ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้คนมีอายุยืนยาวมากขึ้น ปรากฏการณ์สังคมผู้สูงอายุจึงเกิดขึ้นในเกือบทุกประเทศทั่วโลก คงจะดีไม่น้อยหากเราสามารถการใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีความสุข มีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสร้างความสุขเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งตัวช่วยที่จะทำให้เราเกษียณได้อย่างสบายใจก็คือ การวางแผนเกษียณ
การวางแผนเกษียณ คือ การเตรียมความพร้อมทางการเงินเพื่อใช้ชีวิตในวัยเกษียณ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่เป็นภาระลูกหลาน การวางแผนเกษียณมีความสำคัญมาก เพราะหากไม่มีการวางแผน ใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายโดยไม่คำนึงถึงอนาคต ไม่มีการเก็บออมเงิน อาจทำให้ไม่มีเงินใช้ในช่วงบั้นปลายชีวิตได้ เพื่อให้เห็นภาพการวางแผนเกษียณที่ชัดเจนและปฏิบัติตามได้อย่างเป็นระบบ แนะนำให้มีการกำหนดขั้นตอนการวางแผนเกษียณ
1. กำหนดอายุที่จะเกษียณ
การกำหนดอายุที่จะเกษียณ ว่าจะเกษียณเมื่อไหร่ เป็นสิ่งสำคัญในการวางแผนเกษียณ เพราะจะส่งผลต่อระยะเวลาในการออมเงินและเป้าหมายในการใช้ชีวิต แม้คนส่วนใหญ่มักจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี แต่เราอาจเลือกที่จะเกษียณก่อน หรือหลังอายุ 60 ปี ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น สุขภาพ ความต้องการส่วนบุคคล สถานะทางการเงิน การวิเคราะห์และกำหนดอายุที่จะเกษียณจึงเป็นสิ่งแรกที่ควรต้องนึกถึง เพื่อให้สามารถวางแผนเกษียณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างเช่น นางสาวเอ เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ปัจจุบันมีอายุ 40 ปี ต้องการเกษียณอายุที่ 60 ปี จากจุดนี้เราจะสามารถประเมินได้ว่า นางสาวเอ จะเหลือเวลาที่จะทำงานและเก็บเงินอีก 20 ปี เพื่อเตรียมการสำหรับกองทุนเกษียณอายุของตัวเอง ทั้งนี้ เมื่อกำหนดอายุที่จะเกษียณได้แล้วขั้นตอนต่อไปคือ คาดการณ์ช่วงระยะเวลาหลังเกษียณอายุ เพื่อนำไปสู่การคำนวณเงินที่ต้องการใช้หลังเกษียณ จะได้มีเป้าหมายว่าจะต้องเก็บเงินเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณ
2. คาดการณ์ช่วงระยะเวลาหลังเกษียณอายุ
การคาดการณ์ช่วงระยะเวลาหลังเกษียณอายุ จะทำให้เราสามารถกำหนดเป้าหมายคร่าวๆ ได้ว่าจะต้องเก็บเงินเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อการใช้ชีวิตที่เหลืออยู่หลังเกษียณ ทั้งนี้ คนส่วนใหญ่มักจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี และมีข้อมูลจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2564 ที่ประมาณการอายุขัยเฉลี่ยของคนไทย โดยผู้ชายเท่ากับ 73.5 ปี ผู้หญิงเท่ากับ 80.5 ปี อาจนำข้อมูลนี้มาเป็นแนวทางในการคาดการณ์ช่วงระยะเวลาหลังเกษียณอายุได้
ตัวอย่างเช่น นางสาวเอ เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ปัจจุบันมีอายุ 40 ปี ต้องการเกษียณอายุที่ 60 ปี คาดการณ์ว่าอายุที่จะสิ้นอายุขัยคือ 80 ปี ซึ่งจะทำให้นางสาวเอ มีเวลาเพื่อใช้เงินหลังเกษียณอายุไปอีก 20 ปี ดังนั้น โดยสรุปจาก 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 กำหนดอายุที่จะเกษียณ และขั้นตอนที่ 2 คาดการณ์ช่วงระยะเวลาหลังเกษียณอายุ จะพบว่า นางสาวเอมีเวลาในการทำงานและเก็บเงินอีก 20 ปี เพื่อนำเงินไปใช้หลังเกษียณอายุ และไม่มีรายได้แล้วไปอีก 20 ปี
3. คำนวณเงินที่ต้องการใช้หลังเกษียณ
เงินออมที่จะพอใช้ไปตลอดชีวิต ควรประเมินจากเป้าหมายและไลฟ์สไตล์ของเรา ฉะนั้น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังเกษียณจะขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน ซึ่งล้วนแตกต่างกัน ดังนั้น ถ้าอยากใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจ ไม่สูญเสียตัวตนหรือไลฟ์สไตล์ที่ใช่ จะต้องคำนวณค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นหลังเกษียณอย่างรอบคอบ ควรคำนวณเงินที่ต้องการใช้หลังเกษียณให้ครอบคลุมทั้งค่าใช้จ่ายพื้นฐานในการดำรงชีวิต ค่าใช้จ่ายในการสร้างความสุขเล็กๆ น้อยๆ ตามไลฟ์สไตล์หรือความชอบของเรา ไปจนถึงค่าใช้จ่ายที่เตรียมพร้อมไว้ใช้ยามเจ็บป่วย โดยทั่วไปแล้วค่าใช้จ่ายหลังเกษียณมักจะน้อยกว่าค่าใช้จ่ายก่อนเกษียณประมาณ 30% เนื่องจากสามารถตัดค่าใช้จ่ายในเรื่องการเดินทางและค่าเข้าสังคมในที่ทำงานออกไปได้
สูตรการคำนวณเงินที่ต้องการใช้หลังเกษียณ
ค่าใช้จ่ายปัจจุบัน (เฉลี่ย 3 เดือน) = (ค่าใช้จ่ายเดือนที่ 1 + เดือนที่ 2 + เดือนที่ 3) ÷ 3
ค่าใช้จ่ายปัจจุบันหลังหัก 30% = ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 3 เดือน - (ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 3 เดือน x 0.3)
ค่าใช้จ่ายรายปี = ค่าใช้จ่ายหลังหัก 30% x 12
ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้หลังเกษียณ = ค่าใช้จ่ายรายปีหลังเกษียณ x จำนวนปี
ตัวอย่างเช่น นางสาวเอ วัย 40 ปี ต้องการเก็บเงินเพื่อใช้ชีวิตหลังเกษียณไปอีก 20 ปี จะต้องเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลค่าใช้จ่ายปัจจุบัน โดยพบว่าในเดือนที่ 1 นางสาวเอใช้เงินไป 30,000 บาท เดือนที่ 2 ใช้ไป 10,000 บาท และเดือนที่ 3 ใช้จ่ายไป 20,000 บาท จะสามารถนำมาคิดตามสูตรข้างต้นได้ ดังนี้
ค่าใช้จ่ายปัจจุบัน (เฉลี่ย 3 เดือน) ของนางสาวเอ (31,000 + 29,000 + 30,000) ÷ 3 = 30,000
ค่าใช้จ่ายปัจจุบันหลังหัก 30% ของนางสาวเอ 30,000 - (30,000 x 0.3) = 21,000
ค่าใช้จ่ายรายปีของนางสาวเอ 21,000 x 12 = 252,000
ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้หลังเกษียณของนางสาวเอ 168,000 x 20 = 5,040,000
ตารางคำนวณเงินที่ต้องการใช้หลังเกษียณ
ค่าใช้จ่าย |
สูตรการคำนวณ |
ตัวอย่าง : นางสาวเอ วัย 40 ปี ต้องการเก็บเงินเพื่อใช้ชีวิตหลังเกษียณไปอีก 20 ปี |
ค่าใช้จ่ายปัจจุบัน (เฉลี่ย 3 เดือน) |
(ค่าใช้จ่ายเดือนที่ 1 + เดือนที่ 2 + เดือนที่ 3) ÷ 3 |
(31,000 + 29,000 + 30,000) ÷ 3 = 30,000 |
ค่าใช้จ่ายปัจจุบันหลังหัก 30% |
ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 3 เดือน - (ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 3 เดือน x 0.3) |
30,000 - (30,000 x 0.3) = 21,000 |
ค่าใช้จ่ายรายปี |
ค่าใช้จ่ายหลังหัก 30% x 12 |
21,000 x 12 = 252,000 |
ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้หลังเกษียณ |
ค่าใช้จ่ายรายปีหลังเกษียณ x จำนวนปี |
168,000 x 20 = 5,040,000 |
จากการคำนวณตามสูตรจะได้จำนวนเงินที่นางสาวเอต้องใช้หลังเกษียณเท่ากับ 5,040,000 บาท อย่างไรก็ตาม นี่เป็นสูตรคำนวณอย่างง่ายแบบคร่าวๆ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องคำนึงถึงเนื่องจากอาจส่งผลให้ต้องใช้เงินหลังเกษียณมากขึ้น อาทิ อัตราเงินเฟ้อต่อปี 3% (เงินเฟ้อเป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากทำให้เงินของเรามูลค่าน้อยลงทุกวัน), ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่อาจกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย, ค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย ซึ่งมักเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่ออายุมากขึ้น เหล่านี้ล้วนส่งผลให้ต้องเก็บออมเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ
ดังนั้น หากคิดอัตราเงินเฟ้อด้วย นางสาวเอจะต้องเก็บเงินมากกว่านี้ราว 2-3 เท่า ฟังแล้วน่าตกใจ แต่ไม่อยากให้หมดกำลังใจจนไม่อยากวางแผนหลังเกษียณ เพราะแม้ดูเป็นจำนวนเงินที่สูง แต่อย่าลืมว่า ในชีวิตจริงเราอาจได้ขึ้นเงินเดือนทุกปี มีรายได้ทางอื่น หรือลงทุนเพิ่มจนมีเหลือสำหรับเก็บออมมากขึ้น ขอให้ มุ่งมั่น ขยัน อดทน เชื่อในศักยภาพตนเอง เชื่อว่าเป้าหมายที่วางไว้ย่อมเป็นจริงได้ ความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
4. ประมาณการแหล่งเงินทั้งหมดที่จะได้รับหลังเกษียณ
สำรวจและประเมินว่าเรามีเงินเก็บหรือลงทุนเพื่อเกษียณไว้ที่ไหนบ้างและตอนนี้มีเงินออมเพื่อเกษียณอยู่เท่าไหร่ โดยแหล่งเงินที่พนักงานบริษัทเอกชนจะได้รับเมื่อทำงานจนเกษียณ แบ่งเป็นภาคบังคับ ได้แก่ เงินชดเชยเลิกจ้าง, เงินบำเหน็จบำนาญชราภาพจากกองทุนประกันสังคม, เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ส่วนภาคสมัครใจ จะเป็นการเก็บออมและลงทุนในรูปแบบต่างๆ ที่เราเลือกทำเอง เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ประกันชีวิตแบบบำนาญ และสินทรัพย์เพื่อการลงทุนอื่นๆ
ยกตัวอย่าง นางสาวเอ เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ปัจจุบันมีอายุ 40 ปี ต้องการเกษียณอายุที่ 60 ปี ปัจจุบันนางสาวเอเงินเดือน 40,000 บาทต่อเดือน คาดว่าเงินเดือนเพิ่มขึ้นปีละ 3% หากนางสาวเอทำงานไปอีก 20 ปีจนเกษียณ สามารถคำนวณรายได้ทั้งหมดที่มาจากเงินเดือนของนางสาวเอ ดังนี้
สูตรคิดว่าเงินเดือนขึ้นกี่บาท 3% ของเงินเดือนคิดอย่างไร
(เงินเดือนเดิม x (100 + เปอร์เซ็นต์ที่ขึ้น)) ÷ 100 = เงินที่เพิ่มขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น นางสาวเอ ได้รับเงินเดือน 40,000 บาท และได้รับการปรับเงินเดือนขึ้น 3% วิธีคิดคือ (40,000 x (100 + 3)) ÷ 100 = 41,200 บาท หมายความว่าเงินเดือนเพิ่มขึ้น 12,000 บาท ดังนั้น รายได้ตลอดปีของนางสาวเอก่อนปรับเงินเดือน คือ 40,000 x 12 = 480,000 บาท ส่วนรายได้ตลอดปีของนางสาวเอหลังปรับเงินเดือน (รายได้ในปีถัดไปขณะอายุ 41 ปี) คือ 41,200 x 12 = 494,400 บาท
เมื่อประมาณการแหล่งเงินทั้งหมดที่จะได้รับหลังเกษียณแล้ว ให้คำนวณยอดเงินทั้งหมดว่าจะได้เท่าไหร่ จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับ เงินที่ต้องการใช้หลังเกษียณ เราก็จะทราบว่าต้องเก็บเงินเพิ่มอีกเท่าไหร่ เพื่อจะสามารถวางแผนการออม การลงทุน ได้อย่างเหมาะสม กล่าวคือ หาทางเพิ่มรายได้ หรือลดค่าใช้จ่าย หรือทำเงินออมให้งอกเงยได้อย่างไร เพื่อให้สามารถเก็บเงินเพื่อการเกษียณตามเป้าหมายที่ต้องการได้
5. วางแผนการออมและการลงทุนเพิ่มเติม
การเก็บออมและลงทุนด้วยวิธีที่หลากหลายจะช่วยเพิ่มจำนวนเงินในอนาคตได้มากขึ้น โดยเราสามารถแบ่งเงินนำไปลงทุนในช่องทางต่างๆ เพิ่มเติม เช่น เงินฝากประจำ สลากออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นสามัญ ประกันชีวิตแบบบำนาญ ฯลฯ ทั้งนี้ เราต้องทำความเข้าใจทางเลือกในการลงทุนอย่างรอบคอบ ศึกษาข้อดีข้อเสียอย่างละเอียดถี่ถ้วน เช่น เงินฝากประจำ เป็นการฝากเงินไว้ในธนาคารเพื่อให้ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความปลอดภัยทางการเงิน เพราะมีความเสี่ยงต่ำ ทั้งนี้ หากนำเงินแบ่งไปฝากประจำควรฝากประจำในระยะต่างๆ เช่น 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปี โดยเลือกให้มีระยะเวลาครบกำหนดเหลื่อมกัน จะเป็นการบริหารสภาพคล่องและเพิ่มผลตอบแทนให้มากกว่าเงินฝากออมทรัพย์
สมาชิกบัตรเครดิต KTC ชำระค่าเบี้ยประกัน มีโปรโมชั่นดังนี้
- กรุงเทพประกันชีวิต, เอไอเอ, กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต และ เอฟดับบลิวดีประกันชีวิต รับสิทธิ์ใช้คะแนนแลกรับสิทธิเปลี่ยนแปลงรายการชำระค่าเบี้ยประกัน แบบชำระเต็มจำนวน มาเป็นการใช้บริการผ่อนชำระนานสูงสุด 10 เดือน โดยเมื่อสมาชิกชำระค่าเบี้ยประกันด้วยบัตรเครดิต KTC เรียบร้อยแล้ว สามารถโทรศัพท์ติดต่อมาที่ 02 123 5650 เพื่อแสดงความประสงค์ขอรับสิทธิ์ผ่อนชำระตามเงื่อนไขรายการนี้ ภายในก่อนวันสรุปรอบบัญชีของสมาชิกในแต่ละรอบบัญชีเท่านั้น
- ระยะเวลาโปรโมชั่น 1 พ.ย. 67 – 31 ธ.ค. 67
ที่สำคัญควรติดตามข่าวสาร และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่อาจมีผลกระทบต่อผลตอบแทนของเงินออมและเงินลงทุนของเราอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเงิน รวมถึงภัยทางการเงินในรูปแบบต่างๆ เพื่อปกป้องเงินและทรัพย์สินที่เก็บออมมาอย่างยากลำบากให้พ้นจากกลโกงของเหล่ามิจฉาชีพ นอกจากนี้ ในทุกๆ ปี อย่าลืมนำแผนเกษียณออกมาทบทวนดู เพื่อตรวจสอบและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งสถานการณ์ชีวิตที่อาจมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันอันจะส่งผลกระทบต่อการออมของเรา และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่อาจเปลี่ยนแปลงและมีผลกระทบต่อผลตอบแทนของเงินออมและเงินลงทุนของเรา เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มีเงินใช้จ่ายอย่างเพียงพอและมีความสุขในยามเกษียณ
การวางแผนเกษียณเป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ยิ่งได้เปรียบกว่า หากสามารถปฏิบัติตามแผนเกษียณได้ ย่อมมีโอกาสสูงที่จะทำให้เรามีเงินเหลือเก็บไว้ใช้ยามบั้นปลายชีวิตได้เพียงพอและมีความสุข
เพื่อให้การใช้จ่ายทุกบาททุกสตางค์เป็นไปอย่างคุ้มค่า จะได้มีเงินเหลือไว้เก็บออมมากๆ อย่าลืมตัวช่วยสำคัญอย่าง บัตรเครดิต KTC ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้จ่าย เสริมสภาพคล่องทางการเงิน ทั้งยังมาพร้อมสิทธิประโยชน์มากมาย เช่น ใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ทุก 25 บาท รับคะแนน KTC FOREVER 1 คะแนน สามารถนำไปแลกส่วนลด และสิทธิพิเศษอื่นๆ หลากหลาย เลือกบัตรเครดิตที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคุณได้แล้วก็สมัครบัตรเครดิต KTC ออนไลน์ได้เลย
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC