Pain Point คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อการทำธุรกิจ
‘นักธุรกิจ’ อาชีพในฝันของใครหลายคน โดยเฉพาะยุคที่คนรุ่นใหม่เริ่มสนใจเป็นเจ้าของธุรกิจด้วยแล้ว ทำให้เห็นการเติบโตของหลากหลายสินค้าเพิ่มมากขึ้น แต่กว่าที่จะประสบความสำเร็จจนสร้างเป็อาชีพเงินเดือนหลักแสนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเมื่อธุรกิจเริ่มสะดุดจากการวางแผนที่ผิดพลาด ซึ่งนั่นอาจเป็นเพราะยังไม่รู้ว่า Pain Point ของธุรกิจคุณคืออะไร โดยที่บางครั้งอาจเป็นเพียงปัญหาเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้น แต่เมื่อผู้ประกอบการไม่ทราบปัญหาจึงไม่ได้แก้ไข และส่งผลไปสู่ความเสียหายทางธุรกิจที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
Pain Point คืออะไร
สำหรับความหมายของ Pain Point คืออะไร หากแปลตรงตัวจากทั้งสองคำนี้ก็จะแปลความหมายได้ว่า “จุดที่เกิดความเจ็บปวด” ซึ่งในมุมมองด้านธุรกิจจุดที่เกิดความเจ็บปวดนี้หมายความได้ทั้งทางฝ่ายผู้ประกอบการและผู้บริโภค อธิบายให้ง่ายขึ้นก็คือ จุดที่สร้างปัญหาให้กับผู้ประกอบการในการทำธุรกิจ เช่น บุคลากรไม่เพียงพอ งบประมาณในการลงทุนไม่เพียงพอ และในมุมมองของผู้บริโภคจุดที่ทำให้เกิดปัญหา เช่น ได้รับบริการไม่ตรงตามเงื่อนไข หรือสินค้าที่ได้รับมีคุณสมบัติไม่ตรงกับความต้องการ เป็นต้น
โดยการที่ธุรกิจต้องหา Pain Point นั้นก็เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กรของตัวเองและปัญหาที่เกิดกับลูกค้าได้ตรงจุด ทำให้สร้างแรงบันดาลใจในการค้นหาแนวทางสำหรับไอเดียด้านการตลาด วางแผนแก้ไข หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ตรงกับความต้องการมากยิ่งขึ้น โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจก็มีมากขึ้นเช่นกัน
เครื่องมือช่วยวิเคราะห์ Paint Point
การหา Pain Point อาจฟังดูเป็นเรื่องยาก แต่ความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป เพราะนอกจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภค หรือการบริหารค่าใช้จ่ายด้วยวิธีบันทึกบนแอพรายรับรายจ่ายแล้ว การนำเครื่องมือเข้ามาใช้วิเคราะห์ Pain Point ถือเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้วางแผนด้านธุรกิจได้ง่ายและตรงจุดมากยิ่งขึ้น โดยเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ปัญหาในการทำธุรกิจที่สามารถนำมาใช้ได้ มีดังนี้
SWOT
เครื่องมือที่ช่วยในการตามหา Pain Point ของผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบงาน ผู้ร่วมงาน ไปจนถึงบริการ หรือสินค้าที่จำหน่าย เพื่อให้มองเห็นภาพรวมขององค์กรมากขึ้น โดยเครื่องมือ SWOT จะใช้ในวิเคราะห์ได้ทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้ คือ จุดเข็งของธุรกิจในด้านที่เหนือกว่าคู่แข่ง และจุดอ่อนที่ส่งผลให้ธุรกิจของคุณเสียเปรียบในตลาด นอกจากนี้ SWOT ยังใช้วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้อย่างโอกาสที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอุปสรรคที่จะส่งผลเสียจนทำให้ธุรกิจเกิดปัญหา เพื่อหาทางแก้ไขได้เร็วขึ้น
Ansoff Matrix
เครื่องมือช่วยหา Pain Point ที่เหมาะสำหรับองค์กรหรือผู้ประกอบการที่ยังมีสินค้าและบริการขนาดเล็ก ซึ่งสามารถวิเคราะห์จุดอ่อนที่มีอยู่ในตัวสินค้า บริการ หรือการกลยุทธ์ทางการตลาดได้มากขึ้น เพื่อนำจุดอ่อนเหล่านั้นมาพัฒนาและปรับปรุงให้การขายสินค้าตรงตามกลุ่มเป้าหมาย นำไปสู่การวางแผนประชาสัมพันธ์ หรือทำการตลาดได้แม่นยำกว่าเดิม เช่น การออกเคมเปญบัตรกดเงินสดจากสถาบันทางการเงิน ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์สำหรับคนทำอาชีพอิสระโดยเฉพาะ เป็นต้น
Social Listening
เครื่องมือที่ง่ายและสามารถใช้ได้กับทุกองค์กร ทุกธุรกิจ เครื่องมือการหา Pain Point นี้คือ การมีพื้นที่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ครอบคลุม จะช่วยให้ผู้ประกอบการมองเห็นจุดอ่อน จุดแข็งของธุรกิจตัวเองได้มากขึ้น ผ่านการติดตามแฮชแท็ก, การตอบกลับ, การกล่าวถึง และการคอมเมนต์ต่าง ๆ บนสื่อออนไลน์ ข้อมูลเหล่านี้ยิ่งเก็บรวบรวมยิ่งทำให้มองเห็นภาพรวมของความต้องการจากผู้บริโภค เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหาได้ง่ายขึ้น อีกทั้งการวิเคราะห์ปัญหาจากเครื่องมือ Social Listening ยังเหมาะสมกับยุคสมัยในปัจจุบันด้วย
ทั้งนี้ ในการวิเคราะห์หาสาเหตุ และปัญหาที่เกิดขึ้นก็สามารถทำได้หลายวิธี อาจเลือกพิจารณาจากความเหมาะสมของรูปแบบสินค้าหรือการให้บริการ เพื่อหาจุดที่ต้องแก้ไขได้แม่นยำ พร้อมแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมให้กับผู้บริโภคด้วย
4 แนวทางการพัฒนาธุรกิจ หลังการวิเคราะห์ Pain Point
ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำธุรกิจมีหลายด้าน และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกประเภทธุรกิจ เมื่อทำการวิเคราะห์ Pain Point ผ่านเครื่องมือต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วจะช่วยให้มองเห็นปัญหาในแต่ละด้านได้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้นำข้อมูลที่ได้มาหาแนวทางแก้ไขปัญหา และพัฒนาธุรกิจได้รวดเร็วยิ่งขึ้นผ่าน 4 แนวทางสำคัญต่อไปนี้
การบริหารบุคคล
Pain Point ด้านบุคลากรเป็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับองค์กร หรือผู้ประกอบการขนาดเล็กที่เมื่อสินค้าหรือบริการเริ่มได้รับความนิยม มีกลุ่มลูกค้าเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้การบริหารจัดการด้วยตัวเองเพียงลำพังเริ่มไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขด้วยการหาผู้ช่วยที่มีประสบการณ์เข้ามาช่วยบริหารจัดการ การลงคอร์สเรียนออนไลน์ฟรีด้านการบริหารจัดการบุคคล รวมทั้งใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างระบบ Ai ที่สามารถให้คำแนะนำด้านสินค้า หรือบริการได้ทันทีที่มีคำถามเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มออนไลน์
รวมถึงยังมีตัวอย่างเช่น Pain Point ในการทำงานของฟรีแลนซ์คือ บางช่วงอาจต้องทำงานหนักจนมีเวลาพักผ่อนน้อย กลายเป็นภาระหนักให้สุขภาพต่อไป วิธีแก้ไขปัญหาคือบริษัทอาจนำเสนอแผนประกันสุขภาพไว้รองรับค่าใช้จ่ายยามเจ็บป่วยให้กับฟรีแลนซ์ในความดูแล เป็นต้น
การบริหารการเงิน
ปัญหาที่มักเกิดขึ้นในการทำธุรกิจที่เมื่อเริ่มมียอดขายเติบโต การควบคุมมาตรฐานและต้นทุนการผลิตย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น หลายองค์กรอาจเกิดการวางแผนการเงินที่ผิดพลาดไปจนถึงภาวะเงินทุนไม่เพียงพอ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในเรื่องนี้ ผู้ประกอบการอาจแก้ไขด้วยการกู้สินเชื่อผ่านแอปกู้เงิน หรือสินเชื่อแบบรถแลกเงิน เพื่อให้เกิดสภาพคล่องในการใช้จ่ายมากขึ้น
การผลิต
ผู้ประกอบการหลายคนจะประสบกับปัญหาของการสต๊อกสินค้ามากหรือน้อยเกินไป และการให้บริการที่ไม่ทั่วถึงจนทำให้กลายเป็นปัญหาสำหรับผู้บริโภค ประโยชน์ของการวิเคราะห์ปัญหาทำให้ได้ทราบ Pain Point คือ ช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลในการผลิต การจำหน่าย และบริการได้แม่นยำ นำไปสู่พัฒนาด้านการผลิต การจัดเก็บสต๊อกสินค้าได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น ไปจนถึงการเตรียมพร้อมเรื่องบุคคลและเครื่องมือที่มากเพียงพอต่อการให้บริการลูกค้าด้วย
การตลาด
สินค้าดีแต่ยอดขายไม่ขยับ อาจมีผลมาจากการตลาดและการประชาสัมพันธ์ไม่ดีพอ เมื่อลองวิเคราะห์ปัญหาแล้วพบว่านี่คือ Pain Point ขององค์กรก็จะช่วยให้วางแผนแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดยิ่งขึ้น เพราะเมื่อพัฒนาสินค้าให้รองรับกับความต้องการของลูกค้าแล้ว วิธีที่จะช่วยสร้างยอดขายได้มากขึ้นก็คือการสร้างกลยุทธ์สำหรับสื่อสาร และประชาสัมพันธ์สินค้าให้ถึงกลุ่มเป้าหมายจนนำไปสู่การบอกต่อได้มากขึ้น
ข้อดีของการวิเคราะห์ Pain Point
การวิเคราะห์ Pain Point คือ สิ่งสำคัญในการช่วยให้ผู้ประกอบการได้รู้ปัญหาหรือจุดอ่อนของธุรกิจของตัวเองได้ตรงจุดและรวดเร็ว เมื่อทราบถึงปัญหาเหล่านั้นแล้ว มีโอกาสที่จะแก้ไข Pain Point ที่เดิมทีเคยเป็นจุดอ่อนให้กลับกลายมาเป็นจุดเแข็งได้ อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างผลกำไร เกิดการซื้อซ้ำ ขยายไปสู่ลูกค้ากลุ่มใหม่เพิ่มมากขึ้น และสร้างความได้เปรียบคู่แข่งในตลาด นอกจากนี้ยังสามารถวางแผนทำการตลาด วิจัยพฤติกรรมลูกค้าได้รวดเร็ว ช่วยลดขั้นตอนในการทำงานหนักเกินความจำเป็นได้
อีกหนึ่งข้อดีการทำ Pain Point คือเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรในองค์กร ทั้งด้านการเงิน บุคลากร และการสต๊อกสินค้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้มากขึ้น ช่วยลดความตึงเครียดในการทำงานที่อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตของผู้ประกอบการได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ทำให้การวิเคราะห์ Pain Point เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากที่ผู้ประกอบการทั้งธุรกิจขนาดเล็ก ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ ไม่ควรมองข้าม
ตัวอย่างการแก้ปัญหาให้กับลูกค้า Pain Point ที่น่าสนใจ เช่น กลุ่มลูกค้าผู้หญิงที่ต้องการแต่งหน้าในช่วงอากาศร้อนจัด แต่กลับกลายเป็นคราบเครื่องสำอางติดบนใบหน้าเมื่อมีเหงื่อออก เมื่อผู้ประกอบการเห็นจุดอ่อนตรงจึงได้คิดค้นเครื่องสำอางรุ่นใหม่ออกมา ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันน้ำ ทำให้เครื่องสำอางติดแน่น ทนนานโดยไม่ทิ้งคราบมาเพื่อแก้ปัญหานี้ ทำให้มีโอกาสสร้างยอดขายได้มากขึ้น
Pain Point เรื่องที่ต้องรู้ให้เร็ว เพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุด
ผู้ประกอบการคงจะทราบกันแล้วว่า Pain Point เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ละเลยไม่ได้ เพราะในทุก ๆ ธุรกิจ ล้วนแต่มีข้อผิดพลาด หรือปัญหาเกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา ฉะนั้น การวิเคราะห์ให้เจอสาเหตุได้รวดเร็วคือสิ่งที่ช่วยให้บริหารจัดการ และแก้ไขได้ก่อนที่ปัญหาจะบานปลาย นี่เองที่ทำให้ทุก ๆ องค์กรต้องลงทุนกับเครื่องมือวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ได้รู้ถึงจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์กรได้แม่นยำ
สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจแล้วอยากเริ่มต้นกับการวิเคราะห์ Pain Point ได้ตรงจุดยิ่งขึ้น สมัครบัตรกดเงินสด KTC PROUD ติดไว้ เป็นตัวช่วยด้านการเงินดีที่สุด เพราะไม่ว่าจะเป็นการลงทุนกับเครื่องมือวิเคราะห์ปัญหา หรือค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้ธุรกิจ
บัตรกดเงินสด KTC PROUD ตัวช่วยบริหารเงินลงทุนให้การทำธุรกิจราบรื่น ไร้ปัญหาด้านการเงิน
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี