คุณสมบัติครบ รับเงินอุดหนุนได้จนถึงลูกอายุ 6 ขวบ
ผู้ประกันตนของประกันสังคมที่กำลังตั้งครรภ์หรือมีลูกน้อย ห้ามพลาดข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวกับบุตรของตนเอง เพราะนอกจากค่าคลอดบุตรประกันสังคมแล้ว ประกันสังคมมีเงินสมทบที่ช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูบุตรส่งให้เป็นประจำทุกเดือน แต่ผู้ประกันตนจะต้องยื่นขอสิทธิด้วยตนเอง คนที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังจะคลอดลูกสามารถศึกษารายละเอียดการขอเงินอุดหนุนบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรได้ที่นี่เลย
เลือกอ่านตามหัวข้อ
สิทธิประกันสังคมเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตร
ประกันสังคมมีสิทธิประโยชน์ให้คุณแม่ตั้งครรภ์
คนที่มีประกันสังคมสามารถรับสิทธิที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์และการคลอดได้ตั้งแต่การลาคลอด การรับเงินค่าทำคลอด และการสงเคราะห์บุตรได้ผ่านประกันสังคม ดังนี้
1.) การลาคลอด
เงื่อนไข:
- ต้องเป็นผู้ประกันตนประกันสังคม ม.33
- จ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนกำหนดคลอดบุตร
สิทธิประโยชน์:
ประกันสังคมลาคลอดได้กี่วันเป็นสิ่งที่ผู้ประกันตนควรรู้ โดยผู้ประกันตนที่ตั้งครรภ์สามารถลาคลอดได้สูงสุด 98 วัน โดยได้รับเงินเดือนจากนายจ้างเต็มจำนวนใน 45 วันแรก และ 8 วันที่ลาเพื่อตรวจครรภ์หรือตรวจสุขภาพหลังคลอด ส่วนประกันสังคมจะจ่ายเงินเดือน 50% ในช่วงวันที่เหลือ
2.) ค่าใช้จ่ายคลอดบุตร
เงื่อนไข:
- ต้องเป็นผู้ประกันตนประกันสังคม ม.33
- จ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนกำหนดคลอดบุตร
สิทธิประโยชน์:
ผู้ประกันตนที่คลอดบุตรจะสามารถเบิกค่าฝากท้องประกันสังคม คนละ 1,500 บาท และได้รับเงินสมทบค่าคลอดบุตร 15,000 บาท/ครั้ง ไม่จำกัดจำนวนครั้ง หากทั้งสามีและภรรยามีประกันสังคมทั้งคู่ ให้เลือกใช้ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
3.) การสงเคราะห์บุตร
เงื่อนไข:
- ต้องเป็นผู้ประกันตนประกันสังคม ม.33 หรือ ม.39
- จ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนรับเงินสงเคราะห์บุตร
- เป็นบุตรโดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่รวมบุตรบุญธรรม หรือบุตรที่ยกให้เป็นลูกบุญธรรมของผู้อื่น
สิทธิประโยชน์:
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสมทบเป็นประจำทุกเดือน โดยบุตร 1 คนจะได้รับเดือนละ 800 บาท สูงสุดคราวละ 3 คนเท่านั้น และรับเงินสงเคราะห์บุตรได้จนบุตรอายุถึง 6 ปี ซึ่งการสงเคราะห์บุตรจะเข้าทุก ๆ สิ้นเดือน หากสิ้นเดือนตรงกับวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ เงินสงเคราะห์บุตรจะเลื่อนเป็นวันก่อนหน้าวันหยุด พ่อแม่หลายคนพลาดสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตรเพราะความไม่รู้ หากไปยื่นย้อนหลัง เงินสงเคราะห์บุตรเข้าย้อนหลังไหม สำนักงานประกันสังคมระบุว่าเงินจะเข้าย้อนหลังตามเงื่อนไข และย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี การรับเงินสงเคราะห์บุตรมีข้อควรระวังคือหากขาดส่งประกันสังคมจะทำให้เงินสงเคราะห์บุตรไม่เข้า เพื่อรักษาสิทธิจึงควรตรวจสอบสถานะการจ่ายประกันสังคมเป็นประจำทุกเดือนด้วย
ทั้งหมดนี้คือสิทธิประโยชน์ที่ได้จากประกันสังคมที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร ซึ่งจริง ๆ ถือเป็นความช่วยเหลือส่วนหนึ่งในเรื่องของค่าใช้จ่าย แต่ในความเป็นจริงการคลอดบุตรมีค่าใช้จ่ายหลายส่วนที่อาศัยเพียงเงินประกันสังคมอาจจะไม่เพียงพอ ตัวช่วยอีกอย่างที่ควรมีคือบัตรเครดิต เพราะบัตรเครดิตจะเป็นตัวช่วยในการใช้จ่ายฉุกเฉิน ไม่ต้องมีเงินก้อนก็สามารถรูดจ่ายได้ แล้วผ่อนชำระทีหลัง ที่สำคัญบัตรเครดิตยังมีโปรโมชั่นกับร้านค้าหลากหลายหมวดหมู่ สามารถซื้ออุปกรณ์เด็กอ่อนได้ รวมถึงรูดจ่ายค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่รับบัตรเครดิตได้อีกด้วย
สมัครบัตรเครดิต เตรียมพร้อมใช้จ่ายสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่
ประกันสังคมให้ความช่วยเหลือในเรื่องเงินชดเชยเมื่อลาคลอด ค่าทำคลอด และเงินสงเคราะห์บุตร แต่ยังมีเงินอีกส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูบุตร แต่คนมักจะสับสนกับเงินสงเคราะห์บุตรของประกันสังคม นั่นก็คือเงินอุดหนุนบุตร
เงินอุดหนุนบุตรคืออะไร
เงินสงเคราะห์บุตรและเงินอุดหนุนบุตรไม่เหมือนกัน โดยเงินสงเคราะห์บุตรเป็นสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม ขณะที่เงินอุดหนุนบุตรมาจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ผู้ที่ได้รับเงินอุดหนุนบุตรไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม บุคคลทั่วไปก็สามารถรับสิทธินี้ได้ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด
- เงื่อนไขการรับเงินอุดหนุนบุตร
ผู้ที่สามารถรับเงินอุดหนุนบุตรได้จะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในครอบครัวยากจน กำหนดตามเกณฑ์รายได้ คือ สมาชิกในครอบครัวจะมีรายได้เฉลี่ยต่อคนไม่เกิน 100,000 บาท/ปี ส่วนคุณสมบัติบุตรจะต้องอายุไม่เกิน 6 ปี และอาศัยอยู่บ้านเดียวกับผู้ขอเงินอุดหนุนบุตร
- เงินอุดหนุนบุตรเข้าวันไหน
ผู้ที่ได้รับสิทธิเงินอุดหนุนบุตรจะได้รับเงินเดือนละ 600 บาทต่อบุตร 1 คน มีกำหนดการโอนเงินในวันที่ 10 ของทุกเดือน หากวันที่ 10 ตรงกับวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์จะเลื่อนวันโอนเงินมาก่อนหน้าวันหยุด
- เงินอุดหนุนบุตรไม่เข้าทำอย่างไร
กรณีที่เงินอุดหนุนบุตรไม่เข้า สามารถเช็คเงินอุดหนุนบุตรได้ที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ http://www.dsdwservice.dsdw.go.th/Petitions/CheckStatus เพื่อตรวจสอบสถานะการรับเงินอุดหนุนบุตร
เงินอุดหนุนบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรอาจจะไม่ใช่อย่างเดียวกัน แต่ผู้ประกันตนประกันสังคมที่มีรายรับน้อยตามเกณฑ์ที่สามารถขอเงินอุดหนุนได้ จะมีสิทธิรับทั้งเงินสงเคราะห์บุตรและเงินอุดหนุนบุตรได้ในคราวเดียวกัน
วิธีการยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรและอุดหนุนบุตร
เงินสงเคราห์บุตรและเงินอุดหนุนบุตรช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็ก
การยื่นเอกสารสมัครรับเงินสงเคราะห์บุตรและอุดหนุนบุตรช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองได้ระดับหนึ่ง ช่วงตั้งครรภ์จึงควรมีการวางแผนการใช้เงินรัดกุม เก็บเงินสำรองเอาไว้ และเตรียมเอกสารสำหรับรับสิทธิประกันสังคมและสิทธิอื่น ๆ ที่พึงได้ สำหรับการยื่นเอกสารเงินสงเคราะห์บุตรและอุดหนุนบุตรมีดังนี้
การยื่นเอกสารสงเคราะห์บุตร
เอกสารสงเคราะห์บุตรสามารถยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด ยกเว้นสำนักงานใหญ่ บริเวณกระทรวงสาธารณสุข มีเอกสารที่ต้องเตรียม ดังนี้
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
- สำเนาสูติบัตรบุตร
- สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่า พร้อมหลักฐานการเป็นผู้ดูแลบุตรจากศาล ในกรณีที่ผู้ประกันตนชายเป็นผู้ยื่นสิทธิบุตร
- เอกสารใบเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
- สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) ในกรณีที่ผู้ประกันตนเป็นชาวต่างชาติ
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ โดยจะต้องเป็นธนาคารดังต่อไปนี้ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
การยื่นสงเคราะห์อุดหนุนบุตร
เอกสารสำหรับยื่นรับสิทธิอุดหนุนบุตร สามารถยื่นได้ที่สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ศาลาว่าการเมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลในแต่ละจังหวัด มีเอกสารที่ใช้ดังนี้
- แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ดร. 01)
- แบบรับรองสถานะครัวเรือน (ดร.02)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง
- สูติบัตรเด็กแรกเกิด
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากสำหรับโอนเงินเข้า ใช้ได้เฉพาะธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก
- ใบรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ของสมาชิกทุกคนในครอบครัว
- สำเนาเอกสาร บัตรข้าราชการ หรือเอกสารที่สามารถใช้เพื่อแสดงตนของผู้รับรองได้
คนที่ไม่อยากพลาดสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตรและอุดหนุนบุตรควรยื่นเอกสารให้เรียบร้อย แล้ววางแผนการใช้จ่ายให้ดี สมัครบัตรกดเงินสดเพื่อเพิ่มความอุ่นใจว่ามีเงินก้อนสำรองเอาไว้ในยามฉุกเฉิน และบัตรเครดิตยังคงเป็นตัวช่วยที่ไม่ควรมองข้าม อย่างน้อยโปรโมชั่นในบัตรเครดิตช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เวลาซื้อของกับร้านค้าพาร์ทเนอร์ เพื่อใช้จ่ายในช่วงแรกคลอด รวมไปถึงบัตรเครดิตมักจะมีโปรโมชั่นหลากหลายหมวดหมู่ ซึ่งมีโปรโมชั่นเกี่ยวกับการใช้จ่ายในโรงพยาบาล การซื้อของสำหรับเด็กเล็ก และการแต่งห้องลูกน้อย การมีบัตรเครดิตเอาไว้อุ่นใจกว่ามาก คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่มีเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาทจึงควรสมัครบัตรเครดิตเอาไว้สักใบ
อ้างอิงข้อมูลจาก : สำนักงานประกันสังคม, กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เตรียมความพร้อมเพื่อลูกน้อยกับบัตรเครดิต KTC
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี
บทความ

วิธีเช็คเงินค่าคลอดบุตรประกันสังคม ทำผ่านแอปง่ายๆ
สำหรับผู้ประกันตน ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากสำนักงานประกันสังคม รวมถึงผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ สามารถรับสิทธิเงินค่าคลอดบุตร ได้ตามเงื่อนไขแบบเหมาจ่ายได้

วิธีต่อประกันสังคม เรื่องควรรู้ของคนอยากออกจากงาน
ประกันสังคมเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานของคนทำงาน มีความคุ้มครองหลายกรณี และเมื่อออกจากงานแล้ว ประกันสังคมก็ยังคงคุ้มครองอยู่ หากมีการต่อประกันสังคมอย่างถูกต้อง

เบิกค่าคลอดประกันสังคม จ่ายอะไรให้บ้าง มีหลักเกณฑ์
เรื่องควรรู้สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่เริ่มตั้งครรภ์และมีสิทธิผู้ประกันตนประกันสังคม สามารถใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรและค่าฝากครรภ์ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด