อยากค้าขายออนไลน์ แต่เงินทุนไม่พอ ทำอย่างไรดี
ทุกวันนี้การหารายได้ทางเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต หลายคนเลือกประกอบอาชีพเสริมเพื่อหารายได้เพิ่มเติมจะได้หมุนเงินในกระเป๋าได้คล่องกว่าเดิม โดยอาชีพเสริมสร้างรายได้ที่ได้รับความนิยมคือ ธุรกิจออนไลน์หรือค้าขายออนไลน์ เพราะเป็นอาชีพที่ไม่กระทบกับงานประจำ สามารถทำหลังเลิกงานหรือวันหยุดได้ แต่ก่อนเริ่มต้นอาชีพเสริมค้าขายออนไลน์ ต้องมีหรือเตรียมอะไรบ้าง หากเงินทุนไม่พอกู้สินเชื่อเพื่อธุรกิจออนไลน์ดีไหม แล้วควรวางแผนการเงินเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้อย่างไรดี
ก่อนเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ ต้องเตรียมอะไรบ้าง
การทำธุรกิจออนไลน์เป็นอาชีพเสริมที่น่าสนใจเพราะสามารถเริ่มต้นได้ง่ายและคล่องตัว รวมถึงมีแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ธุรกิจออนไลน์มารองรับมากมาย เช่น Lazada Shopee Facebook หรือ Instagram แต่การขายของออนไลน์อาจไม่ง่ายเหมือนที่ใจคิด เพราะมีหลายขั้นตอนให้เตรียมตัวก่อนเริ่มต้นธุรกิจ เพื่อให้เวลาเปิดขายจริงจะได้ค้าขายไม่ติดขัด มาดูกันว่าก่อนทำธุรกิจออนไลน์ ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง
(1) สินค้า
ขายออนไลน์อะไรดี ? เป็นคำถามแรกที่เกิดขึ้นเมื่ออยากเริ่มต้นธุรกิจ ซึ่งสามารถเลือกได้จากความชอบของตัวเอง เพราะเวลาขายของออนไลน์จะได้สามารถอธิบายข้อดีหรือจุดเด่นของสินค้าได้อย่างชัดเจน แต่ถ้าไม่ได้ชื่นชอบอะไรเป็นพิเศษ อาจเริ่มโดยการสำรวจตลาดว่าสินค้าอะไรกำลังเป็นที่ต้องการและน่าจะทำกำไรได้ดี เช่น การขายเคสมือถือ iPhone 14 ซึ่งเป็นมือถือรุ่นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน หรือเก้าอี้สนาม อุปกรณ์ตั้งแคมป์สำหรับสายกางเต็นท์ก็เป็นความคิดที่ดีไม่น้อย
(2) แหล่งสินค้า
เมื่อกำหนดได้แล้วว่าต้องการขายอะไร ขั้นตอนต่อมาคือแหล่งรับของมาขายออนไลน์ว่าสามารถหาได้จากไหน เช่น เน้นขายสินค้าประเภทเสื้อผ้าแฟชั่น เครื่องประดับ กระเป๋า รองเท้า อุปกรณ์ทำเครื่องประดับ หรือสินค้าตามเทศกาล แหล่งขายส่งอย่างตลาดโบ๊เบ๊ สำเพ็ง ประตูน้ำ หรือสั่งจากเว็บของจีนถือเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ไม่น้อย เพราะราคาสินค้าไม่สูงมากสามารถนำมาขายทำกำไรต่อได้ แถมบางแหล่งสินค้ายิ่งซื้อเยอะ ราคาสินค้ายิ่งถูกลง โอกาสทำกำไรก็มากตามไปด้วย
(3) ชื่อร้าน
ชื่อร้านค้าออนไลน์มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นประตูด่านแรกที่ช่วยให้ลูกค้าจดจำร้านของคุณได้ ดังนั้นควรใช้ชื่อที่จำง่าย สะกดง่าย และง่ายต่อการค้นหาบนบนแพลตฟอร์ม Google หรือ Facebook ก็ยิ่งมีโอกาสทำให้ลูกค้าหาร้านเจอง่ายขึ้นตามไปด้วย
(4) เงินทุน
ต้นทุนสำหรับเปิดร้านค้าออนไลน์ไม่ได้มีแค่ค่าสินค้า ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซ่อนอยู่อีกไม่น้อย เช่น ค่าจัดส่งสินค้า ค่าแพ็กสินค้า ค่าเดินทางไปจัดหาสินค้า หรืออื่น ๆ ดังนั้นต้องวางแผนให้ดีว่าเงินทุนที่มีอยู่เพียงพอต่อการเริ่มต้นขายออนไลน์หรือไม่ ถ้าไม่พอสามารถยื่นขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจออนไลน์หรือสินเชื่อเพื่อพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้ที่ไหน และถ้าร้านของคุณไม่เข้าเงื่อนไขของผู้ให้บริการสินเชื่อมีช่องทางหาเงินทุนเพิ่มจากผลิตภัณฑ์การเงินประเภทใดบ้าง เรียกว่านอกจากวางแผนการเงินแล้วยังต้องมองช่องทางหาเงินทุนเพิ่มเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้อีกด้วย
การค้าขายออนไลน์ ธุรกิจที่สร้างกำไรได้เป็นกอบเป็นกำถ้ารู้จักวางแผนให้ดี
(5) ช่องทางขายสินค้า
ช่องทางการขายเป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของร้าน ปัจจุบันมีหลากหลายช่องทางให้ได้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น Facebook LINE Instagram Shopee Lazada Twitter หรือ TikTok ยิ่งถ้าใครเปิดร้านครอบคลุมทุกแพลตฟอร์มก็เพิ่มโอกาสให้ลูกค้าได้เห็นสินค้าของคุณมากขึ้น นอกจากนี้ควรมีช่องทางการติดต่อที่ง่ายและหลายช่องทางด้วยเช่นกัน
(6) วางแผนการตลาด
ก่อนเปิดร้านค้าออนไลน์อย่างเป็นทางการควรวางแผนการตลาดให้ดี เพราะไม่ได้มีแค่ร้านคุณเท่านั้นที่ขายสินค้าประเภทนี้ ยังมีคู่แข่งอีกไม่น้อยทำให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อจากร้านไหนก็ได้ เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้เรื่อย ๆ ควรกำหนดให้ชัดเจนว่ากลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าคือใคร มีอายุเท่าไหร่ เวลาจัดหาสินค้าเข้าสต๊อกหรือทำโฆษณาจะได้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าจริง ๆ รวมถึงการโปรโมทสินค้าอาจแบ่งเป็นทั้งถ่ายภาพสินค้าโดยตรง ถ่ายเจาะสินค้าบนตัวนายแบบหรือนางแบบ หรือถ่ายคลิปวิดีโอเพื่อให้เห็นรายละเอียดของสินค้าชัดเจนขึ้น ส่วนการลงทุนสต๊อกสินค้าต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ เพื่อจะได้วางแผนขอสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายใหม่หรือหาแหล่งเงินทุนจากช่องทางอื่น ๆ ได้ถูกต้อง
(7) ช่องทางการชำระเงิน
ช่องทางการชำระเงินควรมีความหลากหลาย เพื่อมอบความสะดวกสบายให้กับลูกค้าเวลาชำระเงิน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเงินปลายทาง การโอนจ่ายเงินผ่าน Mobile Banking การจ่ายผ่านบัตรเครดิต/เดบิต หรือจ่ายผ่านบัญชี PayPal เป็นต้น
(8) จัดโปรโมชั่น
การจัดโปรโมชั่นพิเศษ เช่น ซื้อ 1 แถม 1 ซื้อครบ 3 รับส่วนลดพิเศษ หรือฟรีค่าจัดส่ง ถือเป็นกลยุทธ์ที่สามารถดึงดูดใจลูกค้าได้ดีทีเดียว ยิ่งถ้าลูกค้าได้มีโอกาสใช้หรือสัมผัสสินค้าจริงแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพดีจริง ก็มีโอกาสกลับมาซื้ออีกครั้งแม้ไม่มีโปรโมชั่น
(9) ทำความเข้าใจเรื่องภาษีร้านค้าออนไลน์
เชื่อว่ามีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่า อาชีพขายของออนไลน์จำต้องยื่นภาษีเช่นเดียวกัน ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจออนไลน์เป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมก็ตาม โดยต้องยื่นภาษีตามที่กรมสรรพากรกำหนด 2 แบบ คือ ภ.ง.ด. 94 และ ภ.ง.ด. 90 มีรายละเอียดดังนี้
- รอบแรก ยื่นภาษีครึ่งปี ช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายนของทุกปี นำเงินได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน มาแสดงในการยื่นภาษี ตามแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 94 ภายในวันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน
- รอบที่ 2 ยื่นภาษีปลายปี ช่วงเดือนมกราคม - มีนาคมของทุกปี โดยนำเงินได้ทั้งปี มากรอกในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 ภายในวันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคมของปีถัดไป เช่น เงินได้ปี 2565 ต้องยื่นในเดือนมีนาคม 2566 นั่นเอง
เสริมความคล่องตัวการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ผ่านบัตรเครดิตมีแต่คำว่าคุ้ม
พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ควรวางแผนการเงินอย่างไร
(1) คำนวณต้นทุนและกำหนดราคา
การทำธุรกิจออนไลน์มีค่าใช้จ่ายที่ต้องนำมาคำนวณเพื่อกำหนดราคาขายสินค้า ทั้งต้นทุนหลักซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นประจำ ต้นทุนแฝงที่เกิดจากค่าเดินทางไปรับสินค้า ค่าน้ำค่าไฟ ค่าจัดส่งสินค้า และอื่น ๆ หากขายสินค้าโดยอ้างอิงจากต้นทุนหลักหรือต้นทุนแฝงเพียงอย่างเดียวมีผลทำให้กำไรลดลงหรืออาจขาดทุนได้เช่นกัน ฉะนั้นก่อนกำหนดราคาสินค้าควรนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมาคำนวณอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ราคาสินค้าที่ไม่ทำให้ทุนจม
การแยกบัญชีร้านออกจากบัญชีส่วนตัว ช่วยให้เห็นสภานะการเงินของร้านอย่างชัดเจน
(2) แยกบัญชีส่วนตัวกับบัญชีร้าน
การบัญชีส่วนตัวกับบัญชีร้านเป็นบัญชีเดียวกัน ทำให้จัดสรรเงินในบัญชีได้ยาก เพราะหากเผลอใช้เงินที่เป็นรายได้จากร้านค้าออนไลน์โดยไม่รู้ตัว ดังนั้นควรแยกบัญชีออกจากกัน นอกจากไม่สับสนระหว่างค่าใช้จ่ายส่วนตัวกับค่าใช้จ่ายของร้านค้า ยังเห็นภาพรวมค่าใช้จ่ายในส่วนของร้านและกำไรที่ได้ ซึ่งง่ายต่อการวางแผนการเงินของร้านในอนาคต
(3) ทำบัญชี
ควรทำบัญชีร้านค้าออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ เพราะทำให้เห็นภาพรวมการขายสินค้าตลอดทั้งเดือน และช่วยให้วางแผนค่าใช้จ่ายในเดือนต่อไปได้ง่าย เมื่อนำรายการต่าง ๆ ในสมุดบัญชีมาวิเคราะห์จะเห็นว่ามีค่าใช้จ่ายตรงส่วนไหนที่เกินความจำเป็นก็สามารถตัดออกได้ทันที หรือควรนำงบไปเสริมเรื่องใดเพื่อให้ร้านเดินหน้าต่อไปได้ ที่สำคัญการทำบัญชีช่วยให้คุณมีข้อมูลพร้อมใช้เวลายื่นภาษี
อยากทำธุรกิจออนไลน์แต่เงินทุนไม่พอ ขอสินเชื่อดีไหม ?
เงินเป็นปัจจัยสำคัญในการลงทุนทำธุรกิจทุกประเภท แต่จะให้นำเงินเก็บสำรองออกมาใช้ทั้งหมดก็ไม่ใช่เรื่องดีนัก เพราะถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินในอนาคตจะไม่มีเงินก้อนไว้ใช้ยามเดือนร้อน โดยวิธีแก้ปัญหาที่หลายคนเลือกใช้คือการยื่นขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจออนไลน์ แต่ถ้าถามว่าขอสินเชื่อดีไหม หรือขอที่ไหนดี ? หากคุณมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่างบัตรเครดิตติดกระเป๋าไว้อยู่แล้ว แนะนำให้ใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้เพื่อการขายสินค้าออนไลน์ ช่วยให้ผู้ถือบัตรฯ ไม่ต้องดึงเงินสดในบัญชีมาใช้ทันที จึงมีเงินสำรองไว้ใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน แถมทุกครั้งที่รูดบัตรเครดิต KTC ยังตามมาด้วยคะแนนสะสม ไม่ว่าจะรูดบัตรเครดิตเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าน้ำมันรถ หรือจัดหาสินค้ามาจำหน่ายต่อ ทุก ๆ 25 บาท ได้รับ 1 คะแนน KTC FOREVER มาสะสมไว้แลกสินค้าหรือบริการกับร้านที่ร่วมรายการ
ทำบัตรเครดิต KTC ใบไหนดี ? อาชีพอิสระก็สมัครได้
สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระค้าขายแม้ไม่มีสลิปเงินเดือน แล้วอยากมีบัตรเครดิตติดตัวไว้เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน สามารถทำบัตรเครดิตใบแรกให้ผ่านฉลุยได้ง่าย ๆ โดยใช้เอกสารแสดงรายได้ประเภทอื่น เช่น สเตทเมนต์ (Statement) หรือรายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน ที่แสดงรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอในแต่ละเดือน เพื่อยืนยันว่าคุณมีความสามารถในการชำระเงินคืน โดยบัตรเครดิตสำหรับอาชีพอิสระที่น่าสนใจ มีดังนี้
บัตรเครดิต KTC - BANGCHAK VISA PLATINUM
บัตรเครดิต KTC - BANGCHAK VISA PLATINUM
สำหรับผู้ที่เข้าใช้บริการสถานีน้ำมันบางจากเป็นประจำ ขอแนะนำบัตรเครดิต KTC - BANGCHAK VISA PLATINUM เพราะเป็นบัตรเครดิตเติมน้ำมันที่อัดแน่นไปด้วยสิทธิประโยชน์มากมาย ทั้งส่วนลดการเติมน้ำมันใส 1% เมื่อมียอดชำระไม่เกิน 3,000 บาทต่อเซลล์สลิป โดยส่วนลดนี้เป็นเงิน Cash Back ที่จะคืนกลับเข้ามายังบัญชีบัตรเครดิตถัดไป นอกจากนี้ทุก ๆ การใช้จ่าย 25 บาท คุณจะได้รับคะแนน 1 KTC FOREVER เพื่อสะสมและนำไปแลกสินค้าหรือบริการกับร้านที่ร่วมรายการได้
บัตรเครดิต KTC VISA PLATINUM
บัตรเครดิต KTC VISA PLATINUM
เป็นบัตรเครดิตที่เหมาะกับทุกอาชีพที่ต้องการเสริมความคล่องตัวเวลาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ด้วยมีสิทธิประโยชน์ที่ช่วยให้ผ่อนชำระสินค้าที่อัตราดอกเบี้ย 0% ได้นานสูงสุดถึง 10 เดือน หรือเปลี่ยนยอดชำระเต็มเป็นยอดผ่อนกับบัตรเครดิต KTC ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0.74% สูงสุด 10 เดือน พร้อมรับ 1 คะแนน KTC FOREVER ทุก 25 บาท เพื่อเก็บแลกสินค้าและบริการ ณ ร้านค้าที่ร่วมรายการ นอกจากนี้ยังได้รับการคุ้มครองจากประกันอุบัติเหตุการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ ด้วยวงเงินประกันคุ้มครองสูงสุด 8,000,000 บาท
บัตรเครดิต KTC JCB PLATINUM
บัตรเครดิต KTC JCB PLATINUM
สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่เป็นสายเที่ยวญี่ปุ่น นอกจากมีบัตรเครดิต KTC ไว้เสริมสภาพคล่องทางการเงินในชีวิตประจำวัน การทำบัตรเครดิต KTC JCB PLATINUM ช่วยให้คุณได้รับสิทธิพิเศษแบบสุดคุ้ม เพราะมอบคะแนนสะสมแบบคูณสองเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตใบนี้ในประเทศญี่ปุ่น แบบไม่จำกัดยอดรับคะแนนสูงสุด ไม่ว่าจะช้อปปิ้งหนักหรือตะลุยชิมของอร่อยมากแค่ไหนก็รับคะแนนสะสมไปแบบจุก ๆ รวมถึงสามารถเข้าใช้บริการ Airport lounge ได้ถึง 28 แห่ง ทั้งนี้ยังสามารถไปใช้บริการ Lounge ในสนามบินหลักขอบประเทศ จีน ฮ่องกง เกาหลี สิงคโปร์ และฮาวายได้อีกด้วย ถือเป็นบัตรเครดิตที่น่าจะถูกใจคนรักญี่ปุ่นไม่น้อยเลยทีเดียว
บัตรเครดิต KTC - AGODA PLATINUM MASTERCARD
บัตรเครดิต KTC - AGODA PLATINUM MASTERCARD
บัตรเครดิต KTC - AGODA PLATINUM MASTERCARD ใบเดียวตอบโจทย์สายเที่ยวครบ ด้วยมอบสิทธิพิเศษสำหรับการจองโรงแรม ห้องพัก บัตรโดยสารสายการบิน รวมถึงบริการอื่น ๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวผ่านเว็บไซต์ Agoda นอกจากได้รับส่วนลดพิเศษเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ยังได้รับ AgodaCash และคะแนน KTC FOREVER รวมถึงได้รับความคุ้มครองจากประกันอุบัติเหตุการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ ด้วยวงเงินประกันคุ้มครองสูงสุด 8,000,000 บาท ใครเป็นสายเที่ยวรีบสมัครติดกระเป๋าไว้สักใบ
เมื่อทราบกันแล้วว่า บัตรเครดิต KTC ใบไหนบ้าง ที่ผู้ประกอบอาชีพอิสระค้าขายควรทำติดไว้ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวยามใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือเวลาจัดทริปเที่ยวไทยหรือต่างประเทศ อันดับถัดไปมาดูกันว่า คุณสมบัติของผู้สมัครและเอกสารสมัครบัตรเครดิตทั้ง 4 ใบในข้างต้นที่ควรเตรียมให้พร้อมมีอะไรบ้าง
คุณสมบัติ
- อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
- รายได้ 15,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน
- รายได้ 50,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน (สำหรับชาวต่างชาติ)
เอกสารผู้มีรายได้ประจำ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- เอกสารแสดงรายได้ เช่น หนังสือรับรองเงินเดือน สลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทวิ 50 เป็นต้น
- สำเนาบัญชีธนาคารที่เป็นบัญชีเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน พร้อมหน้าสมุดที่ระบุชื่อ - เลขที่บัญชี
- กรณีชาวต่างชาติทำงาน/ประกอบธุรกิจในไทย แนบสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) และใบอนุญาตทำงานในไทย (Work Permit) ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
เอกสารอาชีพอิสระ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาบัญชีธนาคารในนามส่วนตัวผู้สมัครย้อนหลัง 6 เดือน พร้อมหน้าสมุดที่ระบุชื่อ - เลขที่บัญชี
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนหรือทะเบียนการค้า (ถ้ามี)
- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ถ้ามี)
และนี่คือสิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อคิดทำธุรกิจออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพประจำ แต่ทุกกอย่างจะสามารถเดินหน้าต่อไปจนถึงจุดหมายที่วางไว้เมื่อมีเงินทุนพร้อม เพราะทุกอย่างต้องใช้เงินเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อน ถ้าคุณมีบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดอยู่แล้วก็สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินตัวนี้ เพื่อความคล่องตัวในการค้าขายออนไลน์ได้ ส่วนใครที่ยังไม่มีก็สามารถสมัครบัตรเครดิต KTC และบัตรกดเงินสด KTC PROUD ได้ง่าย ๆ เพียงกรอกข้อมูลที่แพลตฟอร์มด้านล่างแล้วรอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ เพื่อนัดหมายเมสเซนเจอร์เข้าไปรับเอกสาร จากนั้นก็รอรับบัตรฯ ไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือเสริมสภาพคล่องได้
บัตรเครดิตรู้จักใช้ให้เป็น เป็นตัวช่วยทำเงิน เพิ่มรายได้
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี