การเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ถือเป็นสวัสดิการหนึ่งที่รัฐบาล จัดให้แก่ข้าราชการ และลูกจ้างประจำของส่วนราชการ รวมถึงพนักงานรัฐวิสาหกิจบางแห่ง เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการศึกษาของบุตร ซึ่งการเบิกค่าเล่าเรียนบุตร กรมบัญชีกลางได้ปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2562 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2562 มาจนถึงปัจจุบัน
ใครบ้างที่มีสิทธิ์เบิกค่าเล่าเรียนบุตร?
สำหรับผู้มีสิทธิ์เบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้ มีดังต่อไปนี้
- ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่าย งบบุคลากรของกระทรวง ทบวง กรม เว้นแต่ข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการตำรวจชั้นพลตำรวจ ซึ่งอยู่ในระหว่างรับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำ
- ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย และสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับการได้รับเงินสวัสดิการ เกี่ยวกับการศึกษาของบุตรไว้เป็นพิเศษ
- ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุน มีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด
เบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้ตั้งแต่อายุครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์
เบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้ถึง อายุ เท่าไร?
สามารถเริ่มเบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้ตั้งแต่อายุครบ 3 ปี แต่ต้องไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์ และกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ปริญญาตรี หรือเทียบเท่า โดยบุตรของผู้มีสิทธิ์นั้นต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นบุตรระหว่างสมรส ส่วนบุตรนอกสมรส ไม่ว่าจะเกิดจากการสมรสในภายหลัง การจดทะเบียนรับรองบุตร หรือศาลพิพากษา (ปพพ. มาตรา 1547) ให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย นับแต่วันที่เด็กเกิด และสามารถเบิกได้เพียงบุตรลำดับที่ 1-3 เท่านั้น ไม่ว่าจะเกิดจากการสมรสครั้งใดก็ตาม ทั้งนี้ จะไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม และบุตรซึ่งบิดามารดาได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น
ส่วนในกรณีที่มีบุตรเกิน 3 คน และต่อมาบุตรคนใดคนหนึ่งใน 3 คน เสียชีวิต พิการ ไม่สามารถเรียนได้ หรือไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ ก่อนอายุ 25 ปีบริบูรณ์ ให้สามารถเบิกค่าเล่าเรียนของบุตรเพิ่มได้ตามจำนวนบุตรที่เสียชีวิต พิการ ไร้ความสามารถ ฯลฯ โดยนับบุตรคนที่อยู่ถัดไปก่อน
ส่วนใครที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรไม่ถึง 3 คน แต่ต่อมามีบุตรแฝด ทำให้รวมแล้วมีบุตรเกิน 3 คน ให้สามารถเบิกค่าเล่าเรียนของบุตรแฝดได้ทุกคน และถ้าบุตรคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต พิการ ไร้ความสามารถ ฯลฯ ก่อนอายุ 25 ปีบริบูรณ์ ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับสิทธิ์ลงจนเหลือไม่เกิน 3 คน จึงจะมีสิทธิ์เบิกค่าเล่าเรียนบุตรเพิ่มได้อีก
สถานศึกษาของทางราชการที่สามารถเบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้มีที่ไหนบ้าง?
- มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือส่วนราชการอื่น หรือที่อยู่ในกำกับของรัฐ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- วิทยาลัยหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัยในสังกัด หรืออยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ หรือส่วนราชการอื่นที่ ก.พ. รับรองคุณวุฒิ เช่น ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี
- โรงเรียนในสังกัด หรือ อยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง และ ให้หมายความรวมถึงโรงเรียนที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีการจัดระดับชั้นเรียนด้วย
- โรงเรียนในสังกัดหรืออยู่ในกำกับของส่วนราชการอื่นหรือองค์การของรัฐบาลที่ ก.พ. รับรองคุณวุฒิ
- โรงเรียนในสังกัดส่วนราชการที่กระทรวงการคลังกำหนด
- สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีการจัดระดับชั้นเรียนในสังกัดส่วนราชการ
- สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
- โรงเรียนในระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ประเภทและอัตราในการเบิกค่าเล่าเรียนบุตร
ประเภท/ระดับการศึกษา/ ประเภทวิชา/สายวิชา |
สถานศึกษาของทางราชการ บํารุงการศึกษาต่อปีการศึกษา |
สถานศึกษาของเอกชน อัตราค่าธรรมเนียม การศึกษา/ค่าเล่าเรียนต่อปีการศึกษา |
|
สถานศึกษาที่รับ เงินอุดหนุน (บาท) |
สถานศึกษาที่ไม่รับ เงินอุดหนุน (บาท) |
||
ประเภทสามัญศึกษา |
|||
อนุบาล |
5,800 |
4,800 |
13,600 |
ประถมศึกษา |
4,000 |
4,200 |
13,200 |
มัธยมศึกษาตอนต้น |
4,800 |
3,300 |
15,800 |
มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. |
4,800 |
3,200 |
16,200 |
อนุปริญญา |
13,700 |
- |
- |
ปริญญาตรี |
25,000 |
- |
- |
ประเภท/ระดับการศึกษา/ ประเภทวิชา/สายวิชา |
สถานศึกษาของเอกชน อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา/ค่าเล่าเรียนต่อปีการศึกษา |
|
สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน (บาท) |
สถานศึกษาที่ไม่รับ เงินอุดหนุน (บาท) |
|
ประเภทอาชีวศึกษา |
||
คหกรรม หรือคหกรรมศาสตร์ |
3,400 |
16,500 |
พาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ |
5,100 |
19,900 |
ช่างอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรม |
7,200 |
24,400 |
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว |
5,100 |
19,900 |
อุตสาหกรรมสิ่งทอ |
7,200 |
24,400 |
สําหรับสถานศึกษาของเอกชนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าและหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือเทียบเท่า ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน 25,000 - 30,000 บาท ตามประเภทวิชาหรือสายวิชา และหลักสูตรปริญญาตรี
ให้เบิกจ่ายครึ่งหนึ่งของจํานวนที่ได้จ่ายไปจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน 25,000 บาท ค่าเล่าเรียนที่ให้เบิกจ่ายได้จะต้องเป็นค่าธรรมเนียมการเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งสถานศึกษาเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติ จากกระทรวงศึกษาธิการหรือมหาวิทยาลัย
เอกสารเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ มีอะไรบ้าง เบิกได้ที่ไหน?
สำหรับสถานที่เบิกค่าเล่าเรียนบุตรนั้นขึ้นอยู่กับหน่วยงานต้นสังกัดที่ข้าราชการทำงานอยู่ โดยต้องแนบเอกสาร ดังนี้
- ใบเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (แบบ 7223)
- ใบเสร็จรับเงินจากสถานศึกษา
- สําเนาใบอนุญาตของกระทรวงศึกษาธิการ กรณีเป็นสถานศึกษาเอกชน
- หลักฐานแยกกันอยู่ (แบบ บก.ชล.8) กรณีไม่ประสงค์จะอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา
- หนังสือแจ้งการใช้สิทธิ์และหนังสือตอบรับการแจ้งการใช้สิทธิ์ (กรณีใช้สิทธิ์ภรรยา)
- สําเนาหนังสือสําคัญแสดงการรับรองบุตรกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส
หมายเหตุ : หลักฐานแนบ 2 ชุด ในการเบิกครั้งแรก โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่เบิกจ่ายเก็บไว้ 1 ชุด สำหรับตรวจสอบการเบิกในคราวต่อไป
ระยะเวลาการขอเบิกค่าเล่าเรียนบุตร
กรณีปกติ
- การขอยื่นขอใช้สิทธิ์เบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร กรณีสถานศึกษาเก็บเงินเป็นรายภาคเรียนต้องยื่นหลักฐานขอเบิกภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเปิดภาคเรียนของแต่ละภาค
- การขอยื่นขอใช้สิทธิ์เบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร กรณีสถานศึกษา เก็บเงินค่าศึกษาครั้งเดียวตลอดปี ต้องยื่นหลักฐานขอเบิกภายใน 1 ปี นับต้ังแต่วันเปิดภาคเรียนต้นของปีการศึกษาน้ันๆ
กรณียื่นเรื่องขอใช้สิทธิ์ขอเบิกเงินสวัสดิการค่าศึกษาบุตรเกิน 1 ปี
- กรณีถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน แต่ปรากฏภายหลังว่า ได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือในระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้ผู้มีสิทธิ์ยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการภายใน 1 ปี นับแต่วันที่กรณีถึงที่สุด
- กรณีผู้มีสิทธิ์มีความจำเป็นต้องขอผ่อนผันต่อสถานศึกษาในการชำระเงินล่าช้า กรณีนี้ ให้ผู้มีสิทธิ์ยื่นใบเบิกเงินสวัสดิการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ออกหลักฐาน การรับเงินของสถานศึกษา
- กรณีบุตรของผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร กู้ยืมเงินเรียน จากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ให้นำหลักฐานมายื่นใบเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ การศึกษาบุตรได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ออกหลักฐานการรับเงินของสถานศึกษา
อ้างอิงจาก :
- https://www.dgr.go.th/law/th/newsAll/396/8540
- http://finance.moph.go.th/finance/attachfile/202203241537351.pdf
- https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/668245663641243
- https://oac.rta.mi.th/data/2020/03/2003020813632522136325--.pdf
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC