ทำความเข้าใจธุรกิจ SME (เอสเอ็มอี) ก่อนลงมือทำ
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในยุคปัจจุบันมีผู้คนจำนวนมากที่สนใจทำธุรกิจส่วนตัว โดยธุรกิจที่ได้รับความนิยมลงทุน ก็คือ "ธุรกิจ SME" ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดย่อมหรือขนาดกลางตามกำลังของผู้ประกอบการ ทำให้ไม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก และมีเจ้าของกิจการเป็นผู้คอยดูแล ไม่แปลกที่คนยุคใหม่นิยมทำธุรกิจ SME เพราะให้ความสบายใจและไม่ต้องแบกรับความกดดันของคนหลายคน
นอกจากนี้ เจ้าของกิจการยังสามารถกำหนดระดับความเสี่ยงได้ด้วยตัวเองทั้งหมด นี่คือจุดสำคัญที่นักการตลาดและนักธุรกิจทั้งหลายนึกถึงเสมอ นั่นคือ “การรับความเสี่ยงในการลงทุน” แต่ก่อนลงทุนในธุรกิจ SME ลองไปดูกันว่า ธุรกิจ SME คืออะไร ? มีกี่ประเภท และควรเตรียมพร้อมเรื่องใดบ้าง ก่อนลงมือทำธุรกิจเอสเอ็มอี
ธุรกิจ SME คืออะไร
SME ย่อมาจากคำว่า Small and Medium Enterprises หรือที่เรียกว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นธุรกิจที่ทำการดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิต จำหน่าย ขนาดย่อม โดยธุรกิจ SME เป็นธุรกิจที่มีขนาดย่อม เป็นธุรกิจที่มีความเป็นอิสระ ไม่อยู่ใต้การควบคุมของธุรกิจหรือบุคคลอื่นบุคคลใด อีกทั้งยังเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนในการลงทุนต่ำ และมีพนักงานจำนวนน้อยนั่นเอง
ทำไมธุรกิจ SME ถึงน่าสนใจ
เป็นเพราะธุรกิจ SME มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่ำ ใช้เงินทุนในการเริ่มต้นกิจการไม่มาก ทั้งไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานจำนวนมากๆ ทำให้ผู้ประกอบการที่มีเงินทุนน้อย ก็สามารถลงทุนธุรกิจ SME ได้ ประกอบกับธุรกิจเอสเอ็มอียังได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากภาครัฐในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษี นโยบายส่งเสริมต่าง เช่น นโยบายการช่วยจัดหาให้กับธุรกิจ SME เนื่องจากภาครัฐมองว่า ธุรกิจ SME เป็นธุรกิจที่ช่วยกระจายรายได้ให้แรงงานได้อย่างทั่วถึง และเป็นธุรกิจที่ส่งเสริมการดำเนินงานของธุรกิจขนาดใหญ่นั่นเอง
ธุรกิจ SME มีกี่ประเภท
ประเภทของธุรกิจ SME หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั้น ครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่มใหญ่
1. ธุรกิจ SME ด้านการผลิตสินค้า
เป็นกลุ่มธุรกิจที่ครอบคลุมกระบวนการผลิตในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และเหมืองแร่ นับได้ว่าเป็นกลุ่มที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพราะช่วยในด้านตัวธุรกิจ การจ้างงาน และกำลังคน ได้เป็นอย่างดี
2. ธุรกิจ SME ด้านการค้า
เป็นกลุ่มธุรกิจ SME ที่สามารถครอบคลุมกระบวนการในรูปแบบการนำเข้า ส่งออก หรือการค้าต่าง ๆ ในประเทศ
3. ธุรกิจ SME ด้านการให้บริการ
เป็นธุรกิจที่เน้นการให้บริการหรือขายบริการที่ครอบคลุมถึงการศึกษา สุขภาพ การขนส่ง ขายอาหารหรือเครื่องดื่ม ธุรกิจโรงแรม กิจการประกันภัย หรือร้านเสริมสวย เป็นต้น
ธุรกิจ SME มีลักษณะอย่างไร
สำหรับลักษณะของธุรกิจ SME ได้ถูกกำหนดไว้ชัดเจน ในกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2562 มีรายละเอียดดังนี้
ธุรกิจ SME ที่น่าสนใจ 2021
เพื่อเป็นไอเดียแก่ผู้ประกอบการที่ฝันอยากมีกิจการเป็นของตัวเอง วันนี้เรามีลิสต์ธุรกิจ SME ที่น่าสนใจ 2021 ซึ่งคัดมาฝากแบบเน้น ๆ เผื่อใครที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับไอเดียธุรกิจพวกนี้ จะได้นำไปต่อยอดทำแผนธุรกิจของตนเอง
1. ธุรกิจขายของออนไลน์
เป็นธุรกิจมาแรงไม่หยุดจริง ๆ สำหรับธุรกิจขายของออนไลน์ หลังพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนมาจับจ่ายใช้สอยผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ธุรกิจการขายสินค้าออนไลน์ติดโผ เป็นธุรกิจ SME ที่น่าสนใจ
2. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
เป็นอีกหนึ่งธุรกิจ SME ที่มาแรงแทบทุกปี เพราะ “อาหาร” เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ของมนุษย์เรา แม้เศรษฐกิจจะตกต่ำแค่ไหน ธุรกิจอาหารก็ยังคงมีลูกค้าหลั่งไหลเข้ามาได้อยู่เสมอๆ ไม่แปลกใจที่คนจะหันมาทำธุรกิจแนวนี้มากขึ้น โดยธุรกิจอาหารเครื่องดื่มที่ฮิตในปัจจุบันคงหนีไม่พ้นร้านยำ ร้านปิ้งย่าง และร้านชานมไข่มุก
3. ธุรกิจร้านกาแฟสไตล์ Coffee Stand
เป็นธุรกิจร้านกาแฟไซส์มินิที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน แม้จะมีเพียงเครื่องชงกาแฟ บาร์ขนาดย่อม แถมบางร้านก็ไม่มีที่นั่ง ด้วยร้านกาแฟ Coffee Stand มุ่งให้ความสำคัญที่รสชาติกาแฟหอมกรุ่น และให้บริการซื้อกลับบ้าน (Take Away)
ผู้ประกอบการต้องเตรียมพร้อมอะไรบ้าง ก่อนเริ่มธุรกิจ SME
1. ควรเตรียมพร้อมเรื่องการเงิน
ขอให้คิดอยู่เสมอว่า "เงิน" สำหรับการทำธุรกิจ เปรียบเสมือนกระแสเลือดสายสำคัญในร่างกายของเรา ก่อนอื่นต้องรู้ว่า งบที่ใช้สร้างธุรกิจ SME นั้น ใช้เท่าไหร่ และถ้าเงินที่นำมาใช้ทำธุรกิจ คือ เงินที่มาจากการเก็บออม ไม่ควรนำเงินออมทั้งหมดมาใช้ลงทุน เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยง แนะนำให้หาแหล่งเงินทุน อย่าง " สินเชื่อ SME" มาเสริมในส่วนที่ขาด หรือเก็บไว้เป็นเงินทุนสำรอง
2. วางแผนการตลาด
การวางแผนการตลาดถือเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญมากในการทำธุรกิจ เพราะการเดินหน้าลุยทำธุรกิจแบบไม่มีการวางแผนก็มีสิทธิเกิดความผิดพลาด หรืออาจเกิดผลดีต่อธุรกิจน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับเวลาและทรัพยากรที่ลงทุนไป
ฉะนั้น ควรเขียนแผนการตลาดอย่างละเอียด เพราะยิ่งเขียนรายละเอียดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีต่อธุรกิจของเรามากขึ้นเท่านั้น ไล่ตั้งแต่ลักษณะของธุรกิจ, ลักษณะของบริษัท ไปจนถึงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ของเรา รวมถึงข้อดีและข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพื่อใช้เปรียบเทียบกับบริษัทที่เป็นคู่แข่ง
3. ศึกษาเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับ SME อย่างละเอียด
การมีความรู้กฎหมายเกี่ยวกับ SME ก็เป็นเรื่องดี แต่จะดียิ่งขึ้น หากมีที่ปรึกษาด้านกฎหมายมาคอยให้คำแนะนำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทเพื่อทำธุรกิจ SME หรือแม้แต่กฎหมายด้านภาษี เรื่องเหล่านี้หากเราได้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วย ก็จะทำให้การดำเนินงานทำได้ง่ายขึ้น
ธุรกิจ SME นับได้ว่า เป็นสุดยอดธุรกิจ ที่ใครก็สามารถเริ่มทำธุรกิจ SME ได้ ขอเพียงมีไอเดีย และมีเงินลงทุน แต่หากยังกังวลเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน บอกเลยว่าไม่มีปัญหา แค่ให้ KTC เป็นตัวช่วย ไม่ว่ากู้สินเชื่อ หรือบัตรกดเงิน พร้อมรองรับทุกความต้องการเพื่อสนับสนุนการขยายของธุรกิจคุณ
สมัครบัตรกดเงินสดออนไลน์...ที่นี่
เบิกถอนเงินสด แบ่งผ่อนชำระได้ทุกที่ทุกเวลา