา กาแฟ ต่อเดือนเราจะใช้แค่ 2,000 บาท/ต่อเดือน การกำหนดค่าใช้จ่ายจะช่วยให้คุณวางแผนการเงินในแต่ละเดือนได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
6. แบ่งเงินลงทุน
การลงทุนเป็นการนำเงินต่อเงิน หลายแบบทั้งกองทุน หุ้น ตราสารหนี้ หรือบัญชีออมทรัพย์ ทั้งนี้คุณต้องประเมินความเสี่ยงที่ตัวเองรับไหว รวมไปถึงหมั่นศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการลงทุนรูปแบบต่าง ๆ เพื่อไม่ให้พลาดขาดทุนเยอะจนเงินหมด หรือหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพออนไลน์ที่คอยหาประโยชน์จากความไม่รู้ของคน
สำหรับใครที่ยังคิดว่าตัวเองไม่พร้อมสำหรับการลงทุน ลองเริ่มจากการทำตารางออมเงินเพื่อตั้งเป้าหมายเก็บเงินรายปีก็ได้เช่นกัน
7. ไม่ซื้อของตามกระแส
ช่วงนี้ไม่ว่าจะเป็นลาบูบู้ เสื้อผ้าแบรนด์เนม ร้านอาหารดังที่กำลังเป็นไวรัล ทุกอย่างล้วนกระตุ้นความอยากได้อยากมี เห็นเขามีเราก็อยากมีบ้าง และนี่เองเป็นกับดักที่ทำให้เงินหมดสิ้นเดือนโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นหากเป็นไปได้เราควรยับยั้งชั่งใจ ไม่ใช่ว่าซื้อไม่ได้ แต่ซื้ออย่างประมาณตน ไม่ซื้อจนเงินหมดตัวจะดีที่สุด
8. มีหนี้เท่าที่จำเป็น และเน้นเป็น ‘หนี้ดี’
หลายคนขยาดการมีหนี้สิน แต่รู้หรือไม่ว่าหนี้ดีก็มีเหมือนกัน โดยหนี้ดีคือหนี้ที่สร้างรายได้หรือก่อประโยชน์ให้กับการใช้ชีวิต เช่น การกู้เงินมาลงทุนทำธุรกิจที่จะงอกเงยเป็นแหล่งรายได้ในอนาคต หนี้บ้าน หนี้รถที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุก ๆ วัน ในทางตรงกันข้ามหนี้เสียคือก้อนหนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ไม่ทำให้ชีวิตสบายขึ้น หนี้เหล่านี้ควรลด ละ เลิกจะดีที่สุด
9. เพิ่มรายรับ
หากประหยัดทุกทางแล้วแต่ปลายเดือนเงินหมด อาจเป็นเพราะรายรับไม่พอรายจ่าย เพราะฉะนั้นหากเป็นไปได้การหารายรับเพิ่ม หรือหางานเสริมก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้เงินพอใช้หรือเหลือเก็บในทุก ๆ เดือน ซึ่งในปัจจุบันงานพิเศษก็หาได้ง่ายขึ้น อาจจะเป็น OT หรือการหาเงินออนไลน์ถูกกฎหมายผ่านการสมัครเป็นฟรีแลนซ์บนแพลตฟอร์มหาง่านต่าง ๆ ก็ได้เช่นกัน
สำหรับใครที่กำลังมองหาไอเดียทำธุรกิจเล็ก ๆ ลองอ่าน : 20 สินค้า ทำธุรกิจขายอะไรดีหน้าบ้าน สร้างอาชีพผู้ค้ารายย่อย
10. สังเกตสินค้าลดราคา/โปรโมชั่น
เทคนิคสุดท้ายเป็น Life Hacks เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยให้คุณมีเงินเก็บมากขึ้น คือการมองหาสินค้า หรือบริการที่มีโปรโมชั่นลดราคา ในปัจจุบันบรรดาแบรนด์เล็กใหญ่ต่างทำการตลาดลดสนั่น แจกกระจายเพื่อเอาชนะคู่แข่ง เราในฐานะผู้บริโภคก็สามารถใช้ประโยชน์ในการซื้อสินค้าราคาถูกได้จากจุดนี้เช่นกัน รวมไปถึงการใช้สิทธิประโยชน์จากการบัตรผ่อนสินค้า หรือบัตรเครดิตอย่างการสะสมแต้ม หรือ Cash Back เป็นต้น
จบปัญหาเงินหมดไม่ใช้ ด้วยการสร้างวินัยทางการเงินที่ดี
จบปัญหาเงินไม่พอใช้ด้วยการสร้างวินัยทางการเงินที่ดี 10 เทคนิคการบริหารเงินข้างต้นคือหนทางสู่การปรับค่าใช้จ่ายเพื่อแก้ปัญหาเงินหมดก่อนสิ้นเดือน ไม่ว่าจะเป็นการทำตารางรายรับรายจ่าย ใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน แบ่งเงินให้เป็นสัดส่วน รวมไปถึงการหารายได้เสริม ทั้งนี้ หวังว่าผู้อ่านทุก ๆ คนจะได้วิธีที่เหมาะกับตัวเองเพื่อนำไปปรับใช้ การเริ่มต้นที่ดีไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนตัวเองแบบ 100% แต่การเปลี่ยนทีละเล็กละน้อยจะค่อย ๆ ทำให้วินัยทางการเงินของคุณดีขึ้นกว่าเดิมแน่นอน
จบปัญหาเงินหมุนไม่ทันใช้ นึกถึงบัตรกดเงินสด KTC PROUD