วิธีชําระเงินประกันสังคม มาตรา 40 ออนไลน์ มีกี่วิธีทำแบบไหนได้
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบอาชีพไม่ได้มีแค่พนักงานออฟฟิศหรือมนุษย์เงินเดือน ยังมีกลุ่มบุคคลทั่วไปที่เป็นแรงงานนอกระบบ อย่างพ่อค้าแม่ค้า วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เกษตรกร ฟรีแลนซ์ หรือกลุ่มแรงงานอิสระอื่น ๆ ที่อาจไม่มีสวัสดิการหรือสิทธิคุ้มครองต่าง ๆ ทำให้กองทุนประกันสังคมถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่สร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตแก่กลุ่มผู้ที่มีรายได้และทำการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อเฉลี่ยรับผิดชอบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต โดยความคุ้มครองของกองทุนประกันสังคมถูกแบ่งออกตามรูปแบบผู้ประกันตน 3 กลุ่ม คือ ประกันสังคมมาตรา 33, ประกันสังคมมาตรา 39 และประกันสังคมมาตรา 40 ซึ่ง KTC จะพาไปทำความรู้จักประกันสังคมมาตรา 40 สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์ไปจนถึงพ่อค้าแม่ค้า ว่าได้รับการดูแลเรื่องใดบ้าง สิทธิประโยชน์จากสำนักงานประกันสังคม ไปจนถึงวิธีสมัครผ่านช่องทางออนไลน์และการเลือกชำระผ่านช่องทางออนไลน์มีวิธีไหนบ้าง ตามไปดูกัน
ประกันสังคมมาตรา 40 คืออะไร
ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ กลุ่มของประกันสังคมที่มีการขยายระบบให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ รวมถึงผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า พนักงานอิสระ เกษตรกร ให้ได้มีหลักประกันชีวิตตามสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับ
สมัครประกันสังคมมาตรา 40 ออนไลน์
คุณสมบัติผู้ที่ต้องการสมัครประกันสังคมมาตรา 40
สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครประกันสังคมมาตรา 40 ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- มีสัญชาติไทย
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
- เป็นบุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามประกันสังคมมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39
- ไม่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการต่าง ๆ หรือไม่เป็นสมาชิกกองทุนของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
- ผู้ถือบัตรประจำตัวไม่มีสัญชาติไทยขึ้นต้นด้วยเลข 0, 6 และ 7 (ชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยที่ผ่านมติครมผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษหรือบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวโดยจะมีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย)
- หากเป็นผู้พิการต้องระบุลักษณะหรืออาการของผู้พิการโดยละเอียด ยกเว้นผู้พิการทางสติปัญญาและผู้ที่ไม่สามารถรับรู้สิ่งที่พึงจะได้รับจากผู้ประกันตนมาตรา 40 จะไม่สามารถสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนได้
เอกสารประกอบการสมัคร
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
- แบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40)
สมัครประกันสังคมมาตรา 40 ได้ที่ไหนบ้าง
- สมัครผ่านสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครในพื้นที่ที่อยู่อาศัยหรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขาทุกแห่งทั่วประเทศ
- สมัครผ่านเว็บไซต์ sso.go.th/section40_regist
- สมัครผ่านบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11
ทางเลือกการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40
วิธีชําระเงินประกันสังคมมาตรา 40
สรุปวิธีการชําระเงินประกันสังคมมาตรา 40 มีหลากหลายตัวเลือกทั้งบริการแบบออฟไลน์และบริการแบบออนไลน์ที่ให้คุณสามารถเลือกช่องทางที่สะดวกในการชำระเงินประกันสังคม ดังนี้
เคาน์เตอร์บริการ จุดรับชำระ เช่น Tesco Lotus, เคาน์เตอร์เซอร์วิส, Big C, ตู้บุญเติม เป็นต้น
หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร สามารถชำระงวดปัจจุบันด้วยการหักผ่านบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารที่สำนักงานประกันสังคมระบุไว้
1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (มหาชน)
4. ธนาคารออมสิน
5. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
6. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
7. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
8. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
9. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
ช่องทางออนไลน์ ชําระเงินประกันสังคมมาตรา 40 ผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยการชำระผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่รองรับ เช่น ชําระเงินประกันสังคมมาตรา 40 ผ่านแอปพลิเคชัน Shopee และ การชำระประกันสังคมมาตรา 40 ผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน AirPay
วิธีชําระเงินประกันสังคมมาตรา 40 Shopee
- เข้าไปที่แอปพลิเคชัน Shopee
- เลือกเมนู “Top-up Bill & Movies”
- จากนั้นเลือกเมนู “บิลประกัน และประกันสังคม”
- เลือกชำระ “ประกันสังคมมาตรา 40”
- กรอกเลขประจำตัวประชาชน จากนั้นกด “ตรวจสอบบิล”
- กดชำระบิล
*ผู้ประกันตนสามารถชำระเงินสมทบและเงินสมทบเพิ่มเติม (ถ้ามี) งวดเดือนปัจจุบัน และชำระเงินสมทบงวดเดือนล่วงหน้าไม่เกิน 12 งวดเดือน รวมชำระเงินสมทบ ได้ไม่เกิน 13 งวดเดือน สามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ได้ด้วยตนเองบนเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมในวันถัดไปหลังจากชำระเงิน
วิธีชำระประกันสังคมมาตรา 40 AirPay
- เข้าไปที่แอปพลิเคชัน AirPay
- เลือกเมนู “จ่ายบิล”
- กดเลือก “บิลประกันและประกันสังคม”
- เลือกชำระ “ประกันสังคมมาตรา 40”
- กรอกเลขประจำตัวประชาชน จากนั้นกด “ตรวจสอบบิล”
- ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง กดชำระบิล
โดยประกันสังคมมาตรา 40 จะถูกแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบตามยอดเงินสมทบ ดังนี้
ทางเลือก 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน สิทธิประโยชน์ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต
ทางเลือก 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน สิทธิประโยชน์ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ เสียชีวิต
ทางเลือก 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน สิทธิประโยชน์ เจ็บป่วย สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ เสียชีวิต
จ่ายประกันสังคม มาตรา 40 ย้อนหลังได้ไหม
คำตอบคือ ไม่ได้ แม้สำนักงานประกันสังคมจะไม่เปิดให้ผู้ประกันตน มาตรา 40 จ่ายเงินสมทบย้อนหลัง แต่สามารถจ่ายเงินสมทบล่วงหน้า 12 เดือน เพื่อรักษาสิทธิอื่น ๆ ได้ที่
1. เคาน์เตอร์ธนาคารที่กำหนด
2. เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
3. ธนาณัติที่ทำการไปรษณีย์
4. สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ ยกเว้นสำนักงานใหญ่กระทรวงสาธารณสุข
5. แอปพลิเคชัน ShopeePay
6. เคาน์เตอร์ CenPay
ทางสำนักงานประกันสังคมได้เปิดให้สามารถเช็คสิทธิ์ประกันสังคมมาตรา 40 ผ่านช่องทางออนไลน์บนหน้าเว็บไซต์ประกันสังคม เพื่อตรวจสอบสิทธิ์หลังจากทำการสมัครและชำระเงินประกันสังคมมาตรา 40 ตามเงื่อนไข ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สร้างหลักประกันให้กับตัวคุณเมื่อถึงยามจำเป็นไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยหรือสวัสดิการอื่น ๆ ที่ควรได้รับ
ทางสำนักงานประกันสังคมได้เปิดให้สามารถเช็คสิทธิ์ประกันสังคมมาตรา 40 ผ่านช่องทางออนไลน์บนหน้าเว็บไซต์ประกันสังคม เพื่อตรวจสอบสิทธิ์หลังจากทำการสมัครและชำระเงินประกันสังคมมาตรา 40 ตามเงื่อนไข ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สร้างหลักประกันให้กับตัวคุณเมื่อถึงยามจำเป็นไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยหรือสวัสดิการอื่น ๆ ที่ควรได้รับ
สมัครบัตรเครดิต KTC เงินเดือน15,000 ก็สมัครได้
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี