Easy Pass ตัวช่วยในการเดินทางให้สะดวกมากยิ่งขึ้น
ในยุคที่คนส่วนใหญ่ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางกันมากยิ่งขึ้น เพราะมีทั้งความสะดวกสบายในการเดินทางและความเป็นส่วนตัว ทั้งผู้ใช้รถส่วนใหญ่ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลรถยนต์ การเตรียมความพร้อมในการเดินทาง รวมถึงเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายรถยนต์ อาทิ ตรวจสอบวันหมดอายุภาษี การแจ้งเปลี่ยนสีรถ กฎหมายจราจรต่าง ๆ ใบขับขี่รถยนต์ ไปจนถึงความมีน้ำใจในการใช้รถใช้ถนน เนื่องจากจำนวนผู้ใช้งานรถยนต์ส่วนตัวที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เวลาขับรถไปไหนผู้ใช้รถส่วนใหญ่จะเลือกเส้นทางที่หลีกเลี่ยงปัญหารถติดเพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทางได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และการเลือกใช้เส้นทางด่วนถือเป็นตัวเลือกหลัก ๆ ที่คนมีรถยนต์ส่วนใหญ่ใช้ อีกทั้งปัจจุบันยังมีเส้นทางด่วนให้บริการหลากหลายเส้นทางที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ทางด่วนคืออะไร มีกี่สายให้บริการ
ทางด่วน (Expressway) คือ เส้นทางพิเศษที่ดูแลโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ถือเป็นทางหลวงประเภทหนึ่งที่มีความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจรได้จำนวนหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นการเปิดให้ใช้บริการในลักษณะถนนที่มีการเก็บค่าผ่านทาง ทางเลือกที่คนเดินทางส่วนใหญ่นิยมใช้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรบนท้องถนนทั่วไป รวมถึงสัญญาณไฟจราจรต่าง ๆ ช่วยย่นระยะเวลาในการเดินทางได้เป็นอย่างดี ทางด่วน มีกี่สาย? ในปัจจุบันทางด่วนมีทั้งหมด 8 สาย ได้แก่
1. ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- สายดินแดง - ท่าเรือ เริ่มจากปลายถนนวิภาวดีรังสิต มุ่งไปทางทิศใต้ ผ่านทางแยกต่างระดับมักกะสันผ่านถนนสุขุมวิท เชื่อมต่อกับทางพิเศษสายดาวคะนอง - ท่าเรือ
- สายบางนา - ท่าเรือ เริ่มจากปลายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 บริเวณทางแยกต่างระดับบางนา มุ่งไปทางทิศตะวันตก ผ่านจุดตัดทางพิเศษฉลองรัชที่ทางแยกต่างระดับสุขุมวิท
- สายดาวคะนอง - ท่าเรือ เริ่มจากทางแยกต่างระดับท่าเรือ ผ่านทางแยกต่างระดับบางโคล่ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระราม 9 และสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 2
2. ทางพิเศษศรีรัช
- ส่วน A เริ่มต้นที่ถนนรัชดาภิเษก ผ่านบริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท สิ้นสุดทางบริเวณถนนพระราม 9
- ส่วน B เส้นทางที่เชื่อมต่อกับส่วน A บริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท ผ่านยมราช ถนนพระรามที่ 4 และสิ้นสุดทางบริเวณบางโคล่
- ส่วน C เส้นทางที่เชื่อมต่อกับส่วน A บริเวณถนนรัชดาภิเษก มุ่งไปทางทิศเหนือสิ้นสุดที่ถนนแจ้งวัฒนะ
- ส่วน D เส้นทางที่เชื่อมต่อกับส่วน A บริเวณถนนพระราม 9 มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก สิ้นสุดบริเวณถนนศรีนครินทร์
3. ทางพิเศษฉลองรัช
- สายรามอินทรา - อาจณรงค์ เริ่มจากถนนรามอินทรา บริเวณกิโลเมตรที่ 5.5 ลงทางทิศใต้ ไปบรรจบกับทางพิเศษเฉลิมมหานคร สายบางนา - ท่าเรือ บริเวณอาจณรงค์
- สายรามอินทรา - วงแหวนรอบนอกฯ เริ่มจากถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก มุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เชื่อมต่อกับทางพิเศษฉลองรัชช่วงรามอินทรา - อาจณรงค์ ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายของทางพิเศษฉลองรัช
4. ทางพิเศษบูรพาวิถี
- ทางพิเศษที่มีระยะทาง 55 กิโลเมตร โดนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 บางนา - บางปะกง ไปทางทิศตะวันออก สิ้นสุดที่อำเภอเมืองชลบุรี
5. ทางพิเศษอุดรรัถยา
- แจ้งวัฒนะ - เชียงราก (ระยะที่ 1) เริ่มต้นเชื่อมต่อที่ปลายทางพิเศษศรีรัช บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ มุ่งไปทางทิศเหนือ เข้าสู่อำเภอสามโคกตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3241
- เชียงราก - บางไทร (ระยะที่ 2) เส้นทางเชื่อมต่อกับระยะที่ 1 ที่เชียงราก ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่อำเภอบางไทร สิ้นสุดบริเวณกิโลเมตรที่ 79 ของถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก
6. ทางพิเศษสายบางนา - อาจณรงค์
- จุดเริ่มต้นจากปลายทางพิเศษฉลองรัช และซ้อนทับตามแนวทางพิเศษเฉลิมมหานครเชื่อมต่อกับทางพิเศษบูรพาวิถี
7. ทางพิเศษกาญจนาภิเษก
- บางพลี - สุขสวัสดิ์ เป็นทางต่อเชื่อมกับทางหลวงวงแหวนกาญจนาภิเษกด้านใต้ ช่วงถนนพระรามที่ 2 - ถนนสุขสวัสดิ์ เริ่มต้นจากถนนสุขสวัสดิ์บริเวณพระประแดง ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 34 (บางนา - บางปะกง) เชื่อมต่อกับทางพิเศษบูรพาวิถี
8. ทางพิเศษสายศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร
- เริ่มจากถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครบริเวณใกล้โรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ สิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีกลางบางซื่อ เชื่อมต่อทางพิเศษศรีรัชบริเวณสถานีขนส่งหมอชิต 2
สำหรับคนที่ต้องใช้เส้นทางการเดินทางด้วยทางด่วนเป็นประจำการเลือกใช้ Easy Pass หรือช่องทางด่วนพิเศษในการชำระเงินค่าผ่านทางถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ด้วยเหตุผู้ใช้รถส่วนใหญ่นิยมมีบัตร Easy Pass ติดรถยนต์เอาไว้ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางเมื่อต้องขึ้นทางด่วน ทั้งยังไม่ต้องไปรอต่อคิวในการชำระเงินหรือเตรียมเงินสดให้ยุ่งยากสามารถเติมเงินเก็บไว้สำหรับใช้งานได้เลย
เส้นทางด่วนสำหรับการเดินทางที่สะดวกยิ่งขึ้น
Easy Pass คืออะไร ? ทางเลือกสำหรับคนนิยมใช้ทางด่วน
Easy Pass คือ บัตรที่ใช้ในระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ (Electronic Toll Collection System: ETC) ถือเป็นเทคโนโลยีที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้นำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการทางด่วนและเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บเงิน โดยที่ผู้ใช้บริการ Easy Pass สามารถขับรถผ่านช่องทางพิเศษเฉพาะที่มีป้าย Easy Pass ได้เลยในทันที โดยไม่ต้องต่อคิว ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ในการเก็บเงินหรือแตะบัตร โดยระบบ ETC (Electronic Toll Collection System) จะถูกแบ่งรูปแบบการเก็บค่าผ่านทางพิเศษออกเป็น 2 ระบบ คือ
- ระบบเปิด เป็นรูปแบบการเก็บเงินอัตราเดียวที่บริเวณด่านทางเข้าเท่านั้น
- ระบบปิด เป็นรูปแบบการเก็บเงินตามระยะทางจะมีการรับบัตรที่บริเวณหน้าด่านทางเข้า และมีการชำระเงินที่บริเวณด่านขาออก
Thai Easy Pass มีอุปกรณ์อะไรบ้าง ?
สำหรับผู้ที่ต้องการใช้บริการ Easy Pass จะได้รับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 2 ชิ้น คือ
- บัตร Easy Pass (OBU หรือ Tag) ที่ประกอบด้วยหมายเลข 19 หลัก จะใช้ติดกระจกหน้ารถหรือวางไว้บริเวณด้านหน้าคอนโซลรถ เพื่อให้ระบบรับสัญญาณในยามผู้ใช้บริการขับผ่านช่องเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ อ่านค่าพร้อมตัดยอดเงินในบัญชีตามอัตราค่าผ่านทางตามเส้นทางที่กำหนด
- บัตร Smart Card บัตรที่ประกอบด้วยหมายเลข 10 หลัก เป็นหมายเลข S/N ใช้สำหรับการเติมเงินใส่ในบัตร Easy Pass
สมัคร Easy Pass ที่ไหน ต้องใช้อะไรบ้าง?
โดยผู้สมัคร Easy Pass สามารถสมัครได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยบุคคลธรรมดาใช้เอกสารในการสมัครเพียงบัตรประชาชนใบเดียว ในส่วนของนิติบุคคลต้องใช้สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล สำเนา ภ.พ. 20 (ถ้ามี) สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการฯ พร้อมประทับตราบริษัทและมีผู้มีอำนาจลงนาม
สำหรับผู้ที่ต้องการใช้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ สามารถยื่นคำร้องขอใช้บริการ ณ จุดรับสมัครบัตรอัตโนมัติ (Easy Pass) ผู้สมัครใต้องสำรองเงินแรกเข้าขั้นต่ำในบัตรเป็นจำนวนเงิน 300 บาท นอกจากนี้ยังได้ยกเว้นการเก็บค่าประกันความชำรุดเสียหายของอุปกรณ์ จำนวน 1,000 บาท เพิ่มเติมอีกด้วย Easy Pass ซื้อที่ไหน? ช่องทางการสมัครบัตร Easy Pass สามารถสมัครได้ทั้งช่องทางออฟไลน์และสมัครบัตร Easy Pass ออนไลน์ ดังนี้
- ช่องทางออฟไลน์ สามารถสมัครได้ที่อาคารเก็บค่าผ่านทางต่าง ๆ One Stop Service (สำนักงานใหญ่) หรือศูนย์บริการลูกค้าบัตรอัตโนมัติ (Easy Pass Fast Service) ณ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. บริเวณจุดพักรถบางนา (ขาออก) ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ช่องทางออนไลน์ สามารถผ่านแอปพลิเคัชน True Wallet โดยมีจำนวนเงินขั้นต่ำเป็นค่าสมัครจำนวน 300 บาท
Easy Pass ช่องทางพิเศษสำหรับการเดินทาง
ช่องทางการเติมเงินบัตร Easy Pass
ในการเติมเงิน Easy Pass สามารถทำได้หลากหลายช่องทาง โดยเติมเงินได้ตั้งแต่ 300, 500, 1,000, 1,500, 2,000, 2,500, 3,000, 3,500, 4,000, 4,500 เเละ 5,000 บาท ทั้งช่องทาง Mobile Banking หรือ Application ของทางธนาคาร อาทิ
- Krungthai Next
- SCB Easy App
- K Plus
- Bualuang mBanking
- TTB Mobile Banking
- Krungsri Mobile App
- UOB Mobile Banking
- Mymo
- KKP Mobile Banking
ช่องทางอื่น ๆ อาทิ จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส ทั่วประเทศ, จุดให้บริการ Tesco Lotus , ช่องทางแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet, บัตรเครดิต Master Card ผ่าน แอปพลิเคชัน easyBills, ผ่าน mPay , Rabbit LINE Pay, Max Me, จุดชำระ CenPay และผ่าน ShopeePay โดยแต่ละช่องทางจะมีค่าธรรมเนียมในการเติมเงินต่อครั้งที่แตกต่างกัน หรือเลือกเติมเงินที่บริเวณอาคารด่านเก็บค่าผ่านทางจะไม่มีในส่วนของค่าธรรมเนียม
จากที่กล่าวมาข้างต้นเห็นได้ว่า Easy Pass ถือเป็นหนึ่งในบริการที่ตอบโจทย์สำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน และผู้ที่นิยมใช้เส้นทางพิเศษหรือทางด่วนในการเดินทางอยู่เป็นประจำ เพราะสามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็วหมดกังวลปัญหาเรื่องการลืมพกเงินสดขึ้นทางด่วน สามารถเลือกเติมเงินได้ตามจำนวนที่ต้องการ ช่วยให้คุณไม่จำเป็นต้องเสียเวลาต่อคิวจ่ายเงินสด ทำให้ประหยัดเวลาและประหยัดน้ำมันในการเดินทาง
นอกจากนี้สำหรับคนมีรถที่ต้องการเงินไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉินต่าง ๆ หรือเงินก้อนไว้ใช้จ่ายยามจำเป็น การดูแลรถให้มีสภาพดีพร้อมใช้งานและสวยเหมือนใหม่อยู่เสมอนั้น ยังเป็นปัจจัยที่ช่วยในการประกอบการพิจารณาการขอสินเชื่อทะเบียนรถได้อีกด้วย ขอแนะนำ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บริการสินเชื่อแบบไม่โอนเล่มที่มีความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย และได้รับเงินโอนเข้าบัญชีรวดเร็วเมื่อผ่านการอนุมัติ และยังมีบริการพี่เบิ้ม Delivery ที่พร้อมเดินทางไปตรวจเช็กสภาพรถให้ถึงหน้าบ้าน พร้อมมอบบัตรกดเงินสด KTC พี่เบิ้มให้ฟรี ไว้กดเงินสดยามฉุกเฉิน แบบไม่มีค่าธรรมเนียม เพียงมีรถยนต์ปลอดภาระทุกเรื่องการเงินพี่เบิ้มพร้อมอยู่เคียงข้างคุณในทุก ๆ สถานการณ์
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ตัวช่วยด้านการเงินของคนมีรถ
บทความ
วิธีขับรถสำหรับมือใหม่ กับ 5 เรื่องที่ควรรู้และต้องระวัง
แม้การขับขี่รถยนต์ไม่ใช้เรื่องยาก แต่หลายคนมักประหม่าเวลาที่ต้องขับขี่ออกถนนใหญ่จริง ๆ ซึ่งมีเทคนิคและวิธีขับขี่ปลอดภัยที่มือใหม่หัดขับควรรู้และควรปฏิบัติ
6 วิธีขับรถประหยัดน้ำมัน ลดภาระค่าใช้จ่าย ยุคน้ำมันแพง
ในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ ผู้ใช้รถหลายคนต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะค่าน้ำมันที่นับวันราคาปรับสูงขึ้น ด้วยวิธีขับรถประหยัดน้ำมันเพื่อให้เงินอยู่ในกระเป๋านานขึ้น
ล้ำขึ้นอีกระดับ ใบสั่งออนไลน์พร้อมส่งถึงคนขับ ไม่จ่ายมีโทษ
หากทำผิดกฎหมายจราจร ในยุคนี้ใบสั่งสามารถส่งตรงออนไลน์ได้ถึงมือถือของคุณแบบง่าย ๆ พร้อมโทษหากคิดละเลยในส่วนของค่าปรับจากการกระทำผิดกฎหมายจราจรที่เกิดขึ้น