ใบขับขี่หมดอายุทำยังไง? สามารถขับรถต่อได้ไหม
สำหรับคนมีรถยนต์ไว้ใช้งานในชีวิตประจำวัน รู้ไหมว่ามีสิ่งสำคัญที่ต้องพกติดตัวไว้เสมอ นั่นคือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ (ใบขับขี่) หรือบัตรประจำตัวของผู้ขับขี่ เอกสารทางราชการที่ยืนยันว่าผู้มีใบขับขี่เป็นบุคคลที่มีศักยภาพในการขับยานพาหนะดังกล่าว โดยใบขับขี่มีหลายประเภทแตกต่างกันไปตามการใช้งานและประเภทของรถ หากผู้ใช้รถไม่มีใบขับขี่หรือใบขับขี่หมดอายุจะถือว่าผิดกฏจราจรซึ่งมีโทษปรับตามกฏหมาย
ใบขับขี่มีอายุกี่ปี? มีแบบไหนบ้าง
ใบขับขี่รถยนต์
สำหรับใบอนุญาตขับขี่ที่ออกโดยกรมการขนส่งทางบก จะถูกแยกออก เป็น 2 ประเภท คือ
(1) ใบขับขี่ประเภทส่วนบุคคล (บ.)
ใบอนุญาตให้เป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล สำหรับการใช้งานขับขี่แบบส่วนบุคคล รวมถึงการเคลื่อนย้ายหรือทำการขนส่งเพื่อการค้าในเฉพาะประเภทธุรกิจส่วนตัวเท่านั้น ซึ่งจะเป็นรถประเภทที่มีแผ่นป้ายทะเบียนสีขาว ตัวเลขและตัวอักษรสีดำ
(2) ใบขับขี่ประเภททุกประเภท (ท.)
ใบอนุญาตให้เป็นผู้ขับรถประเภททุกประเภท สำหรับรถสาธารณะไว้ใช้เพื่องานรับจ้างได้ ป้ายทะเบียนรถจะเป็นพื้นสีเหลือง โดยใบขับขี่ประเภทนี้สามารถใช้ทดแทนใบอนุญาตประเภทส่วนบุคคลได้
นอกจากนี้การทำใบขับขี่ยังสามารถทำได้ทั้งแบบชนิดชั่วคราว และใบอนุญาตขับขี่แบบทั่วไป ที่จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของอายุการใช้งาน ซึ่งผู้ที่ทำใบขับขี่ใบแรกและครั้งแรกจะได้รับในส่วนของใบขับขี่ชนิดชั่วคราวก่อน เมื่อครบกำหนดถึงสามารถไปทำการต่อใบอนุญาตขับขี่แบบทั่วไปได้ โดยใบขับขี่แต่ละประเภทมีอายุการใช้งานดังนี้
ใบขับขี่ชนิดชั่วคราว
ใบขับขี่รถยนต์ประเภทชั่วคราว สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ แต่ละรูปแบบมีรายละเอียดทั้งในเรื่องของอายุการใช้งานและค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- 2 ปี อัตราค่าธรรมเนียม 100 บาท
- ใบขับขี่รถยนต์สามล้อชั่วคราว อายุการใช้งาน 2 ปี อัตราค่าธรรมเนียม 50 บาท
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว อายุการใช้งาน 2 ปี อัตราค่าธรรมเนียม 50 บาท
ใบขับขี่รถยนต์ทั่วไป
เมื่อใช้งานใบขับขี่รถยนต์ประเภทชั่วคราวจนครบอายุการใช้งาน (2 ปี) ผู้ขับขี่ต้องทำการต่ออายุใบขับขี่ก่อน ซึ่งอายุใบขับขี่จะยืดอายุใบขับขี่เพื่อใช้งานได้ระยะยาวยิ่งขึ้นคือ 5 ปี โดยใบขับขี่รถยนต์ทั่วไป สามารถจำแนกได้ 2 แบบ มีอายุการใช้งานและค่าธรรมเนียม ดังนี้
- ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล อายุการใช้งาน 5 ปี อัตราค่าธรรมเนียม 500 บาท
- ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ อายุการใช้งาน 3 ปี อัตราค่าธรรมเนียม 300 บาท
ใบขับขี่หมดอายุ ควรทำอย่างไรดี?
ต่อใบอนุญาตขับขี่รถยนต์
ความจริงแล้วใบขับขี่สามารถทำการต่อล่วงหน้าได้หากรู้ว่าใบขับขี่นั้นใกล้หมดอายุ ก็สามารถต่อใบขับขี่ใบใหม่ได้โดยไม่ต้องเข้ารับการสอบ หากทำการต่อใบขับขี่ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่กรณีใบขับขี่หมดอายุแล้วยังไม่ได้ทำการต่ออายุ ยังสามารถขับขี่รถยนต์ได้หรือไม่ มีค่าปรับไหม พี่เบิ้มได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาฝาก
1. ใบขับขี่หมดอายุไม่เกิน 1 ปี
หากใบขับขี่หมดอายุไม่เกิน 1 ปี นับจากวันหมดอายุ สามารถทำเรื่องขอต่อใบขับขี่ได้เลยโดยที่ไม่ต้องผ่านการสอบ พร้อมเข้าอมรมใบขับขี่ออนไลน์ โดยมีค่าธรรมเนียมการต่ออายุอยู่ที่ 505 บาท คือ ใบขับขี่รถยนต์อายุ 5 ปีค่าธรรมเนียม 500 บาท และค่าคำขอ 5 บาท
2. ใบขับขี่หมดอายุเกิน 1 ปี
หากใบขับขี่หมดอายุเกิน 1 ปีแต่ไม่เกิน 3 ปีนับจากวันที่หมดอายุ สามารถต่อใบขับขี่ได้ โดยต้องทำการสอบข้อเขียนใหม่และอบรมใหม่
3. ใบขับขี่หมดอายุเกิน 3 ปี
หากขอต่อใบขับขี่แต่ใบขับขี่หมดอายุเกิน 3 ปีแล้ว ต้องทำการสอบข้อเขียน อบรม สอบปฏิบัติใหม่ทั้งหมด รวมถึงต้องใช้เอกสารใบรับรองแพทย์เพื่อยืนยันสุขภาพใหม่อีกด้วย
หลักฐานในการต่อใบขับขี่มีดังนี้
- บัตรประชาชนตัวจริง
- ใบอนุญาตฉบับเดิม
- ใบรับรองแพทย์ อายุไม่เกิน 1 เดือน
หากใบขับขี่หมดอายุและยังมีการขับขี่รถยนต์ หากถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจอาจต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท และในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและผู้ขับขี่ใบขับขี่หมดอายุ จะไม่ได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยที่ทำไว้ ฉะนั้นไม่ควรปล่อยให้ใบขับขี่หมดอายุเด็ดขาด ในปัจจุบันมีช่องทางต่อใบขับขี่ออนไลน์ หรืออบรมใบขับขี่ออนไลน์ เพื่อให้สะดวกและรวดเร็วในการเดินทางเข้าไปใช้บริการ ขณะเดียวกันสำหรับคนมีรถปลอดภาระที่มีเหตุให้ต้องใช้เงินก้อนใหญ่ด่วน สามารถจำนำรถแบบไม่โอนเล่มกับ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายตามความต้องการ ให้วงเงินก้อนใหญ่เบิ้มสูงสุด 1 ล้านบาท อนุมัติไวภายใน 1 ชั่วโมง สามารถยื่นเรื่องผ่านระบบออนไลน์ พร้อมมีทีมงานพี่เบิ้ม Delivery เดินทางไปรับสมัครและตรวจสอบสภาพรถให้ถึงที่บ้าน เมื่อผ่านการอนุมัติได้รับเงินโอนเข้าบัญชีทันที พร้อมรับบัตรกดเงินสด KTC พี่เบิ้ม ไว้ใช้ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยสามารถกดเงินจากตู้ ATM ได้ตลอด 24 ชั่วโมงแบบไม่มีค่าธรรมเนียม อุ่นใจในทุกการใช้จ่ายฉุกเงินหรือยามต้องการเงินก้อนเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน