ดูก่อนจ่าย ป้องกันการใช้แบงค์ปลอมในชีวิตประจำวัน
กลโกงมิจฉาชีพมีทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น SMS ชวนเชื่อ แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกโอนเงิน หรือแม้กระทั่งการทำธนบัตรปลอมออกสู่ท้องตลาด โดยเฉพาะแบงค์ที่มีมูลค่าสูงสุดอย่างแบงค์พันหรือธนบัตรมูลค่า 1,000 บาท ที่ถูกทำปลอมออกมาบ่อย ส่งผลให้ทั้งผู้ใช้และผู้รับเงินจำนวนดังกล่าวต้องหยิบแบงค์ในมือมาตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง ป้องกันการใช้จ่ายด้วยแบงค์ปลอมแล้วจะนำความยุ่งยากใจมาให้ในภายหลัง
วิธีการดูธนบัตรหนึ่งพันบาทปลอม
ธนบัตรปลอมเป็นช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพใช้เพื่อหลอกเอาเงินที่คนใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยใช้ธนบัตรปลอมมาแลกสินค้า ส่วนมากธนบัตรที่มีการทำปลอมออกมาจะมีมูลค่าสูง อย่างธนับตรใบละ 1,000 บาท เพราะจะได้รับเงินทอนจากผู้ค้า เพื่อป้องกันการได้รับแบงค์พันปลอมจึงควรรู้วิธีการดูแบงค์ 1,000 บาท ปลอมเอาไว้
แบงค์พันจริงมักจะมีรายละเอียดของธนบัตรหลายส่วนที่มีความพิถีพิถันในการจัดพิมพ์ แต่แบงค์พันปลอมทำไม่ได้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ระบุ 10 จุด ที่ควรสังเกตในธนบัตร ดังนี้
1. กระดาษธนบัตร
ธนาคารแห่งประเทศไทยเลือกใช้กระดาษที่มีใยฝ้ายเป็นส่วนประกอบ กระดาษจึงมีเนื้อสัมผัสแตกต่างจากกระดาษอื่น ไม่ยุ่ยง่ายแม้โดนน้ำ
2. ลายพิมพ์เส้นนูน
เทคนิคการพิมพ์ธนบัตรทำให้เกิดรอยนูนที่สัมผัสได้ด้วยมือเปล่า เมื่อใช้มือสัมผัสทั่วธนบัตรจริงจะพบว่าธนบัตรไม่เรียบเสมอกัน มีส่วนที่เป็นเส้นนูนขึ้นมา
3. ลายน้ำบนธนบัตร
ช่องว่างด้านขวาของธนบัตรเมื่อส่องกับแสงไฟ หรือยกขึ้นส่องดูจะพบกับภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4. ช่องใสบนธนบัตร
ช่องใสจะปรากฏกับธนบัตรบางชนิดเท่านั้น โดยช่องใสจะมองเห็นทะลุกันทั้ง 2 ด้าน และภายในช่องใสจะระบุตัวเลขราคาธนบัตรกำกับเอาไว้
5. เทคนิคภาพซ้อนทับ
ภาพครุฑบนธนบัตรด้านหน้าและด้านหลังจะมีสีสันแตกต่างกัน แต่จะแนบทับกันสนิทพอดี เมื่อพลิกเข้าหาแสงไฟจะเปลี่ยนสีไปมา
6. ตัวเลขแฝง
ด้านหน้าของธนบัตรมุมล่างซ้ายจะมีแถบสีเทาเล็ก ๆ อยู่ เมื่อพลิกเข้าหาแสงสว่างจะพบกับตัวเลขที่ซ่อนไว้เป็นตัวเลขราคาของธนบัตร
7. ลายดอกประดิษฐ์ของหมึกพิมพ์
เมื่อดูธนบัตรใบละ 1,000 บาท จะพบกับดอกไม้ประดิษฐ์ที่เมื่อพลิกไปมาจะมีการเล่นสี ภายในดอกมีตัวเลข 1,000 ระบุอยู่
8. แถบสีบนธนบัตร
แถบสีเป็นแถบที่คาดบนธนบัตรเป็นแนวตั้ง แต่ละราคาจะมีแถบสีแตกต่างกัน โดยภายในแถบจะปรากฏตัวเลขราคาธนบัตรปรากฏให้เห็น
9. แถบฟอยด์ภาพ 3 มิติ
แถบฟอยด์นี้จะเล่นกับไฟได้เป็นอย่างดี เมื่อพลิกไปมาจะพบลูกเล่นภายในแผ่นฟอยด์ที่ยากในการเลียนแบบ แถบฟอยด์จะพาดเป็นแนวตั้งบนธนบัตรด้านขวามือ
10. การฉายสีบนรังสีเหนือม่วง
รังสีเหนือม่วงเป็นเทคนิคพิเศษที่สามารถทำให้ธนบัตรปรากฏเป็นสีเหลือง แดง และน้ำเงินได้ เพราะธนบัตรพิมพ์ด้วยหมึกเรืองแสงชนิดพิเศษ
วิธีดูแบงค์พันหรือธนบัตร 1,000 บาทใหม่นี้มาจากแบงค์พันปลอมที่กำลังระบาด โดยกลุ่มมิจฉาชีพมักจะหลอกจ่ายเงินด้วยแบงค์พันปลอมจนประชาชนต้องศึกษาว่าแบงค์พันปลอมดูยังไง เพื่อป้องกันการโดนหลอก บางร้านตัดปัญหาโดยการให้จ่ายผ่านบัตรเครดิตหรือโอนจ่ายแทนหากเป็นการจ่ายโดยธนบัตรใบใหญ่
จ่ายค่าสินค้ามูลค่าสูงด้วยบัตรเครดิต ลดการพกเงินสด เลี่ยงปัญหาแบงค์พันปลอม
การป้องกันธนบัตรปลอมในชีวิตประจำวัน
การโอนจ่ายหรือจ่ายผ่านบัตรเครดิตป้องกันการได้รับแบงค์ปลอมได้
ช่วงที่ธนบัตรปลอมระบาด หากต้องรับธนบัตรจากผู้อื่นมีโอกาสที่จะได้ธนบัตรปลอมปะปนมา ยกเว้นกดเงินจากตู้ ATM หรือเบิกถอนจากธนาคารโดยตรงจึงจะไว้ใจได้ว่าเป็นธนบัตรจริง การป้องกันธนบัตรปลอม โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพค้าขายสามารถทำได้ ดังนี้
- ตรวจสอบธนบัตรทุกใบ อย่างน้อย 3 จุด
ธนาคารแห่งประเทศไทยแนะนำให้ตรวจธนบัตรอย่างน้อย 3 จุดเพื่อความมั่นใจว่าเป็นธนบัตรจริง โดยเฉพาะธนบัตรที่มีมูลค่าสูง
- ใช้ปากกาตรวจธนบัตรปลอม
ปากการตรวจธนบัตรจะเล่นกับหมึกสีพิเศษบนธนบัตร หากใช้ปากกานี้ขีดลงบนธนบัตร แล้วรอยขีดบนธนบัตรเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจึงจะถือว่าเป็นธนบัตรจริง แต่ควรใช้ควบคู่กับการพิสูจน์รูปแบบอื่นด้วยเพื่อความมั่นใจที่มากขึ้น
- เปลี่ยนเป็นจ่ายผ่านการโอนหรือตัดผ่านบัตรเครดิต
การจ่ายผ่านการโอนหรือตัดผ่านบัตรเครดิตช่วยลดการรับธนบัตรปลอม ผู้ซื้อก็สะดวกเพราะไม่ต้องพกเงินสด และบางครั้งบัตรเครดิตก็มีโปรโมชั่นในการซื้อ ช่วยลดการสัมผัสที่อาจทำให้ติดเชื้อโควิดได้อีกด้วย การมีบัตรเครดิตสักใบจึงให้ความคุ้มค่าหลายต่อในปัจจุบัน
ธนบัตรปลอมระบาดเป็นช่วง ๆ การรู้จักวิธีการตรวจสอบธนบัตรปลอม หรือการมีแนวทางแก้ไขโดยการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะช่วยให้การใช้เงินปลอดภัย ลดโอกาสในการได้รับธนบัตรปลอม และยังได้ส่วนลดหรือโปรโมชั่นผ่อน 0% ได้อีกด้วย
ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
จ่ายผ่านบัตรเครดิต ลดโอกาสได้รับธนบัตรปลอม
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี