ในโลกที่ค่าครองชีพมีแต่จะสูงขึ้นทุกวัน การมีเงินเก็บสำรองไว้สำหรับอนาคตจึงไม่ใช่แค่เรื่องของการวางแผนที่ดี แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตอย่างมั่นคงและปราศจากความกังวล การออมเงินไม่ใช่แค่การเก็บเงินอย่างสม่ำเสมอ แต่ต้องยึดหลักการ “ออมเงินอย่างฉลาด” และ “เก็บแบบจริงจัง” ร่วมด้วย จึงจะเห็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้
ในบทความนี้ KTC ได้รวบรวม 10 วิธีออมเงินแบบง่าย ๆ แต่ได้ผลจริง ที่ไม่ว่าใคร ๆ ก็สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างวินัยทางการเงินและวางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้
วิธีที่ 1 : ตั้งเป้าหมายการออมเงินที่ชัดเจน
ก่อนจะเริ่มออมเงิน อันดับแรกจะทำความเข้าใจจุดมุ่งหมายของตนเอง และตอบตนเองให้ได้ว่า คุณจะออมเงินไปเพื่ออะไร เพราะการมีเป้าหมายที่ชัดเจนและจับต้องได้จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการออมเงินได้มากยิ่งขึ้น โดยการตั้งเป้าหมายสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
- เป้าหมายระยะสั้น : เก็บเงินเพื่อซื้อของที่อยากได้ เช่น โทรศัพท์เครื่องใหม่, ทริปท่องเที่ยว หรือการเก็บเงินเพื่อชำระหนี้บัตรเครดิต
- เป้าหมายระยะกลาง : ออมเงินเพื่อเก็บสำรองเป็นเงินฉุกเฉิน จำนวน 3 - 6 เดือนของค่าใช้จ่าย หรือเพื่อเป็นเงินดาวน์บ้าน ดาวน์รถ
- เป้าหมายระยะยาว : เงินเกษียณ หรือเงินทุนการศึกษาบุตร
วิธีที่ 2 : จัดทำงบประมาณรายรับรายจ่าย
จุดเริ่มต้นของการออมเงินที่ประสบความสำเร็จ คือจะต้องรู้ว่าเงินเข้าเท่าไหร่ และเงินถูกใช้ไปกับสินค้าหรือบริการประเภทใดบ้าง ซึ่งการจดบันทึกรายรับรายจ่ายอย่างละเอียดจะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมทางการเงินของตัวเองได้อย่างชัดเจน
วิธีการจดบันทึก
การจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย สามารถจดลงสมุด บันทึกบนแอปพลิเคชัน หรือแม้กระทั่งบันทึกไว้ใน Excel เพื่อช่วยให้เห็นภาพรวมการใช้จ่าย
การวางแผนการใช้เงินให้สมดุล
เมื่อบันทึกรายรับ-รายจ่ายครบถ้วนสมบูรณ์ คุณจะสามารถวิเคราะห์ภาพรวมการใช้จ่ายได้ อาทิ เห็นว่าค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ไม่จำเป็นและสามารถปรับลดได้ จากนั้นจึงวางแผนจัดสรรเงินให้สอดคล้องกับรายรับ เพื่อไม่ให้ใช้จ่ายเกินตัว
วิธีที่ 3 : แยกบัญชีเงินออมเงินออกจากบัญชีใช้จ่าย
การแยกบัญชีเงินออมเงินจะช่วยป้องกันการใช้จ่ายเกินจำเป็น หรือใช้จ่ายเกินงบประมาณที่ตั้งไว้ นั่นก็เพราะเมื่อเงินทั้งหมดรวมอยู่ในบัญชีเดียว ก็มีโอกาสที่คุณอาจจะนำไปใช้จ่ายเกินงบโดยไม่รู้ตัว การสร้างบัญชีออมเงินโดยเฉพาะจะทำให้คุณมองเห็นยอดเงินออมที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และถูกนำไปใช้จ่ายปะปนกับเงินในชีวิตประจำวัน
ทั้งนี้ สามารถเลือกเปิดบัญชีออมทรัพย์ที่ไม่มีบัตร ATM หรือบัญชี e-Saving ที่ต้องโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันเท่านั้น เพื่อลดความสะดวกในการถอนเงินสดออกมาใช้จ่าย หรืออาจจะใช้ฟีเจอร์แยกกระเป๋าเงินเสมือนจริงของแอปพลิเคชันธนาคาร ซึ่งก็จะช่วยให้คุณสามารถจัดสรรเงินตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระเบียบ
วิธีที่ 4 : ใช้วิธีออมเงินแบบ “จ่ายให้ตัวเองก่อน”
เทคนิคสำคัญที่ได้ผลจริงกับหลาย ๆ คน โดยหลักการคือ จะต้องหักเงินออมออกจากบัญชีเงินเดือนทันทีที่คุณได้รับเงินเดือน ก่อนที่คุณจะนำเงินไปใช้จ่ายกับสิ่งอื่น ๆ
วิธีการออมเงินแบบจ่ายให้ตัวเองก่อน
อันดับแรกก็คือ การกำหนดจำนวนเงินออมที่ต้องการเก็บสะสมในแต่ละเดือน เช่น กำหนดให้เป็น 10 - 20% ของรายได้ต่อเดือน และเมื่อเงินเดือนเข้าก็ให้รีบโอนเงินจำนวนนั้นไปยังบัญชีเงินออมทันที 26 เพื่อให้เงินส่วนนี้ถูกเก็บไว้ก่อนที่จะถูกใช้จ่ายออกไป
วิธีที่ 5 : ลดรายจ่ายฟุ่มเฟือยโดยการวางแผนล่วงหน้า
การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ถือเป็นหัวใจสำคัญของการออมเงิน การวางแผนล่วงหน้าช่วยให้คุณควบคุมการใช้จ่ายได้ดีมากยิ่งขึ้น เป็นต้นว่า ก่อนจะซื้อหรือใช้จ่ายกับสิ่งใด ควรลิสต์รายการที่จำเป็นไว้ล่วงหน้า และยึดตามลิสต์นั้นอย่างเคร่งครัด
สำหรับผู้ที่ช้อปปิ้งเป็นประจำ เบื้องต้นลองลดความถี่ในการเข้าห้างสรรพสินค้า หรือเลิกกดเข้าแอปพลิเคชันช้อปปิ้งออนไลน์โดยไม่จำเป็น ควบคู่ไปกับการตั้งคำถามกับตัวเองก่อนซื้อว่า “สิ่งนี้จำเป็นจริง ๆ หรือไม่” จะช่วยควบคุมการใช้จ่ายได้อย่างมาก
วิธีที่ 6 : ใช้แอปพลิเคชันช่วยจัดการการออมเงิน
ในยุคดิจิทัลเช่นนี้ มีเครื่องมือทางการเงิน และแอปพลิเคชันมากมายที่จะช่วยให้การออมเงินของคุณง่ายยิ่งขึ้น
แอปพลิเคชันไทยที่ช่วยติดตามการออมเงิน
Money Lover
- แอปพลิเคชันของผู้พัฒนาในเอเชีย รองรับภาษาไทยและหลายสกุลเงิน
- มีฟีเจอร์ตั้งเป้าหมายการออม แจ้งเตือนบิล จัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่าย และซิงก์ข้ามอุปกรณ์
MISA Money Tracker (Spending Tracker)
- แอปพลิเคชันจาก MISA (เจ้าของโปรแกรมบัญชีในไทย)
- ให้ตั้งงบรายหมวดหมู่ ติดตามเป้าหมายการออม และสแกนใบเสร็จได้
- รองรับหลายสกุลเงิน สามารถส่งออกเป็น PDF/Excel ได้
Spending Tracker
- แอปพลิเคชันใช้งานง่าย เหมาะกับมือใหม่
- บันทีึกรายรับ - รายจ่าย ดูรายงาน รวมถึงตั้งระยะเวลา (รายวัน - เดือน - ปี)
แอปพลิเคชันแนววางแผนงบขั้นสูง (ต่างประเทศ)
YNAB (You Need A Budget)
- ใช้แนวคิด “zero-based budgeting”
- ปรับงบตามสถานการณ์จริง
- ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งาน
Mint
- แอปพลิเคชันฟรีจาก Intuit
- ลิงก์บัญชีธนาคาร หรือบัตรเครดิต และสามารถตั้งเป้างบ ติดตามเครดิต และแจ้งเตือนการใช้จ่าย
Qapital
- ใช้กฎแบบ “หาก…ให้…” (IFTTT) เช่น ซื้อกาแฟแล้วก็ออม หรือออมทุกวันที่ฝนตก
- มีีระบบ gamification ช่วยสร้างแรงจูงใจในการออม
ข้อดีของการมีตัวช่วยทางการเงิน
แอปพลิเคชันเหล่านี้ช่วยให้คุณเห็นภาพรวมการใช้จ่ายและแผนเงินออมได้แบบเรียลไทม์ ช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้จ่ายของคุณ ทั้งยังสามารถตั้งค่าแจ้งเตือนเมื่อคุณใช้จ่ายใกล้ถึงงบที่ตั้งไว้ ทำให้การออมเป็นเรื่องที่สนุกและเป็นระบบระเบียบมากขึ้น
วิธีที่ 7 : หมั่นตรวจสอบและปรับแผนการออมเป็นประจำ
การออมเงินจำเป็นต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และต้องมีการทบทวนและปรับเปลี่ยนแผนการออมให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายของแต่ละบุคคล
- การตรวจสอบยอดเงินและปรับเปลี่ยนแผนตามสถานการณ์จริง
ในทุก ๆ หนึ่งเดือนควรย้อนทบทวนแผนการออมว่า คุณทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ มีค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่เกินงบ หรือมีรายรับพิเศษเข้ามาที่สามารถนำไปออมเพิ่มได้หรือไม่
- การตั้งเป้าหมายใหม่เมื่อสำเร็จเป้าหมายเก่า
เมื่อคุณสามารถออมเงินถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว สิ่งที่พึงกระทำคือการตั้งเป้าหมายใหม่ที่ท้าทายมากขึ้น เพื่อให้การออมเงินเป็นอุปนิสัยติดตัว
วิธีที่ 8 : ลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยและให้ผลตอบแทนดี
เมื่อออมเงินถึงจุดหนึ่งที่มีเหลือเก็บเพียงพอในยามจำเป็นการปล่อยเงินทิ้งไว้เฉย ๆ ในบัญชีออมทรัพย์ที่มีดอกเบี้ยต่ำอาจทำให้สภาวะเงินเฟ้อลดทอนมูลค่าของเงินเก็บคุณได้ การนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยและให้ผลตอบแทนดี จะช่วยให้เงินออมของคุณเติบโตงอกเงย
การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดี เหมาะกับทุกคน
- กองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น และให้ผลตอบแทนดีกว่าเงินฝากออมทรัพย์
- บัญชีเงินฝากประจำ แม้ดอกเบี้ยจะไม่สูงมาก แต่มีความมั่นคงและช่วยควบคุมให้คุณไม่ถอนเงินออกมาใช้ง่าย ๆ
อย่างไรก็ดี ทุกการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ ควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบและเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่คุณเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงได้
วิธีที่ 9 : สร้างวินัยทางการเงินด้วยการมีรางวัลเล็ก ๆ ให้ตัวเอง
การออมเงินเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความอดทนและการมีวินัยอย่างมาก การให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ แก่ตัวเองเมื่อทำตามเป้าหมายได้ จะช่วยเป็นกำลังใจและทำให้การออมเงินเป็นเรื่องที่ไม่น่าเบื่อ
วิธีให้กำลังใจตัวเองโดยไม่ทำลายการออม
สำหรับวิธีการให้กำลังใจตัวเองที่ดีโดยไม่ทำลายอุปนิสัยการออมก็คือ ควรกำหนดรางวัลไว้ล่วงหน้าและยึดมั่นกับรางวัลนั้น เช่น หากออมได้ตามเป้าหมายติดต่อกันนาน 3 เดือน จะให้รางวัลตัวเองด้วยการซื้อของที่อยากได้เล็ก ๆ น้อย ๆ หรือไปกินอาหารรสเลิศ ซึ่งรางวัลเหล่านี้ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้าราคาแพงเสมอไป อาจเป็นหนังสือที่ชอบ การไปดูหนังในโรงภาพยนตร์ หรือนวดผ่อนคลาย
วิธีที่ 10 : เรียนรู้และปรับใช้เทคนิคการออมใหม่ ๆ เสมอ
ท่ามกลางโลกการเงินที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การติดตามข่าวสารและเทคนิคใหม่ ๆ ในการออมเงินจะช่วยให้คุณมีทางเลือกมากขึ้น และมีเครื่องมือทางการเงินที่หลากหลาย เนื่องจากเทคนิคใหม่ ๆ อาจตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคุณมากกว่า เช่น กฎการใช้จ่าย 50/30/20 หรือการใช้ประโยชน์จากโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษจาก “บัตรเครดิต” ในการสะสมคะแนนเพื่อแลกส่วนลด
สำหรับสมาชิก บัตรเครดิต KTC สามารถซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ โดยใช้โปรโมชั่นส่วนลด จากนั้นก็สามารถนำค่าส่วนต่างจากส่วนลดเหล่านั้นเก็บสะสมเป็นเงินออมเพิ่มเติมได้ นับเป็นการใช้จ่ายที่คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้ม เพราะในทุกการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ครบ 25 บาท จะได้รับ 1 คะแนน KTC FOREVER เพื่อนำไปแลกสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ได้อีก หรือใช้แทนเงินสด โดยทุก ๆ 1,000 คะแนน จะมีมูลค่าเท่ากับ 100 บาท ซึ่งก็จะช่วยออมเงินได้อีกทางหนึ่ง
การออมเงินอย่างฉลาดและเก็บออมแบบจริงจังนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณมีวินัยและปฏิบัติตาม 10 วิธีที่แนะนำข้างต้น และขอให้จำไว้เสมอว่า “การออมเงิน” เป็นเป้าหมายที่ต้องใช้เวลาและความสม่ำเสมอ ยิ่งเริ่มต้นเร็วมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งมีอิสระทางการเงินเร็วขึ้นเท่านั้น
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC