ในยุคที่เศรษฐกิจมีความเสี่ยงสูงและอาจเกิดความไม่แน่นอนได้ทุกเมื่อ การวางแผนทางการเงินที่รัดกุมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนการเงินในอนาคตสำหรับวัยเกษียณ แนะนำหนึ่งในตัวเลือกที่จะช่วยให้วางแผนการเงินสำหรับอนาคตได้ดีมากยิ่งขึ้น ก็คือการทำ “ประกันออมทรัพย์” หรือประกันสะสมทรัพย์ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นตัวช่วยเก็บออมเงิน แต่ยังเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางด้านการเงินในระยะยาว ประกันสะสมทรัพย์จึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างอนาคตทางการเงินที่มั่นคง สำหรับใครที่สนใจแต่ยังไม่ค่อยรู้จักประกันสะสมทรัพย์ สามารถดูรายละเอียดไปพร้อมกันได้ในบทความนี้
ประกันออมทรัพย์เป็นประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองชีวิตผู้เอาประกัน และการสะสมเงินออม
ประกันออมทรัพย์ คืออะไร
ประกันออมทรัพย์ หรือประกันสะสมทรัพย์ เป็นประกันชีวิตรูปแบบหนึ่งที่ให้ทั้งความคุ้มครองชีวิตผู้เอาประกัน และการสะสมเงินออม เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน ไม่ว่าจะเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้บุตรหลาน เงินใช้ยามเกษียณ หรือเงินลงทุนในอนาคต ประกันออมทรัพย์ให้ผลประโยชน์เมื่อครบกำหนด ควบคู่กับความคุ้มครองประกันภัย จึงสร้างความมั่นใจได้ว่าจะได้รับการคุ้มครองทางการเงินอย่างครอบคลุม โดยผู้ถือกรมธรรม์สามารถเลือกระยะเวลาชำระเบี้ยประกันได้
อีกหนึ่งประโยชน์ของประกันภัยออมทรัพย์คือมีตัวเลือกการจ่ายเงินคืนทั้งแบบต่อปีกรมธรรม์ตามเงื่อนไข หรือแบบก้อนเดียวตอนครบกำหนด ในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต ครอบครัวก็จะได้รับเงินเอาประกัน ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์เช่นกัน
ประกันออมทรัพย์ ดียังไง เหมาะกับใคร
ประกันออมทรัพย์เหมาะกับทุกคนที่ต้องการวางแผนทางการเงิน หรือออมเงินในรูปแบบของประกันที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า และยังเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการออมเงินเพื่ออนาคต ซึ่งมีทั้งแบบสั้น ระยะเวลา 3-5 ปี ไปจนถึงระยะยาว 25 ปีขึ้นไป ซึ่งทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว มีความแตกต่างกันคือ
- ประกันออมทรัพย์ระยะสั้น 3-5 ปี ค่าเบี้ยต่องวดสูง ให้ความคุ้มครองชีวิตและการออมเงินในระยะสั้น และสามารถนำเงินออกมาใช้ก่อนครบกำหนดได้ เหมาะกับคนที่มีกำลังจ่ายเบี้ยสูง
- ประกันออมทรัพย์ระยะยาว หรือประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เพื่อลดหย่อนภาษี มีระยะเวลา 10-25 ปี ให้ความคุ้มครองชีวิตที่สูงกว่า และการออมเงินก็ใช้เวลายาวนานกว่าระยะสั้น ที่สำคัญลดหย่อนภาษีได้ เหมาะกับคนที่มีกำลังจ่ายเบี้ยน้อยกว่า
ประกันออมทรัพย์ลดหย่อนภาษีได้ไหม
ไม่ว่าจะเป็นประกันออมทรัพย์ระยะสั้น หรือประกันออมทรัพย์ระยะยาว ล้วนแต่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ แต่ต้องมีระยะคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยข้อตกลงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละกรมธรรม์ และเงื่อนไขของกรมสรรพากร ดังนี้
- ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- ต้องทำประกันชีวิตไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในไทย และไม่มีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปีเท่านั้น
- หากเป็นประกันที่จ่ายเงินคืนทุกปี ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยรายปี หรือได้รับเงินคืนตามช่วงระยะเวลา เช่น ราย 2 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยสะสมของแต่ละช่วง
- กรณียกเลิกสัญญา หรือเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อน ภาษีของกรมธรรม์ฉบับนั้นได้ และต้องจ่ายคืนภาษีย้อนหลังทั้งหมดที่ได้รับการลดหย่อนไป บวกกับดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย
เบี้ยประกันออมทรัพย์สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง
ประกันออมทรัพย์ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่
เบี้ยประกันออมทรัพย์สามารถนำมาลดหย่อนภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้สามารถลดหย่อนเพิ่มได้อีกไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ควรศึกษาเงื่อนไขการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีประกอบด้วย ในหลากหลายประกันที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ “ประกันออมทรัพย์” ถือว่าคุ้มค่าน่าสนใจ เพราะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและยังได้ประโยชน์หลายต่อ เหมาะสำหรับคนทำงานทุกช่วงวัย
ประกันออมทรัพย์ที่ไหนดีในปี 2568
ปัจจุบันมีประกันออมทรัพย์ให้เลือกหลากหลายประเภท สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก่อนตัดสินใจคือประกันออมทรัพย์ที่เหมาะกับความต้องการ
- เลือกเป้าหมาย ความคุ้มครองชีวิตและการออมเงินเป็นหลัก
- ศึกษารายละเอียด เช่น ความคุ้มครอง เบี้ยประกัน ผลตอบแทน และการลดหย่อนภาษี
- เลือกประกันออมทรัพย์ที่เหมาะสมกับเป้าหมายการเงิน
- ความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน เพื่อสภาพคล่องทางการเงิน
โดยสามารถเลือกประกันออมทรัพย์ได้จากบริษัทประกันทั่วไป แต่ให้เลือกบริษัทที่เชื่อถือได้ และซื้อกับตัวแทนที่มีรายละเอียดตรวจสอบได้จริง แนะนำให้ขอชื่อ และนามสกุล รวมถึงเลขที่ใบอนุญาตตัวแทนเพื่อไปตรวจสอบในเว็บไซต์ คปภ. และหลีกเลี่ยงการตอบรับ หรือพูดตามคำขอของตัวแทนขายประกัน เช่นคำว่า ตกลง ยอมรับ รับขอเสนอ หรืออนุญาต
ก่อนตัดสินใจซื้อประกันออมทรัพย์ ประกันสะสมทรัพย์ หรือประกันประเภทใดก็ตาม อย่าลืมเปรียบเทียบแบบประกันจากหลายๆ แห่ง เพื่อให้ตรงความต้องการมากที่สุด รวมถึงข้อมูล และเงื่อนไขอื่นๆ ที่อาจจะไม่ได้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจน และเลือกซื้อประกันออมทรัพย์กับบริษัทที่มีความมั่นคง และบริการหลังการขายที่มีประสิทธิภาพ หากอยากซื้อประกันออมทรัพย์แต่ก็อยากเก็บเงินก้อนไว้ รวมถึงต้องการสิทธิประโยชน์ เช่น ผ่อนจ่ายได้ หรือการสะสมคะแนน แนะนำใช้บัตรเครดิต KTC ที่สมัครบัตรเครดิตออนไลน์ได้ในเว็บไซต์ เพียงใช้บัตรเครดิตที่เป็นของผู้เอาประกันภัยเอง ในการชำระเบี้ย หรือผู้ถือบัตรเครดิตจะต้องมีนามสกุลเดียวกับผู้เอาประกันภัยเท่านั้น ซึ่งเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตในการจ่ายอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC