เมื่อขาดสภาพคล่องทางการเงิน หนึ่งในวิธีที่หลายคนมักนิยมเลือกใช้ “การจำนำทอง” เพื่อจะได้นำเงินสดออกมาใช้จ่ายได้อย่างรวดเร็ว สำหรับใครที่ยังไม่เคยจำนำทองเลยสักครั้ง แล้วอยากจะศึกษาวิธีจำนำทองอย่างไรให้ได้ราคาดี เผื่อไว้เป็นทางออกฉุกเฉินในอนาคต หรืออยากทราบว่าการนำจำทอง 1 บาท เสียดอกเท่าไหร่ วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์เอาไว้ให้แล้ว
การจำนำทอง คืออะไร?
การจำนำทอง คือ การที่เรานำทองไปเป็นหลักหลักค้ำประกันในการกู้ยืมเงินสดออกมา มีรูปแบบคล้ายคลึงกับการจำนำทรัพย์สินชนิดอื่น อาทิ นาฬิกา คอมพิวเตอร์ กระเป๋าแบรนด์เนม เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ แต่การจำนำทองนั้น จะมีการตีราคาที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของทอง เช่น น้ำหนักทอง ความบริสุทธิ์ของทอง หรือการจำนำทองคำแท่งซึ่งจะได้ราคาที่สูงกว่าทองรูปพรรณ เป็นต้น
เปรียบเทียบข้อดีและข้อจำกัดของการจำนำทอง VS การใช้บัตรเครดิต
การจำนำทอง
ข้อดีของการจำนำทอง
- ได้เงินสดมาใช้ทันที;
- มีระยะเวลาการผ่อนชำระดอกเบี้ยและไถ่ถอนทรัพย์สินที่ยืดหยุ่น สามารถยืดระยะเวลาในการผ่อนได้ เมื่อตกลงกับผู้รับจำนำ
- เมื่อมีเงินมากพอ สามารถไถ่ถอนสินทรัพย์คืนออกมาได้ทันที
ข้อจำกัดของการจำนำทอง
- ราคาประเมินอาจต่ำกว่าราคาจริงที่ซื้อทองมา
- ต้องทำการจ่ายค่าดอกเบี้ยเป็นประจำอย่างเคร่งครัด
- มีสิทธิ์จะโดนยึดทองทันที เมื่อไม่สามารถจ่ายเงินได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด
การใช้บัตรเครดิต
ข้อดีของการใช้บัตรเครดิต
- สินค้าบางรายการสามารถผ่อนชำระดอกเบี้ย 0% ได้
- สามารถขออนุมัติวงเงินฉุกเฉินเพิ่มเติมได้
- มีคะแนนสะสมเพื่อแลกรับสิทธิประโยชน์อื่นๆ ได้หลังใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต
- สามารถชำระยอดขั้นต่ำได้
- มีโปรโมชั่นส่วนลดสินค้าและบริการต่างๆ ให้เลือกตรงตามไลฟ์สไตล์
ข้อจำกัดของการใช้บัตรเครดิต
- หากไม่สามารถชำระเต็มจำนวนตามใบแจ้งยอดได้ จะมีอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายตามที่ธนาคาร/สถาบันการเงินกำหนด
- การผิดนัดชำระค่างวดบัตรเครดิต จะส่งผลกระทบต่อคะแนนเครดิตบูโร ทำให้โอกาสในการขอสินเชื่อประเภทอื่นๆ ลดน้อยลง
- มีค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียมบัตรประจำปี ค่าธรรมเนียมผิดนัดชำระ ค่าเบิกถอนกดเงินสด
ข้อควรระวังในการจำนำทอง
แม้ว่าการจำนำทองจะดูง่าย แถมยังได้เงินมาใช้ทันที แต่ก็มีข้อควรระวังที่ต้องตรวจสอบให้ดี ดังนี้
- ต้องตรวจสอบความบริสุทธิ์ของทองก่อนจำนำทอง
คุณจำเป็นจะต้องทราบหรือต้องตรวจสอบความบริสุทธิ์และน้ำหนักของทองให้แน่ใจก่อน นำไปจำนำ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกหลอกลวงหรือกดราคา
- ต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสถานประกอบการ
แนะนำให้ดูประวัติและความชำนาญของสถานประกอบการ รวมถึงข้อมูลการอนุญาตประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ประเมินมูลค่าอย่างถูกต้อง
ความเชี่ยวชาญในการตีราคาทองของเจ้าหน้าที่ก็เป็นสิ่งที่ต้องระวัง โดยเฉพาะเวลาเราจะจำนำทอง 1 บาท ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง ดังนั้นเราต้องทำการเจรจาตกลงราคาประเมินให้ดี อาจจะขอให้สถานประกอบการประเมินมูลค่าทองคำที่จะนำมาจำนำ และเปรียบเทียบกับราคาประเมินจากที่อื่นด้วย เพื่อให้ได้มูลค่าที่เป็นธรรม
- ควรทำความเข้าใจเงื่อนไขและข้อกำหนดต่างๆ
อ่านรายละเอียดสัญญาและระยะเวลาการจำนำอย่างละเอียดก่อนรับเงิน รวมถึงอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และเงื่อนไขการต่ออายุสัญญา เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความเข้าใจคลาดเคลื่อน
- ระมัดระวังอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป
อัตราดอกเบี้ยสูงอาจทำให้คุณต้องจ่ายเงินคืนมากเกินกว่ามูลค่าของทองที่นำมาจำนำ หากไม่สามารถไถ่คืนได้ทันเวลา
- เก็บใบเสร็จและเอกสารต่างๆ ให้ปลอดภัย
อย่าทิ้งหรือวางใบเสร็จและเอกสารสำคัญไว้โดยประมาท เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นหลักฐานสำคัญเวลาไปไถ่ทองคืน
ดอกเบี้ยจำนำ จะคิดอัตราดอกเบี้ยตายตัว โดยสำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร เริ่มต้น 0.25% ต่อเดือน
ดอกเบี้ยจำนำทองแตกต่างกับดอกเบี้ยบัตรเครดิตอย่างไร
สำหรับดอกเบี้ยบัตรเครดิต ธนาคาร/สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยจากการใช้สินเชื่อบัตรเครดิตได้สูงสุด 16% ต่อปี และคิดดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลได้สูงสุด 25% ต่อปี ส่วนดอกเบี้ยจำนำทองขึ้นอยู่กับโรงรับจำนำ ดังนี้
1. โรงรับจำนำสถานธนานุบาล
- เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท คิดดอกเบี้ย 0.25% ต่อเดือน
- เงินต้น 5,001 - 15,000 บาท คิดดอกเบี้ย 1.00% ต่อเดือน
- เงินต้นเกิน 15,000 บาท คิดดอกเบี้ยเงินต้น 2,000 บาทแรก 2% และส่วนที่เกิน 2,000 บาท คิดดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน
2. โรงรับจำนำสถานธนานุเคราะห์
- เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท คิดดอกเบี้ย 0.25% ต่อเดือน
- เงินต้น 5,001 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท คิดดอกเบี้ย 0.75% ต่อเดือน
- เงินต้น 10,001 บาท แต่ไม่เกิน 20,000 บาท คิดดอกเบี้ย 1.00% ต่อเดือน
- เงินต้น 20,001 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท คิดดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน
3. โรงรับจำนำเอกชน
- เงินต้นไม่เกิน 2,000 บาท คิดดอกเบี้ย 2% ต่อเดือน
- เงินต้นส่วนที่เกิน 2,000 บาทขึ้นไป คิดอัตราดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน (15% ต่อปี และไม่เกิน 24% ต่อปี)
ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและตายตัวนี่เอง ทำให้ผู้คนหันมาสนใจ อยากจะลองจำนำทอง 1 บาทดูบ้าง เพราะไม่ต้องกังวลเหมือนดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่อาจจะสูงขึ้น หากเราไม่สามารถผ่อนชำระได้ตามกำหนดของสินค้าและบริการนั้นๆ
วิธีคำนวณดอกเบี้ยจำนำทอง
จํานําทอง 1 บาท เสียดอกเท่าไหร่?
หากต้องการทราบว่าในจุดนี้ เรามีวิธีการคำนวณดอกเบี้ยง่ายๆ สำหรับโรงรับจำนำสถานธนานุเคราะห์หรือโรงรับจำนำทองของรัฐบาลมาฝากกัน
สมมติว่าเราจำนำทอง 1 บาท ได้เงินต้นมา 30,000 บาท สามารถคำนวณอัตราดอกเบี้ยจากข้อมูลข้างต้นได้ ดังนี้
เงินต้น 5,000 บาทแรก x 0.25% = 12.50 บาท
เงินต้น 25,000 x 1.25% = 312.5 บาท
ดังนั้น ตอบคำถามที่ว่าจำนำทอง 1 บาทเสียดอกเท่าไหร่? ก็คือ 12.50 + 312.50 = 325 บาทต่อเดือนนั่นเอง
(อ้างอิงอัตราดอกเบี้ย : http://pawnshop.bangkok.go.th/interest.html)
หรือหากยังนึกไม่ออก เราจะทำตารางคำนวณอัตราดอกเบี้ยการจำนำทอง 1 บาท 1 สลึง และทอง 2 บาทให้ดู ดังนี้คร่าวๆ ดังนี้
มูลค่าทอง |
เงินต้นที่ได้ |
อัตราดอกเบี้ย 5,000 บาทแรก |
อัตราดอกเบี้ย 5,000 – 15,000 บาท |
อัตราดอกเบี้ย 15,000 บาทขึ้นไป |
อัตราดอกเบี้ยที่ต้องชำระต่อเดือน |
1 สลึง |
2,000 บาท |
2,000 x 0.25% |
- |
- |
5 บาท |
1 บาท |
30,000 บาท |
5,000 x 0.25% |
- |
20,000 x 1.25% |
325 บาท |
2 บาท |
60,000 บาท |
5,000 x 0.25% |
- |
50,000 x 1.25% |
625 บาท |
ข้อควรรู้ก่อนที่จะจำนำทอง
- ระยะเวลาการไถ่ถอน
ตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ตั๋วรับจำนำมีอายุ 4 เดือน 30 วัน หากครบกำหนดระยะเวลาแล้ว และผู้จำนำยังไม่สามารถชำระเงินต้นเพื่อไถ่ถอนทองได้ แต่ยังคงชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถขยายระยะเวลาการไถ่ถอนออกไปได้ตามที่ตกลงกับเจ้าหน้าที่โรงรับจำนำ อย่างไรก็ดี หากขาดการชำระทั้งต้นและดอกเบี้ยจนพ้นกำหนดเวลา กรรมสิทธิ์ในทองนั้นจะตกเป็นของโรงรับจำนำทันที
- กรณีที่ตั๋วรับจำนำสูญหาย
หากตั๋วรับจำนำสูญหาย ควรรีบติดต่อเจ้าหน้าที่โรงรับจำนำทันที เพื่อขอออกใบแทนตั๋วรับจำนำฉบับใหม่ จากนั้น นำใบแทนตั๋วรับจำนำฉบับใหม่ไปแจ้งความหายและบันทึกประจำวันไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อได้ใบแจ้งความจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว ให้นำใบแจ้งความพร้อมใบแทนตั๋วรับจำนำฉบับใหม่นั้น กลับไปที่โรงรับจำนำ เพื่อดำเนินการไถ่ถอนทรัพย์สินหรือชำระดอกเบี้ยต่อไปตามปกติ
- ประเมินความสามารถในการผ่อนชำระและไถ่ถอนของตนเอง
ก่อนตัดสินใจจำนำทอง สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ การประเมินความสามารถในการผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยของตนเองอย่างรอบคอบ เนื่องจากโรงรับจำนำทุกแห่งจะมีกำหนดระยะเวลาการผ่อนชำระที่เคร่งครัด หากพ้นกำหนดเวลาผ่อนชำระแม้แต่เพียงวันเดียว กรรมสิทธิ์ในทองรูปนั้นก็จะตกเป็นของโรงรับจำนำทันที ดังนั้น จำเป็นต้องวางแผนการผ่อนชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยอย่างรอบคอบและเคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียกรรมสิทธิ์ในทองของตนเอง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการจำนำทอง 1 บาท จะทำให้เราสามารถได้เงินสดมาหมุนช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้เราได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเสียกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของทองได้ง่ายๆ หากเราไม่สามารถผ่อนชำระได้ตามเงื่อนไข
สำหรับใครที่ไม่อยากเสี่ยงที่จะเสียกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของทอง การใช้บัตรเครดิตเสริมสภาพคล่องทางการเงินก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี เพราะนอกจากจะได้ครอบครองทองไว้กับตัวเองแล้ว ยังสามารถใช้วงเงินบัตรเครดิตในการหมุนเวียนทางการเงินได้อีกด้วย อีกทั้งบัตรเครดิตยังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย เช่น บัตรเครดิต KTC สะสมคะแนน KTC FOREVER เครดิตเงินคืน ส่วนลดร้านอาหาร ส่วนลดร้านค้าออนไลน์ ฯลฯ สำหรับใครที่สนใจ สามารถสมัครบัตรเครดิต KTC ผ่านทางออนไลน์ได้ง่ายๆ ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC