ควรทำอย่างไร เมื่อเข้าสู่ระบบ Home Isolation
หลังสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 ของไทยเข้าขั้นวิกฤต ยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกิดภาวะผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล ทำให้โรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามหลายแห่งประกาศงดรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ เนื่องจากเตียงรองรับผู้ป่วยไม่เพียงพอ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จึงนำการรักษาในรูปแบบ Home Isolation มาใช้กับผู้ป่วยสีเขียวที่มีอาการไม่หนักและสามารถรักษาตัวที่บ้านได้ ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์และพยาบาล เพื่อลดการครองเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด ส่วนวิธีประเมินผู้ป่วยที่เข้าข่าย Home Isolation มีอะไรบ้าง ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร มาดูกัน
Home Isolation คืออะไร
Home Isolation เป็นอีกแนวทางในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาล หรือเคยได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเพียงระยะสั้น ๆ เมื่ออาการดีขึ้น แพทย์จึงให้กลับไปแยกรักษาตัวต่อที่บ้าน โดยผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ต้องแยกกักตัวอยู่บ้านเพื่อลดการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น ทั้งนี้ตลอดระยะเวลากักตัวมีทีมแพทย์ พยาบาล คอยติดตามอาการอย่างใกล้ชิดผ่านทาง Telehealth เพื่อสร้างความมั่นใจในกับผู้ป่วย และถ้าผู้ป่วยในระบบ Home Isolation มีอาการรุนแรง เปลี่ยนจากระดับสีเขียว เป็นสีเหลือง หรือสีแดง ทางทีมแพทย์ที่ดูแลจะประสานงานกับโรงพยาบาลในการจัดหาเตียง
เกณฑ์การประเมินผู้ป่วยที่เข้าข่าย Home Isolation
- เป็นผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี
- เป็นผู้ป่วยที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ มีสุขภาพร่างกายแข็ง
- ประเมินปัจจัยแวดล้อม เช่น มีห้องนอน ห้องน้ำ ที่แยกการใช้งานจากคนอื่นในบ้าน อยู่คนเดียวหรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน
- หากมีโรคประจำตัว ต้องเป็นผู้ที่มีอาการคงที่สามารถควบคุมโรคได้ ไม่มีภาวะอ้วน ไม่ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
- ผู้ป่วยยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเองอย่างเคร่งครัด
Home Isolation มีแนวทางดูแลผู้ป่วยอย่างไร
- ทีมแพทย์ พยาบาล จัดส่งที่วัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนให้กับผู้ป่วยที่บ้าน พร้อมให้คำปรึกษา สอบถามอาการผ่านโทรศัพท์วันละ 1 ครั้ง
- หากมีไม่มีอาการ แพทย์สั่งจ่ายยาฟ้าทะลายโจร แต่ถ้าเริ่มมีอาการหรือมีโรคประจำตัวที่สามารถควบคุมได้ แพทย์จะสั่งจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ซึ่งเป็นยาต้านเชื้อไวรัสให้ผู้ป่วย
- ส่งอาหารให้ผู้ป่วยที่บ้าน 3 มื้อ โดยค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ทางโรงพยาบาลจะเบิกจ่ายกับ สปสช. แบ่งเป็นค่าอุปกรณ์ไม่เกิน 1,100 บาท และค่าดูแลผู้ป่วยรวมอาหาร 3 มื้อ ไม่เกิน 1,000 บาทต่อวัน
เมื่อเข้าสู่ระบบ Home Isolation กักตัวอยู่บ้าน ต้องทำอย่างไร
(1) ห้ามผู้ใดมาเยี่ยมที่บ้าน และงดออกจากบ้านระหว่างแยกตัว
(2) อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือเด็ก
(3) หากจำเป็นต้องเข้าใกล้ผู้อื่นต้องสวมหน้ากากอนามัยและอยู่ห่างอย่างน้อย 1 เมตร หรือประมาณหนึ่งช่วงแขน หากไอจามไม่ควรเข้าใกล้ผู้อื่นหรืออยู่ห่างอย่างน้อย 2 เมตร และให้หันหน้าไปยังทิศทางตรงข้ามกับตำแหน่งที่มีผู้อื่นอยู่ด้วย
(4) แยกห้องพักและของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่น หากแยกห้องไม่ได้ควรแยกบริเวณที่นอนให้ห่างจากคนอื่นมากที่สุด และควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ควรนอนร่วมกันในห้องปิดที่ใช้เครื่องปรับอากาศ
(5) หลีกเลี่ยงการทานอาหารร่วมกัน ควรให้ผู้อื่นจัดหามาให้แล้วทานในห้องตนเอง แต่ถ้าสั่งอาหารมาทานเอง แนะนำให้จัดพื้นที่ไว้วางอาหาร เพื่อให้ผู้ส่งอาหารวางของไว้ แล้วคุณค่อยออกไปนำอาหารเข้าบ้านในภายหลัง
(6) สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ตลอดเวลาที่จะออกมาจากห้องพัก
(7) ล้างมือด้วยสบู่หรือทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่ต้องสัมผัสกับผู้อื่น หรือหยิบจับของที่ต้องใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ก๊อกน้ำ หรือมือจับตู้เย็น
(8) แยกซักเสื้อผ้า ผ้าขนหนู และเครื่องนอน ด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอก
(9) ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น หากเลี่ยงไม่ได้ ให้ใช้คนสุดท้าย ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำและหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ
(10) ทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วและขยะที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งให้ใส่ถุงพลาสติก ก่อนนำไปทิ้งถังขยะที่ฝาปิดมิดชิด พร้อมติดป้ายบอกว่าเป็นขยะประเภทไหน
จ่ายค่าอาหารผ่านบัตรเครดิต ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด...กรอกข้อมูลที่นี่
แนะไอเทมควรมี หากต้อง Home Isolation กักตัวอยู่บ้าน
สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 แล้วต้องกักตัวที่บ้านหรือ Home Isolation แน่นอนว่านอกจากมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขแล้ว ยังมีสิ่งของจำเป็นที่ต้องตระเตรียมไว้ให้พร้อม เพื่อใช้ยามต้องบ้านเป็นเวลานาน
1. สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น
ไม่ว่าจะเป็นข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม อาหารกึ่งสำเร็จรูป หรืออาหารกระป๋อง แม้มีแนวทางดูแลผู้ป่วยที่เข้าร่วมระบบ Home Isolation จะมีเจ้าหน้าที่คอยส่งอาหารให้ 3 มื้อต่อวัน แต่เพื่อความไม่ประมาทการมีสิ่งของเหล่านี้เตรียมไว้ ก็ช่วยให้คุณรังสรรค์เมนูโปรดของตนเองได้ นอกจากนี้ของใช้ประจำวัน อย่าง ผงซักฟอก สบู่ ผ้าอนามัย หรือยาสีฟัน ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
2. อุปกรณ์ป้องกันตัวเอง
หน้ากากอนามัย สบู่ล้างมือ ทิชชู่เปียกฆ่าเชื้อ หรือเจลแอลกอฮอล์ที่มีแอลกอฮอล์ในระดับ ไม่เกิน 70% ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการป้องกัน COVID-19 ที่ควรซื้อติดบ้านไว้ เพราะถึงคุณต้องอยู่ภายในห้องพักหรือบ้านตลอด 24 ชั่วโมง แต่ยังต้องหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ทั้งยังต้องใช้เจลแอลกอฮอล์หรือทิชชู่เปียกฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดจุดต่าง ๆ ที่คุณสัมผัส หรือกระทั่งฉีดฆ่าเชื้อที่ถุงใส่อาหาร
3. บรรจุภัณฑ์อาหาร
จานชาม ช้อนส้อม แก้วน้ำ หรือหลอด สิ่งหนึ่งที่ควรต้องแยกกันใช้ เพราะสารคัดหลั่งของผู้ป่วยอาจปนเปื้อนบนอาหารหรือบริเวณโดยรอบ ฉะนั้นการเตรียมสิ่งของเหล่านี้ให้พร้อม ก็ช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อและเป็นการสร้างสุขอนามัยที่ดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
4. ยารักษาโรค
ยาสามัญประจำบ้าน เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้น อาทิ ยาลดไข้ เจลลดไข้ ยาแก้แพ้ และยาแก้ไอ ก็ต้องจัดหามาเตรียมไว้ให้ครบ
5. ถุงมือยาง
หากไม่อยากต้องล้างมือบ่อย ๆ แนะนำให้เลือกสวมถุงมือยางเวลาจับสิ่งของต่าง ๆ นอกจากลดการเอาตัวเองไปเสี่ยง การใช้ถุงมือยางถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดวิธีหนึ่งเช่นกัน
6. อุปกรณ์เบ็ดเตล็ด
สิ่งที่สำคัญต้องเตรียมไว้ นั่นคือ ถ่านไฟฉาย ไฟฉาย รางปลั๊กไฟ และแบตเตอรี่สำรอง เพื่อไว้ชาร์จมือถือหรือเตรียมไว้เวลาไฟดับ
7. อุปกรณ์ที่ช่วยคลายเครียด
แม้ภายในห้องพักที่คุณใช้ในการกักตัวจะมีสมาร์ททีวีให้เลือกรับชมความบันเทิง หรือมีสมาร์ทโฟนไว้ในเล่นเกมมือถือคลายเครียด แต่บางห้องอาจไม่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกดังกล่าว และคงดีไม่น้อยถ้ามีไอแพด โน๊ตบุ๊ค หรือแท็บเล็ตไว้ดูซีรีส์ ดู Netfilx เรื่องโปรด มีเครื่องเล่นเกมพกพา เกมคอนโซล อย่าง PS4 หรือ PS5 ไว้จัดปาร์ตี้เกมกับแก๊งเพื่อน นอกจากนี้การเตรียมหนังสือนิยาย และอุปกรณ์ออกกำลังกายไว้เล่นระหว่างกักตัว ก็ช่วยให้บรรเทาความเครียดระหว่างกักตัว แถมได้สุขภาพดีเป็นของแถมอีกด้วย
เมื่อต้องกักตัวที่บ้าน การมีไอเทมจำเป็นในข้างต้นช่วยให้ผู้ป่วยโควิด-19 กักตัวอยู่บ้านได้อย่างมีความสุขมากขึ้น และเพื่อลดความเสี่ยงจากการสัมผัสธนบัตรหรือเหรียญที่อาจมีเชื้อ COVID-19 การใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตแทนเงินสด ถือเป็นตัวเลือกที่สะดวกและปลอดภัยแถมยังสะดวกปลอดภัยกว่าการใช้เงินสดอย่างมาก เพราะทุกวันนี้นอกจากช้อปปิ้งออนไลน์แล้ว คุณสามารถชำระค่าอาหารจากแอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ได้อีกด้วย
สำหรับสายช้อปที่มีแพลนเลือกซื้อเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เจลแอลกอฮอล์ ปรอทวัดไข้ หรือหน้ากากอนามัย อย่าลืมตรวจสอบโปรโมชั่นส่วนลด คูปอง และโค้ดส่วนลดต่าง ๆ ก่อนซื้อ หลายแอปนอกจากจะมีคูปองส่งฟรี คูปองส่วนลดแล้ว ยังมีโค้ดส่วนลดหรือโปรโมชั่นพิเศษจากบัตรเครดิต เช่น เครดิตเงินคืน หรือรับคะแนนสะสม เพิ่มความคุ้มค่าไปอีกระดับ แต่ถ้าคุณกำลังมองหาวิธีจ่ายเบี้ยประกันภัยสุขภาพ หรือประกันภัยโควิด มีบริษัทประกันภัยหลายแห่งจับมือกับเจ้าของบัตรเครดิต จัดโปรโมชั่นผ่อน 0% มาให้เลือกใช้บริการเช่นกัน
อ้างอิงข้อมูล : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
แบ่งจ่ายค่าอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ผ่านบัตรเครดิต พร้อมรับโปรผ่อน 0%...ที่นี่
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี
บัตรกดเงินสดแหล่งเงินสดสำรอง ช่วยให้อุ่นใจยามเจ็บป่วย
เบิกถอนเงินสด แบ่งผ่อนชำระได้ทุกที่ทุกเวลา