เข้าใจปัญหาเงินเฟ้อ วางแผนทางการเงินได้
ความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน มนุษย์เงินเดือนเองก็ได้รับผลกระทบจากความผันผวนทางเศรษฐกิจเช่นกัน โดยเฉพาะในด้านรายจ่ายที่มีการปรับเปลี่ยนตามเศรษฐกิจ ซึ่งภาวะเงินเฟ้อก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้การใช้จ่ายลำบากมากขึ้น การรู้จักและเตรียมพร้อมรับมือกับเงินเฟ้อจึงช่วยในการวางแผนการเงินได้เป็นอย่างดี
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ภาวะเงินเฟ้อคืออะไร?
หลายคนน่าจะคุ้นหูกับคำว่าภาวะเงินเฟ้อเงินฝืดกันมาบ้าง ซึ่งเป็นคำนิยามภาวะเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับการจับจ่ายสินค้าและบริการ
ภาวะเงินเฟ้อ เป็นภาวะที่ของแพงขึ้น แต่รายรับเท่าเดิม
ภาวะเงินเฟ้อ คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อธิบายง่าย ๆ คือ ของชิ้นเดิม ปริมาณเท่าเดิม แต่ราคาสูงกว่าราคาเดิม ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถใช้เงินจำนวนเท่าเดิมซื้อของได้เท่าเดิมอีกแล้ว เพราะของชิ้นนั้นราคาแพงขึ้น ภาวะเงินเฟ้อจึงเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นภาวะที่ของแพงขึ้น แต่กำลังซื้อของคนลดลง ถึงแม้ของจะแพงขึ้น แต่ภาวะเงินเฟ้อก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียตัวของตนเอง ข้อดีคือเกิดการลงทุนมากขึ้น เพราะผู้ประกอบกิจการเห็นว่าราคาสินค้าและบริการปรับราคาสูงขึ้น เหมาะแก่การลงทุนในสินค้าและบริการ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่หันมาลงทุนเพื่อเก็บเงินระยะยาวมากขึ้น ส่วนข้อเสียก็คือของแพงขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น คนทำงานได้เงินเดือนไม่พอใช้เหมือนเคย
ภาวะเงินเฟ้อที่น่ากังวล
การเกิดภาวะเงินเฟ้อมีทั้งข้อดีและข้อเสียดังที่ได้กล่าวไปแล้ว โดยธนาคารกลางจะเป็นผู้ควบคุมเงินเฟ้อภายในประเทศ การวัดค่าเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้นนิยมใช้วิธี Consumer Price Index (CPI) ซึ่งเป็นการเฉลี่ยค่าสินค้าในตะกร้าที่มีหลายหมวดหมู่ หากตัวเลข CPI เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าแปลว่ามีเงินเฟ้อเกิดขึ้น แต่หากเกิดขึ้นครั้งละน้อยก็อาจจะเป็นผลดีมากกว่า ช่วยกระตุ้นการลงทุนและการทำธุรกิจ แต่หากเงินเฟ้อสูงเกินไปจะส่งผลเสียมากกว่า ภาวะเงินเฟ้อที่น่ากังวลจึงมีดังนี้
- เงินเฟ้อติดลบเป็นเวลานาน (Prolonged Period)
- การกระจายตัวของเงินเฟ้อในหลากหลายหมวดสินค้า ซึ่งจะกระทบต่อธุรกิจหลายภาคส่วน
- แนวโน้มที่จะเป็นอัตราเงินเฟ้อระยะยาว
- อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบ ทำให้อัตราการจ้างงานต่ำ คนตกงานมากขึ้น
การที่เกิดภาวะเหล่านี้จะส่งผลต่อการใช้จ่ายโดยตรง ประชาชนจะรู้สึกว่าเงินไม่พอใช้ และอาจมีการก่อหนี้ครัวเรือนมากขึ้น ต้องวางแผนการเงินให้ดี
สาเหตุของภาวะเงินเฟ้อ
ภาวะเงินเฟ้อทำให้สินค้าและบริการแพงขึ้น
เงินเฟ้อสาเหตุมาจากความไม่สอดคล้องกันระหว่างความต้องการซื้อ (Demand) และความต้องการขาย (Supply) ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคสวนทางกับสินค้าและบริการที่มีมาจากปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้
- ปัจจัยด้านต้นทุน (Cost-Push Inflation)
ปัจจัยด้านต้นทุนเป็นปัญหาจากกระบวนการผลิตที่ทำให้มีสินค้าออกสู่ท้องตลาดน้อย เช่น ต้นทุนสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนที่ดิน หรือต้นทุนแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าและบริการต้องปรับขึ้นตาม สินค้าจึงแพงขึ้น ขณะที่คนมีกำลังซื้อเท่าเดิม
- ปัจจัยด้านความต้องการ (Demand-Pull Inflation)
ปัจจัยด้านความต้องการมาจากผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสินค้าและบริการได้มากขึ้น ทำให้สินค้าหมดจากตลาดและปรับราคาสูงขึ้น สาเหตุที่ทำให้คนออกมาใช้จ่ายมากขึ้น เช่น มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ค่าเงินอ่อนค่าลง ภาษีลดลง เป็นต้น
- ปัจจัยด้านแรงงาน (Built – In)
ปัจจัยด้านแรงงานมาจากการขอขึ้นอัตราเงินเดือนขั้นต่ำของแรงงาน ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น สินค้าและบริการจึงมีราคาสูงขึ้นด้วย ทุกครั้งที่มีการปรับรายได้ขั้นต่ำขึ้นจึงต้องมีการวางแผนเกี่ยวกับเงินเฟ้อเอาไว้ด้วย
ภาวะเงินเฟ้อส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่ากระทบกับคนทุกกลุ่ม แต่มนุษย์เงินเดือนที่เป็นกลุ่มที่มีกำลังในด้านการผลิตเงิน และเป็นกลุ่มที่ทำงานเพื่อมาจับจ่ายใช้สอยจะต้องวางแผนรับมือปัญหาเงินเฟ้อให้ดีด้วยเช่นกัน
ผลกระทบและการรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ
เงินเฟ้อส่งผลกระทบในด้านการใช้จ่าย ทำให้คนต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้เงิน มีการสร้างวินัยในการใช้เงินและการเก็บออมอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนการเงินล่วงหน้าหลายเดือน เพื่อให้เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ตกงานกะทันหันยังคงมีทางออก
ผลกระทบของเงินเฟ้อกับมนุษย์เงินเดือน
ผลกระทบหลัก ๆ ของมนุษย์เงินเดือนเลยก็คือของแพงขึ้น ซึ่งหากเป็นมนุษย์เงินเดือนที่เงินเดือนปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ อาจจะได้รับผลกระทบไม่มาก แต่ถ้าเงินเดือนยังคงเท่าเดิมหรือปรับขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็นจะทำให้เงินเดือนที่มีไม่พอจ่าย ต้องทำงานมากขึ้นเพื่อให้มีรายได้มากขึ้น หรือมีการวางแผนการเงินอื่น ๆ ที่เพิ่มความประหยัด เช่น การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ซึ่งเป็นตัวช่วยในการใช้จ่ายที่ประหยัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่นจากบัตรเครดิตมาเป็นส่วนลด หรือผ่อนชำระสินค้าและบริการผ่านบัตรเครดิต เพราะบัตรเครดิตสามารถรูดซื้อสินค้ามูลค่าสูงได้ แล้วแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ช่วยให้ไม่ต้องเก็บเงินก้อนเอง รวมถึงกดเงินสดออกมาได้เมื่อมีค่าใช้จ่ายจำเป็นเข้ามา
บัตรเครดิต KTC ช่วยการวางแผนการเงินได้
การรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ
- ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง
การลงทุนควรเป็นการลงทุนที่มีความปลอดภัย ความเสี่ยงต่ำ เช่น การลงทุนในพันธบัตรเพื่อรับ Bond Yield เมื่อครบกำหนด หรือลงทุนในสินทรัพย์ที่มีมูลค่าในตนเอง เช่น ทองคำ
- บริหารหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถึงแม้การใช้จ่ายจะยากลำบากขึ้น แต่ควรประเมินการใช้จ่ายของตนเองเสมอ ไม่ควรก่อหนี้เกิน 30% ของเงินเดือน มิเช่นนั้นการใช้จ่ายจะติดขัดและอาจทำให้เป็นหนี้ก้อนใหม่ได้
- แบ่งรายจ่ายแต่ละเดือนอย่างเป็นระบบ
การจัดสรรรายจ่ายแต่ละเดือนเอาไว้จะช่วยให้รู้ว่าเดือนนั้น ๆ มีเงินเหลือสำหรับใช้จ่ายส่วนตัวเท่าไหร่จึงจะไม่ลำบาก ซึ่งบางคนอาจจะเลือกทำบัตรเครดิตเพื่อเป็นตัวช่วยในการใช้จ่าย และลดการใช้เงินก้อนใหญ่ในแต่ละเดือนได้
- ออมเงิน
การเตรียมการณ์เผื่ออนาคตจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในเส้นทาง โดยการออมเงินควรเป็นสิ่งที่มนุษย์เงินเดือนไม่ควรมองข้าม ควรออมเงินประมาณ 10% - 20% ของเงินเดือนทั้งหมด เพื่อที่ในยามฉุกเฉินจะได้มีเงินใช้
- หารายได้เสริม
เมื่อเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อ แล้วเงินที่มีใช้ซื้อของที่ต้องการไม่ได้ การมองหาแหล่งรายได้เสริมจะช่วยเพิ่มรายรับได้ โดยควรมีรายรับที่สอดคล้องกับภาวะเงินเฟ้อ
ภาวะเงินเฟ้อเกิดได้ทุกช่วงเวลา การเตรียมพร้อมเอาไว้ก่อนจึงเพิ่มความอุ่นใจและความปลอดภัยในการใช้เงิน แนะนำให้มนุษย์เงินเดือนสมัครบัตรเครดิตเอาไว้สักใบ เพื่อเป็นตัวช่วยในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพราะบัตรเครดิตทำได้หลายอย่าง ทั้งรูดซื้อสินค้าและบริการ มอบส่วนลดจากร้านค้าครอบคลุมหลายหมวดหมู่ ใช้จ่ายแบบไร้เงินสด หากใช้ให้เป็น บัตรเครดิตจะเป็นตัวช่วยทางการเงินที่มีประโยชน์มหาศาล
สมัครบัตรเครดิต KTC ง่ายๆทางออนไลน์
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี