เมื่ออายุเข้าสู่ 40 ปี ดวงตาจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงตามวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะสายตายาวตามอายุ (Presbyopia) ทำให้มองใกล้ไม่ชัดเจนเท่าเดิม การดูแลสายตาอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้บทความของเราจะมาบอกถึงความสำคัญของการดูแลสายตาในวัย 40 พร้อมแชร์วิธีป้องกันปัญหาสายตาที่อาจเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อน การทานอาหาร หรือพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง
ทำไมการดูแลสายตาในวัย 40 ปีถึงสำคัญ?
เมื่อคนเราอายุ 40 ปีขึ้นไป นอกจากสายตาจะเปลี่ยนแปลงไปตามวัยแล้ว ปัญหาที่ตามมาและสำคัญไม่แพ้กันก็คือความเสี่ยงของโรคตาที่เพิ่มขึ้น เช่น
- ต้อกระจก (Cataracts) : เลนส์แก้วตาขุ่นมัว ทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน
- ต้อหิน (Glaucoma) : ความดันในลูกตาสูงขึ้น ทำลายเส้นประสาทตาและอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร
- จอประสาทตาเสื่อม (Age-related Macular Degeneration - AMD) : จุดรับภาพชัดตรงกลางจอประสาทตาเสื่อม ทำให้มองเห็นภาพตรงกลางไม่ชัดเจน
- ตาแห้ง (Dry Eye): การผลิตน้ำตาลดลง ทำให้รู้สึกระคายเคือง แสบตา และมองเห็นไม่ชัด
ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น หรือให้มีความเสี่ยงในการเกิดขึ้นน้อยที่สุด เพราะในวัย 40 หลายคนยังคงต้องใช้สายตาอย่างหนักในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ การอ่านเอกสาร หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ การดูแลสายตาที่ดีจะช่วยรักษาสุขภาพดวงตาและชะลอความเสื่อมของดวงตาด้วย
แชร์ 7 วิธีป้องกันปัญหาสายตาที่อาจเกิดขึ้นในช่วงอายุ 40 ปี
1.พักสายตาอย่างสม่ำเสมอ
หากต้องใช้สายตาในการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออ่านหนังสือเป็นเวลานาน ควรพักสายตาด้วยกฎ 20-20-20 คือพัก ทุก 20 นาที ให้ละสายตาจากสิ่งที่ทำอยู่ แล้วมองไปยังวัตถุที่อยู่ไกลออกไปอย่างน้อย 20 ฟุต (ประมาณ 6 เมตร) อย่างพื้นที่สีเขียวใกล้ ๆ หรือถ้าใครนั่งทำงานบนตึกสูง ๆ ก็ลองมองออกไปนอกหน้าต่างไกล ๆ เป็นเวลา 20 วินาที
2.ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
เวลาใช้สายตาจ้องอะไร ควรปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการมองเห็นเพื่อลดการเพ่งสายตา โดยจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ รักษาระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างดวงตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหนังสือ หากรู้สึกตาแห้ง สามารถใช้น้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา
3.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสายตา
ดวงตาเป็นหนึ่งในอวัยวะของร่างกาย ดังนั้นพฤติกรรมการกินก็เป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่จะช่วยบำรุงสายตาได้ โดยให้เน้นเลือกผักผลไม้ หรืออาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น
- วิตามินเอ : พบใน ตับ ไข่แดง นม แครอท ฟักทอง ผักบุ้ง ตำลึง ช่วยในการมองเห็นในที่มืด
- วิตามินซี : พบใน ผลไม้ตระกูลส้ม ฝรั่ง บรอกโคลี พริกหวาน ช่วยต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างคอลลาเจนในดวงตา
- วิตามินอี : พบใน ถั่ว เมล็ดพืช น้ำมันพืช ช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหาย
- ลูทีนและซีแซนทีน : พบใน ผักใบเขียวเข้ม เช่น คะน้า ผักโขม บรอกโคลี ช่วยกรองแสงสีฟ้าและลดความเสี่ยงของจอประสาทตาเสื่อม
- โอเมก้า 3 : พบใน ปลาที่มีไขมัน เช่น แซลมอน ทูน่า แมคเคอเรล ช่วยลดการอักเสบและป้องกันตาแห้ง
4.พักผ่อนให้เพียงพอ
ควรนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง เนื่องจากคนเราใช้สายตามาทั้งวันทำให้อาจมีอาการตาล้าและการพักผ่อนให้เพียงพอก็จะมีส่วนช่วยให้ดวงตาได้พักและฟื้นฟูกล้ามเนื้อตาผ่อนคลาย รวมถึงช่วยลดความตึงเครียดจากการใช้สายตานาน ๆ
5.ลดการขยี้ตา
บางครั้งเราอาจรู้สึกคันตาจนอยากจะขยี้ตาแรง ๆ ให้หายเคือง แต่การขยี้ตาอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหนักกว่าเดิมจนกระจกตาเป็นรอย หรืออย่างร้ายแรงที่สุดคือเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ตา ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการขยี้ตาแรง ๆ แต่ถ้าหากมีอาการคันตาบ่อย ๆ ทำยังไงก็ไม่หาย ควรใช้น้ำตาเทียมหรือปรึกษาแพทย์เพื่อแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี
6.งดสูบบุหรี่
หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าการสูบบุหรี่ส่งผลเสียต่อตาอย่างไร เพราะเข้าใจว่าการสูบบุหรี่จะทำลายปอดโดยตรงอย่างเดียว แต่จริง ๆ สารพิษในบุหรี่จะเข้ามาทางเส้นเลือด ทำให้สามารถทำลายหลอดเลือดในดวงตา ทำให้หลอดเลือดตีบเล็กลง และเกิดปัญหาในการหมุนเวียนเลือด เมื่อได้รับสารพิษจากควันบุหรี่นาน ๆ เข้า ก็ทำให้การมองเห็นลดลงจนเกิดอาการตาบอดได้
7.สวมแว่นตาที่เหมาะสม
เมื่ออายุเข้าสู่ 40 ปี เลนส์แก้วตาจะเริ่มสูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้สายตายาวตามอายุ ซึ่งในคนที่สายตาสั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อาจจะเกิดอาการสายตาสั้นและยาวพร้อมกันได้ อาจลองเปลี่ยนจากแว่นตาที่ตัดตามค่าสายตาเดิมมาใช้เลนส์ที่เหมาะกับคนอายุ 40+ มากขึ้น
อายุ 40 ปีแล้ว เลือกเลนส์สายตาแบบใดดี?
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าเมื่ออายุ 40 ปีแล้ว โดยส่วนใหญ่จะเริ่มอ่านหนังสือหรือดูสมาร์ทโฟนไม่ชัดในท่าทางเดิม อาจจะต้องยืดแขนเพื่อให้มองเห็นชัดขึ้น อาการนี้คือสัญญาณบอกว่า คุณเริ่มมีสายตายาวตามอายุ ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาสายตาขึ้น อาจจะใช้วิธีดูแลป้องกันแบบผิวเผินไม่ได้ แต่จะสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยแว่นสายตา
ประเภทของเลนส์
เลนส์สายตาที่ใช้แก้ปัญหาการมอง มี 4 ประเภท
- 1. เลนส์ชั้นเดียว ช่วยให้คุณมองเห็นชัดได้เพียงระยะเดียว เช่น อ่านหนังสือได้ชัด แต่ดูทีวีไม่ชัด
- 2. เลนส์ 2 ชั้น ลักษณะของเลนส์จะมีรอยต่อของเลนส์ 2 ชิ้น ช่วยให้คุณมองเห็นได้ 2 ระยะ คือ ระยะใกล้เช่นเล่นไลน์ และระยะไกลเช่นขับรถ แต่ระยะกลางเช่นการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ การทำอาหาร จะมองไม่ชัด และเห็นภาพกระโดดเมื่อกวาดสายตาจากใกล้ไปไกล
- 3. เลนส์โปรเกรสซีฟ คือ เลนส์ที่มีหลายค่าสายตา และไม่มีรอยต่อ ช่วยให้คุณมองเห็นชัดทุกระยะ ทุกการทำกิจกรรม จึงใช้งานสะดวกสบายกว่าเลนส์ 2 ชนิดแรก รวมถึงยังช่วยถนอมค่าสายตา ไม่ไห้เปลี่ยนแปลงเร็วเกินไปอีกด้วย
- 4. เลนส์เฉพาะทาง คือ เลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับผู้ที่ใช้สายตาอยู่กับกิจกรรมใดๆมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน เช่น ผู้ที่ต้องใช้สายตามองหน้าจอโน้ตบุ๊กตลอดทั้งวันมากกว่า 4 ชั่วโมง
หากคุณสงสัยว่าตัวเองมีสายตายาวตามอายุหรือไม่ สามารถรับบริการตรวจวัดสายตาฟรี ได้ที่ร้านแว่นท็อปเจริญทุกสาขา เรายินดีบริการดูแลดวงตาด้วยดวงใจ
โปรโมชั่นที่ แว่นท็อปเจริญ กับบัตรเครดิต KTC
แลกคะแนนรับเครดิตเงินคืน 12%
เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต KTC ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป และใช้คะแนน KTC FOREVER ตั้งแต่ 1,000 คะแนนขึ้นไป แลกคะแนนสูงสุดไม่เกินยอดใช้จ่ายต่อเซลส์สลิป (เครดิตเงินคืนคำนวณจากคะแนนที่แลก)
1 ม.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68
การมีสายตาที่ดีมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หากมีปัญหาทางสายตาที่ไม่ได้รับการแก้ไข อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นใจและคุณภาพชีวิตโดยรวม ลองปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงเลือกแว่นดี ๆ สักอันไว้ปกป้องสายตาของเรา และอย่าลืมเลือกใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต KTC เพราะจะช่วยให้ได้รับความคุ้มค่าที่มากกว่า กับโปรโมชั่นจากร้านแว่นชั้นนำอย่าง แว่นท็อปเจริญ พิเศษสำหรับสมาชิกบัตรเครดิต KTC ใครสนใจโปรโมชั่นดี ๆ แบบนี้ แต่ยังไม่มีบัตรฯ สามารถกดสมัครบัตรเครดิต KTC ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ทุกที่ทุกเวลา พร้อมรับคะแนน KTC FOREVER จากทุกการใช้จ่าย สะสมได้ไม่จำกัด และไม่มีวันหมดอายุ สามารถใช้คะแนนแลกรับส่วนลดหรือเครดิตเงินคืนได้ สมัครบัตรเครดิต KTC ไม่ยาก กดสมัครได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC