การเป็นติ่งเกาหลีในยุคนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของความรัก แต่เป็นการลงทุนอย่างแท้จริง ตั้งแต่การซื้ออัลบั้มหลายเวอร์ชันเพื่อเก็บการ์ดไอดอล จองบัตรคอนเสิร์ตราคาแสนแพง ซื้อ Merchandise จ่ายค่าสมาชิกแฟนคลับ ซื้อไลฟ์สตรีมมิ่ง ไปจนถึงซื้ออัลบั้มเข้าอีเวนต์แฟนไซน์ที่ต้องอาศัยทั้งดวงและกำลังทรัพย์ ทำให้หลายคนเจอปัญหาหมดตัวต้นเดือน ไม่มีเงินเก็บออม หรือแย่กว่านั้นคือต้องกู้เงินมาติ่ง แต่จริงๆ แล้วเราสามารถ "ติ่งได้ เปย์ได้" อย่างยั่งยืนโดยไม่ต้องเป็นหนี้หรือหมดตัว ถ้าเรารู้จักวิธีบริหารเงินที่เหมาะสม วางแผนการใช้จ่าย จัดลำดับความสำคัญ และสร้างระบบการออมเงินที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ติ่ง เพราะความรักที่แท้จริงควรสร้างความสุข ไม่ใช่ความเครียดทางการเงิน!
เข้าใจตัวเองก่อน เราเป็น “ติ่งสายไหน”?
- สายเปย์เกินต้าน : สายเปย์เกินต้านจะซื้อทุกอย่างที่มีชื่อศิลปิน ไม่ว่าจะอัลบั้ม, บัตรคอน, ของพรีเมียม และอื่น ๆ อีกมากมาย
- สายบินตาม ไปให้ถึงตัวจริง : จะรอให้ศิลปินคนโปรดบินมาจัดคอนเสิร์ตแต่รอบเดียวก็ไม่หนำใจ หลายคนจึงเป็นสายบินตาม ทั้งเวลาทัวร์คอนเสิร์ตไปยังประเทศต่าง ๆ หรือคอนเสิร์ต/อีเวนต์ ในประเทศเกาหลี รวมไปถึงรายการเพลงที่ปกติก็มักจะมีแฟนคลับไปรอเพื่อให้กำลังใจศิลปินแสดง
- สายสนับสนุนหลังกล้อง : แฟนคลับหลายคนเน้นทำโปรเจกต์ให้ศิลปินเพื่อเป็นการซัพพอร์ต ซึ่งปกติก็มีทั้งคนที่จ่ายเงินเองคนเดียวเพื่อซื้อ Ads ใน Instragram เพื่ออวยพรวันเกิด, ทำป้าย LDE จุดต่าง ๆ ในกรุงเทพ ป้ายห้อยรถตุ๊ก ๆ รถแห่ โปรเจกต์ป้ายในที่จัดคอนเสิร์ต แต่บางทีก็จะเปิดโดเนทจากแฟนคลับคนอื่น ๆ ด้วย
- สายซัพพอร์ตเงียบ ๆ ซื้อนะแต่ช้า สายนี้อาจจะไม่ได้เปย์หนัก ๆ ทีเดียวหมด แต่จะเก็บไว้แล้วค่อยซื้อ
เป็นติ่งเกาหลี ต้องเจอกับค่าอะไรบ้าง?
1.อัลบั้ม
สำหรับแฟนคลับ K-pop อัลบั้มไม่ใช่แค่อัลบั้มธรรมดาที่ซื้อมาแกะฟังเพลงเฉย ๆ แต่เป็นสิ่งที่อยู่ในอัลบั้ม ไม่ว่าจะเป็น Photobook, Photocard และของแถมต่าง ๆ อีกเพียบ ซึ่งแต่ละอัลบั้มก็จะแยกออกไปอีกได้หลายเวอร์ชั่น แถมการ์ดในอัลบั้มก็ยังสุ่ม ทำให้แฟนคลับหลาย ๆ คนต้องซื้อมากกว่า 1 อัลบั้ม เพราะนอกจากจะสะสมให้ครบทุกเวอร์ชั่นแล้วยังต้องทำเพื่อสะสมการ์ดศิลปินคนโปรดอีกด้วย
นอกจากนี้ในหลาย ๆ อีเวนต์พิเศษ เช่น แฟนไซน์ ที่จะเป็นการเอาอัลบั้มไปให้ศิลปินเซ็นหรือพูดคุยผ่าน VDO Call (หรือเรียกว่าคอลไซน์) ยังกำหนดว่าต้องซื้ออัลบั้มเพื่อร่วมลุ้นเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของงาน ซึ่งกติกาก็มียังตั้งแต่สุ่มผู้โชคดี และ Top spender ที่จะวัดจากการซื้อที่มากที่สุด ด้วยกลยุทธิ์แบบนี้ทำให้แฟนคลับเกาหลีหลายคนต้องควักเงินซื้ออัลบั้มไม่รู้จบ บางอีเวนต์ก็ต้องซื้อไปถึง 800 อัลบั้มเลยทีเดียวเพื่อให้ได้เข้างานอีเวนต์และได้รับเบเนฟิตต่าง ๆ
รายละเอียดอัลบั้ม aespa Single [Dirty Work] (Dirty Code Ver.)
2.คอนเสิร์ต & แฟนมีตติ้ง
บัตรคอนเสิร์ตหรือบัตรแฟนมีตติ้งของศิลปินเกาหลีในประเทศไทยมีราคาตั้งแต่หลักพัน - หลักหมื่น ส่วนของต่างประเทศก็ขึ้นอยู่กับค่าครองชีพ อาจจะพอ ๆ กับไทยหรือมากกว่า แต่อย่างที่เกาหลีหรือญี่ปุ่น บัตรจะไม่ได้แพงมาก แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แฝงเข้ามา เช่น ค่าตั๋วเครื่องบินไปแต่ละประเทศ, ค่าที่พัก, ค่ากิน และอื่น ๆ อีกมากมาย
3.ดิจิทัลคอนเทนต์
ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป การเข้าถึงไอดอลเป็นเรื่องง่ายขึ้นเพราะดิจิทัลคอนเทนต์ เช่น
- Weverse ที่แฟนคลับจอยได้เพื่อพูดคุยกับศิลปิน โดยบางวันศิลปินก็จะเข้ามาอัพเดทรูปภาพ พูดคุย ตอบเมนต์ ตอบโพสต์ หรือไลฟ์ ซึ่งจะทั้งแบบต้องเป็น Membership รายปี หรือดูได้ฟรี และเพื่อให้แฟนคลับทั่วโลกได้เข้าใจในสิ่งที่ศิลปินพูดแบบเรียลไทม์ ก็จะค่าบริการสำหรับแปลคำพูดในไลฟ์อีกเป็นรายเดือน อติดตามการซื้อพ้อยท์สำหรับโหวตและส่งข้อความ
- Bubble เป็นแอปที่สามารถส่งข้อความจากศิลปินได้โดยตรง อยู่ในลักษณะแชท โดยจะคิดค่าบริการเป็นแบบตั๋ว ซื้อ 1 ตั๋วจะสามารถเลือกไอดอลได้ 1 คน
- แอปเกมไอดอลที่มี In-App Purchase
4.Merchandise
Merchandise คือสินค้าเกี่ยวกับศิลปิน ที่ผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายให้แฟนคลับมีทั้งเสื้อผ้า, ตุ๊กตา, ของสะสม และอื่น ๆ อีกมากมาย
Merchandise วง TOMORROW X TOGETHER
ปัญหาที่ติ่งสายเปย์เจอบ่อย
- หมดตัวต้นเดือน หลายคนใช้เงินเดือนไปซื้อของไอดอลหมดตั้งแต่ต้นเดือน แล้วต้องกินมาม่าไปจนถึงเงินเดือนถัดไป
- ไม่มีเงินเก็บ เพราะเงินทั้งหมดไหลไปกับการติ่ง ไม่เหลือเก็บออมเพื่ออนาคต
- หนี้สินเพิ่มขึ้น มาจากที่บางคนใช้บัตรเครดิตหรือกู้เงินมาซื้อของไอดอล หรือตั๋วเครื่องบินไปเจอไอดอล
- ความเครียดทางการเงิน กังวลเรื่องเงินแต่ก็หยุดติ่งไม่ได้
วิธีบริหารเงินสำหรับติ่งเกาหลีโดยเฉพาะ
1. บริหารเงินแบบแบ่งงบ "ติ่ง" แบบไม่กระทบค่าใช้จ่ายหลัก
การติ่งอย่างยั่งยืนเริ่มต้นจากการไม่ให้งบติ่งไปกระทบกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิต กฎข้อแรกคือ จจ่ายค่าใช้จ่ายหลักก่อน แล้วค่อยติ่ง
ค่าใช้จ่ายหลักที่ต้องจ่ายก่อน
- ค่าเช่าบ้าน/หอพัก/ค่าน้ำ-ไฟ
- ค่าอาหารและของใช้จำเป็น
- ค่าเดินทางไปทำงาน/เรียน
- ค่าประกันสุขภาพ/ค่าหนี้สิน
- เงินเก็บฉุกเฉิน (อย่างน้อย 1-3 เดือน)
หลังจากจ่ายหมดแล้ว เงินที่เหลือถึงจะเป็น "เงินเสรี" ที่เราสามารถแบ่งไปติ่งได้
2. บริหารเงินโดยการใช้สูตร 50/30/20 หรือ 60/20/20
สูตร 50/30/20
- 50% ค่าใช้จ่ายจำเป็น (เช่า, อาหาร, เดินทาง)
- 30% ค่าใช้จ่ายส่วนตัว (รวมงบติ่ง)
- 20% เงินออม
สูตร 60/20/20
- 60% ค่าใช้จ่ายจำเป็น
- 20% ค่าใช้จ่ายส่วนตัว (รวมงบติ่ง)
- 20% เงินออม
3. บริหารเงินด้วยการตั้งงบเปย์ต่อเดือน แบบคงที่
กำหนดงบติ่งเป็นจำนวนคงที่ทุกเดือน เช่น 1,000-2,000 บาท แล้วยึดมั่นอย่างเด็ดขาด ถ้าเดือนไหนงบหมด = หยุดซื้อ หรือถ้าเดือนไหนไม่มีอัลบั้มใหม่ = นำเงินส่วนนั้นไปเก็บสำหรับคอนเสิร์ต
4. บริหารเงินโดยมีบัญชีแยกสำหรับ "เงินเปย์" โดยเฉพาะ
สร้างบัญชีออมทรัพย์แยกต่างหากแล้วโอนเงินเข้าทุกต้นเดือนตามงบที่กำหนด เมื่อต้องการจะซื้อของให้ใช้จ่ายเฉพาะจากบัญชีนี้ท่านั้น เพื่อควบคุมการใช้จ่ายได้ชัดเจนไม่ให้ปนกับค่าใช้จ่ายหลัก ๆ เพื่อให้ตรวจสอบได้ว่าใช้ไปเท่าไหร่แล้วและเหลือเท่าไหร่
5. บริหารเงินด้วยการกำหนดการออมเงินให้สนุก
เปลี่ยนการออมเงินให้เป็นเกม เหมือนเล่นเกมที่ต้องเก็บเหรียญ แต่เปลี่ยนเหรียญนั้นเป็นเงินแทน
- วิธี Bias Saving Challenge
เก็บเงินตามเมนคนโปรด เช่น ทุกครั้งที่เมนมาอัพ weverse ก็จะเก็บเงินเข้าบัญชีแยกครั้งละ 50 หรือทุกครั้งที่เมนลงรูปในโซเชี่ยลมีเดียต่าง ๆ ก็จะเก็บเงินไปรูปละ 20 วิธีนี้จะเป็นการเก็บทีละนิด ๆ เหมือนตอนเด็ก ๆ ที่เราเก็บเงินหยอดกระปุก อาจจะได้ยอดที่ไม่เยอะมาก แต่ก็ไม่เครียด - วิธี Comeback Countdown
ส่วนใหญ่แล้วศิลปินเกาหลีจะมีแพลน Comeback ที่ชัดเจนว่าจะโปรโมทวันไหบ้าง ซึ่งก็จะมีระยะเวลาประมาณหนึ่งกว่าจะถึงวันปล่อย MV หรือวันโปรโมท แนะนำว่าอาจจะลองเก็บเงินจำนวนหนึ่ง ไม่ต้องเยอะ แต่เก็บทุกวันจนกว่าจะถึงวันนั้น ก็น่าจะอัลบั้มหรือ Merchandise สักชิ้นสองชิ้น
เปย์ไอดอลอย่างฉลาด บริหารการใช้เงินอย่างไรให้คุ้มค่า
- รอโปร / Pre-order ลดราคา ช่วงที่อัลบั้มออกมาแรก ๆ จะมีคนรับพรีเเดอร์เยอะ ซึ่งราคาจะถูกกว่าวางขายหน้าร้านที่ไทย หรือถ้าซื้อออนไลน์ใน shoppee บางทีก็มีโปรโมชั่นลดราคาทำให้ได้ของในราคาที่ถูกกว่าเดิม
- เปรียบเทียบราคาหลายร้านก่อนซื้อ หลาย ๆ ร้าน ทั้งที่รับพรีและที่วางขายหน้าร้าน ตั้งราคาไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับต้นทุนของแต่ละคน แนะนำว่าให้เปรียบเทียบจากหลาย ๆ ร้านก่อนตัดสินใจซื้อ
- ใช้บัตรเครดิตที่มีคะแนนสะสม หรือเครดิตเงินคืน อย่างบัตรเครดิต KTC ที่ทุกการใช้จ่าย 25 บาทจะเท่ากับ 1 คะแนน KTC FOREVER ซึ่งคะแนนไม่มีหมดอายุ และรับส่วนลด, เครดิตเงินคืน หรือโปรโมชั่นผ่อน 0% นานสูงสุด 3-10 เดือน
สร้างรายได้เสริมจากความติ่ง
1.รับพรีออเดอร์
ติ่งเกาหลีกับของพรีออเดอร์เป็นของคู่กันมาเป็นสิบปี ถึงแม้จะมีร้านค้าที่นำอัลบั้มหรือสินค้ามาขาย แต่ราคาก็สูงมาก ทำให้แฟนคลับบางคนยังเลือกที่จะพรีออเดอร์แล้วส่งทางเรือหรือทางแอร์เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลง ถ้าใครเคยสั่งออกมาเองอยู่แล้ว ก็อาจจะลองหารายได้เสริมด้วยการรับพรีออเดอร์สินค้าเองเลย
2.ขายแฟนอาร์ต สินค้าแฮนด์เมด
ถ้ามีความสามารถในด้านออกแบบหรือศิลปะ ก็อาจจะเอาตรงส่วนนี้มาใช้เป็นงานเสริมได้ เช่น ออกแบบพวงกุญแจ, สติกเกอร์ , รับทำชุดตุ๊กตาของศิลปิน และอื่น ๆ อีกมากมาย
3.ทำคอนเทนต์ TikTok เกี่ยวกับไอดอล
ถ้าไม่รู้จะทำอะไรดี ก็แค่ใช้ความชอบให้เป็นประโยค ลองทำ content ที่ชอบ เช่น Reaction ตอนดู MV เพลงใหม่, ทำคลิปเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ตัวเองเวลาไปคอนเสิร์ต, ทำคลิปแนะนำการแต่งตัวไปดูคอนเสิร์ต หรือรีวิวตอนแกะอัลบั้ม นอกจากจะมีความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบแล้ว ถ้ามีเริ่มผู้ติดตามเยอะขึ้นอาจมีแบรนด์ต่าง ๆ มาจ้างให้โปรโมทให้อีกด้วย
4.รับแต่งหน้าไปดูคอนเสิร์ต
เพราะวันคอนเสิร์ต เป็นวันที่แฟนคลับเกาหลีหลายอยากจะสวยที่สุด ไม่ได้หวังให้ไอดอลเห็น แต่เพื่อไปถ่ายรูปหน้าคอนเสิร์ต ซึ่งการแต่งหน้าไปคอนเสิร์ตของหลาย ๆ คนจัดอยู่ในระดับที่ไม่ธรรมดา มีแต่ใช้สีใช้กลิตเตอร์ที่ไม่ใช่ Everyday Look หลายคนจึงต้องจ้างช่างแต่งหน้ามาช่วยแต่งหน้าทำผมให้ แนะนำว่าถ้าใครแต่งหน้าเก่ง ๆ ก็ให้ลองเปิดรับแต่งหน้าเวลามีคอนเสิร์ตดู รับรองลูกค้าเพียบ
ระวังเปย์เพราะอารมณ์ ไม่ใช่แผน
ก่อนอื่นต้องแยกให้ออกว่า “อยากได้” กับ “ต้องมี” บางครั้งเราก็คิดไปเองว่าจะต้องซื้อทุกอย่าง ซึ่งถ้ามีงบพอกับเงินส่วนนั้น ที่จะสามารถซื้อความสุขให้ตัวเองได้แบบไม่เดือดร้อนก็สามารถทำได้ แต่บางครั้งถ้างบไม่ถึงก็อาจจะต้องพิจารณาดูดี ๆ ว่าเงินส่วนนี้หากนำไปเปย์ไอดอลหมด จะกระทบอะไรบ้าง เช่น อาจจะไม่มีเงินกินข้าว ไม่มีเงินเดินทางไปเรียนหรือทำงาน แนะนำว่าเวลาที่อยากได้อะไร ให้ลองคิดดูสัก 1 คืน ว่าเราอยากได้จริง ๆ ไหม จำเป็นแค่ไหน ถ้าไม่ซื้อตอนนี้ แต่เก็บไว้ซื้อเดือนอื่นได้ไหม เพราะของบางอย่างก็ไม่ต้องรีบซื้อ วิธีนี้จะทำให้มีเวลาคิดทบทวนได้มากขึ้น ไม่วู่วาม
ติ่งเกาหลีทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะบริหารเงิน แบ่งแยกเงินของตัวเองออกเป็นสัดส่วนอย่างชาญฉลาด เพื่อให้สามารถสนับสนุนศิลปินที่รักได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่กระทบต่อคุณภาพชีวิตและการเรียนหรือการทำงาน ซึ่งบางครั้งอาจจะใช้บัตรเครดิตเข้ามาเป็นตัวช่วยจัดการเรื่องเงิน เช่น ผ่อนบัตรคอนเสิร์ต หรือผ่อน merchandise แต่ระวังอย่าใช้เยอะเกินไป เพราะที่จริงแล้วบัตรเครดิตมีสิทธิประโยชน์มากมายถ้าใช้ให้ถูกต้อง อย่างบัตรเครดิต KTC ทุกการใช้จ่าย 25 บาทผ่านบัตรเครดิตจะได้รับคะแนน KTC FOREVER 1 คะแนน สะสมได้ไม่จำกัด และไม่มีวันหมดอายุ สามารถใช้คะแนนแลกรับส่วนลดหรือเครดิตเงินคืนได้ ใครยังไม่มีก็สามารถสมัครบัตรเครดิต KTC ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ทุกที่ทุกเวลา กดสมัครได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC