จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ผันผวนบวกกับค่าครองชีพที่นับวันก็มีแต่จะเพิ่มขึ้น ทำให้แม้แต่ค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐานก็กิน budget ไปมาก เงินจำนวนเดิมซื้ออะไรได้น้อยลง ในขณะเดียวกันรายรับก็เท่าเดิม ประหยัดเท่าไหร่ก็ไม่พอ จนบางครั้งก็ทำให้เครียดเพราะคำว่าเงินไม่พอใช้รวมถึงไม่มีเงินเก็บด้วย คนรุ่นใหม่หลายคนจึงไม่ยึดติดอยู่กับการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว ทั้งคนที่มีงานประจำ หรือเด็กที่กำลังเรียนอยู่ต่างก็พยายามมองหางานเสริมที่จะช่วยเพิ่มรายได้และเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ เตรียมพร้อมสำหรับอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ข้อได้เปรียบคือ Gen Z เติบโตมาในยุคที่เทคโนโลยีเฟื่องฟู มีช่องทางหารายได้เสริมทั้งออฟไลน์และออนไลน์ บทความวันนี้จะมาแชร์ไอเดียหารายได้เสริมสำหรับ Gen z ทั้งนักเรียน นักศึกษาและวัยทำงาน
สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเริ่มหารายได้เสริม
1.เลือกงานที่ไม่กระทบเวลาเรียน/งานประจำ
ถึงแม้จะมองว่าการหารายได้เสริมเป็นสิ่งสำคัญในยุคนี้ที่จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องไม่กระทบกับสิ่งที่ทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรืองานประจำ แต่ควรเลือกงานที่สามารถทำได้ในเวลาว่าง และไม่หนักจนทำให้ไม่สามารถทำงานหลักได้ เช่น ไลฟ์ขายของทั้งวันทั้งคืน จนทำให้ไปเรียนไม่ไหว ต้องขาดเรียน หรือลางานบ่อย ๆ เพื่อไปขายของที่ตลาด เหล่านี้ก็จะทำให้นายจ้างมองว่าเราหยุดบ่อยเกินไป อาจทำให้ถูกตักเตือนหรืออย่างร้ายแรงถือถูกให้ออกจากงาน ทำให้สูญเสียรายได้ประจำที่ควรมี
2. ใช้ทักษะที่มีอยู่
ใช้ทักษะที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ โดยให้พิจารณาถึงสิ่งที่ถนัดหรืองานอดิเรกที่ชอบทำอยู่แล้ว เช่น ถ้าชอบเขียน ก็อาจจะรับงานเขียนบทความหรือเขียนบทความ, ถ้าชอบวาดรูป ก็อาจจะรับจ้างวาดรูปประกอบหรือทำสินค้าแฮนเมดมาขาย, ถ้าชอบพูด ก็อาจจะหางาน MC ฟรีแลนซ์หรือทำคลิปเล่าเรื่องต่างๆ แล้วตัดต่อให้น่าสนใจได้ การใช้ทักษะที่ตัวเองถนัดหรือชอบอยู่แล้วจะช่วยให้การหารายได้เสริมไม่เครียดหรือกดดันมากเกินไป
3. พิจารณาพลังงานและสภาพร่างกาย
การมีเวลาไม่ใช่ทั้งหมดสำหรับการหารายได้เสริม แต่ต้องประเมินด้วยว่าหลังเลิกเรียนหรือหลังเลิกงานยังมีพลังงานเหลือพอที่จะทำงานเสริมได้อีกหรือไม่ การฝืนร่างกายมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและใจ จนกระทบกับการเรียนหรืองานประจำได้ในที่สุด โดยอาจต้องเลือกลักษณะงานเสริมที่ไม่หนักเกินไป เช่น งานที่ทำที่บ้านได้ หรือเป็นงานที่ไม่ต้องใช้แรงกายมาก
4. เลือกงานที่ยืดหยุ่นและควบคุมได้
งานสำหรับรายได้เสริมที่ดีควรเป็นงานที่สามารถควบคุมตารางเวลาได้เอง หรือเป็นงานที่ไม่ได้มีข้อผูกมัดตายตัวมากนัก เช่น ถ้าเป็นงานพาร์ทไทม์ ก็ควรทำในเวลาที่กำหนด ไม่ทำนอกเวลาให้กระทบกับส่วนอื่น โดยเฉพาะนักเรียน/นักศึกษาที่อาจจะต้องมีเวลาทำงานหรือเตรียมสอบของโรงเรียน/มหาลัย, งานฟรีแลนซ์ที่คุณสามารถเลือกรับหรือไม่รับงานได้, งานที่ทำเสร็จเมื่อไหร่ก็ได้ภายในกรอบเวลาที่กำหนด, หรืองานที่สามารถทำได้จากที่บ้าน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้จัดสรรเวลาและบริหารจัดการชีวิตได้ง่ายขึ้นหากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือมีภาระอื่นเข้ามา
5. หลีกเลี่ยงการรับงานหารายได้เสริมที่เกินตัว
แม้ว่าจะมีโอกาสและรายได้ล่อใจ แต่การรับงานเสริมมากเกินกว่ากำลังของตัวเองจะนำไปสู่ความเครียด, ประสิทธิภาพการทำงานลดลง, และอาจทำให้งานหลักเสียหายได้ ตั้งเป้าหมายที่สมจริงและค่อย ๆ เพิ่มปริมาณงานเมื่อคุณรู้สึกว่าบริหารจัดการได้ดีแล้ว
1.เลือกงานที่ไม่กระทบเวลาเรียน/งานประจำ
ถึงแม้จะมองว่าการหารายได้เสริมเป็นสิ่งสำคัญในยุคนี้ที่จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องไม่กระทบกับสิ่งที่ทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรืองานประจำ แต่ควรเลือกงานที่สามารถทำได้ในเวลาว่าง และไม่หนักจนทำให้ไม่สามารถทำงานหลักได้ เช่น ไลฟ์ขายของทั้งวันทั้งคืน จนทำให้ไปเรียนไม่ไหว ต้องขาดเรียน หรือลางานบ่อย ๆ เพื่อไปขายของที่ตลาด เหล่านี้ก็จะทำให้นายจ้างมองว่าเราหยุดบ่อยเกินไป อาจทำให้ถูกตักเตือนหรืออย่างร้ายแรงถือถูกให้ออกจากงาน ทำให้สูญเสียรายได้ประจำที่ควรมี
6. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและมีวินัย
เมื่อตัดสินใจที่จะหารายได้เสริมแล้ว ควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าทำไปเพื่ออะไร เช่น เพื่อค่าใช้จ่ายส่วนตัว, เพื่อเก็บเงินลงทุน, หรือเพื่อชำระหนี้ และต้องมีวินัยในการจัดสรรเวลาและทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จตามกำหนด การมีวินัยนี้จะช่วยให้คุณสามารถรักษาสมดุลระหว่างงานหลักและงานเสริมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไอเดียหารายได้เสริมที่เหมาะกับ Gen z
สิ่งที่ทำให้คนรุ่นใหม่แตกต่างจากรุ่นก่อนคือ ความกล้าหาญในการลองทำสิ่งใหม่ ๆ และช่องทางการหารายได้เสริมที่ไม่ได้มีแค่ช่องทางออฟไลน์อย่างการไปทำงานพิเศษ ทำงานพาร์ทไทม์ แต่ยังมีช่องทางออนไลน์อีกด้วย ความที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี รู้จักการใช้โซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชัน และแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ อย่างเชี่ยวชาญกันอยู่แล้ว ทำให้คนรุ่นใหม่มีข้อได้เปรียบในการหารายได้เสริมผ่านช่องทางดิจิทัล หลายคนเลือกหารายได้เสริมจากการขายของออนไลน์ การทำคอนเทนต์ผ่านแอป ต่าง ๆ หรือการใช้ทักษะพิเศษในการหารายได้เสริม
ไอเดียหารายได้เสริมที่เหมาะกับนักเรียน/นักศึกษา
1. ติวหนังสือ/สอนพิเศษ
การติวหนังสือก็เป็นหนึ่งในอาชีพเสริมยอดฮิตของวัยเรียน เพราะเป็นการหารายได้เสริมที่ไม่ต้องใช้การลงทุนอะไรนอกจากความรู้ที่เคยเรียนผ่านมาแล้ว ให้ลองหาว่าตัวเองถนัดวิชาไหนเป็นพิเศษ ลองรับติวหนังสือให้กับรุ่นน้อง หรือสอนพิเศษวิชาที่ถนัดได้เลย
2. งานจากความชอบ
บางคนอาจไม่รู้และคิดว่าความชอบของตัวเองไม่มีประโยชน์ แต่ที่จริงก็สามารถใช้หารายได้เสริมได้เช่นกัน เช่น รับเขียนบทความ, รับทำพรีเซนเทชั่น, รับออกแบบกราฟิกง่ายๆ (เช่น โปสเตอร์, เมนู) หากมีทักษะด้านภาษา อาจจะรับงานแปลเอกสารก็ได้ แต่อาจจะต้องดูคุณสมบัติเพิ่มเติม เพราะงานบางอย่างอาจจำกัดไม่ให้นักเรียนหรือนักศึกษาทำเพราะมองว่ายังมีองค์ความรู้ไม่มากพอ
3. ขายของออนไลน์
ปัจจุบันการขายของออนไลน์แทบไม่ต้องลงทุนเยอะ ๆ โดยเฉพาะถ้าเราต้องการทำเป็นอาชีพเสริม โดยอาจจะเริ่มจากลองหาของที่น่าสนใจมาขายออนไลน์ หรือเป็นตัวแทนจำหน่ายแบบไม่ต้องสต็อกสินค้า (Dropshipping) เช่น เสื้อผ้า, เครื่องประดับ, ของใช้แฟชั่นเล็ก ๆ น้อย ๆ สามารถทำควบคู่ไปกับการเรียนได้ไม่ยาก
4.ทำ Affiliate Marketing
Affiliate Marketing การโปรโมทสินค้าหรือบริการของผู้อื่นผ่านช่องทางออนไลน์ของคุณ (เช่น เว็บไซต์, โซเชียลมีเดีย) หากมีคนซื้อสินค้าผ่านลิงก์ที่แปะไว้ก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่น วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ชอบการรีวิวหรือแนะนำสินค้า เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถทำเพื่อหารายได้เสริมได้ง่าย ๆ และไม่กระทบการเรียน
5. สร้างคอนเทนต์ออนไลน์
ถ้ามีความสนใจหรือทักษะพิเศษ ลองสร้างคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มอย่าง YouTube, TikTok, หรือ Lemon8 เช่น รีวิวการเรียน, รีวิวสินค้า, สอนทักษะง่าย ๆ เช่น ทริคแต่งหน้าไปเรียน เมื่อมีผู้ติดตามจำนวนหนึ่ง ก็อาจจะสามารถสร้างรายได้เสริมจากค่าโฆษณาหรือการรับสปอนเซอร์ได้ ซึ่งปัจจุบันในแพลตฟอร์ม Tiktok ก็มีเด็ก ๆ วัยเรียนหลายคนที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเองจากการทำคลิปไลฟ์สไตล์
ไอเดียหารายได้เสริมที่เหมาะกับพนักงานบริษัท
1.ขายของ์ในช่วงเย็น-สุดสัปดาห์
ความที่พนักงานประจำต้องทำงานตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น อาจจะทำให้มีเวลาน้อย แต่ปัจจุบัน การขายของก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่หนักงานประจำหลายคนเลือกทำ เพราะสามารถหารายได้เสริมได้ในเวลาหลังเลิกงานและวันหยุดจัดการออเดอร์เปิดและเปิดร้าน โดยอาจเลือกขายจากที่ชอบหรือสนใจ เช่น ชอบวาดภาพ ก็เอางานศิลปะทีเคยทำมาเป็นสินค้าลงขายในช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ หรือถ้าใครชอบทำอาหาร ก็ลองเปิดรับออเดอร์ในหมู่บ้าน, คอนโด, ที่ทำงาน แต่ถ้าใครไม่ถนัดอะไรเลยแต่อยากจะขายก็ได้เหมือนกัน เพราะปัจจุบันแบรนด์ต่าง ๆ ก็เปิดรับตัวแทนจำหน่ายทำให้สามารถขายของได้โดยที่ไม่ต้องลงทุนเอง
2. สร้างคอนเทนต์ออนไลน์
การหารายได้เสริมด้วยการสร้างคอนเทนต์ออนไลน์ไม่ได้จำกัดอายุหรือความสนใจ แต่อาจจะเลือกคอนเทนต์ให้เหมาะกับตัวเอง เช่น วิวสินค้า, รีวิวสถานที่, สอนทำอาหาร, DIY, หรือเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจ หรือถ้าใครพูดเก่ง ๆ ก็แนะนำให้สร้างพอดแคสต์เล่าเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ หรือประสบการณ์การทำงานในสายงานต่าง ๆ
3. รับงานฟรีแลนซ์ทั่วไป
งานฟรีแลนซ์ คืองานหารายได้เสริมที่ทำตอนไหนก็ได้ แนะนำว่าให้ใช้เวลาว่างเลือกทำงานที่ถนัด เช่น ทำบัญชีให้ร้านค้าเล็ก ๆ ออกแบบเว็บไซต์ เขียนคอนเทนต์ แต่ระวังอย่ารับงานมากเกินไปจนทำให้ไม่สามารถทำได้ครบตามกำหนด
4. รับงานที่ปรึกษา/สอนพิเศษ (จากความเชี่ยวชาญ)
หากทำงานในสายอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น การตลาด, การเงิน, ไอที, ศิลปะ ลองรับงานเป็นที่ปรึกษาหรือเปิดคอร์สสอนพิเศษ, เปิด workshop ศิลปะ นอกจากจะหารายได้เสริมแล้วยังต่อยอดความรู้เมื่อได้อีกด้วย
5. ลงทุนระยะยาว (Passive Income)
Passive Income เป็นเป้าหมายทางการเงินของใครหลาย ๆ คน เพราะช่วยเพิ่มความมั่นคงและอิสระทางการเงินในระยะยาว แต่การลงทุนทุกรูปแบบมีความเสี่ยงสูง การลงทุนระยะยาวแม้จะลดความผันผวนได้บ้าง แต่ก็ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก ควรศึกษาและทำความเข้าใจความเสี่ยงของแต่ละสินทรัพย์ และอย่าลงทุนในสิ่งที่คุณไม่เข้าใจ ศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ช่องทางการลงทุนระยะยาวเพื่อสร้าง Passive Income
ช่องทางการลงทุนระยะยาวเพื่อสร้างรายได้เรื่อยเปื่อยมีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การลงทุนในหุ้นปันผลที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอและมีโอกาสเติบโตในระยะยาว กองทุนรวมที่มีผู้เชี่ยวชาญบริหารจัดการและกระจายความเสี่ยง อสังหาริมทรัพย์ให้เช่าที่ให้รายได้ประจำแต่ต้องใช้เงินลงทุนสูง กองทุน REITs และ Infrastructure Funds ที่ให้โอกาสเข้าถึงอสังหาริมทรัพย์ด้วยเงินลงทุนน้อยกว่า ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำและให้ผลตอบแทนแน่นอน รวมถึงการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาเช่น การเขียนหนังสือ ถ่ายภาพ หรือแต่งเพลงที่สามารถสร้างรายได้ต่อเนื่องจากลิขสิทธิ์ โดยแต่ละช่องทางมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ผู้ลงทุนควรเลือกตามความเหมาะสมกับทุนที่มี ระดับความเสี่ยงที่รับได้ และเป้าหมายการลงทุนของตนเอ
ข้อควรระวังในการหารายได้เสริม
1. อย่าหลงเชื่อการลงทุนที่รวยไวโดยไม่มีข้อมูล
หลายครั้งที่คนมักจะตกหลุมพรางกับคำว่าทำแล้วรวยไว ไม่ต้องเหนื่อยทำงานหนัก นี่เพราะภาระและความต้องการเงินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น แชร์ลูกโซ่/ธุรกิจพีระมิดที่มักจะชวนให้ลงทุนโดยอ้างผลตอบแทนสูงลิ่วเกินจริง และเน้นการชวนคนใหม่เข้ามาเป็นหลัก ไม่ได้มาจากสินค้าหรือบริการจริงๆ
หรือหลายคนก็ถูกคนใช้จิตวิทยาหลอก โดยเร่งรัดให้ตัดสินใจลงทุนทันที อ้างว่าเป็นโอกาสสุดท้าย หรือ พลาดแล้วจะเสียใจ ทำให้หลายคนลงเชื่อเพราะไม่อยากเสียโอกาส แต่ความจริงแล้วการลงทุนต้องใช้เวลาคิดให้เยอะ ต้องเข้าใจโมเดลธุรกิจ แหล่งที่มาของรายได้ และความเสี่ยงของสิ่งที่คุณกำลังจะลงทุน ไม่ใช่แค่เชื่อตามคำบอกเล่า
2. อย่าละเลยงานหลักหรือการเรียน
งานหลักหรือการเรียนคือ เสาหลัก ของชีวิตคุณในปัจจุบัน การหารายได้เสริมควรเป็น ส่วนเพิ่ม ไม่ใช่ ส่วนแทน หากทุ่มเทให้งานเสริมมากเกินไป อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานหรือการเรียนลดลง ส่งผลต่อผลการเรียน, ผลงานในที่ทำงาน, หรือแม้แต่ความก้าวหน้าในอาชีพ
3. บริหารเวลาชีวิตให้บาลานซ์
การหารายได้เสริมที่ดีคือการหาจุดสมดุลที่ทำให้ชีวิตคุณมีความสุขและไม่รู้สึกเหนื่อยล้าหรือถูกกดดันมากเกินไป ควรจัดลำดับความสำคัญ แยกแยะว่าสิ่งใดคือเรื่องเร่งด่วน สิ่งใดคือเรื่องสำคัญ และสิ่งใดที่สามารถผ่อนปรนได้ และการวางแผนตารางเวลาอย่างละเอียดจะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมและจัดสรรเวลาสำหรับงานหลัก งานเสริม และเวลาส่วนตัวได้อย่างเหมาะสม
ให้เวลากับตัวเองและคนรอบข้าง อย่าปล่อยให้การหารายได้เสริมเข้ามาแย่งเวลาพักผ่อน การออกกำลังกาย การใช้เวลากับครอบครัวและเพื่อนฝูง เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นพลังงานที่สำคัญในการขับเคลื่อนชีวิต และอย่ารับงานมากเกินไป เพื่อรักษาสมดุลชีวิตและไม่ทำให้ตัวเองเหนื่อยล้าจนเกินไป
4. ระวังเรื่องภาษี
เมื่อมีรายได้เสริม ไม่ว่าจะจากช่องทางใดก็ตาม แน่นอนว่ารายได้เหล่านั้นถือเป็นรายได้ที่ต้องนำไปคำนวณภาษี ดังนั้นควรทำความเข้าใจประเภทของรายได้เสริมที่คุณได้รับและอัตราภาษีที่เกี่ยวข้อง อย่าลืมบันทึกรายรับ-รายจ่าย เก็บหลักฐานรายรับและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานเสริมไว้ให้ดี เพื่อประโยชน์ในการยื่นภาษีและหักค่าใช้จ่าย
5. สุขภาพกายและสุขภาพจิต
การหารายได้เสริมมักมาพร้อมกับการใช้พลังงานและเวลาที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการอดนอนสะสมเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและลดความเครียด ที่สำคัญคืออย่าลืมหาเวลาผ่อนคลาย: การพักผ่อนสมองและลดความเครียดเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันภาวะหมดไฟ (Burnout)
Gen Z ไม่ได้มองหารายได้เสริมแค่เพื่อเงิน แต่มองเห็นโอกาสในการพัฒนาทักษะ สร้างเครือข่าย และสำรวจความสนใจของตัวเอง บางคนอาจเริ่มจากการขายของเล่นแล้วกลายเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ หรือบางคนอาจเริ่มจากการทำคอนเทนต์เพื่อความสนุกแล้วกลายเป็น Content Creator มืออาชีพ การหารายได้เสริมในยุคนี้จึงไม่ใช่แค่เรื่องของความจำเป็น แต่เป็นการเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เรียนรู้ สร้างสรรค์ และเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต สำหรับที่อยากเริ่มหารายได้ให้กับตัวเอง แต่ไม่มีทุน ก็สามารถใช้บัตรเครดิต KTC ซื้อของที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้น เช่น อุปกรณ์ไลฟ์สด, อุปกรณ์ทำขนม เป็นต้น นอกจากจะไม่ต้องควักเงินสดมาจ่ายทีเดียวแล้วยังได้สิทธิประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นคะแนนสะสม KTC FOREVER, เครดิตเงินคืน หรือผ่อน 0% นานสูงสุด 3-10 เดือนขึ้นอยู่กับโปรโมชั่น ทนอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนยอดชำระเต็มเป็นผ่อนชำระได้ เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนไม่ให้สูงเกิน ใครยังไม่มีแนะนำสมัครบัตรเครดิต KTC ออนไลน์ สมัครง่าย อาชีพไหนก็สมัครได้ ไม่ต้องไปธนาคารพร้อมติดตามผลได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC