เริ่มนับลูกดิ้นอย่างไร เรื่องที่คุณแม่ควรรู้
การดูแลสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่คุณแม่และคุณพ่อต่างให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ที่ไม่ได้แค่บ่งบอกว่าลูกในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่ แต่ยังทำให้ทราบว่าลูกของคุณมีสุขภาพที่ดีหรือไม่ในระหว่างการตั้งครรภ์ แต่ถึงอย่างนั้นอาจมีคุณแม่บางท่านที่สงสัยการเช็กการเคลื่อนไหวของลูกในครรภ์ว่าปกติหรือไม่ผ่านการนับลูกดิ้นมีความสำคัญอย่างไร นับลูกดิ้นตอนกี่เดือน หรือลูกดิ้นแบบไหนเป็นสัญญาณอันตราย ตามไปหาคำตอบกัน
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การนับลูกดิ้น มีความสำคัญอย่างไร
การนับจำนวนการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์เป็นการบ่งบอกถึงระดับพัฒนาการขั้นต้นว่าลูกมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคุณแม่คุณพ่อ ผ่านการเตะหรือดิ้นเมื่อได้ยินเสียงดนตรี เสียงเล่านิทาน หรือเสียงพูดคุยกันของคุณแม่คุณพ่อ นอกจากการดิ้นของลูกบ่งบอกถึงสุขภาพ ยังเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติ เช่น ลูกดิ้นน้อยลงหรือไม่ดิ้นเลยจากที่ปกติจะดิ้นเป็นประจำ อาจเกิดจากภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรังเพราะน้ำคร่ำน้อยหรือสายสะดือผูกเป็นปม ฉะนั้นหากเคยนับลูกดิ้นกี่ครั้งต่อวัน แต่จู่ ๆ ลูกดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้นเป็นเวลานาน นั่นหมายความว่าลูกน้อยมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิต ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและเริ่มต้นรักษาให้ตรงตามสาเหตุ
ข้อควรรู้ ก่อนนับและบันทึกการดิ้นของทารก
เพื่อให้คุณแม่สามารถนับและบันทึกการดิ้นของลูกน้อยได้แม่นยำมากขึ้น ตามมาดูกันว่าท่านอนแบบไหนที่รับรู้การดิ้นของเจ้าตัวน้อยที่ดีที่สุด ควรบันทึกการดิ้นทุกวันไหม หรือลักษณะการดิ้นเป็นอย่างไร มาดูกัน
- ลักษณะการดิ้นของทารก คือ เตะ ยืดตัว การพลิกตัวและม้วนตัว
- ท่าที่ดีที่สุดในการรับรู้ถึงการดิ้นของทารก คือ ท่านอนตะแคงซ้าย
- ขณะบันทึกการดิ้นของลูกน้อย คุณแม่ควรอยู่ในที่เงียบ จะทำให้มีสมาธิในการรับรู้ถึงการดิ้นได้ดี
- ควรบันทึกการดิ้นของทารกทุกวัน และเมื่อไปพบแพทย์ตามกำหนดฝากครรภ์ให้นำบันทึกการดิ้นของทารกไปให้แพทย์หรือพยาบาลดูทุกครั้ง
ลูกเริ่มดิ้นตอนกี่เดือน
คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนอาจสงสัยว่าลูกดิ้นตอนกี่เดือน ? คำตอบคือ จะเริ่มรู้สึกถึงลูกดิ้นได้เมื่อมีอายุครรภ์โดยประมาณที่ 4 เดือนครึ่ง หรือ 16-20 สัปดาห์ แต่จำนวนครั้งการดิ้นอาจไม่เท่ากันในแต่ละวันจึงทำให้ยังนับอย่างชัดเจนไม่ได้ กระทั่งเข้าสู่ สัปดาห์ที่ 28 หรือเดือนที่ 7 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะสามารถสัมผัสถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยได้มากขึ้น เพราะการดิ้นของลูกจะมีความคงที่และเป็นเวลามากขึ้น คุณหมอมักแนะนำให้คุณแม่เริ่มนับการดิ้นของลูกเพื่อเฝ้าติดตามสุขภาพของเจ้าตัวเล็กในครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์เป็นต้นไป
นอกจากการอัลตร้าซาวด์ การนับลูกดิ้นช่วยให้รู้ถึงเจริญเติบโตของทารก
จำนวนครั้งในการนับลูกดิ้น
จากที่เกริ่นไว้ข้างต้นว่า คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยเมื่อมีการนับอายุครรภ์ ระหว่าง 16-20 สัปดาห์ โดยในแต่ละวันลูกน้อยจะมีการดิ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุครรภ์ และจะดิ้นน้อยลงเพราะขนาดตัวของทารกโตขึ้นจนขยับลำบาก สำหรับวิธีนับลูกดิ้นด้วยตนเองนั้น คุณแม่สามารถใช้วิธีเฝ้าสังเกตและจดบันทึกได้ด้วยตนเอง ซึ่งจำนวนครั้งในการนับลูกดิ้นที่เรียกว่าลูกยังปกติ มีรายละเอียดดังนี้
- อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ลูกควรดิ้นประมาณ 200 ครั้ง ใน 12 ชั่วโมง
- อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ลูกควรดิ้นมากถึง 575 ครั้ง ใน 12 ชั่วโมง
- อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ ลูกดิ้นน้อยลงเหลือวันละประมาณ 282 ครั้ง ใน 12 ชั่วโมง
วิธีการนับลูกดิ้น ทำได้อย่างไรบ้าง
(1) นับลูกดิ้นหลังคุณแม่ทานอาหารเสร็จ เพราะช่วงเวลาที่คุณแม่อิ่ม ลูกน้อยก็จะรู้สึกอิ่มตามไปด้วย เมื่อลูกได้รับพลังงานก็ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือการดิ้นตามไปด้วย โดยให้นับการดิ้นหลังภายใน 1 ชั่วโมงหลังทานอาหาร สำหรับมีวิธีนับลูกดิ้นดังนี้
- ลูกกระแทกที่ครรภ์ 1 ครั้ง นับเป็นลูกดิ้น 1 ครั้ง ลูกกระแทกอีก 1 ครั้ง นับเป็น 2 ครั้ง และการขยับตัวติดต่อกันจะถือว่าเป็นการดิ้น 1 ครั้ง
- ถ้านับการดิ้นได้ 4 ครั้งขึ้นไป ภายใน 1 ชั่วโมง แปลว่าปกติ
- ถ้านับการดิ้นได้น้อยกว่า 4 ครั้งขึ้นไป ภายใน 1 ชั่วโมง ให้นับต่อไปอีกจนครบ 4-6 ชั่วโมง
- ถ้านับการดิ้นได้ 4 ครั้งขึ้นไป ภายใน 1 ชั่วโมง แปลว่าปกติ และให้ติดตามการดิ้นหลังอาหารมื้อต่อไป
- ถ้านับการดิ้นได้น้อยกว่า 4 ครั้ง แปลว่าผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจและค้นหาสาเหตุทันที
- ถ้านับการดิ้นทั้งหมดได้น้อยกว่า 12 ครั้งต่อวัน แปลว่าทารกกำลังมีปัญหา ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการตรวจและค้นหาสาเหตุต่อไป
(2) การนับลูกดิ้นในเวลา 12 ชั่วโมง โดยให้เริ่มนับตั้งแต่เช้า - เย็น ใช้เวลาโดยประมาณ 10-12 ชั่วโมง ถ้าปรากฏว่านับลูกดิ้นได้มากกว่า 10 ครั้งถือว่าปกติ
(3) การนับลูกดิ้นใน 1 ชั่วโมง คุณแม่สามารถกำหนดได้ว่าจะจัดตารางนับลูกดิ้นเวลาใด เพียงแต่ถ้าเริ่มนับจำนวนลูกดิ้นตอน 14.00 น. นั่นหมายความว่าต้องนับในเวลานี้ของทุกวัน โดยใน 1 ชั่วโมงต้องนับได้ 3 ครั้งหรือมากกว่า จึงจะถือว่าลูกปกติ
(4) เป็นการนับลูกดิ้นให้ครบ 10 ครั้ง ภายใน 4 ชั่วโมง โดยจะใช้เวลานับตั้งแต่เวลา 08.00 - 12.00 น.
(5) วิธีนับลูกดิ้นให้ครบ 10 ครั้ง แล้วดูว่าใช้เวลาทั้งหมดไปเท่าไหร่ หากพบว่าลูกน้อยในครรภ์ดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งต่อชั่วโมง เป็นเวลาติดต่อกัน 2 ชั่วโมง เป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติ คุณแม่ไปพบแพทย์ทันที
ตารางนับการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์
บัตรกดเงินสด วงเงินสำรองเพื่อลูกน้อยยามฉุกเฉิน
สาเหตุที่ลูกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อย เกิดจากอะไร
แม้การที่ทารกขยับตัวเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงพัฒนาการตามอายุครรภ์ แต่อาจมีบางครั้งที่คุณแม่รู้สึกว่าลูกขยับตัวน้อยลงหรือไม่ดิ้นเลย ซึ่งเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากหลายเหตุปัจจัย
จังหวะไม่ตรงกัน
แม้คุณแม่จะนับการดิ้นของลูกน้อยในเวลาเดิมของทุกวัน แล้วปรากฎว่าลูกดิ้นน้อยลงหรือแทบไม่ดิ้นเลย มีความเป็นไปได้ว่าขณะที่คุณแม่งีบหรือหลับอยู่นั้นเจ้าตัวน้อยตื่นและขยับตัวตามปกติ ส่งผลให้คุณแม่ไม่สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของลูกน้อยได้ ขณะเดียวกันหากคุณแม่ทำกิจวัตรประจำวันที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา จนทำให้อาจไม่ได้รู้สึกว่าลูกดิ้น ทั้งที่จริงแล้วลูกยังดิ้นตามปกติ
ตั้งครรภ์ไตรมาส 3
เมื่ออายุครรภ์ของคุณแม่เข้าสู่ไตรมาส 3 คือไตรมาสสุดท้ายของกระบวนการตั้งครรภ์ เพราะเข้าสู่ช่วงเดือนที่ 7-9 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งช่วงเวลานี้ทารกมีขนาดตัวใหญ่ขึ้นและดิ้นน้อยลง เพราะมีพื้นที่ในการดิ้นน้อยลงนั่นเอง
ลูกดิ้นแบบไหน เป็นสัญญาณอันตราย
ตามที่ได้กล่าวไปตั้งแต่แรกว่า การดิ้นของลูกน้อยในครรภ์บ่งบอกถึงสุขภาพและพัฒนาการตามอายุครรภ์ แต่บางครั้งสเต็ปการดิ้นของลูกบางจังหวะอาจเป็นสัญญาณอันตรายได้เช่นเดียวกัน โดยลักษณะการดิ้นของลูกที่เป็นอันตรายมีดังนี้
ลูกดิ้นมาก
แม้การที่ลูกดิ้นบ่อยแสดงให้เห็นว่า ลูกน้อยมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ แต่ถ้าจู่ ๆ ลูกก็ดิ้นมากผิดปกติอยู่ระยะหนึ่ง แล้วก็หยุดดิ้นไปเสียดื้อ ๆ โดยไม่มีการดิ้นต่อ นั่นแสดงว่าอาจอาจเกิดความผิดปกติกับลูกน้อยในครรภ์ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
ลูกดิ้นน้อย
ถ้าลูกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้งต่อชั่วโมง หรือในช่วงเวลา 12 ชั่วโมง ลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจเกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์
ลูกไม่ดิ้น
แม้บางครั้งการที่ลูกไม่ดิ้นจะเป็นสัญญาณปกติ เพราะเป็นอาการที่มักเกิดขึ้นตอนลูกน้อยกำลังหลับจึงทำให้ไม่การเคลื่อนไหวใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ขึ้นไป ทารกเริ่มเคลื่อนไหวได้น้อยลง เนื่องจากมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น ประกอบมดลูกไม่สามารถขยายเพื่อรองรับขนาดตัวของทารกได้ อย่างไรก็ดีถ้าคุณแม่พยายามกระตุ้นให้ลูกดิ้นหลายครั้งแล้ว แต่ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองใด ๆ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด เพราะอาจเกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์
การฟังเพลงเป็นอีกวิธีที่ช่วยกระตุ้นในลูกดิ้น
วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น
สำหรับวิธีที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกดิ้นที่ดีที่สุด ก็คือ การสัมผัส เนื่องจากเป็นการกระตุ้นระบบประสาทและสมองส่วนรับความรู้สึกของลูกในครรภ์ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น โดยคุณแม่หรือคุณพ่อควรหมั่นลูบหน้าท้องเป็นวงกลมเบา ๆ พร้อมพูดคุยกับลูกน้อยไปพราง ๆ หรือจะเล่านิทาน ร้องเพลงให้ฟังก็ได้เช่นกัน เพื่อกระตุ้นให้ลูกดิ้นแต่ควรทำในช่วงเวลาเดิมเป็นประจำ เพราะจะดีต่อทารกในครรภ์มาก
นอกจากการนับลูกดิ้นซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าลูกยังมีสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีในระหว่างตั้งครรภ์ มีอีกสิ่งที่คุณแม่ในวัยทำงานซึ่งใช้สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 และมาตรา 39 ไม่ควรละเลยคือการศึกษาข้อมูลเรื่องการเบิกค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม ออนไลน์ ที่เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายระหว่างดูแลลูกน้อยในครรภ์ แน่นอนว่าการดูแลลูกน้อยหลังก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ฉะนั้นการเตรียมแหล่งทุนสำรองไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่างการสมัครบัตรกดเงินสดออนไลน์ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่สามารถรับมือเหตุฉุกเฉินได้ทันท่วงที เพราะสามารถกดวงเงินในบัตรฯ มาสำรองจ่ายได้ตามความต้องการที่เร่งด่วนไม่ต้องเสียเวลาไปหยิบยืมใครให้เสียเวลา สำหรับใครที่ยังไม่มีบัตรกดเงินสด ขอแนะนำบัตรกดเงินสด KTC PROUD ที่พร้อมเข้ามาช่วยดูแลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคลอดบุตรและในชีวิตประจำวัน ทั้งมาพร้อมสิทธิประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม นั่นคือกดเงินสะดวก ที่ตู้ ATM ทั่วประเทศ หรือทำผ่านแอป KTC Mobile ได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงไม่มีค่าธรรมเนียมทั้งแรกเข้าและรายปี ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากได้วงเงินสำรองฉุกเฉินไว้เพื่อเพิ่มความอุ่นใจ อย่าลืมนึกถึงบัตรกดเงินสด KTC PROUD ที่มีวงเงินฉุกเฉินพร้อมใช้ให้เบิกง่าย ๆ ผ่านตู้เอทีเอ็มหรือแอปพลิเคชัน
บัตรกดเงินสด KTC PROUD เตรียมพร้อมค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน
เบิกถอนเงินสด แบ่งผ่อนชำระได้ทุกที่ทุกเวลา