ถูกเลิกจ้างกะทันหันทำยังไง ขั้นตอนต้องรู้ฉบับมนุษย์เงินเดือน
การถูกเลิกจ้างหรือให้ออกจากงานกะทันหันถือเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่เนื่องด้วยพิษเศรษฐกิจที่อาจส่งผลให้บริษัทหรือโรงงานหลายแห่งต้องปิดตัวลงโดยไม่มีการแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้า ส่งผลให้พนักงานต้องตกงานแบบกะทันหันโดยไม่ได้สมัครใจ ดังนั้นการเตรียมรับมือกับสถาณการณ์ไม่คาดฝันของมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย ซึ่งมีวิธีรับมือในกรณีถูกเลิกจ้างหรือถูกไล่ออกกะทันหันแบบไหน ควรวางแผนอย่างไรพี่เบิ้มรวบรวมวิธีน่ารู้มาฝากกัน
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ถูกเลิกจ้างกะทันหันต้องทำอย่างไรบ้าง?
ทันทีที่รู้ว่าถูกเลิกจ้างหรือถูกให้ออกจากงานแบบกะทันหันโดยที่ไม่มีความสมัครใจ ส่งผลให้ผู้ที่ถูกเลิกจ้างต้องเสียรายได้ ไม่ว่าเหตุผลของนายจ้างจะเป็นไปในรูปแบบใดก็ตามลูกจ้างสามารถดำเนินการได้ดังนี้
1. ติดต่อรับเงินชดเชยจากนายจ้าง
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าในกรณีถูกเงิกจ้างกะทันหันสามารถเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง ได้ซึ่งจะได้รับในส่วนของ เงินชดเชย สิทธิที่ลูกจ้างควรได้รับอย่างถูกต้อง เพราะถือเป็นสิ่งที่นายจ้างต้องชดเชยให้แก่พนักงานในกรณีที่เลิกจ้างกะทันหัน เป็นเงินช่วยเหลือลูกจ้างที่ต้องออกจากงานด้วยความไม่ได้สมัครใจและไม่ได้ทำอะไรผิด แต่เนื่องด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานหรือปิดกิจการ โดยลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย 2 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้
ค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ในกรณีที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่บอกให้รู้ล่วงหน้าหรือบอกล่วงหน้า 30-60 วัน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้แก่ลูกจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงาน 60 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้าง และเงื่อนไขเพิ่มเติมดังนี้
- ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบหกปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยปกติ โดยเงินชดเชยที่ได้รับต้องไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 15 วันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 15 วันสุดท้ายต่อการทำงานครบหนึ่งปี สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
- ค่าชดเชยพิเศษนี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้าย 360 วัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำงาน 360 วันสุดท้าย
- เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ เศษของระยะเวลาทำงานที่มากกว่า 180 วัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี
เงินค่าชดเชยการถูกเลิกจ้าง
กรณีถูกให้ออกจากงานโดยไม่ได้สมัครใจและไม่มีความผิด ลูกจ้างมีสิทธิรับเงินชดเชย โดยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเดือนและอายุของการทำงาน ดังนี้
- ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี จะได้รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
- อายุการทำงาน 1 – 3 ปี รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
- อายุการทำงาน 3 – 6 ปี รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
- อายุการทำงานครบ 6 – 10 ปี รับเงินชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
- อายุการทำงานครบ 10 – 20 ปี รับเงินชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 300 วัน
- อายุการทำงานครบ 20ปี ขึ้นไป รับเงินชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 400 วัน
(อ้างอิงข้อมูล : กรมแรงงาน)
2. แจ้งประกันสังคม
แจ้งประกันสังคม เลิกจ้างสำหรับมนุษย์เงินเดือนทุกคน ในการเข้าทำงานที่บริษัทหรือสถานที่ใด ๆ จะมีในส่วนของการทำประกันสังคม เพื่อรับสิทธิต่าง ๆ ทั้งค่ารักษาพยาบาลไปจนถึงกรณีถูกเลิกจ้าง หากโดนไล่ออกจากงาน ประกันสังคมสำหรับผู้มีสิทธิสิ่งที่ต้องทำคือการแจ้งลงทะเบียนผู้ว่างงานกับประกันสังคม สำหรับผู้ที่ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลาย้อนหลัง 15 เดือน โดยจะได้รับเงินชดเชยรายเดือนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท สามารถเช็กเงินว่างงานประกันสังคมได้ที่แอปพลิเคชัน SSO Connec หรือเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th ซึ่งลูกจ้างต้องดำเนินการลงทะเบียนภายใน 30 วันหลังจากตกงาน และต้องเป็นผู้ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดทางกฎหมาย พร้อมเงื่อนไขที่ต้องรู้ดังนี้
- ทำการลงทะเบียนว่างงาน ที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อแสดงสิทธิเบื้องต้น
- มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่กรมแรงงานจัดหาให้ โดยต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
- ต้องรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
- ต้องไม่ใช้ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
- ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39
หากเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถลงทะเบียนว่างงาน ประกันสังคมมาตรา 39 ได้ไหม? คำตอบคือไม่ได้ เพราะไม่คุ้มครองกรณีว่างงานเหมือนผู้ประกันตนมาตรา 33 แต่สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่อยากรับสิทธิประกันสังคมต่อสามารถยื่นประกันตนเองในมาตรา 39 ได้ ภายในระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ออกจากงาน
รับมือกับการถูกไล่ออกจากงานกระทันหัน
3. วางแผนการใช้เงินอย่างรัดกุม
เมื่อถูกเลิกจ้างกะทันหันเรื่องหลัก ๆ ที่ทำให้หลายคนเครียดตอนตกงานคือเรื่องของเงินและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมาอีกมากมาย ซึ่งหลายคนอาจมีภาระส่วนตัวที่จำเป็นต้องใช้ อาทิ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่ารถ ค่าบ้าน เป็นต้น สิ่งที่จำเป็นในขั้นตอนแรกคือการรวบรวมเงินที่มีทั้งหมดว่ามีเงินเก็บสำรองอยู่เท่าไหร่ เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายหรือไม่ รวมถึงเงินที่ได้จากเงินชดเชยเลิกจ้างทั้งจากนายจ้างและประกันสังคม จากนั้นทำการจัดระเบียบรายรับรายจ่าย ตัดรายจ่ายส่วนที่ไม่จำเป็นทิ้ง วางแผนทางการเงินให้เรียบร้อย รวมถึงใช้จ่ายอย่างระมัดระวังจนกว่าจะหางานหรือหารายได้เสริมได้เพียงพอต่อการใช้จ่าย
4. หารายได้เสริมหรือเริ่มหางานใหม่
หลังจากเรียกร้องในส่วนของเงินชดเชยต่าง ๆ แล้วสิ่งต่อไปที่ต้องทำคือการมองหารายได้เสริมหรือเริ่มต้นหางานใหม่ เพื่อให้สภาพคล่องทางการเงินไม่สะดุด โดยอาจเลือกงานจากความสามารถหรือความถนัดที่มี ลองยื่นสมัครงานหลาย ๆ แห่ง เพื่อเป็นตัวเลือกในการช่วยตัดสินใจ
5. มองหาเงินสำรองไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน
นอกเหนือจากการหางานแล้วอีกหนึ่งสิ่งที่ควรเตรียมให้พร้อมคือ การมองหาเงินไว้สำหรับใช้จ่ายในยามฉุกเฉินถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เพราะค่าใช้จ่ายของแต่ละบุคคลนั้นไม่เท่ากัน รวมถึงหลายคนอาจมองหาช่องทางสร้างรายได้อื่น ๆ ซึ่งการมองหาเงินสำรองฉุกเฉินสามารถทำได้หลายวิธีทั้งการหารายได้เสริมหรือขอสินเชื่อกับธนาคารหรือผู้ให้บริการสินเชื่อ อาทิ บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถแลกเงินสำหรับคนมีรถปลอดภาระ เพื่อมีเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายในช่วงหางานใหม่หรือช่วงที่กลับมามีรายได้อีกครั้ง
โดนไล่ออกจากงาน เสียประวัติไหม?
สิ่งที่หลายคนกังวลอีกหนึ่งอย่างเมื่อถูกไล่ออกจากงานหรือถูกให้ออกจากงานกะทันหัน คือประวัติทางด้านของการทำงาน ที่หลายคนมักกังวลว่าหากโดนไล่ออกมักจะมีประวัติที่ไม่ดีติดตัว ในกรณีที่ถูกไล่ออกกะทันหัน โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าและพนักงานไม่ได้กระทำความผิดจะไม่ถือว่ามีประวัติการทำงานที่เสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะสาเหตุที่ถูกให้ออกจากงานนั้นเกิดจากตัวบริษัทที่มีเหตุผลบางประการที่ต้องปลดหรือลดจำนวนพนักงาน รวมถึงปิดกิจการลง
เงินสำรองในยามฉุกเฉินสำหรับคนมีรถ
สำหรับคนมีรถที่กำลังต้องการเงินก้อนเพื่อนำไปลงทุนหรือเงินทุนสำรองฉุกเฉิน ขอแนะนำ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน ตัวช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินกับบริการสินเชื่อที่ให้วงเงินใหญ่ รู้ผลอนุมัติไว รถยังมีใช้ขับขี่ไม่ต้องโอนเปลี่ยนชื่อผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ ใช้เพียงเล่มทะเบียนรถในการยื่นขอสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ผ่อนรายเดือนได้นานถึง 84 งวด ยื่นเรื่องผ่านช่องทางออนไลน์ พี่เบิ้ม Delivery พร้อมเดินทางไปรับเอกสารพร้อมตรวจสภาพรถให้ถึงที่บ้าน เมื่อผ่านการอนุมัติรับวงเงินโดนเข้าบัญชีทันที พร้อมรับบัตรกดเงินสด KTC พี่เบิ้มฟรี ไว้ใช้ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยสามารถกดเงินจากตู้ ATM ได้ตลอด 24 ชั่วโมงแบบไม่มีค่าธรรมเนียม
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ตัวช่วยด้านการเงินสำหรับคนมีรถ
บทความ

เช็กที่นี่ ชดเชยรายได้ ประกันสังคม 50% คืออะไร ใครมีสิทธิบ้าง
เงินชดเชยประกันสังคม เป็นอีกหนึ่งวิธีการเยียวยาผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากประกาศล็อกดาวน์ของรัฐบาล เพื่อระงับการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19

วิธีต่อประกันสังคม เรื่องควรรู้ของคนอยากออกจากงาน
ประกันสังคมเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานของคนทำงาน มีความคุ้มครองหลายกรณี และเมื่อออกจากงานแล้ว ประกันสังคมก็ยังคงคุ้มครองอยู่ หากมีการต่อประกันสังคมอย่างถูกต้อง

เงื่อนไขการรับสิทธิ์ประกันชดเชยรายได้ เรื่องควรรู้ของคนทำงาน
ประกันชดเชยรายได้ เงินชดเชยที่ได้รับในกรณีเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และสูญเสียรายได้จากการทำงาน รวมถึงมีตัวเลือกความคุ้มครองที่หลากหลายและเงื่อนไขที่ควรรู้