เรื่อง & ภาพ Pongpol Adireksarn
เมื่อเอ่ยถึง “ธารน้ำแข็ง” พวกเราซึ่งอาศัยอยู่ซีกโลก ใต้ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนชื้นเกือบตลอดทั้งปี มีสภาพ แวดล้อมเป็นป่าฝนเขียวขจี คงจะนึกภาพของธารน้ำหรือแม่น้ำ สายใหญ่ที่กลายเป็นน้ำแข็งสีขาวโพลนไม่ออก หลายคนที่เคย เดินทางไปทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ หรือประเทศจีนตอนเหนือ ในช่วงฤดูหนาว อาจเคยเห็นทะเลสาบ หนอง บึง และแม่น้ำ บางสายกลายเป็นน้ำแข็ง ซึ่งแตกต่างจากธารน้ำแข็งที่ผมจะ นำไปชม เนื่องจากธารน้ำแข็งมิได้มีให้พบเห็นทั่วไป จะต้องอยู่ ในสภาพภูมิประเทศที่หนาวเย็น มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศา เซลเซียสตลอดทั้งปี ซึ่งร้อยละ 90 ของธารน้ำแข็งจะพบใน ดินแดนใกล้ขั้วโลกเหนือและใต้เท่านั้น แต่ก็ยังมีธารน้ำแข็งเกิด ขึ้นตามเทือกเขาที่สูงมากในทุกทวีป (ยกเว้นออสเตรเลีย) อาทิ เทือกเขาหิมาลัยในเอเชีย แอลปส์ในยุโรป และแอนดีสใน อเมริกาใต้ ฯลฯ
เมื่อเดือนต.ค.ปีที่ผ่านมาผมมีทริปไปถ่ายทำสารคดี มรดกโลก ณ ประเทศอาร์เจนตินา ได้พาคุณไปเยือน “แหลมวัลเดส (Valdes Peninsula)” มาแล้วในฉบับก่อน ส่วนฉบับนี้ผมจะพาไปเยี่ยมเยือนอทุยานแห่งชาติลอสกลาเซียเรส (Los Glacieres National Park) ที่ถือเป็น “ธารน้ำแข็ง มหัศจรรย์” ของทั้งประเทศอาร์เจนตินาและโลก การเดินทางไปอาร์เจนตินาต้องเดินทางหลายทอด จากกรุงเทพฯ ข้ามมหาสมุทรอินเดียไปนครโจแฮนเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ แล้วบินต่อข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไป ยังกรุงบัวเนสเอเรส เมืองหลวงของอาร์เจนตินาค้าง 1 คืนแล้วต่อเครื่องภายในประเทศไปยังแหลมวัลเดส เมื่อถ่ายทำ เสร็จเรียบร้อยก็บินข้ามประเทศจากฝั่งตะวันออกไปที่เมือง คาลาฟาเต้ (Calafate) ทางฝั่งตะวันตกและอยู่ใกล้กับ “อุทยานแห่งชาติลอส กลาเซียเรส”
คณะของผมเลือกพักที่ฟาร์มเลี้ยงแกะนอกเมือง แห่งหนึ่งซึ่งทำเป็นรีสอร์ท ตั้งอยู่ริมทะเลสาบอาร์เจนติโน (Lake Argentino) ทะเลสาบขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ รองรับน้ำแข็งที่ละลายมาจากธารน้ำแข็งหลายแห่งในอุทยานฯ และช่วงที่ผมไปเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนของทางซีกโลกใต้ (ต.ค. - มี.ค.) แต่อากาศเย็นสบาย มีแดดทั้งวัน ยังนึกชมบริษัททัวร์ เพราะ จากที่พักเดินทางโดยรถยนต์วิ่งเลียบทะเลสาบ ผ่านทุ่งหญ้า และป่า่สนเขียวขจีสวยงาม เป็นช่วงเวลา 1 ชม.ที่แี่สนสุขก่อนถึงจุดชมวิวแห่งแรก
ไกด์นำพวกเราไปชมแผนที่แสดงที่ตั้ง ของธารน้ำแข็งภายในอุทยานฯ ธารน้ำแข็งที่ตั้งใจ จะไปชมคือ ธารน้ำแข็งเปริโต โมรีโน (Perito Moreno Glacier) ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของธารน้ำแข็งจำนวน 48 แห่งของอุทยานฯ แต่เข้า ชมได้สะดวกมากที่สุด ซึ่ง “ธารน้ำแข็งโมรีโน” มีปลายทั้งด้านตะวันตก-ตะวันออก ไกด์อธิบายว่าที่เห็นอยู่ข้างหน้าคือปลายด้านตะวันตก และให้ เวลาพวกเราแค่เพียง 10 นาทีเพื่อเก็บภาพความสวยงามจากนั้นขอให้ทุกคนรีบกลับขึ้นเรือ เพื่อจะไปชมธารน้ำแข็งใกล้ๆ ที่มีความสวยงามไม่แพ้กัน
15 นาทีต่อมารถก็นำเราไปจอดใกล้กับ ท่า่เทียบเรื่อซึ่ง มีเีรือ นำชมธารน้ำแข็ง จอดอยู่หลายลำไกด์นำพวกเราขึ้นไปบนเรือ ลำหนึ่งที่มี 2 ชั้นกว้า้งขวาง ชั้นล่างเป็นห้องโถงใหญ่ มีหน้าต่างกระจกปิดมิดชิดเพื่อกันอากาศหนาว ส่วนชั้นบนเป็นดาดฟ้าซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกขึ้นไปยืนอยู่บนดาดฟ้าเพื่อถ่ายภาพ ทุกคนทราบล่วงหน้าถึงสภาพอากาศ และบนเรือที่มักจะมีลมพัดเย็นจึงได้เ้ตรียมเสื้อกันหนาว หมวก ผ้าพันคอ และถุงมือมากันครบ สักครู่เรือก็ เข้าใกล้ปลายด้านตะวันตกของ “ธารน้ำแข็งโมรีโน” ยิ่งใกล้ยิ่งเห็นความยิ่งใหญ่และความสวยงามเห็นซอกหลืบช่องธารน้ำแข็งยามเมื่อแสงแดดส่องกระทบจนกลายเป็นสีน้ำเงินสวย และเมื่อมองไปที่พื้นน้ำรอบเรือก็เ็ห็น “ภูเูขาน้ำแข็ง (Iceberg)” ซึ่งก็คือ ชิ้นส่วนของธารน้ำแข็งที่แตกและหล่นลงไปลอยอยู่ ในน้ำมากมายหลายก้อน และเมื่อถูกแสงแดดจะกลายเป็นสีฟ้า
เรือนำชมธารน้ำแข็งอยู่ครึ่งชั่วโมงจึง มุ่งหน้าสู่ฝั่ง เพื่อส่งผู้โดยสารทั้งหมดที่ท่าเรืออีก แยกเดินเป็นกลุ่มเล็กๆ พร้อมด้วยไกด์ 1 คน วิวงดงามที่พบระหว่างทางเดินบนธารน้ำแข็ง แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดที่จะนำเดินชมทิวทัศน์เลียบฝั่ง ไปยังธารน้ำแข็ง พวกเราเดินผ่านภูมิประเทศที่เป็น ป่าสนสวยงาม ผ่านชายฝั่งที่มองเห็นปลายด้าน ตะวันตกของธารน้ำแข็งอยู่ตลอดเวลา และเข้าใกล้ ธารน้ำแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะตามกำหนดการเรา จะขึ้นไปเดินบนธารน้ำแข็งด้วย ระหว่างทางพบ น้ำตกสูง
จากระยะไกลมองเห็นอะไรแขวนอยู่บนราว เป็นจำนวนมาก และคิดเลยเถิดกันไปว่าอาร์เจนตินา เป็นประเทศเลี้ยงปศุสัตว์ ส่งออกเนื้อวัวไปจำหน่าย ต่างประเทศ น่าจะเป็น “เนื้อตากลม (Air-dried Beef)” อย่างที่เคยเห็นในสวิตฯ จนกระทั่งเดินไปเห็น ชัดๆ กับตา ผมเรียกว่า เกี๊ยะเหล็ก ซึ่งไกด์อธิบายว่า พวกเราต้องสวมเกี๊ยะเหล็กเพื่อไปเดินบนธารน้ำแข็งและให้แต่ละคนเลือกตามขนาดรองเท้า (และต้อง สวมทับรองเท้าอีกชั้น) เมื่อเลือกได้แล้วให้ไปยืน เข้าแถวรอพนักงานอุทยานฯ สวมให้ ซึ่งพนักงานพวกนั้นมีความชำนาญในการสวมเกี๊ยะให้แน่นและ มั่นคง เพื่อเวลาเดินบนธารน้ำแข็งจะได้ไม่หลุด
ไกด์อธิบายว่า่ ผิวของธารน้ำแข็งคือ น้ำแข็งไม่ใ่ช่หิมะและไม่นุ่มถ้า้ใช้รองเท้า้ธรรมดาจะลื่น และถ้าหกล้มจะเป็นอันตราย เพราะพื้นผิวแข็งและคม เมื่อสวมเกี๊ยะกันเสร็จเรียบร้อย ทางอุทยานฯ จึงแบ่ง นักท่องเที่ยวออกเป็นกลุ่มย่อยๆ 10-15 คน โดยมี เจ้าหน้าที่คอยดูแลและให้คำอธิบายกลุ่มละ 1 คน สิ่งแรกที่เจ้าหน้าที่ชี้แจงคือวิธีการเดินบนธารน้ำแข็ง ด้วยเกี๊ยะเหล็ก และการปฏิบัติตนระหว่างเดิน เมื่อเริ่มเดินแรกๆ พวกเรายังไม่คุ้นจึงรู้สึกเงอะงะ สะดุดไปมา แต่เพียงครู่เดียวก็เดินทรงตัวกันได้คล่อง มองไปข้างหน้าเห็นนักท่องเที่ยว 2 กลุ่มเดินนำทาง กันไปแบบสบายๆ ทำให้มั่นใจว่าเราก็ต้องทำได้!
พวกเราเดินอยู่บนธารน้ำแข็งราว 1 ชม. พร้อมชื่นชมทิวทัศน์สวยงาม และความสนุกสนาน เพราะไม่มีใครได้เคยเดินบนธารน้ำแข็งกันมาก่อน เมื่อจบการเดินทางเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ก็เปิดแชมเปญ ใหด้ มื่ ฉลอง พรอ้มด้วยของกินเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ จากนั้นเดินกลับไปที่ท่าเรือเพื่อกินอาหารกลางวันกลับไปที่ท่าเรือเพื่อจะไปชมธารน้ำแข็ง ปลายด้า้นตะวัน ออกต่อ พร้อมนั่ง รถไต่ขึ้น เขาไปเรื่อย ๆ อีกเกือบครึ่งชม. จึงถึงสถานที่ซึ่งเป็นศูนย์กลางของ การชม “ธารน้ำแข็งโมรีโีน” เพราะเห็นมีรถนักท่องเที่ยวจอดอยู่เป็นจำนวนมาก มีร้านอาหาร ร้านค้าขายของ ที่ระลึก มีทางเดินลาดขึ้น-ลงหลายชั้นเพื่อไปชมปลาย ธารน้ำแข็งด้านตะวันออกใกล้ๆ โดยไม่ต้องลงเรือชม ตามทางเดินนั้นสามารถหยุดถ่ายรูปได้ตามใจชอบ เป็นมุมกว้างแบบพาโนรามาที่เห็นตัวธารน้ำแข็งได้ ทั้งหมด ธารน้ำแข็งโมรีโนกว้าง 5 กม. และยาว ลึกเข้าในหุบเขา 30 กม. สูงจากผิวน้ำ 74 เมตร และลึกลงไปในน้ำ 170 เมตร
ผมตื่นตากับโพรงและหลืบหลายจุดที่ธาร น้ำแข็งซึ่งมีสีฟ้าบ้าง สีน้ำเงินเข้มบ้าง ตัดกับสีขาว ของธารน้ำแข็งส่วนใหญ่ ทำให้กลายเป็นความงามที่ดูแูปลกตาระหว่า่งเดินชมปลายธารน้ำแข็งตะวันออก อยู่ๆ ก็ได้ยินเสียงครืนดังลั่นเป็นครั้งคราว คือเสียง ชิ้นส่วนของธารน้ำแข็งที่อุ่นขึ้นเนื่องจากเข้าสู่ฤดูร้อนจึง แตกออกและร่วงหล่นลงสู่พื้นน้ำนับเป็นปรากฏการณ์ ธรรมชาติที่มีผู้คนจำนวนหนึ่งสนใจคอยเฝ้าดู ปลายธารน้ำแข็งด้านตะวันออกมีความ สวยงามไม่แพ้ด้านตะวันตก อีกทั้งยังสามารถยืนชม นั่งชมได้สะดวก เพราะมีม้านั่งตัวยาวหลายตัวให้นั่ง ชมกันได้ทั้งวัน ผมขอชื่นชมการจัดการของ “อุทยาน แห่งชาติลอส กลาเซียเรส” ที่ได้มาตรฐานยูเนสโก สมกับเป็นมรดกโลกอย่างแท้จริง
ที่มา : นิตยสาร My World Vol.62 Jun 2012