การมีหนี้ไม่ใช่เรื่องที่ผิดเสมอไป เพราะหนี้มีหลายประเภท ทั้งหนี้ดีที่กู้เพื่อช่วยให้การทำธุรกิจราบรื่น หนี้ที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต หรือหนี้ที่ต้องใช้ในยามฉุกเฉินจำเป็น หากเราสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลาและเงื่อนไขที่ตกลงไว้ การสร้างหนี้ย่อมไม่ใช่เรื่องน่ากังวลใจอย่างใด
แต่ต้องระวังปัญหาหนี้สินที่จ่ายไม่ไหวอาจกลายเป็นภัยที่ทำให้สภาพคล่องทางการเงินพังทลาย สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการใช้จ่ายเกินตัวและการไม่รู้จักบริหารจัดการค่าใช้จ่าย เพราะฉะนั้นในบทความนี้ เราจะมาแนะนำเช็กลิสต์ก่อนสร้างหนี้ เช็กให้ชัวร์ว่าพร้อมจะมีแล้วหรือยัง พร้อมวิธีการเอาตัวรอด เมื่อเป็นหนี้ที่จ่ายไม่ไหวที่คนมีหนี้ต้องรู้!
เลือกอ่านตามหัวข้อ
5 Checklists เช็กให้ชัวร์ก่อนสร้างหนี้
การมีหนี้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะหนี้มีหลายประเภท แต่ละคนมีสาเหตุของการเกิดหนี้ที่แตกต่างกันออกไป หนี้บางอย่างเป็นหนี้จากการกู้เพื่อทำธุรกิจ หรือเป็นหนี้ที่ก่อขึ้นเพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินในยามฉุกเฉิน แต่เพื่อให้มั่นใจว่าการก่อหนี้ในครั้งนี้จะไม่ใช่การนำปัญหามาสู่ตัวเองอันเป็นเหตุให้ต้องสูญเสียทรัพย์สิน เรามีเช็กลิสต์ก่อนสร้างหนี้ เช็กให้ชัวร์ว่าคุณพร้อมที่จะมีหนี้แล้วหรือยัง
1.วัตถุประสงค์ในการก่อหนี้
ถามตัวเองให้มั่นใจว่าการก่อหนี้ในครั้งนี้ทำไปเพื่ออะไร สิ่งของที่ต้องการจะกู้เงินซื้อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านไหน หรือเป็นการกู้เพื่อลงทุนสร้างรายได้ในอนาคต ไม่ใช่การกู้เพื่อสนองความต้องการที่เกินพอดี เป็นหนี้ที่กำลังจะเกิดเพราะการใช้จ่ายที่เกินตัวใช่ไหม เพราะหนี้เหล่านี้ นอกจากจะเป็นหนี้ที่ไม่สามารถต่อยอดอะไรให้กับชีวิตได้แล้ว ยังเสี่ยงที่จะกระทบต่อความมั่นคงทางด้านการเงินในอนาคตอีกด้วย
2.รายได้
การคำนวณรายได้เป็นเรื่องพื้นฐานที่ต้องรู้ก่อนสร้างหนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าเรามีศักยภาพหรือมีรายได้มากพอที่จะปลดหนี้ที่กู้มาได้ตามระยะเวลาที่กำหนด และที่สำคัญจำนวนหนี้ที่ต้องจ่ายต่อเดือนไม่ควรเกิน ⅓ หรือเกิน 33% ของรายได้
3.ความสามารถในการชำระหนี้
ไม่ว่าการก่อหนี้ในครั้งนี้จะเป็นหนี้ดีหรือไม่ดี เราควรประเมิน ‘ความมั่นคงของรายได้’ ไม่ใช่เพียงแค่การคำนวณรายได้เพียงอย่างเดียว เพราะสินเชื่อบางประเภทจำเป็นต้องจ่ายตามกำหนดเวลาทุก ๆ เดือนหากจ่ายช้า ก็จะยิ่งมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าปรับกรณีจ่ายล่าช้า ค่าติดตามทวงถาม เป็นต้น
4.ประเภทของสินเชื่อ
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของสินเชื่อก็สำคัญ เพื่อให้สามารถเลือกกู้สินเชื่อที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด เช่น หากต้องการเงินก้อนหรือเงินด่วนในยามฉุกเฉิน การเลือกใช้สินเชื่อส่วนบุคคลอย่างบัตรกดเงินสดก็เป็นตัวเลือกที่ดีและเข้าถึงง่าย หรือหากต้องการเงินหมุนเวียนเพื่อใช้ทำธุรกิจ ต้องการกู้เงินจำนวนมาก การเลือกใช้บริการสินเชื่อหมุนเวียนธุรกิจ ก็จะตอบโจทย์มากกว่า เป็นต้น
5.คำนวณดอกเบี้ย
ประเภทของสินเชื่อที่ต่างกัน สถาบันทางการเงินที่ต่างกัน ย่อมมีอัตราดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นก่อนกู้ยืมทุกครั้งควรเปรียบเทียบดอกเบี้ย และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของแต่ละสถาบันทางการเงินให้ดี
แนะนำทางออกเมื่อเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหว
รวมหนี้เป็นก้อนเดียว
การรวมหนี้เป็นก้อนเดียว หมายถึงการที่เรานำหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้บ้าน หรือแม้แต่หนี้นอกระบบ มารวมไว้ที่สถาบันการเงินแห่งเดียว โดยการขอสินเชื่อรวมหนี้ที่ถูกกฎหมาย เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระปิดหนี้เดิมทั้งหมด ทำให้เราเหลือภาระการชำระหนี้เพียงแห่งเดียว จึงช่วยลดความยุ่งยากในการจ่ายหนี้หลายๆ แห่ง และอาจช่วยให้เราสามารถบริหารจัดการหนี้ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีหนี้หลายประเภทและอัตราดอกเบี้ยที่สูง การรวมหนี้เป็นวิธีหนึ่งที่อาจช่วยลดภาระดอกเบี้ยและทำให้การชำระหนี้เป็นไปได้ง่ายขึ้น
การปิดจบด้วยเงินก้อน (Hair Cut)
ในการเจรจาปิดหนี้ด้วยเงินก้อน หรือการทำ Hair Cut เป็นการปรับโครงสร้างหนี้โดยการขอส่วนลดจากเจ้าหนี้เพื่อให้สามารถชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันที เช่น เมื่อเราเป็นอยู่ 150,000 บาท เจรจาขอลดหนี้เหลือ 130,000 บาทเพื่อปิดบัญชีหนี้ทันที
ทำรีไฟแนนซ์
รีไฟแนนซ์ คือการขอสินเชื่อใหม่จากสถาบันการเงินใหม่ เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระหนี้ที่กู้ไว้กับสถาบันการเงินเดิม โดยการรีไฟแนนซ์จะช่วยทำให้อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายลดลง ทำให้ชำระหนี้รายเดือนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย
ในกรณีที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้เนื่องจากสภาพคล่องทางการเงินเข้าขั้นวิกฤต หมุนเงินไม่ทัน สามารถทำเรื่องขอพักชำระหนี้ได้ระยะหนึ่ง เพื่อให้ผู้เป็นหนี้ได้จัดการสถานการณ์ทางการเงินของตัวเองให้กลับมาเป็นปกติ เพื่อให้สามารถจ่ายหนี้ได้อีกครั้ง
การติดตามทวงหนี้(ตามกฎหมาย) ที่ลูกหนี้ก็ควรรู้
นอกจากการบริหารจัดการหนี้ให้ดีแล้ว สิ่งสำคัญที่ลูกหนี้ทุกคนควรทราบคือ สิทธิของตัวเองเมื่อถูกเจ้าหนี้ติดตามทวงถามหนี้ เพราะตามกฎหมายไทยมีการกำหนดวิธีการทวงถามหนี้ที่ถูกต้องไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกหนี้ถูกคุกคามหรือได้รับความเดือดร้อน
พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดในการติดตามทวงถามหนี้ ดังนี้
- ห้ามใช้ความรุนแรง: เจ้าหนี้ไม่สามารถใช้กำลังกายหรือวาจาข่มขู่ คุกคาม หรือทำร้ายลูกหนี้ได้
- ห้ามประจาน: เจ้าหนี้ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของลูกหนี้ต่อบุคคลอื่นในลักษณะที่ทำให้เสียชื่อเสียง
- ห้ามติดต่อบ่อยเกินไป: เจ้าหนี้สามารถติดต่อทวงถามหนี้ได้เพียงวันละ 1 ครั้ง และต้องเป็นไปตามเวลาที่กฎหมายกำหนด
- วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 20.00 น.
- วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 08.00 - 18.00 น.
- ค่าติดตามทวงถามมีลิมิต: เจ้าหนี้สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ได้ แต่มีจำนวนจำกัด ดังนี้
- ค้างชำระ 1 งวด: เรียกเก็บได้ไม่เกิน 50 บาทต่อรอบการทวงถาม
- ค้างชำระมากกว่า 1 งวด: เรียกเก็บได้ไม่เกิน 100 บาทต่อรอบการทวงถาม
โดยการติดตามทวงหนี้ทางกฎหมาย มีไว้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้เอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม
หลุดพ้นจากภาระหนี้ สู่ชีวิตใหม่ที่สดใส
หนี้ เป็นภาระทางการเงินที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาใช้ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์หากใช้เพื่อการลงทุน แต่หากก่อหนี้เกินตัวจากความฟุ่มเฟือยจนไม่สามารถชำระได้ตามกำหนด อาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินและคุณภาพชีวิต ทำให้การบริหารจัดการหนี้ที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยควรวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ เลือกกู้เงินในวงเงินที่เหมาะสม และชำระหนี้ตรงเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว
นอกจากนี้ ในหลาย ๆ ครั้ง หนี้สินก็เกิดจากการกู้ยืมในสถานการณ์ที่ต้องใช้เงินก้อนฉุกเฉิน หากไม่มีทุนสำรองหรือเข้าไม่ถึงแหล่งเงินกู้ที่น่าเชื่อก็เสี่ยงต่อการสร้างหนี้นอกระบบ สำหรับใครที่กำลังมองหาตัวช่วยยามฉุกเฉินเพื่อบริหารสภาพคล่องทางการเงินไม่ให้เกิดหนี้ ขอแนะนำบัตรกดเงินสด KTC PROUD บัตรกดเงินสดของคนรุ่นใหม่ อนุมัติไวภายในหนึ่งสัปดาห์ วงเงินสูงสุดถึง 1 ล้านบาท เงินเดือน 12,000 บาท ขึ้นไป ก็สมัครได้
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี
บัตรกดเงินสด KTC PROUD เงินด่วนอนุมัติง่าย ตัวช่วยใช้จ่ายยามฉุกเฉิน