ลุย ภูเขาไฟโบรโม่-คาวาอีเจี๊ยน ที่อินโดนีเซีย อย่างเซียน

โบรโม่” ภูเขาไฟที่ยังมีชีวิต 1 ใน 400 ลูกของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ที่เมือง Probolingo หมู่เกาะ East Java ที่เต็มไปด้วยความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ภูเขาไฟโบรโม่เป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คสำคัญที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากใน หมู่นักท่องเที่ยวที่มีหัวใจรักการผจญภัย ด้วยความที่ตั้งอยู่สูงเหนือน้ำทะเลกว่า 2,392 เมตร ทำให้ทิวทัศน์โดยรอบสวยงามแปลกตาจนที่นี่ติด 1 ใน 10 ที่เที่ยว ยอดนิยมของอินโดนีเซีย ถือเป็นประตูสู่ธรรมชาติที่ลึกลับน่าค้นหา

KW14_bromo3_Indonesia 

การเดินทางไป ภูเขาไฟโบรโม่

เริ่มต้นการเดินทางจากสนามบิน Juanda International Airport ในเมืองสุราบายา เมืองที่อยู่ใกล้กับภูเขาไฟโบรโม่มากที่สุด สามารถใช้บริการแอร์พอร์ตบัสจาก Juanda International Airport ไปยังสถานีขนส่ง Bungur Asih เพื่อเดินทางต่อไปยังเมืองโปรโบลิงโก้ก่อนจะต่อรถไฟ ยังหมู่บ้านเซโมโร ลาวังที่ตั้งอยู่บริเวณขอบปากของแอ่งภูเขาไฟ นักท่องเที่ยวจะต้องมีการเตรียมตัวที่ดีเริ่มตั้งแต่การเดินทางจากสุราบายาเพื่อเข้าสู่เมืองโปรโบลิงโก้ และส่วนมากจะหาที่พักแรมกันในหมู่บ้านเซโมโร ลาวังเพื่อจะได้ทันชมพระอาทิตย์ยามเช้า รวมไปถึงการได้เดินทางไปชื่นชมวิวสวย ๆ บนปากปล่องภูเขาไฟโบรโม่
 
เวลาที่สวยที่สุดของภูเขาไฟโบรโม่

ผู้คนส่วนใหญ่มักรีบเดินทางมาให้ถึงปากปล่องภูเขาไฟก่อนที่ฟ้าจะสางเริ่มกันตั้งแต่เวลาตี 3 ในยามเช้า จับจองที่เพื่อรอชื่นชมความสวยงามของแสงแรกของวัน ที่เริ่มส่องแสงอบอุ่นไล่ความสว่างจากยอดเขา ลงมายังพื้นราบเบื้องล่าง ให้เหล่านักเก็บภาพได้เก็บทุกความประทับใจอย่างเต็มอิ่ม

สำหรับนักปีนเขาหรือผู้ที่ต้องการท้าทายภูเขาไฟโบรโม่

สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะพิชิตยอดภูเขาไฟ โบรโม่ สามารถเดินหรือใช้บริการเช่าม้าขี่ไปยังเนินเขา ค่าเช่าม้าประมาณ 250 - 300 บาท แล้วต้องเดินต่อ ขึ้นบันไดที่ลาดชันตามแนวเขาอีกประมาณ 200 เมตร จึงจะพบกับทางเดินรอบปากปล่องภูเขาไฟซึ่งถือเป็นไฮไลท์ ของทริปนี้ ด้วยความยิ่งใหญ่ของตัวภูเขาไฟ และความ เวิ้งว้างของทิวทัศน์รอบ ๆ และวิวมุมสูงที่แสนแปลกตา ทำให้คุณอยากจะใช้เวลานาน ๆ เพื่อเก็บความประทับใจ ด้านบนนี้ผ่านทั้งภาพถ่ายและความทรงจำจนเต็มอิ่ม แต่ก็ต้องใช้ความระมัดระวังพอสมควรในระหว่าง การเดินชมเนื่องจากบริเวณนั้นเป็นสันทรายที่ค่อนข้างลื่น และอันตรายเพราะอยู่ในแนวสูง และเต็มไปด้วยหมอกควัน สีขาวพวยพุ่งจากปากปล่องภูเขาไฟ ควันเหล่านี้ที่ชาว บ้านในพื้นที่เรียกกันว่า “ลมหายใจของเทพเจ้า จากภูเขา ที่ยังมีชีวิต”
  

KW14_bromo2_Indonesia

 Tip

อุณหภูมิค่อนข้างหนาวเย็นในช่วงเวลากลางคืนและช่วงเช้ามืด ควรเตรียมเสื้อกันหนาว กางเกงขายาวและเสื้อผ้าที่เหมาะสมสำหรับการปีนเขาหรือการเดินเท้าในระยะไกล ๆ

KW14_Bromo4_Indonesia
 

เขาไฟคาวาอีเจ๊ยน (Kawah ijien)

อีกหนึ่งที่ที่ไม่ควรพลาดหากมีโอกาสได้ไปเยือนโบรโม่ คือ ภูเขาไฟคาวาอีเจี้ยน (Kawah ijen) เพราะทะเลสาบบนปากปล่องอดีตภูเขาไฟสีเทอร์ควอยซ์แห่งนี้มีความงามน่าอัศจรรย์ซ่อนอยู่ ที่นี่อยู่ห่างจากโบรโม่ออกไปทางตะวันออกประมาณ 200 กม. โดยต้องเดินทางต่อไปที่เมืองBondowoso ที่ถือเป็นประตูสู่ Kawah Ijen ผู้คนมักจะหาที่พักกันที่นี่ นอนเอาแรงสำหรับการผจญภัยยามค่ำคืนเพื่อไปชม Blue flame หรือแสงไฟสีฟ้าของภูเขาไฟคาวาอีเจี้ยนตั้งแต่ตอนตี 1 จุดเริ่มต้นของการเดินเท้าจะอยู่ที่ Paltuding ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์จากตัวเมืองประมาณ 45 นาที ไปยัง Paltuding เพื่อเดินเท้าระยะทาง 3 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ระหว่างทางความมืดมิดทำให้เราได้เห็นรายละเอียดของท้องฟ้ามากขึ้นทั้งกลุ่มดาวสวย ๆ และทางช้างเผือกที่คู่ควรแก่การเก็บภาพสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการเดินทางครั้งนี้คือไฟฉายและสภาพ

ร่างกายที่พร้อมเผชิญความเหน็ดเหนื่อยและอากาศที่ค่อนข้างเย็น ที่สำคัญคือควรมีผ้าปิดจมูกกันกลิ่นฉุนกำมะถันของที่นี่ ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหากสูดดมเข้าไปในปริมาณมาก สำหรับคนที่กังวลเรื่องการเดินทางสามารถจ้างไกด์ท้องถิ่นจาก Paltuding เพื่อนำทางและให้รายละเอียดต่าง ๆ ได้โดยสามารถต่อรองราคาได้เลยระหว่างทางอาจจะเจอชาวบ้านในพื้นที่แบกก้อนกำมะถันผ่านไปมา เพราะที่นี่ถือเป็นแหล่งผลิตกำมะถันแหล่งใหญ่ของอินโดนีเซีย พอเดินทางไปถึงบริเวณทะเลสาบแล้วจะสังเกตเห็นแสงไฟสีฟ้าสดที่เคลื่อนไหวไปมาอย่างสวยงามน่าตื่นตา Blue flame เหล่านี้คือเปลวไฟที่เกิดจากการเผาไหม้ของกำมะถันที่ก้นปล่องอดีตภูเขาไฟ และเมื่อแสงสว่างของดวงอาทิตย์เริ่มสาดแสงก็จะพบกับทะเลสาบสีเทอร์ควอยซ์ขนาดย่อม ๆ ที่สวยงามคุ้มค่าแก่การเดินทางแน่นอน

 Tip

การเดินทางเข้า Kawah Ijen มีค่าเข้าคนละ 35,000 รูเปีย (108 บาท) และหากต้องการจ้างไกด์พาเดินขึ้นต้องจ่ายค่าไกด์อีกประมาณ 150,000 รูเปีย (465 บาท) ส่วนค่าเข้าโบรโม่อยู่ที่ประมาณ 220,000 รูเปีย (594 บาท)

ที่มา: My World Vol.108 July-August 2017